ลูกจ้างอยุธยาช้ำ เข้าไม่ถึงมาตรการเยียวยาของรัฐ

โดย จำลอง ชะบำรุง นักสื่อสารแรงาน ศูนย์แรงงานอยุธยา รายงาน

หลังจากมีมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาล   นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร  นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย ที่หาเสียงให้ความหวังพี่น้องแรงงานทั่วประเทศว่าจะปรับค่าแรงขั้นต่ำ  300 บาทพร้อมกันทั่วประเทศ จึงทำให้ค่าครองชีพในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาสูงขึ้นอย่างน่าใจหาย จึงทำให้รายได้ของลูกจ้างไม่พอกับค่าใช้จ่าย ในชีวิตประจำวัน

เมื่อเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย  ลูกจ้างส่วนใหญ่ที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดมาทำงานที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้รับค่าแรงขั้นต่ำ 190 บาท หลังจากน้ำท่วมต้องรับค่าแรงเพียงร้อยละ 75 ของค่าจ้าง และบางสถานประกอบการก็จ่ายเพียงร้อยละ 50 เท่านั้น และก็มีหลายบริษัทที่ยังไม่มีความชัดเจนทั้งเรื่องค่าจ้างและอนาคตการจ้างงาน ผลจากการทำแบบสอบถามลูกจ้างที่เข้ามารับความช่วยเหลือที่ศูนย์ช่วยเหลือแรงงานที่ประสบอุทกภัย บางปะอิน พระนครศรีอยุธยา ถึงมาตรการที่รัฐบาลออกมาช่วยเหลือลูกจ้างนั้นได้รับหรือไม่ ซึ่งได้รับคำตอบว่า “ไม่แน่ใจ และไม่สามารถช่วยเหลือลูกจ้างได้จริงอย่างที่รัฐประกาศหาเสียงไว้ว่าจะมีการปรับขึ้นค่าจ้าง หรือมาตรการความช่วยเหลือ 2,000 บาทเงินกู้ยืมซ่อมแซมบ้านรวมถึงมาตรการอื่นๆ” มีบริษัทที่ไม่เข้าโครงการฯ ทำเรื่องเลิกจ้างลูกจ้างยอดสูงขึ้นทุกวัน คิดแต่ว่าลูกจ้างนั้นคือต้นทุนการผลิตเป็นภาระต่อนายจ้างเมื่อวิกฤติต่างๆทั้งเศรษฐกิจ สึนามิ น้ำท่วม ส่งผลไม่ส่งผลกระทบฉวยโอกาสเลิกจ้างไว้ก่อน น่าน้อยใจ ซ้ำยังมีมาตรการส่งคืนนายจ้างรับเหมา ถูกกดขี่แบบซ้ำซ้อนกินค่าหัวกันเป็นทอดๆจนลูกจ้างงงหานายจ้างไม่เจอก็มี เมื่อลูกจ้างสอบถามก็โยนกันเป็นลูกบอลที่ไม่ยอมให้อยู่ในเท้าใคร ไปไม่ถึงเป้าหมายคือประตู รัฐก็รีบรับลูกเข้าโครงการเพื่อนช่วยเพื่อนส่งไปไกลโพ้นมาเลเซีย ญี่ปุ่น ใกล้หน่อยก็ระยอง ชลบุรี ลำพูน ซึ่งลูกจ้างหลายจังหวัดในไทยอยู่ในสภาพที่นายจ้างอ้างผลกระทบลดสวัสดิการ ลดค่าแรงด้วยเช่นกัน ลูกจ้างเหมาช่วง เหมาค่าแรงหลายรายที่บอกว่าไม่ได้รับค่าแรงตั้งแต่น้ำท่วม ทั้งๆที่บริษัทไม่ได้มีปัญหาเรื่องเครื่องจักรจมน้ำ  ซึ่งลูกจ้างเหมาช่วง เหมาค่าแรงเหล่านี้ จะมีผลกระทบมากที่สุดและยังไม่มีมาตรการที่จะแก้ไขให้มีหลักประกันที่จะทำให้ลูกจ้างมีความมั่นคงในอาชีพ

นาย  อุดม  ไกรยราช  ประธานกลุ่มผู้ใช้แรงงานจังหวัดพระนครสรีอยุธยาและใกล้เคียงกล่าวว่า "ข้อกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ที่มีการตีความในกรณีน้ำท่วมครั้งนี้ เป็นเหตุสุดวิสัย นั้นทำให้ลูกจ้างที่ไม่มีสหภาพแรงงานได้รับผลกระทบอย่างมากทั้งการที่นายจ้างไม่จ่ายค่าแรง  นายจ้างเลิกจ้าง และตอนนี้นายจ้างฉวยโอกาศเลิกจ้างสหภาพแรงงานทั้งหมด ซึ่งให้เหตุผลว่า บริษัทไม่สามรถจ้างลูกจ้างต่อไปได้ เพราะเครื่องจักรเสียหายถูกน้ำท่วมเป็นเวลานาน และมีโอกาสที่จะมีลูกจ้างถูกเลิกจ้างอีกจำนวนมาก และลูกจ้างที่นายจ้างยังไม่

เรียกเข้าทำงานโดยให้รอไปเรื่อยๆ จนกว่าโรงงานจะเปิดให้ทำงานก็จะรออยู่ไม่ได้ เพราะไม่สามารถแบกรับค่าครองชีพที่สูงขึ้นไหว การที่ลูกจ้างจะเที่ยวเดินหางานภายในนิคมอุตสาหกรรมในแถบพระนครศรีอยุธยาคงยาก มาตรการที่รัฐเสนอยังไม่ได้เป็นการเยียวยาลูกจ้างแม้แต่น้อย"

การที่คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยมีข้อเสนอให้ทางภาครัฐคือ 1. รัฐต้องหยุดการเลิกจ้างในสถานการณ์วิกฤต ซึ่งถือเป็นการซ้ำเติมลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ในขณะที่เมื่อเกิดภัยพิบัติลูกจ้างไม่ได้ทอดทิ้งโรงงาน หรือละทิ้งหน้าที่แต่อย่างใด  2. รัฐต้องมีมาตรการในการเยียวยาลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมที่ชัดเจนและทั่วถึง โดยเบื้องต้นลูกจ้างต้องได้รับค่าจ้างเต็มจำนวนที่จะได้รับปกติ และทดแทนการขาดรายได้ให้ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ 3. ผู้ประสบภัยพิบัติต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรการในการเยียวยาและฟื้นฟูตนเองอย่างแท้จริง 4. รัฐต้องตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการใช้ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 75 กับลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม โดย 5.รัฐต้องจัดทำการสำรวจและจัดทำข้อมูลที่ชัดเจน พร้อมประชาสัมพันธ์ให้ลูกจ้างได้รับทราบเกี่ยวกับผลกระทบและมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาล

ก็เพื่อให้ภาครัฐโดยเฉพาะกระทรวงแรงงานออกมาตรการที่จะมาช่วยเหลือลูกจ้างนับแสนคนได้จริง อย่าปล่อยให้ลูกจ้างต้องรับภาระผลพวงจากภัยธรรมชาติน้ำท่วมที่พัดพาทุกสิ่งทุกอย่างแม้กระทั่งหน้าที่การงานลงทะเลตามน้ำไป เหลือเพียงน้ำตาของลูกจ้างที่ยังต้องไหลรินออกมาเพราะนายจ้างเลิกจ้าง และที่ไหลออกมาเพราะนายจ้างให้ย้ายงานเดินทางไกลข้ามน้ำข้ามทะเล หรือการที่รัฐออกมาตรการปรับค่าจ้าง ร้อยละ 40 แต่เลื่อนออกไป ลดเงินสมทบประกันสังคม มาตรการนี้ลูกจ้างที่กระทบมีมากกว่าที่ถูกน้ำท่วมแน่นอน ใครได้ประโยชน์คงต้องคิดกันเอาเอง รวมทั้งมาตรการเงินช่วยเหลือ 2,000 บาทสำหรับนายจ้างที่เข้าโครงการไม่เลิกจ้างลูกจ้างเป็นเวลา 3 เดือนที่เห็นแล้วลูกจ้างต้องร้องออกมาดังๆว่า ให้ใครล่ะ  ลูกจ้างเหมาค่าแรงถูกเลิกแล้ว นายจ้างบอกว่าไม่ใช่ลูกจ้างเขา เข้าโครงการได้ไหม มาตรการลดภาษี นำเข้าส่งออกอีกหลายมาตรการ ใครได้ประโยชน์?

////////////////////