ส.ว.ตั้งคณะกรรมการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ความปลอดภัยฯภายใน 7 วัน

เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2553ที่ประชุมสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยฯและมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ความปลอดภัยฯภายใน 7 วัน จำนวน 29 คน เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร (ส.ส.) 24 คน และโคต้ารัฐบาลอีก 5 คน ทั้งนี้จะต้องพิจารณาแล้วเสร็จภายในวันที่ 26 ตุลาคม 2553 เพื่อเข้าสภาฯพิจารณาอีกครั้ง

พนักงานตรวจแรงงานสั่งนายจ้างมิชลินจ่ายค่าทำงานวันหยุด

นาย ธนกร สมสิน ประธานสหภาพแรงงานมิชลินประเทศไทย เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2553 ได้รับหนังสือจากสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นคำสั่งเจ้าพนักงานตรวจแรงงาน มีคำสั่งให้บริษัทสยามมิชลินจำกัด(แหลมฉบัง) จ่ายเงินให้แก่แกนนำ 15 คนเป็นเงินจำนวน 92,996 บาท หลังจากที่แกนนำทั้ง 15 คน ได้ยื่นร้อง คร7.ต่อเจ้าพนักงานเมื่อวันที่่ 19 เมษายน 2553 ในกรณีที่บริษัทไม่จ่ายค่าจ้างในวันหยุด

สหภาพเลอเมอริเดียนภูเก็ตร่วมกับผู้บริหารปลูกป่าชายเลน

คณะกรรมการสหภาพแรงงานเลอเมอริเดียนภูเก็ตนำโดยนายณัฐวุฒิ กางกฤษณ์ ประธานสหภาพแรงงานร่วมกับตัวแทนฝ่ายบริหารนายรูดอล์ฟ บูกีเซียส ผู้จัดการทั่วไป หัวหน้าแผนกต่างๆ ตลอดจนคณะกรรมการสิ่งแวตล้อมได้ร่วมกันปลูกป่าชายเลนในพื้นที่คลองบุดง ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต โดยทางสหภาพแรงงานและผู้บริหารได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของป่าชายเลนที่สามารถช่วยป้องกันภัยธรรมชาติได้เป็นอย่างดี

ลูกจ้างสระบุรี บุกจวนผู้ว่า ! เรียกร้องค่าจ้างที่เป็นธรรม 421 บาท

เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2553 เวลา 18.00 น. นำโดย นายบุญสม ทาวิจิตร ประธาน กลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง ร่วมกับผู้นำแรงงานในจังหวัดสระบุรี เดินทางไปที่ศาลากลางจังหวัดสระบุรี เพื่อยื่นหนังสือต่อ นายถาวร มีชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เมื่อไปถึงจึงได้ทราบว่า นายถาวร มีชัย ผู้ว่าฯ ติดราชการ จึงมอบหมายให้ นายรณรงค์ จันทร์ประสิทธิ นายอำเภอเมืองสระบุรี รักษาการแทนผู้ว่าราชการ ลงมารับหนังสือกับกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง นายบุญสม ทาวิจิตร ได้พูดถึง จากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ราคาสินค้าเครื่องอุปโภคและบริโภค มีราคาที่สูงขึ้นมาก ในขณะที่มีค่าจ้างที่ต่ำไม่พอต่อการดำรงชีวิต ทำให้ลูกจ้างต้องทำงานมากขึ้นไม่มีเวลาพักผ่อนหรือศึกษาหาความรู้ตามหลัก สามแปด

พ.ร.บ.ความปลอดภัยฯผ่านสภาฯ หวัง ส.ว.ผ่านฉลุย

แรงงานลุ้น! จับตานัดสำคัญ 4 ตุลาคม 2553 วุฒิสภา พิจารณาเห็นชอบรับหลักการวาระ 1 ร่างพรบ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. …. ซึ่งได้ผ่านสภาผู้แทนราษฎรในวาระ 2 และ 3 ด้วยคะแนนเสียง 279 ต่อ 12 เสียง งดออกเสียง 1 ไม่ลงคะแนน 14 เสียง

แรงงานผลักดันค่าจ้าง 421 บาท ลดความเหลื่อมล้ำ

กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย – อ้อมใหญ่ บุกพบผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมและสมุทรสาคร ยื่นข้อเสนอปรับค่าจ้าง 421 บาทเพื่อให้เหมาะสมกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น และให้ดูแลเรื่องสิทธิในกองทุนเงินทดแทนเมื่อลูกจ้างเกิดอุบัติเหตุในการทำงานที่มักถูกนายจ้างบิดพลิ้ว

แรงงานสมุทรปราการเสนอปรับค่าจ้าง 421 บาทเท่ากันทั่วประเทศ

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2553 เวลา 10.30 น.ที่ว่าการจังหวัดสมุทรปราการ นายชาลี ลอยสูงประธานสมาพันธ์แรงงานเครื่อง ใช้ไฟฟ้าและโลหะยานยนต์แห่งประเทศไทย และ นายยงยุทธเม่นตะเภา ประธานสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย พร้อมคณะเข้าพบ นายสุรชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อยื่นหนังสือให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 421บาทต่อวัน

บริษัทงัดกลเม็ดกดดัน กรรมการสหภาพฯมิชลินหวังป่วน

นาย เกียรติศักดิ์ บุญเปี่ยม คณะกรรมการสหภาพฯฝ่ายข้อมูลเปิดเผยว่า หลังจากที่ตนเองลาบวชเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2553 เป็นเวลาทั้งหมด 90 วันหลังจากสึกออกมาแล้วปรากฎว่าถูกบริษัทสั่งหักค่าจ้างย้อนหลังเกือบหมดเงินในบัญชี ในความเป็นจริงแล้วกฎเกณฑ์บริษัทในการลาบวช 15 วันแรกบริษัทจะจ่ายค่าจ้างเต็ม 100 %

แรงงานบุกยื่นหนังสือเรื่อง “ค่าจ้างขั้นต่ำ”ส่งท้ายผู้ว่าปากน้ำ

“กลุ่มสหภาพแรงงานโลหะ (TEAM) บุกยื่นหนังสือต่อผู้ว่าปากน้ำ เรื่อง ค่าจ้างที่เป็นธรรมต้อง
421 บาทต่อวัน ขณะผู้ว่าฯ กำลังเก็บข้าวของเตรียมย้ายในวันที่ 1 ตุลา นี้ ”

วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2553 เวลา 09.30 น. สมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็คโทรนิคยานยนต์และโลหะแห่งประเทศไทย (TEAM) นำโดย นายชาลี ลอยสูง ประธานสมาพันธ์ และคณะ เข้ายื่นหนังสือต่อนายสุระชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อให้ช่วยผลักดันเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 421 บาท เท่ากันทั่วประเทศ ตามข้อมูลที่คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยได้จากการสำรวจผู้ใช้แรงงานในพื้นที่ต่างๆทุกจังหวัดทั่วประเทศ

สภาฯผ่านร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านด้วยคะแนน 344 เสียง

วันนี้ 29 กันยายน 2553 เวลา 16.00-17.00 น. ณ ตึกรัฐสภา ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีการพิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ…. ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านตามที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ด้วยคะแนน 344 /9 เสียงขั้นตอนกระบวนการนิติบัญญัติหลังจากนี้ คือ ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน นับแต่วันรับร่างนี้ เพื่อลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นกฎหมายบังคับใช้ต่อไป

นายจ้างเล่นเล่ห์ ล้มสหภาพ เอาเปรียบคนงาน

เมื่อวันที่ 4 กันยายน ที่ห้องฝึกอบรมพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน อ.บางประกง จ.ฉะเชิงเทรา ได้มีการฝึกอบรมทักษะการเขียนข่าวของนักสื่อสารแรงงาน โดยเชิญผู้แทนกรณีปัญหาจากโรงงานต่างมาร่วมเป็นวิทยากร โดยนายพรโพธิ์เจริญ ศรีละเลิง คนงานบริษัท ไทยคูณ เวิล์ดไวด์ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่ใน อ.นิคนพัฒนา จ.ระยอง กล่าวว่า ภายหลังที่คนงานได้รวมตัวกันก่อตั้งสหภาพแรงงานไทยคูณและได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้าง เพื่อขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง รวมทั้งให้บริษัท ให้ความสำคัญกบการดูแลเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน เพราะมีอุบัติเกิดขึ้นบ่อยมาก มีหลายกรณีที่รุนแรง เช่น ถูกรถโฟล์คลิฟท์เหยียบ ซึ่งขณะนี้คนงานยังอยู่โรงพยาบาล

ขบวนการแรงงานนัดรวมพล ๗ ตุลานี้ทวงถามรัฐให้รับรองอนุสัญญา ILO

แถลงการณ์ ฉบับที่ ๓/๒๕๕๓

“๗ ตุลา ทวงถามความจริงใจรัฐบาล ต่อการให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO”

ใน ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ข้อเรียกร้องหลักขององค์กรแรงงานต่างๆ ในประเทศไทยคือการเรียกร้องให้รัฐบาลไทยให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาองค์การ แรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization :ILO) ฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘ ซึ่งเป็นอนุสัญญาหลัก ๒ ฉบับ ในทั้งหมด ๘ ฉบับ ที่ประเทศสมาชิกของ ILO ต้องให้สัตยาบันรับรอง (Core Labour Standard) อนุสัญญาทั้ง ๒ ฉบับดังกล่าวถือเป็นหัวใจสำคัญของพวกเราพี่น้องผู้ใช้แรงงาน คือ ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเรื่องเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และ ฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยเรื่องการรวมตัวร่วมเจรจาต่อรอง ซึ่งรัฐบาลไทยยังไม่ให้สัตยาบันรับรอง ทั้งๆที่ ILO ได้ประกาศในปี ๒๕๔๑ ให้อนุสัญญาทั้ง ๒ ฉบับ อยู่ในปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงาน ซึ่งองค์กรแรงงานต่างๆ ร่วมกันขับเคลื่อนมาอย่างยาวนานนับสิบปี

1 205 206 207