ขบวนการแรงงานเปิดรับบริจาคช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย (มพร.) ได้ร่วมกันจัดโครงการ “แรงงานร่วมใจ สู้ภัยน้ำท่วม” ขึ้น เพื่อเปิดรับบริจาคเงิน (ไม่รับสิ่งของ) จากองค์กรแรงงานต่างๆ รวบรวมส่งไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในครั้งนี้ โดยสามารถบริจาคเงินได้ที่บัญชีชื่อ มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย บัญชีสะสมทรัพย์ เลขที่ 101-7-97864-2 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญ่ถนนสีลม หรือสามารถบริจาคเงินด้วยตนเองได้ในวันที่ 28 ตุลาคม 2553 ซึ่งจะมีงานสัมมนาเรื่องประกันสังคม ที่โรงแรมบางกอกพาเลส

ผู้นำแรงงานโต้นายจ้างตีปิ๊บค่าบาทแข็งหวังไม่ขึ้นเงินเดือนตัดโบนัส

ประธานสภาองค์การลูกจ้างฯโต้ข่าวกรณีนาย ทศพล วังศิลาบัตร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ออกมาให้ข่าวเกี่ยวกับผลกระทบเงินบาทแข็งค่าจะส่งผลกระทบต่อการปรับเงินเดือนและโบนัสของคนงานว่า เป็นเรื่องที่ยังคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงและอาจเกิดการฉกฉวยโอกาสไม่ปรับขึ้นเงินเดือนและไม่จ่ายโบนัสให้คนงาน

คนใช้แรงงานอยุธยาร้องสหภาพฯถูกพักงานไม่เป็นธรรม

นางสาว น้อง (นามสมมติ) สมาชิกสหภาพแรงงานนิเด็ด ร้องทุกข์ต่อสหภาพแรงงานนิเด็ดให้ช่วยเหลือเรื่องนายจ้างให้พักงานไม่เป็นธรรม โดยนางสาว น้อง ได้เล่าว่า ทำงานอยู่ในบริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิคส์แห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาไม่ต่ำกว่า10 ปี ได้รับใบประกาศนียบัตรพนักงานดีเด่นหลายปีซ้อนการันตีความขยันในการทำงานให้กับบริษัท แต่ก็ยังถูกกลั่นแกล้งจากหัวหน้างานโดยการให้ใบเตือนถึงขั้นหยุดพักงาน

ความคืบหน้าการผลักดันนโยบายสาธารณะ พระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่..) พ.ศ. ….

จากการประชุมคณะทำงาน ผลักดันร่างพระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่….) พ.ศ. …. ในวันศุกร์ ที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๓ ที่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรหลัก และเป็นผู้ประสานงานในการเคลื่อนนโยบายดังกล่าว ร่วมกับคณะทำงาน Core Team โดยการสนับสนุนจากแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เบื้องต้นจากการประชุมได้มีการวางแผนที่จะมีการจัดเวทีสานเสวนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับแก้ไขสิทธิประโยชน์พระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่….) พ.ศ. …. (ฉบับเครือข่ายแรงงานและภาคประชาชน) ขึ้น ในวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๓ เพื่อให้ผ่านความเห็นที่รอบด้านทั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ เครือข่ายผู้นำแรงงาน และผู้ที่ได้รับผลกระทบประสบอันตรายจากการทำงาน และภาคีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพราะสถานการณ์ทางนิติบัญญัติของพระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่….) พ.ศ. ….

กลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรี จับมือ นายจ้าง- รัฐ สร้างเครือข่ายความปลอดภัยฯ

เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2553 กลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการในการสร้างเครือข่ายแรงงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานในระบบ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ณ ห้องพลอยไพรินทร์ โรงแรมสระบุรีอินน์ อ.เมือง จ.สระบุรี มีผู้นำแรงงาน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ (จป.วิชาชีพ) และฝ่ายบริหารงานบุคคล เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้กว่า 70 คนซึ่งและได้รับเกียรติจากนางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยมาเป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนาในครั้งนี้ โดยมีนายวินัย ลัทธิกาวิบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน นายสมชาย อมตเวช นักวิชาการแรงงานชำนาญการ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสระบุรี นายบุญสม ทาวิจิตร ประธานกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง และนายอดุล สุเดน ประธานชมรมบริหารงานบุคคล ร่วมอภิปรายในมุมมองและแนวคิดของแต่ละภาคส่วนว่ามีความคิดเห็นอย่างไร

สรุปสาระสำคัญ ร่าง พระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….

สรุปสาระสำคัญ
ร่าง พระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ฉบับบูรณาการแรงงาน)

ความเป็นมา
เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย , มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน , เครือข่ายแรงงานนอกระบบ , เครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ , สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย , สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย และเครือข่ายผู้ประกันตน โดยการสนับสนุนของแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้เล็งเห็นความสำคัญของการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 ในโอกาสที่กฎหมายประกันสังคมบังคับใช้มานาน 20 ปี (กันยายน 2533 – กันยายน 2553) จึงได้ร่วมกันยกร่าง “พระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ” (ฉบับบูรณาการแรงงาน) มาตั้งแต่เดือนกันยายน 2552 โดยการยกร่างกฎหมายจะให้ความสำคัญต่อการปรับปรุงสำนักงานประกันสังคม (สปส.) จากหน่วยราชการระดับกรม เป็นองค์กรมหาชนอิสระ ที่บริหารจัดการด้วยคณะกรรมการที่มีความรู้ความสามารถและมีส่วนร่วมจากผู้ประกันตนและนายจ้างปลอดพ้นจากการครอบงำแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองและข้าราชการ

คนงานPCBทุกข์หนักโรงงานระเบิด นายจ้างปิดโรงงาน เบี้ยวค่าจ้าง

เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2553 พนักงานบริษัท พีซีบี เซนเตอร์ จำกัด ตั้งอยู่นิคมฯอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ เลขที่ 684-685 ถ.สุขาภิบาล 8 หมู่ 11 ต.หนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ผลิตแผงวงจรอิเลคทรอนิกส์ มีพนักงาน 400 กว่าคน ได้รวมตัวกันกว่า 100 คน ที่สำนักงานคณะทำงานกลุ่มแรงงานแหลมฉบังสัมพันธ์ ก่อนทำหนังสือคำร้อง (คร7.) เพื่อยื่นต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.ชลบุรี เรียกร้องให้บริษัทจ่ายค่าจ้างหลังจากที่บริษัทจ่ายไม่ตรงตามกำหนดมากว่า 2 เดือนแล้วและล่าสุดกำหนดจ่ายภายในวันที่ 28 กันยายน 2553 แต่จนถึงขณะนี้ทุกคนก็ยังไม่ได้รับค่าจ้าง จึงได้รวมตัวกันเรียกร้องพร้อมปักหลักประท้วงอยู่หน้าโรงงานร้องให้บริษัทรับผิดชอบ

โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าอ้อมน้อยห้ามคนงานพม่าท้อง

จากกรณีที่ทางฝ่ายแรงงานสัมพันธ์ของบริษัทไทยการ์เม้นท์เอ๊กซ์ปอร์ต สาขาอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาครได้เรียก น.ส.ซู (นามสมมุติ) วัย18ปี และน.ส.จี (นามสมมุติ) วัย 31 ปี คนงานพม่าเข้าพบเพื่อขอเลิกจ้าง เนื่องจากทั้งคู่ตั้งครรภ์ได้ 2-3 เดือน

แหล่งข่าวแจ้งว่า เมื่อประมาณปลายเดือนกันยายนทางบริษัทฯ ได้ผสานให้ทางโรงพยาบาลกระทุ้มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อมาฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009 แต่ทางน.ส.ซู และน.ส.จี ไม่ยอมมาฉีดเนื่องจากรู้ตัวว่า ตั้งครรภ์เกรงจะมีผลถึงลูกในครรภ์ เมื่อฝ่ายแรงงานสัมพันธ์ของบริษัทฯทราบจึงได้กระทำการเลิกจ้างคนงานพม่าทั้งสองดังกล่าวโดยสั่งให้รถตู้ไปรับที่หอพักเพื่อจะส่งกลับประเทศ

เปิดตัวร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับบูรณาการแรงงาน ดัน สปส.เป็นหน่วยงานอิสระ

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2553 ณ โรงแรมอิสติน มักกะสัน กรุงเทพฯ เครือข่ายแรงงาน อาทิ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานไทย จัดแถลงข่าว “ผลักดันร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. … (ฉบับบูรณาการแรงงาน) สู่การปฏิรูป สปส.เป็นองค์กรอิสระ” เพื่อเป็นการเปิดตัวร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ประกันสังคม ฉบับบูรณาการแรงงาน ทั้งในส่วนสาระสำคัญของร่าง และประเด็นที่ต่างจาก พ.ร.บ.ฉบับเดิม รวมทั้ง กิจกรรมที่จะดำเนินการต่อเพื่อผลักดันร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับบูรณาการแรงงาน

คนทำงานบ้านโอดนายจ้างหักค่าจ้างโหดวันละ 400 บาททั้งลาป่วย ลากิจ

กลุ่มคนทำงานบ้านเสนอกฎหมายคุ้มครองคนทำงานบ้านต้องมีสวัสดิการพื้นฐาน เท่าเทียมแรงงานในระบบ เนื่องจากนายจ้างละเมิดสิทธิแรงงาน หักค่าจ้างกรณีลาป่วยหาหมอ หรือลากิจธุระวันละ 400 บาท ทำจานชามแตกก็หักเงินใบละ 100-200 บาท บางรายถูกโกงค่าจ้าง เพราะไม่มีสัญญาจ้าง ใช้ทำงานสารพัด ทำงานไม่เป็นเวลาต้องตื่นก่อนนอนทีหลัง

17 ปีกับการผลักดันการจัดตั้งสถาบันความปลอดภัยเป็นองค์กรอิสระ

เริ่มเห็นผลจากการที่ได้ช่วยกันลงแรงร่วมพลังกันอย่างมากมายพร้อมเพียง จนทำให้ การจัดตั้งองค์กรอิสระสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยได้เข้าไปบรรจุอยู่ในหมวดที่ 6/1 มาตรา 51/1 และให้กระทรวงแรงงานจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯขึ้นมาภายใน 1 ปี หลังกฎหมายประกาศใช้ แต่ขณะนี้ พ.ร.บ.ความปลอดภัยฯ ฉบับที่มีการบรรจุการจัดตั้งสถาบันฯส่งเสริมความปลอดภัยนี้กำลังอยู่ในการประชุมพิจารณาของสมาชิกวุฒิสภาเพื่อพิจารณากฎหมายให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 26 ตุลาคม 2553 เพื่อส่งให้สภาฯ มีมติรับรองอีกครั้ง ดังนั้นสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯในฐานะองค์กรหลักที่รับผิดชอบร่วมกับทุกภาคี มีความกังวลอยากจะเสนอผ่านสื่อมวลชนทั้งหลาย …ไปยังสมาชิกวุฒิสภา ได้โปรดพิจารณาผ่านกฎหมาย พ.ร.บ. ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยเฉพาะหมวด 6/1 ทีมีการจัดตั้งองค์กรอิสระสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯด้วย

1 249 250 251 253