ศูนย์สระบุรีพร้อมถก กอง บก.หนังสือพิมพ์แรงงาน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2553 เวลา17.00 น. นักสื่อสารแรงงานพื้นที่สระบุรีได้จัดงาน “ตุ้มโฮม” เพื่อคัดเลือกผู้แทนนักสื่อสารพื้นที่สระบุรี เข้าร่วมเป็นกองบรรณาธิการ ตามโครงการการพัฒนาสื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนขบวนการแรงงาน โดย มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ซึ่งมีนายวิชัย นราไพบูรณ์ เป็นผู้จัดการโครงการฯและมีนางสาววาสนา ลำดี (นก)เป็นผู้ประสานงาน และอีกหลายคนร่วมทำงานกันอย่างหนัก โดยที่ประชุมมีมติเป็น “โทกฉันท์”(เป็นเอกฉันท์) ฟันธงมอบหมายภาระอันยิ่งใหญ่ครั้งนี้ให้กับนางสาวสวรรยา ผกาวรรณ์ เป็นบรรณาธิการ และ นางสาวนงนุช ไกรศาสตร์ เป็นผู้ช่วยบรรณาธิการ

คนงานเครืออาซาฮี จับกลุ่มเทียบสวัสดิการ ชำแหละแนวคิดนายจ้าง

เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2553 แกนนำสหภาพแรงงานในเครือ เอจีซี กรุ๊ป (ประเทศไทย) ประกอบด้วย สหภาพแรงงาน (สร.) กระจกไทยอาซาฮี จังหวัดชลบุรี , สร.เอจีซี ประเทศไทย และ สร.เอจีซี จังหวัดระยอง เข้าร่วมสัมมนา “วิเคราะห์สวัสดิการและเทคนิคนำเสนอข้อมูลเจรจา” ขึ้น ณ สายธาร รีสอร์ท ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เพื่อระดมสมอง เปรียบเทียบความแตกต่างเรื่องสภาพการการจ้างงาน สวัสดิการของแต่ละโรงงาน

มุกดาหารระดมสหวิชาชีพ ถกปัญหาคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติ

มุกดาหารระดมสหวิชาชีพ ถกปัญหาคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติ เจ้าหน้าที่รัฐ ชี้แรงงานเวียดนามเคลื่อนย้ายมาขายแรงงานในไทยมากขึ้น ด้านองค์กรพัฒนาเอกชนชี้มีเด็กเกินกว่าครึ่งในพื้นที่ไม่มีหนังสือรับรองการเกิด ย้ำทุกฝ่ายต้องเตรียมแผนรับมือ เขตการค้าเสรี สร้างพื้นที่การอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่นในอาเซียน

เมื่อเร็วๆนี้ ณ ห้องประชุมศาลาขาวตลาดอินโดจีน อ.เมือง จ.มุกดาหาร มูลนิธิเพื่อนหญิง และเครือข่ายสหวิชาชีพมุกดาหาร ร่วมกับโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติและผู้มีปัญหาสถานะบุคคล (สสส.) จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “สหวิชาชีพมุกดาหารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติและผู้มีปัญหาสถานะบุคคล”

แรงงานผลักดันค่าจ้าง 421 บาทเท่ากันทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2553 เวลา 09.00 น. กลุ่มผู้ใช้แรงงานประกอบด้วย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และ คณะทำงานผลักดันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ได้รวมตัวกันที่ตึกสหประชาชาติเพื่อผลักดันเรื่อง ค่าจ้างที่เป็นธรรม 421 บาทต่อวันเท่ากันทั่วประเทศ และ ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญา ILO.ฉบับที่ 87 และ 98 หลังจากนั้นกลุ่มผู้ใช้แรงงานได้เคลื่อนขบวนไปที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อยื่นหนังสือ แต่ไม่มีผู้แทนจากรัฐบาลออกมารับหนังสือ จึงเคลื่อนขบวนไปที่หน้ารัฐสภา ซึ่งระหว่างทางได้มีผู้นำแรงงานขึ้นรถเวทีกล่าวปราศรัยตลอดทาง ท่ามกลางสายฝนที่ตกไม่ขาดสาย จนกระทั่งเวลาประมาณ 13.00 น.นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ออกมารับหนังสือ กลุ่มผู้ใช้แรงงานจึงยุติการชุมนุม

ค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ … ก้าวใหม่ของนโยบายค่าจ้าง โดยรัฐ ??

เนื่องจากสถานประกอบการจำนวนมหาศาลไม่มีหลักเกณฑ์การปรับค่าจ้างประจำปีที่โปร่งใสเป็นธรรมและมีส่วนร่วมจากฝ่ายลูกจ้าง ทำให้ “ค่าจ้างขั้นต่ำ”ที่กระทรวงแรงงานประกาศบังคับใช้ในแต่ละปี กลายเป็นฐานค่าจ้างที่นายจ้างหลายแห่งนำไปใช้เป็นค่าจ้างของลูกจ้างหรือเกณฑ์การปรับค่าจ้าง โดยไม่คำนึงถึงภาวะเงินเฟ้อ-ค่าครองชีพ, ทักษะฝีมือและการแบ่งปันกำไรจากผลประกอบการอย่างแท้จริง หลายโรงงานที่ไม่มีสหภาพแรงงานหรือมีสหภาพแรงงานไม่เข้มแข็ง ค่าจ้างของคนงานจำนวนมากจะใกล้เคียงค่าจ้างขั้นต่ำหรืออ้างอิงค่าจ้างขั้นต่ำมาตลอด ส่งผลให้คนงานต้องทำงานล่วงเวลาเป็นประจำ ทำงานในวันหยุดหรือควงกะ อาจต้องทำงานแบบเหมางานรายชิ้นปริมาณมากตามคำสั่งซื้อของลูกค้าและความต้องการของนายจ้าง เพื่อให้มีรายได้มากเพียงพอแก่การเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัว

เจตนารมณ์การผลักดันองค์กรอิสระ กับความปลอดภัยในการทำงาน

หากมองย้อนไปในอดีต 17 ปีที่ผ่านมา มีการเกิดโศกนาฏกรรม ซ้ำซากที่ทำให้เกิดการสูญเสียสุขภาพร่างกาย จิตใจ คนงาน แล้วยังนำมาสู่การเกิดความหายนะมาสู่ครอบครัว ซ้ำร้ายยังเกิดการกล่าวขาน ไปในทางไม่ดีไปทั่วโลก กับเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่สะเทือนขวัญของแรงงานไทยได้แก่ * ชุมชนคลองเตยถูกผลกระทบจากสารเคมีระเบิดที่คลองเตย (2 มี.ค.34) มีผู้เสียชีวิต 4 คน บ้านเรือน 642 หลังคาเรือนเสียหายในกองเพลิง*โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ไฟไหม้ตึกถล่ม จังหวัดนครปฐม จนทำให้คนงานวัยหนุ่มสาว ต้องตายถึง 188 ศพและบาดเจ็บถึง 469 ราย (ในวันที่ 10 พ.ค. 36)*โรงงานรอยัลพลาซ่าถล่ม (วันที่ 13 ส.ค.36 ) มีคนงานข้าราชการ นักท่องเที่ยวตายรวม 167 รายบาดเจ็บกว่า 200 ราย กรณีไฟไหม้โรงแรมรอยัลจอมเทียน (11 ก.ค.40) ทำให้คนงาน นักท่องเที่ยว และพนักงานไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ตายรวมจำนวน 91 รายบาดเจ็บกว่า 50 ราย โรงงานอบลำไยแห้งบริษัทหงษ์ไทยระเบิด (19 ก.ย. 2542) คนงานเสียชีวิต 36 คน บาดเจ็บ 2 ราย ชุมชนสันป่าตองบริเวณรอบโรงงานรัศมี 1 กิโลเมตร บ้านเรือน วัด โรงเรียน โรงพยาบาล เสียหายกว่า 571 หลังคา เรือน และชาวบ้านบาดเจ็บ 160 ราย จะเห็นว่าผลกระทบเหล่านี้ยังขยายตัวออกมาสู่คนในชุมชน เช่น ชุมชนแม่เมาะ จ.ลำปาง

7 ตุลานี้แรงงานนัดลางานรวมพลบุกทำเนียบเรียกร้องค่าจ้าง 421 บาท

คณะทำงานผลักดันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย สมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็คโทรนิค ยานยนต์ และโลหะแห่งประเทศไทย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ สภาองค์การลูกจ้าง สหพันธ์แรงงาน กลุ่มสหภาพแรงงานต่างๆ จำเป็นต้องขอความร่วมมือจากพี่น้องผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน “ในการลงแรง ลงขัน หยุดงาน 1 วัน เพื่อรณรงค์ให้รัฐบาลให้สัตยาบันอนุสัญญาทั้งสองฉบับ เพื่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของพี่น้องผู้ใช้แรงงานไทย” โดยกำหนดรณรงค์ใหญ่ในวันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม 2553 รวมตัวหน้าสำนักงานสหประชาชาติ ถนนราชดำเนิน เวลา 09.00 น.

ลูกจ้าง นายจ้างจังหวัดภูเก็ต จับมือภาครัฐสร้างเครือข่ายความปลอดภัยในการทำงาน

เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2553 สหพันธ์แรงงานธุรกิจโรงแรมและบริการภูเก็ต โดยนายวิจิตร ดาสันทัด ประธานสหพันธ์แรงงานธุรกิจโรงแรม และบริการภูเก็ต ได้ร่วมกับสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดภูเก็ต และตัวแทนนายจ้าง และลูกจ้าง คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน จัดการเสวนาเรื่อง “การสร้างเครือข่ายแรงงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนมัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน” โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานในระบบ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย แผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน สำนักงานกองทุนสนับสนุนเสริมสร้างสุขภาพ (สสส)

ส.ว.ตั้งคณะกรรมการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ความปลอดภัยฯภายใน 7 วัน

เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2553ที่ประชุมสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยฯและมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ความปลอดภัยฯภายใน 7 วัน จำนวน 29 คน เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร (ส.ส.) 24 คน และโคต้ารัฐบาลอีก 5 คน ทั้งนี้จะต้องพิจารณาแล้วเสร็จภายในวันที่ 26 ตุลาคม 2553 เพื่อเข้าสภาฯพิจารณาอีกครั้ง

พนักงานตรวจแรงงานสั่งนายจ้างมิชลินจ่ายค่าทำงานวันหยุด

นาย ธนกร สมสิน ประธานสหภาพแรงงานมิชลินประเทศไทย เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2553 ได้รับหนังสือจากสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นคำสั่งเจ้าพนักงานตรวจแรงงาน มีคำสั่งให้บริษัทสยามมิชลินจำกัด(แหลมฉบัง) จ่ายเงินให้แก่แกนนำ 15 คนเป็นเงินจำนวน 92,996 บาท หลังจากที่แกนนำทั้ง 15 คน ได้ยื่นร้อง คร7.ต่อเจ้าพนักงานเมื่อวันที่่ 19 เมษายน 2553 ในกรณีที่บริษัทไม่จ่ายค่าจ้างในวันหยุด

1 250 251 252 253