โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าอ้อมน้อยห้ามคนงานพม่าท้อง

จากกรณีที่ทางฝ่ายแรงงานสัมพันธ์ของบริษัทไทยการ์เม้นท์เอ๊กซ์ปอร์ต สาขาอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาครได้เรียก น.ส.ซู (นามสมมุติ) วัย18ปี และน.ส.จี (นามสมมุติ) วัย 31 ปี คนงานพม่าเข้าพบเพื่อขอเลิกจ้าง เนื่องจากทั้งคู่ตั้งครรภ์ได้ 2-3 เดือน

แหล่งข่าวแจ้งว่า เมื่อประมาณปลายเดือนกันยายนทางบริษัทฯ ได้ผสานให้ทางโรงพยาบาลกระทุ้มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อมาฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009 แต่ทางน.ส.ซู และน.ส.จี ไม่ยอมมาฉีดเนื่องจากรู้ตัวว่า ตั้งครรภ์เกรงจะมีผลถึงลูกในครรภ์ เมื่อฝ่ายแรงงานสัมพันธ์ของบริษัทฯทราบจึงได้กระทำการเลิกจ้างคนงานพม่าทั้งสองดังกล่าวโดยสั่งให้รถตู้ไปรับที่หอพักเพื่อจะส่งกลับประเทศ

เปิดตัวร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับบูรณาการแรงงาน ดัน สปส.เป็นหน่วยงานอิสระ

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2553 ณ โรงแรมอิสติน มักกะสัน กรุงเทพฯ เครือข่ายแรงงาน อาทิ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานไทย จัดแถลงข่าว “ผลักดันร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. … (ฉบับบูรณาการแรงงาน) สู่การปฏิรูป สปส.เป็นองค์กรอิสระ” เพื่อเป็นการเปิดตัวร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ประกันสังคม ฉบับบูรณาการแรงงาน ทั้งในส่วนสาระสำคัญของร่าง และประเด็นที่ต่างจาก พ.ร.บ.ฉบับเดิม รวมทั้ง กิจกรรมที่จะดำเนินการต่อเพื่อผลักดันร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับบูรณาการแรงงาน

คนทำงานบ้านโอดนายจ้างหักค่าจ้างโหดวันละ 400 บาททั้งลาป่วย ลากิจ

กลุ่มคนทำงานบ้านเสนอกฎหมายคุ้มครองคนทำงานบ้านต้องมีสวัสดิการพื้นฐาน เท่าเทียมแรงงานในระบบ เนื่องจากนายจ้างละเมิดสิทธิแรงงาน หักค่าจ้างกรณีลาป่วยหาหมอ หรือลากิจธุระวันละ 400 บาท ทำจานชามแตกก็หักเงินใบละ 100-200 บาท บางรายถูกโกงค่าจ้าง เพราะไม่มีสัญญาจ้าง ใช้ทำงานสารพัด ทำงานไม่เป็นเวลาต้องตื่นก่อนนอนทีหลัง

ศูนย์สระบุรีพร้อมถก กอง บก.หนังสือพิมพ์แรงงาน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2553 เวลา17.00 น. นักสื่อสารแรงงานพื้นที่สระบุรีได้จัดงาน “ตุ้มโฮม” เพื่อคัดเลือกผู้แทนนักสื่อสารพื้นที่สระบุรี เข้าร่วมเป็นกองบรรณาธิการ ตามโครงการการพัฒนาสื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนขบวนการแรงงาน โดย มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ซึ่งมีนายวิชัย นราไพบูรณ์ เป็นผู้จัดการโครงการฯและมีนางสาววาสนา ลำดี (นก)เป็นผู้ประสานงาน และอีกหลายคนร่วมทำงานกันอย่างหนัก โดยที่ประชุมมีมติเป็น “โทกฉันท์”(เป็นเอกฉันท์) ฟันธงมอบหมายภาระอันยิ่งใหญ่ครั้งนี้ให้กับนางสาวสวรรยา ผกาวรรณ์ เป็นบรรณาธิการ และ นางสาวนงนุช ไกรศาสตร์ เป็นผู้ช่วยบรรณาธิการ

คนงานเครืออาซาฮี จับกลุ่มเทียบสวัสดิการ ชำแหละแนวคิดนายจ้าง

เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2553 แกนนำสหภาพแรงงานในเครือ เอจีซี กรุ๊ป (ประเทศไทย) ประกอบด้วย สหภาพแรงงาน (สร.) กระจกไทยอาซาฮี จังหวัดชลบุรี , สร.เอจีซี ประเทศไทย และ สร.เอจีซี จังหวัดระยอง เข้าร่วมสัมมนา “วิเคราะห์สวัสดิการและเทคนิคนำเสนอข้อมูลเจรจา” ขึ้น ณ สายธาร รีสอร์ท ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เพื่อระดมสมอง เปรียบเทียบความแตกต่างเรื่องสภาพการการจ้างงาน สวัสดิการของแต่ละโรงงาน

มุกดาหารระดมสหวิชาชีพ ถกปัญหาคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติ

มุกดาหารระดมสหวิชาชีพ ถกปัญหาคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติ เจ้าหน้าที่รัฐ ชี้แรงงานเวียดนามเคลื่อนย้ายมาขายแรงงานในไทยมากขึ้น ด้านองค์กรพัฒนาเอกชนชี้มีเด็กเกินกว่าครึ่งในพื้นที่ไม่มีหนังสือรับรองการเกิด ย้ำทุกฝ่ายต้องเตรียมแผนรับมือ เขตการค้าเสรี สร้างพื้นที่การอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่นในอาเซียน

เมื่อเร็วๆนี้ ณ ห้องประชุมศาลาขาวตลาดอินโดจีน อ.เมือง จ.มุกดาหาร มูลนิธิเพื่อนหญิง และเครือข่ายสหวิชาชีพมุกดาหาร ร่วมกับโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติและผู้มีปัญหาสถานะบุคคล (สสส.) จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “สหวิชาชีพมุกดาหารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติและผู้มีปัญหาสถานะบุคคล”

แรงงานภาคตะวันออกเคลื่อนพลทวงถามอนุสัญญา ILO ฉบับที่87และ98

กลุ่มสหภาพแรงงานกลุ่มภาคตะวันออกร่วมกับคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้จัดเดินขบวนเดินรณรงค์เนื่องในวันที่มีคุณค่าของงานสากล เพื่อทวงถามการให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และ98 และการเรียกร้องให้รัฐบาลปรับค่าจ้างที่เป็นธรรมโดยต้องสามารถดำรงชีพอยู่ได้อย่างภาคภูมิ เนื่องในวันงานที่มีคุณค่าสากล (International Decent Work’s Day) โดยมีผู้ใช้แรงงานจากทุกภาคส่วนร่วมเดินรณรงค์ในครั้งนี้กว่า 2,000 คน ทั้งนี้มีผู้ใช้แรงงานในกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออกเข้าร่วมราว 200 คน

แรงงานผลักดันค่าจ้าง 421 บาทเท่ากันทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2553 เวลา 09.00 น. กลุ่มผู้ใช้แรงงานประกอบด้วย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และ คณะทำงานผลักดันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ได้รวมตัวกันที่ตึกสหประชาชาติเพื่อผลักดันเรื่อง ค่าจ้างที่เป็นธรรม 421 บาทต่อวันเท่ากันทั่วประเทศ และ ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญา ILO.ฉบับที่ 87 และ 98 หลังจากนั้นกลุ่มผู้ใช้แรงงานได้เคลื่อนขบวนไปที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อยื่นหนังสือ แต่ไม่มีผู้แทนจากรัฐบาลออกมารับหนังสือ จึงเคลื่อนขบวนไปที่หน้ารัฐสภา ซึ่งระหว่างทางได้มีผู้นำแรงงานขึ้นรถเวทีกล่าวปราศรัยตลอดทาง ท่ามกลางสายฝนที่ตกไม่ขาดสาย จนกระทั่งเวลาประมาณ 13.00 น.นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ออกมารับหนังสือ กลุ่มผู้ใช้แรงงานจึงยุติการชุมนุม

7 ตุลานี้แรงงานนัดลางานรวมพลบุกทำเนียบเรียกร้องค่าจ้าง 421 บาท

คณะทำงานผลักดันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย สมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็คโทรนิค ยานยนต์ และโลหะแห่งประเทศไทย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ สภาองค์การลูกจ้าง สหพันธ์แรงงาน กลุ่มสหภาพแรงงานต่างๆ จำเป็นต้องขอความร่วมมือจากพี่น้องผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน “ในการลงแรง ลงขัน หยุดงาน 1 วัน เพื่อรณรงค์ให้รัฐบาลให้สัตยาบันอนุสัญญาทั้งสองฉบับ เพื่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของพี่น้องผู้ใช้แรงงานไทย” โดยกำหนดรณรงค์ใหญ่ในวันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม 2553 รวมตัวหน้าสำนักงานสหประชาชาติ ถนนราชดำเนิน เวลา 09.00 น.

ลูกจ้าง นายจ้างจังหวัดภูเก็ต จับมือภาครัฐสร้างเครือข่ายความปลอดภัยในการทำงาน

เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2553 สหพันธ์แรงงานธุรกิจโรงแรมและบริการภูเก็ต โดยนายวิจิตร ดาสันทัด ประธานสหพันธ์แรงงานธุรกิจโรงแรม และบริการภูเก็ต ได้ร่วมกับสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดภูเก็ต และตัวแทนนายจ้าง และลูกจ้าง คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน จัดการเสวนาเรื่อง “การสร้างเครือข่ายแรงงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนมัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน” โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานในระบบ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย แผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน สำนักงานกองทุนสนับสนุนเสริมสร้างสุขภาพ (สสส)

1 204 205 206 207