รัฐทาสนายทุน ความรุนแรงรอบใหม่พื้นที่เหมืองแร่โปแตช อุดรธานี

นับจากที่รัฐบาลไทยออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๒๓ เชิญชวนให้เอกชนยื่นคำขอสิทธิสำรวจและผลิตแร่โปแตชในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริษัท อะกริ โปแตช จำกัดบริษัทสัญชาติแคนนาดา (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทเอเชียแปรซิฟิก โปแตช คอร์เปอร์เรชั่น จำกัดหรือ เอพีพีซี) ได้ทำสัญญาและได้รับอนุญาตจากรัฐบาลไทย โดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (เดิมคือกรมทรัพยากรธรณี) กระทรวงอุตสาหกรรม ให้ประกอบกิจการเหมืองแร่ พัฒนา และหาประโยชน์จากแหล่งแร่ ที่บริษัทฯ ได้ทำการเจาะสำรวจและมีความเป็นไปได้ในเชิงพานิชย์ ตามสัญญาฉบับลงวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๒๗ และต่อมาเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกาบน ๒๕๓๗ มีการแก้ไขสัญญาเพิ่มเติม

แรงงานฮึด!ตั้งเป้าล่า 4 หมื่นชื่อ หวังปฏิรูปประกันสังคม

เครือข่ายแรงงานผนึกพลังนักการเมืองและนักวิชาการ เปิดวงสัมมนาชำแหละประกันสังคมล้าหลังขาดความโปร่งใส ประกาศร่วมล่ารายชื่อเพื่อเสนอกฎหมาย หวังปฏิรูปประกันสังคมให้เป็นองค์กรอิสระ โปร่งใสตรวจสอบได้ โดยผู้ประกันตนต้องมีส่วนร่วม รวมทั้งขยายสิทธิประโยชน์ให้ดีขึ้นและต้องครอบคลุมแรงงานทุกกลุ่ม

พลังสื่อ เพิ่มคุณภาพชีวิตแรงงาน ลดความเหลื่อมล้ำ

สื่อมวลชนร่วมเสวนานักสื่อสารแรงงาน ถกแนวทางการทำงานระหว่างแรงงานกับสื่อมวลชนเพื่อยกประเด็นแรงงานสู่สาธารณะ หวังลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มคุณภาพชีวิตแรงงาน โดยเห็นว่าปัจจุบันมีช่องทางมากขึ้นจากสื่อทางเลือกและสื่อเฉพาะต่างๆ เช่น วิทยุชุมชน หรือสื่อใหม่อย่าง อินเตอร์เน็ทและสื่อออนไลน์ต่างๆ แต่เห็นว่ายังไม่ควรทิ้งสื่อกระแสหลักทั้งหนังสือพิมพ์และทีวีที่ยังมีพลังเปลี่ยนแปลงสังคมอยู่อย่างน้อยอีก 10 ปี แต่แรงงานต้องมีวินัย มีความเป็นมืออาชีพในการสร้างข่าวและช่องทางของตัวเองตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป โดยต้องข้ามให้พ้นความซ้ำซากทั้งในด้านการนำเสนอประเด็นเนื้อหาและตัวบุคคลเป็นข่าว

วีดีโอ ข่าวทีวีช่อง11 เสวนา “พลังสื่อ กับ การเพิ่มคุณภาพชีวิตแรงงาน ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม”

การเสวนา "พลังสื่อ กับ การเพิ่มคุณภาพชีวิตแรงงาน ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม" จัดโดย  โครงการการพัฒนาสื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนขบวนการแรงงาน   มูลนิธิพิพิธภณฑ์แรงงานไทยสนับสนุนโดย  แผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน (สสส.) วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม 2553  โรงแรมรัตนโกสินทร์

แรงงานข้ามชาติอีสานใต้ป่วยด้วยสารเคมี

เจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองเขมราฐ จ.อุบลราชธานี รายงานว่า มีประชาชน สปป.ลาวไม่น้อยกว่า 50,000 คนต่อปีที่หลั่งไหลเข้ามาสู่ประเทศไทยแล้วหายไป โดยไม่กลับคืนสู่บ้านของตัวเองตามระยะเวลาที่ขอข้ามแดนในเอกสาร อีกทั้งในพื้นที่ชายแดนอีสานใต้ยังมีแรงงานจาก สปป.ลาวที่ข้ามเขตมาทำงานตามฤดูกาลโดยไม่ทำเอกสารใดๆ แต่จะผ่านเข้ามาในชุมชนโดยมีนายหน้าเป็นผู้จัดการ เพื่อเข้ามาทำงานตามฤดูกาลเช่น ดำนา เกี่ยวข้าว ตัดอ้อย ปลูกยาสูบ ทำงานในสวนยางพารา อีกด้วย

แรงงานบ่อวินรวมใจหาเงินสร้างพลังหนุนแก้ปัญหาพื้นที่

วันที่ 31 ตุลาคม 2553 คณะทำงานกลุ่มแรงงานบ่อวิน สัมพันธ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก สำนักงานเลขที่ 120/46 ม. 4 ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ได้จัดกิจกรรมทำบุญสำนักงานฯ และทอดผ้าป่าเพื่อเป็นทุนช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ตั้งเป็นกองทุนเพื่อสนับสนุนในการจัดกิจกรรมให้กับสมาชิก โดยมีผู้เข้าร่วมเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้กว่า 150 คน

ทั้งนี้ สหภาพแรงงานต่างๆที่เป็นสมาชิกของกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก และผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วนได้ร่วมกันบริจาคเงินสนับสนุนกิจกรรม”แรงงานบ่อวินรวมใจสร้างอนาคตให้ตนเอง”ในครั้งนี้ประมาณ 200,000 บาท

แรงงานร่วมใจ สู้ภัยน้ำท่วม

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2553 ที่โรงแรมบางกอกพาเลซ ถนนมักกะสัน กรุงเทพ ในงานสัมมนาเรื่อง “สร้างการเรียนรู้เพื่อมีส่วนร่วมในการผลักดัน พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. …จัดโดยคณะคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานและแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน โครงการ “แรงงานร่วมใจ สู้ภัยน้ำท่วม” โดยความร่วมมือของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย (มพร.) ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเปิดรับบริจาคเงินจากองค์กรแรงงานต่างๆ เพื่อรวบรวมส่งไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากน้ำท่วม ในวันดังกล่าวผู้เข้าร่วมการสัมมนาจำนวนมากร่วมกันบริจาคตามกำลังศรัทธา รวมแล้วเป็นเงินทั้งสิ้น 38,734.75 บาท(สามหมื่นแปดพันเจ็ดร้อยสามสิบสี่บาทเจ็ดสิบห้าสตางค์) ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวจะได้นำส่งมอบเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัย น้ำท่วมผ่านทางทีวีไทย ต่อไป

โรงงาน“หลอมทองแดง” ทำหนึ่งชีวิตแรงงานดับ

โรงงานประหยัดลดต้นทุน สั่งเผาวัตถุดิบปนเปื้อนราคาถูก หนึ่งชีวิตผู้ใช้แรงงานดับคาที่ และอีกสองชีวิตยังไม่เต็มร้อย ยังมีอาการเจ็บหน้าอก คปอ.สั่งหยุดเครื่องจักรตรวจสอบและแก้ไขเร่งด่วน
เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2553 เวลาประมาณ 21.00 น. มีพนักงานบริษัทผลิตท่อทองแดง ส่งออกและขายภายในประเทศ ตั้งอยู่ที่ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวีดสระบุรี ถูกหามส่งโรงพยาบาลมิตรภาพ จังหวัดสระบุรี จำนวน 3 คน โดยมีนายจำรัส กงเพ็ชร ตำแหน่งโฟร์แมน ได้เสียชีวิต 1 ราย อีก 2 ราย อยู่ระหว่างการดูอาการของแพทย์

เครือข่ายแรงงานเสนอผู้ประกันตนร่วมลงชื่อปฏิรูปประกันสังคม

• ทำไมต้องปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
กฎหมายประกันสังคมฉบับนี้บังคับใช้มานานร่วม 20 ปี(กันยายน 2533- กันยายน 2553) และการบังคับใช้กฎหมาย ในช่วงที่ผ่านมามีประเด็นปัญหาที่ผู้ประกันตนเข้าไม่ถึงสิทธิที่ควรจะได้รับ การมีส่วนร่วม ความไม่โปร่งใส และสิทธิประโยชน์บางส่วน ไม่สอดคล้องกับพลวัตรการจ้างงานที่เปลี่ยนไป
สถานการณ์ดังกล่าวทางคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยและเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน โดยการสนับสนุนของแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (ส.ส.ส.) จึงได้มีกระบวนการยกร่าง พระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ฉบับบูรณาการแรงงาน) มาตั้งแต่เดือนกันยายน 2552 โดยอิงกับร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคมฉบับที่ผ่านมติคณะรัฐมนตรีเป็นหลัก มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดในบางมาตรา และเพิ่มมาตราใหม่หรือบทเฉพาะกาล โดยพิจารณาถึงความครอบคลุม ความโปร่งใสและตรวจสอบได้ มุ่งหลักประกันระยะยาวและประสิทธิภาพในการให้บริการ รวมถึงการมุ่งเน้นให้สำนักงานประกันสังคมเป็นองค์การอิสระ

ประชุมเครือข่ายผู้ประสบภัยจากการทำงานในเอเซีย

สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ซึ่งมี รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นายบารมี ชัยรัตน์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน ดิฉันนางสมบุญ สีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย นายลิขิต ศรีลาพล เจ้าหน้าที่สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ นายจะเด็จ เชาน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อนหญิง นายสุชาติ ตระกูลหูทิพย์ ฝ่ายแรงงานมูลนิธิเพื่อนหญิง ได้เข้าร่วมประชุม ANROAV ประจำปีครั้งนี้ที่เมือง บันดุง ประเทศอินโดนีเซีย ตั้งแต่วันที่ 16-21 ตุลาคม 2553 โดยมี 13 ประเทศในทวีปเอเชีย และ ปีนี้มีคนมาร่วมมากกว่าทุกปีเพราะมีประเทศทางยุโรปมาร่วมประชุมด้วย เช่น ประเทศแคนนาดา สหรัฐอเมริกา ออสเตรีย อิหร่าน ภายในงานได้มีการประชาสัมพันธ์งานด้วยป้ายในงานขนาดใหญ่และเสื้อรณรงค์ ว่าด้วยเรื่องของสถิติคนงานทั่วโลกที่เสียชีวิตและประสบอันตรายจากการทำงาน ที่มีการประสบอันตรายจากการทำงานและเสียชีวิตทั่วโลกดังนี้ 1,100,000 คนต่อปี 30,000 คนต่อวัน 125 ต่อชั่วโมง และ 2 คนทุกหนึ่งนาที

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กับ มักกะสันคอมเพล็กซ์ ; พื้นที่ทับซ้อนด้าน “คุณค่า”กับ “ราคา”

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย จับมือ FES จัดเสวนาในโอกาสครบรอบ 17 ปีการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย และ ผู้นำแรงงาน หนุนบทบาทที่ผ่านมาในฐานะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและเรียนรู้เรื่องราวของผู้ใช้แรงงานซึ่งสามารถอยู่ร่วมกับโครงการด้านธุรกิจอย่าง “มักกะสันคอมเพลกซ์”ได้โดยอยากให้เชื่อมเรื่องแรงงานสากลด้วย ด้านตัวแทนจากหน่วยงานรัฐอย่างการท่องเที่ยวฯแนะปรับให้ทันสมัยสร้างจุดขายแล้วจะช่วยโปรโมทให้ กระทรวงแรงงานฯบอกต้อง ไฮ-เทค และน่าจะเป็นกองหนึ่งในกระทรวง กระทรวงวัฒนธรรมเห็นว่าเนื้อหาและวัสดุสิ่งของด้านแรงงานมีคุณค่าต่อการอนุรักษ์ ส่วนตัวแทนจากการรถไฟฯเปรียบเทียบกับต่างประเทศว่าจะอนุรักษ์ของเก่าที่มีคุณค่ามากกว่าทำลายทิ้ง

ทำอย่างไรกับบริษัทแม่แต่ไม่ใช่นายจ้าง (ตอน 2)

จากบทความครั้งที่แล้ว “ทำอย่างไรกับบริษัทแม่แต่ไม่ใช่นายจ้าง”ถ้าท่านใดได้ติดตามหลายท่านยังงงอยู่และมีคำถามในใจอยู่หลายข้อ แต่นั้นคือความเป็นจริงที่เกิดขึ้นแล้วในภาคอุสาหกรรมที่ดำเนินธุรกิจโรงแรมและบริการเพราะอุสาหกรรมประเภทนี้จะมีกลุ่มทุนข้ามชาติ ( ส่วนใหญ่ ) ที่เข้ามาทำธุรกิจประเภทนี้ก็จะมาลงทุนสร้างอาคารสถานที่หลายๆแห่งแล้วไปจ้างบริษัทที่ดำเนินกิจการโรงแรมและบริการใหญ่ๆมาบริหารให้ เช่นในกลุ่ม Starwood , Accor ฯลฯ อะไรทำนองนั้น แต่ไม่ได้ให้การบริหารที่เบ็ดเสร็จแก่บริษัทเหล่านั้นยังคงมีส่วนร่วมในการจัดการอยู่โดยการเข้าไปก้าวก่ายในเรื่องการเงิน และสวัสดิการต่างๆ แต่คงจะไม่เป็นปัญหาอะไรถ้าในการจดทะเบียนบริษัทภายใต้ชื่อกลุ่มทุนเป็นบริษัทนายจ้างเดียวทั้งหมดทุกแห่ง แต่กลุ่มทุนนี้กลับไปตั้งบริษัทขึ้นมาแห่งหนึ่ง(บริษัทแม่นั้นเอง)มาเป็นนายจ้างของบริษัทที่ว่าจ้างเข้ามาบริหารแล้วให้บริษัทที่ว่าจ้างเข้ามาบริหารเป็นบริษัทจำกัดโดยใช้ชื่อตามกลุ่มบริษัทที่ดำเนินการบริหารโรงแรมแล้วให้รับคนงานเป็นลูกจ้างเอง(โดยตรง) โดยไม่ผ่านบริษัทแม่ และเรื่องทั้งหมดนี้ได้เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตซึ่งเป็นบริเวณที่ผู้เขียนทำงานเอง

1 248 249 250 253