เช็กอาการนิคมหลังน้ำลด เจ็บ-หนัก-เบา ตามสภาพที่ตั้ง กลับมาเดินเครื่องม.ค.ไม่ถึงครึ่ง

มหาอุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบ 70 ปีที่เกิดขึ้นในประเทศไทยช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา สร้างความสูญเสียให้กับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และภาคธุรกิจมหาศาล เพราะเป็นครั้งแรกที่มวลน้ำขนาดใหญ่บุกทำลายแหล่งการผลิตที่สำคัญในเขตนิคมอุตสาหกรรมถึง 7 แห่ง รวมมูลค่าลงทุนทั้งสิ้นเกือบ 6 แสนล้านบาท กระทบการจ้างงานถึง 3 แสนราย ขณะที่ธนาคารโลกได้ประเมินความเสียหายครั้งนี้สูงถึง 1.42 ล้านล้านบาท

หรือแรงงานนอกระบบจะเป็นประชาชนชั้นสองในสายตากระทรวงแรงงาน ?

น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ซ้ำเติม เพิ่มความลำบากให้แก่แรงงาน นอกระบบ ซึ่งส่วนใหญ่มีบ้านอยู่อาศัยและที่ทำมาหากินอยู่ในพื้นที่รอบนอกที่รัฐบาลปล่อยให้เป็นพื้นที่น้ำแช่ขังเพื่อรักษากรุงเทพฯชั้นใน

21 ธันวาคม 2554 เมื่อน้ำลด และศึกษาดูแล้วว่ามาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยที่รัฐบาลประกาศออกมานั้นไม่ได้มีการระบุความช่วยเหลือที่ตรงไปสู่แรงงานนอกระบบ หรือเมื่อพยายามใช้สิทธิ์ตามที่รัฐบาลประกาศก็พบว่าไม่สามารถเป็นจริงได้ในทางปฏิบัติ

ลูกจ้างอยุธยาช้ำ เข้าไม่ถึงมาตรการเยียวยาของรัฐ

หลังจากมีมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย ที่หาเสียงให้ความหวังพี่น้องแรงงานทั่วประเทศว่าจะปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทพร้อมกันทั่วประเทศ จึงทำให้ค่าครองชีพในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาสูงขึ้นอย่างน่าใจหาย จึงทำให้รายได้ของลูกจ้างไม่พอกับค่าใช้จ่าย ในชีวิตประจำวัน

เมื่อเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ลูกจ้างส่วนใหญ่ที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดมาทำงานที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้รับค่าแรงขั้นต่ำ 190 บาท หลังจากน้ำท่วมต้องรับค่าแรงเพียงร้อยละ 75 ของค่าจ้าง และบางสถานประกอบการก็จ่ายเพียงร้อยละ 50 เท่านั้น และก็มีหลายบริษัทที่ยังไม่มีความชัดเจนทั้งเรื่องค่าจ้างและอนาคตการจ้างงาน ผลจากการทำแบบสอบถามลูกจ้างที่เข้ามารับความช่วยเหลือที่ศูนย์ช่วยเหลือแรงงานที่ประสบอุทกภัย บางปะอิน พระนครศรีอยุธยา ถึงมาตรการที่รัฐบาลออกมาช่วยเหลือลูกจ้างนั้นได้รับหรือไม่ ซึ่งได้รับคำตอบว่า “ไม่แน่ใจ และไม่สามารถช่วยเหลือลูกจ้างได้จริงอย่างที่รัฐประกาศหาเสียงไว้ว่าจะมีการปรับขึ้นค่าจ้าง หรือมาตรการความช่วยเหลือ 2,000 บาทเงินกู้ยืมซ่อมแซมบ้านรวมถึงมาตรการอื่นๆ”

ชะตากรรมแรงงานในภาวะน้ำท่วม

ผลจากสถานการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมากว่า 2 เดือน ทำให้ทุกภาคส่วนในประเทศ ได้รับผลกระทบกันทั่วหน้า โดยเริ่มจากภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว แรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ ต่างได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัยในครั้งนี้ ในพื้นที่ 21 จังหวัดที่เกิดขึ้น โดยภาพรวมทำให้ผู้ใช้แรงงานในระบบได้รับผลกระทบประมาณ 1ล้าน 1หมื่น คน สถานประกอบการโรงงานได้รับความเสียหาย 28,500 กว่าแห่ง นิคมอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบ 9 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา นิคมอุตสาหกรรมแฟคตอรี่แลนด์ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา นิคมอุตสาหกรรมนวนคร อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี นิคมอุตสาหกรรมบางกะดี อ.เมือง จ.ปทุมธานี และ โรงงานในเขตอุตสาหกรรมอ้อมน้อย อ้อมใหญ่ อ.สามพราน จ.นครปฐม นิคมอุตสาหกรรมบางชัน เขตมีนบุรี กทม. และนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กทม.

มุมแรงงาน//วิกฤตน้ำท่วม! เลิกจ้างตามกฎหมายเป็นธรรมแล้วหรือ?

เหตุการณ์น้ำท่วมประเทศไทยในครั้งใหญ่ สร้างความเสียหายให้กับประชาชนที่เป็นทางไหลผ่านของมวลน้ำมหาศาล ไม่เคยคิดเลยว่า เกิดมาชาตินี้จะได้เห็นน้ำท่วมที่ไม่มีฝนตก ไม่มีพายุ และท่วมแบบยาวๆนานๆ ภาพของทุกสรรพสิ่งมีชีวิตพยายามกระเสือกกระสนหนีเอาชีวิตรอด อาคารบ้านเรือน ข้าวของเครื่องใช้ โบราณสถาน ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรมต่างจมน้ำหมด ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตและอนาคตข้างหน้าของผู้คน ผู้ใช้แรงงาน และเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ภาพความเสียหาย ภาคอุตสาหกรรมที่เสียหายรัฐบาลโดดเข้าอุ้มชูออกหน้าออกตาพยุงให้ลุกขึ้นมาด้วยการสั่งจ่ายงบประมาณ ลดภาษีสร้างแรงจูงใจ ไม่ให้ย้ายสถานประกอบการหนี้ ทั้งเรื่องการเลื่อนการปรับค่าจ้าง คุ้มทั้งโรงงานน้ำท่วม และไม่ท่วมได้ประโยชน์พอยฟ้าพอยฝนไปด้วย ซึ่งอีกไม่นานโรงงานก็จะกลับมาประกอบกิจการ และเริ่มการผลิตพร้อมเตรียมกอบโกยกำไรต่อไป “แต่ในส่วนของผลกระทบต่อชีวิตผู้คน เกษตรกรชาวนา ชาวไร่ คนงาน ที่ต่างมีความเสียหายไม่ต่างกัน รัฐบาลกกลับมีมาตรการที่ไม่ชัดเจนในการดูแลเห็นเพียงงบประมาณ 5,000 บาทสำหรับบ้านที่เสียหาย ซึ่งมีเสียงตอบกลับมาว่าคงได้ประตูซักบานมั่ง” และยังมีกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ต้องอาศัยโรงงานหรือภาคอุตสาหกรรมในการสร้างรายได้ ตอนนี้ช่วงน้ำท่วมจนน้ำลด ชีวิตพวกเขาจะเป็นอย่างไร? เป็นเพียงคำถาม ที่พวกเขาคงรู้อยู่ว่าไม่มีใครดูแล นโยบายที่รัฐมีไม่ได้ดูคนกลุ่มนี้ ทั้งกลุ่มแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ และแรงงานข้ามชาติ โดยไม่มีแม้แต่หางตาที่จะมองเขาเหล่านี้มีคุณูปราการมีส่วนสร้างผลผลิตให้เศรษฐกิจเติบโต

แผนแม่บทด้านความปลอดภัยดีอย่างไร? ทำไมคนงานยังมีภัยจากเครื่องจักรและสารเคมี?

สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากากรทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย รวมตัวมาจากผู้เจ็บป่วยและประสบอันตรายจากการทำงาน ในฐานะองค์กรผู้ถูกกระทบจากการพัฒนาอุตสาหกรรม ได้ร่วมกันเคลื่อนไหวเรียกร้องให้คนงานที่เจ็บป่วยและประสบอันตรายจากการทำงานได้เข้าถึงสิทธิตามกฎหมายกองทุนเงินทดแทน 19 แล้วปัญหาสุขภาพความปลอดภัยก็ยังเป็นเพียงนามธรรมเท่านั้น คนงานยังเจ็บป่วยและประสบอันตรายจากการทำงานปีละจำนวนมาก เพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยัง ขาดการปฎิบัติเพื่อการป้องกันอย่างจริงจัง สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยได้ค้นคว้าข้อมูลจาก ตัวเลขสถิติของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน ที่มีคนงานต้องเจ็บป่วยและประสบอันตรายดังนี้

ภัยพิบัติธรรมชาติ: ทุนนิยมขุดหลุมฝังศพตนเอง

คาร์ล มาร์กซ เคยกล่าวไว้นานมาแล้ว ในหนังสือ ชื่อ Capital ซึ่ง คนส่วนใหญ่ลืมแล้ว คิดว่าเป็นการโฆษณาชวนเชื่อ หรือไม่เชื่อว่าสิ่งที่มาร์กซพูดไว้จะกลายเป็นความจริงในวันนี้

มาร์กซพูดไว้ว่า “ระบบทุนนิยมเป็นระบบที่พัฒนาไปสู่การขุดหลุมฝังศพให้กับตนเอง”

ภาวะโลกร้อน ที่ก่อให้เกิดภัยพิบัติธรรมชาติ เช่น ลมพายุทอเนโด ใต้ฝุ่น เฮริเคน สึนามิ น้ำหลาก น้ำท่วม ราคาน้ำมันแพงและกำลังจะหมดโลกซึ่งกำลังสร้างความหายนะให้กับมนุษยชาติในวันนี้ เป็นผลพวงของการพัฒนาของระบบทุนนิยมที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดในภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เน้นการเติบโตของ GDP และผลกำไรสูงสุด โดยไม่คำนึงถึงปริมาณจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิด ความสมดุลทางธรรมชาติ และความไม่รู้จักบันยะบันยังในการบริโภคแค่พอเพียงอย่างสมดุล ธรรมชาติจึงแบกรับไว้ไม่ไหวอีกต่อไป

รัฐสภาเห็นชอบร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม 14,500 รายชื่อ

เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2554 ที่รัฐสภา มีการประชุมร่วมกันระหว่างสภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภา เพื่อให้ความเห็นชอบพิจารณาร่างพ.ร.บ.ที่รัฐสภายังมิได้ให้ความเห็นชอบและยังดำเนินการไม่เสร็จตามรัฐธรรมนูญมาตรา 153 วรรคสอง ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอรวม 24 ฉบับ 1 ใน 24 ฉบับนั้น คือ ร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่…) พ.ศ….ทั้งนี้ที่ประชุมได้พิจารณานานกว่า 3 ชั่วโมง และได้ลงมติเห็นชอบรับรองด้วยเสียงเอกฉันท์ 511 เสียง หลังจากนั้นร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้จะถูกเข้าสู่การพิจารณาตามกระบวนการนิติบัญญัติ คือ การบรรจุวาระเพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณารับหลักการเห็นชอบในวาระ 1 ในการเปิดประชุมสภาสมัยนิติบัญญัติสมัยหน้า คือ ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2554 – 18 เมษายน พ.ศ.2555 ต่อไป ซึ่งจะเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาตรากฎหมายโดยเฉพาะ ไม่สามารถเสนอญัตติทั่วไปได้ (29 พฤศจิกายน 2554 – 20 ธันวาคม 2554 เป็นช่วงปิดสมัยประชุมสภาฯ)

เรื่องเล่าหลังน้ำลดการกลับมาของแรงงานข้ามชาติ

นาย โก โก แรงงานข้ามชาติวัย 18 ปี จากรัฐมอญประเทศพม่าเดินทางเข้ามาในประเทศไทยพร้อมกับพี่สาววัย 23 ปี เมื่อหลายปีที่ก่อน เพื่อทำงานหาเงินส่งไปเลี้ยงครอบครัวที่ยังอาศัยอยู่ในประเทศพม่า เขาเล่าว่าที่ประเทศพม่าไม่มีงานมากนักให้เขาทำเขาจึงต้องเข้ามาใช้แรงงานในประเทศไทย

ปัจจุบัน ทั้งคู่รับจ้างขายผักอยู่ที่ ตลาดไท ย่านรังสิต จังหวัดปทุมธานี (จังหวัดหนึ่งในเขตปริมณฑล) ตั้งแต่ 10 โมงเช้า จนถึง 2 ทุ่มทุกวันและไม่เคยได้รับอนุญาตให้หยุดงานแม้ในช่วงเทศกาล โดยได้รับค่าจ้างคนละ 350 บาท (ประมาณ 12 ดอลล่าร์) ต่อวัน พี่สาวของ นาย โก โก ได้ขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติและขออนุญาตทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ในขณะที่นายจ้างกลับไม่สามารถช่วยพา นาย โก โก ให้เข้าสู่กระบวนการตามระบบเช่นเดียวกับพี่สาวของเขา และเมื่อน้ำเข้าท่วมจังหวัดปทุมธานีในเดือนตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา

ออง แรงงานพม่า เหยื่อจากวิกฤตน้ำท่วม

นายอองหนุ่มชาวพม่าวัย 23 ปี ถูกนายหน้าพาเข้ามาและอาศัยอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 จากเกาะสองซึ่งอยู่ทางใต้ของประเทศพม่า เพื่อทำงานในจังหวัดภูเก็ต (ภาคใต้ของประเทศไทย) ซึ่งในครั้งนี้นายอองต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 130 ดอลล่าร์ให้แก่นายหน้า

ภายหลังจากที่เขาเปลี่ยนไซท์งานก่อสร้าง รวมถึงงานที่โรงแรมไปประมาณ 3 แห่ง นายอองยอมจ่ายอีก 4,500 บาท (ประมาณ 150 ดอลล่าร์) ให้นายหน้าพาเขาเข้ามารับจ้างล้างรถในกรุงเทพฯ ในปีนี้เอง (พ.ศ.2554) นายจ้างที่อู่ล้างรถที่เขาทำงานก็ได้พาเขาไปขึ้นทะเบียนแรงงานและขออนุญาตทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ประมาณ 3-4 เดือนให้หลัง นายอองก็ได้ออกจากงานที่อู่ล้างรถไปทำงานก่อสร้างแทน

ปัญหามลพิษจากการเร่งกู้นิคมฯ

รัฐบาลได้ประกาศจะกู้นิคมอุตสาหกรรมโดยเร่งด่วน ทั้งนี้ก็เพื่อฟื้นฟูภาคอุตสาหกรรมให้กลับมายืนขึ้นได้โดยเร็ว ซึ่งจะมีผลดีต่อเศรษฐกิจชาติโดยรวม อันนี้ไม่มีใครเถียงและคงยกมือสนับสนุนกันถ้วนหน้า เพราะนอกจากจะแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจแล้วยังแก้ปัญหาทางสังคม เช่น ด้านแรงงาน ด้านขโมยขโจรที่จะมีตามมาหากไม่มีงานทำ ฯลฯ ได้อีกด้วย แต่ที่อาจมีปัญหาคือการเร่งกู้โดยไม่รอบคอบ ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลเสียมหาศาลตามมาโดยเฉพาะในด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ การที่หน่วยงานราชการบางแห่งที่รับผิดชอบดูแลเรื่องมลพิษให้กับประเทศออกมาบอกว่า ให้กู้ไปก่อนโดยสูบหรือปล่อยระบายน้ำทิ้งออกจากบริเวณนิคมฯไปก่อน แล้วจะเฝ้าตรวจคุณภาพน้ำตามไป หากมีปัญหาตรงไหนก็จะหามาตรการแก้ไขเป็นกรณีไป

“ ภัยพิบัติน้ำท่วม กับเสียงร้องของแรงงาน ”

ในช่วงวิกฤติการณ์น้ำท่วมที่หลายคนมองว่าเป็นภัยพิบัติร้ายแรง ส่งผลกระทบต่อชีวิตทรัพย์สินมากกว่าครั้งไหนๆที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย การออกมาพูดถึงความเสียหายทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาอุตสาหกรรม ฐานที่มั่นในการผลิตสินค้าส่งป้อนตลาดระดับโลก ที่เรียกว่านิคมอุตสาหกรรมซึ่งตั้งอยู่ในที่ลุ่มใกล้แหล่งน้ำได้ถูกทำลายไปหลายแห่ง มีการนำเสนอประเด็นข่าวข้อเรียกร้องของสถานประกอบการภายใต้สภาหอการค้าและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเกิดขึ้นอย่างถี่ยิบเพื่อกดดันรัฐบาลให้ออกมาตอบรับในการลดเม็ดเงินภาษี และการกู้หนียืมสินจากต่างประเทศมาเร่งฟื้นฟูสถานประกอบการที่ประสบภัยหลังน้ำลดอย่างได้ผล สร้างความเห็นอกเห็นใจจากสาธารณชนได้เป็นอย่างดี ขณะที่เสียงร้องของบรรดาผู้ใช้แรงงานที่ประสบเคราะห์กรรมจากภัยพิบัติครั้งนี้จำนวนนับหลายแสนคนกลับดูเหมือนว่าไม่ค่อยมีใครจะได้ยิน

1 18 19 20 27