บุกเบิกสร้างนักข่าวพลเมืองสายแรงงาน

ทีวีไทย ส่งทีมนักข่าวพลเมือง จัดฝึกอบรมเข้มให้นักสื่อสารแรงงานจากศูนย์แรงงานพื้นที่ต่างๆ ซึ่งถือเป็นรุ่นบุกเบิกของภาคแรงงาน หวังปั้นนักข่าวพลเมืองสานฝันคนงานให้มีพื้นที่ข่าวในสื่อสาธารณะ

แรงงานร่วมมือทีวีไทย สร้างนักข่าวพลเมืองกู้วิกฤติศรัทธา

แรงงานร่วมมือสื่อ สร้างนักข่าวพลเมืองกู้วิกฤติศรัทธา

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยจับมือไทยทีวี สร้างนักข่าวพลเมือง ขยายครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงรุนแรง หวังตีแพร่ความจริง เปิดหูเปิดตาสังคม เรียกความเป็นธรรมคืนสู่คนงาน
.
.
รายงานโดย พีระศักดิ์ สกุลเขียว นักสื่อสารแรงงานภาคตะวันออก

คนงานเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ เหล็กโลหะรวมพลังล่าลายมือชื่อเสนอปฏิรูปประกันสังคม

เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 53 เวลา 18.00 น. ณ ร้านอาหารปิ่นแก้ว ย่านถนนบางนา – ตราด ผู้นำแรงงานได้ประชุมชี้แจงการร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม ( ฉบับบูรณาการแรงงาน ) โดยนายชาลี ลอยสูง ประธานสมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ ยานยนต์และโลหะแห่งประเทศไทย( TEAM ) กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ประกันตนยังมีข้อจำกัดอยู่หลายประการในการเข้าถึงสิทธิของผู้ประกันตน เช่น ผู้ประกันตนเข้าไปใช้บริการในโรงพยาบาลที่เลือกไว้ ต้องพบกับปัญหาทางด้านบริการทางการแพทย์ที่ด้อยกว่ามาตรฐาน ให้การบริการด้อยกว่าคนไข้ปกติ และยาที่ให้ก็ด้อยกว่าอีกด้วย

ศูนย์แรงงานภูเก็ตอบรมสมาชิก:การทำงานให้ปลอดภัย

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานในระบบภูเก็ต ได้จัดอบรมเรื่องด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ณ.คาติน่า ภูเก็ตทั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานในระบบ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย แผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน สำนักงานกองทุนสนับสนุนเสริมสร้างสุขภาพ (สสส) ซึ่งได้มีการแบ่ง 4 กลุ่ม มีคณะกรรมการศูนย์ จำนวน 4 คนประกอบด้วย นายจำรัส ทอดทิ้ง นายวารินทร์ สังข์คง นายประสม สมถวิล และนายพงษ์พิชน์ น้อมประวัติ

วุฒิสภาผ่านร่าง พ.ร.บ.ความปลอดภัยอาชีวอนามัย

การประชุมวุฒิสภา สมัยสามัญนิติบัญญัติ วันนี้ (8 พ.ย.) ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. … ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยสาระสำคัญของร่างกฎหมาย คือ การให้หน่วยราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น รวมถึงกิจการอื่นๆ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จัดให้มีมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน นอกจากนี้ ยังกำหนดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัยฯ ซึ่งมีหน้าที่เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบาย แผนงาน หรือมาตรการความปลอดภัย ตลอดจนวินิจฉัยคำอุทธรณ์ รวมถึงการติดตั้งอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย และการเข้าไปตรวจสถานประกอบการ

15 ปีชัยชนะที่ได้มาด้วยการสูญเสีย..

ณ.ศาลแรงงานกลาง 8 พฤศจิกายน 2553 ผู้ป่วยทุกคน มุ่งหน้ามาศาลกันอย่างพร้อมเพียงและตั้งใจมากที่สุดเพราะรอวันนี้มานานแล้ว คนป่วยที่เป็นผู้สูญเสียสมรรถภาพปอด เกือบ 30 คนจากจำนวน 37 คน ที่เหลือไม่สามารถมาศาลได้ กับ ติดต่อไม่ได้ สีหน้าของทุกคนที่มาศาลวันนี้ดูจะซูบซีด มีความกังวลใจ เพราะนอนกันไม่หลับ แต่ทุกคนก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ได้เตรียมใจมาพร้อมที่จะน้อมรับคำพิพากษาในวันนี้ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นไม่ว่าจะแพ้หรือชนะ ชีวิตก็ต้องดำเนินต่อไป กับ 15 ปีที่ผ่านมาด้วยความทุกข์ยากลำบาก เพราะการต้องสูญเสียสุขภาพ ขาดอาชีพและรายได้ที่จะมายังชีพ เยียวยารักษาตัวอย่างต่อเนื่อง หลายคนต้องอยู่อย่างยากจนอนาถา เป็นทุกข์และท้อแท้ บางครั้งต้องร้องไห้ให้กับตัวเองกันมาหลายหน เพราะเมื่อหาหนทางออกไม่ได้หรือต้องล้มป่วยมากๆ กับการไม่มีเงินที่จะมาเยียวยารักษา แต่ด้วยความเด็ดเดี่ยวเมื่อตัดสินใจแล้วว่าจะสู้ ทุกคนก็ต้องอดทน แต่หลายคนก็อดคิดไม่ได้ว่า พวกเราคนป่วยจะมีลมหายใจอยู่จนถึงวันที่ศาลนัดฟังคำพิพากษาฎีกาหรือไม่

15 ปี ที่ต้องรอคอยคนงานทอผ้าป่วยปอดเสื่อมจากการทำงาน

นางอุไร ไชยุชิต โจทก์ที่ 4 เป็นคนเดียวและคนแรกที่ได้รับหมายนัด จากศาลแรงงานกลางลงวันที่ 5 ตุลาคม 2553 ในคดีระหว่าง นางสมบุญ สีคำดอกแค โจทก์ที่1 กับพวกอีก 38 คน กับบริษัทโรงงานทอผ้ากรุงเทพ จำเลยที่ 1 กับพวกรวม 2 คน หมายนัด ให้ไปฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2553เวลา 13.30 น. ที่ศาลแรงงานกลางใกล้หัวลำโพง (รหัสหมาย 53/7869)คดีแดงที่ 10686 -10692 /38 ,10694-10710,10712-10714/38,10717-10727/38 ฉันตกใจหมดเลยว่ะ ไอ้แก้ว (เตือนใจ บุญที่สุด)โจทก์ในคดีเช่นกัน อยู่ๆก็ได้รับหมายศาล แกได้ไหมวะ ไม่ได้…ไหนลองส่งมาให้พี่เภาที่ออฟฟิตเขาดูหน่อยซิ

วุฒิสภาขยายเวลาลงมติวาระ 2-3 ร่างพ.ร.บ.ความปลอดภัย

ในจันทร์ 8 พฤศจิกายน 2553 วุฒิสภาเตรียมพิจารณาเรื่องขอขยายเวลา ลงมติวาระ 2-3 ร่างพรบ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพ แวดล้อมในการทำงาน พ.ศ….ออกไปอีก จนถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 แม้ว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญ วุฒิสภา จะพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้เสร็จเรียบร้อยแล้วก็ตาม!

แรงงานนอกระบบเตรียมทวงถามรัฐเรื่องการคุ้มครอง

วันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2553 ห้องประชุมนนทรี 2 ชั้น 4 โรงแรม KU HOME มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน (ส.ส.ส.) จัดการประชุมเชิงกระบวนการและแผนปฏิบัติการติดตามประเมินผล ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยแรงงานนอกระบบภาคกลาง, แรงงานนอกระบบภาคกทม. ,สำนักควบคุมโรคติดต่อ,มหาวิทยาลัยมหิดลภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์,มหาวิทยาลัยหัวเฉียว ,องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)ภาคกลาง, ทีมประเมินภายใน และเจ้าหน้าที่แผนพัฒนาคุณภาพชีวิต
จัดประชุมวางแผนการทำงานร่วมกัน

เครือข่ายแรงงานนอกระบบยื่นร่างพ.ร.บ.บำนาญคณะกรรมาธิการการแรงงาน

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2553 เวลา 10.30 น. ตึกรัฐสภา 3 ชั้น 3 นางสุจิน รุ่งสว่างประธานเครือข่ายแรงงานนอกระบบภาค กทม.และคณะยื่นหนังสือเรื่อง ร่าง พระราชบัญญัติบำนาญชราภาพ พ.ศ. …. (ฉบับภาคประชาชนร่วมกับผู้ใช้แรงงาน) ต่อ นายสถาพร มณีรัตน์ กรรมาธิการแรงงานสภาผู้แทนราษฏร นางสุจิน กล่าวได้นำเสนอว่า เรื่องขอให้นำร่าง พ.ร.บ. บำนาญชราภาพ พ.ศ. ….(ฉบับภาคประชาชนร่วมกับผู้ใช้แรงงาน) เพราะฉบับของภาคประชาชนมีข้อแตกต่างจากร่างของรัฐบาลในเรื่อง หลักการออม

มึนตึ้บ! ขอลากิจแต่นายจ้างให้ลาออก ชวดสิทธิเงินทดแทน

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 ได้รับการเปิดเผยจากนางสาวสุรินทร์ พิมพา เจ้าหน้าที่ฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์ของกลุ่มสหภาพแรงงานย่านอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ว่า คนงานหญิงแผนกเย็บผ้า บริษัทรัตนาภรณ์ ตั้งอยู่ย่านอ้อมใหญ่ ว่าเมื่อราวปลายเดือนกันยายนเคยถูกใบเตือนเนื่องจากลากิจไปรับลูกที่ภาคใต้เพื่อที่จะไปส่งให้แม่ที่จังหวัดอุดรแต่ทางบริษัทไม่ยอมให้ใบลาแต่กลับให้ใบเตือน ต่อมาเมื่อวันที่30ตุลาคมได้ไปขอใบลาเพื่อลาไปส่งลุกที่อุดรทางฝ่ายบุคคลไม่ยอมให้ใบลาแถมขู่ว่าหากหยุดงานจะให้ออกจากงาน

ต้นทุนแรงงานต่ำ ชะตากรรมแรงงานไทย

บรรษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ได้รับการสนับสนุนจาก บี โอ ไอ ในการลดหย่อนภาษีจากรัฐบาลไทย ได้แสวงหาผลประโยชน์กำไรอย่างมหาศาลจากการจ้างงานราคาถูก จ้างงานแบบเหมาช่วง แบบชั่วคราว Subcontract โดยการใช้ช่องโหว่ของกฎหมายแรงงานไทย

1 247 248 249 253