สมัชชาแรงงาน 2554 ปฏิรูปประกันสังคมกับคุณภาพชีวิตแรงงาน

*สมัชชาแรงงาน 2554 ปฏิรูปประกันสังคมกับคุณภาพชีวิตแรงงาน *ประกันสังคมถ้วนหน้า อิสระและโปร่งใส *สู่สังคมสวัสดิการ ไร้การกีดกัน ลดช่องว่าง สร้างความเป็นธรรม

ผู้ประกันตนหวังปฏิรูปเพื่อบริการ แพทย์ชงลดผู้ป่วยอนาถา

ผู้ประกันตนหวังปฏิรูปประกันสังคม เพื่อการบริการที่ดีขึ้น เพราะปัจจุบันไม่กล้าใช้ประกันสังคมเมื่อป่วย เพราะรอนาน ยาไม่มีประสิทธิ จ่ายเงินสดแพทย์ดูแลดีกว่า รวดเร็วทันใจ ส่วนโรงพยาบาลมองว่า หากประชาชนอยู่ในระบบประกันสังคมจะทำให้ผู้ป่วยอนาถาหมดไป ลดภาระโรงพยาบาลเรื่องค่าใช้จ่าย และความเสี่่ยงคนป่วยไม่มีเงินจ่าย

กลุ่มสระบุรี “ชง” รองผู้ว่า–ฟันบริษัทละเมิดสิทธิแรงงาน!!

ลูกจ้างเสนอ เอาจริงกับบริษัทนายทุนที่ละเมิดสิทธิแรงงานและไม่ปฎิบัติตามกฎหมาย – รองผู้ว่า รับลูก “สั่งเชือด” ทันทีหากผิดจริง! มอบ สนง. สวัสดิการฯ – อุตสาหกรรม – สรรพากร เข้าตรวจสอบ!! เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2553 คณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดสระบุรีได้เรียกประชุมคณะอนุกรรมการฯครั้งที่ 4/2553 ณ ห้องประชุมทานตะวัน ศาลากลางจังหวัดสระบุรี โดยมีนายอุกฤช พึ่งโสภา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธานในที่ประชุม โดยที่ประชุมรับทราบมติการปรับค่าจ้างขึ้นต่ำของจังหวัดสระบุรีวันละ 9บาท จากค่าจ้างวันละ 184 บาทเพิ่มเป็นวันละ 193 บาท และร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลข้อเท็จจริง สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคมและแรงงาน ระดับประเทศและระดับจังหวัด
นายส่งศักดิ์ รูปแก้ว แรงงานจังหวัดสระบุรี กล่าวว่า ได้ส่งมติของที่ประชุมเมื่อวันที่ 7 กันยายน ให้คณะกรรมการค่าจ้างกลางพิจารณา 2 ความเห็นตามที่ที่ประชุมทั้งฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างเสนอ เนื่องจากยังหาข้อยุติไม่ได้ว่าจะปรับขึ้นกี่บาท แต่ทั้งนี้ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าให้มีการปรับค่าจ้างเพิ่มขึ้น ส่วนผลการพิจารณาจะเป็นแนวทางใดนั้นให้เป็นดุลพินิจของส่วนกลาง โดยในส่วนของผู้แทนฝ่ายลูกจ้างเสนอปรับเพิ่มขึ้นอีกวันละ 66 บาท และผู้แทนฝ่ายนายจ้างเสนอปรับเพิ่มขึ้นอีกวันละ 5 บาท

แรงงานเสนอประกันสังคมปลอดการเมือง

กลุ่มผู้หญิง – แรงงานสระบุรีเสนอปฏิรูปประกันสังคมแบบมีส่วนร่วม เน้นสร้างโรงพยาบาลประกันสังคม

นายบุญสม ทาวิจิตร อายุ 38 ปี ประธานกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง กล่าวว่า ประกันสังคมมีการประกาศบังคับใช้มา 20 ปีแล้ว มีผู้ประกันตนจำนวนมากกว่า 8- 9 ล้านคนที่เป็นแรงงานในระบบเท่านั้นที่ได้รับการคุ้มครอง การหักเงินสมทบเข้าสู่กองทุนประกันสังคมมีมูลค่ามหาศาล หลายแสนล้าน ปัญหาที่พบและปรากฏชัดเจนคือความโปร่งใสในการบริหารจัดการ การนำเงินไปลงทุนนั้น คณะกรรมการประกันสังคม (บร์อด)บริหารควรมีความชำนาญรอบรู้ในการลงทุนหรือเชียวชาญด้านการลงทุนเป็นอย่างมากเพราะผลกำไรที่ได้รับต้องนำไปคืนเข้ากองทุน เพื่อนำมาจ่ายเป็นสวัสดิการใหผู้ประกันตน
ทางด้านนางสาวธนพร วิจันทร์ อายุ 39 ปี ประธานกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี กล่าวว่าปัญหาของประกันสังคม ณ ปัจจุบันโครงสร้างบร์อดบริหารงานยังไม่มีผู้หญิงเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหาร ทั้งๆที่มีประเด็นสอทธิที่เกี่ยวข้องกับของผู้หญิงเช่นเรื่อง คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร โดยเฉพาะกรณีสงเคราะห์บุตรจ่ายสิทธิประโยชน์เพียงเดือนละ 350 บาท นั้นไม่สอดคล้องกับสภาวะในปัจจุบัน ที่เด็กมีค่าใช้จ่ายจำนวนมากเพิ่มขึ้น

แรงงานแถลงปฏิรูปประกันสังคมต้องโปร่งใสมีส่วนร่วม

นายชาลี ลอยสูง รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้จัดแถลงข่าว เรื่องการขับเคลื่อนการปฏิรูปประกันสังคม ที่ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิตในเวที “เปลี่ยนประเทศไทยด้วยพลังพลเมือง” กับทีวีไทย และการสื่อสารภาคพลเมือง ระดมสมองแสวงหาแนวทางเปลี่ยนประเทศไทยด้วยพลังพลเมือง “กองทุนประกันสังคมเป็นกองทุนใหญ่มากมีเงินในกองทุนกว่า 7 แสนล้านบาท ต้องดูแลผู้ประกันตนประมาณ 10 ล้านคน จึงต้องมีระบบการบริหารจัดการที่คล่องตัวและโปร่งใสตรวจสอบได้ ปราศจากการแทรกแซงจากภาครัฐ อีกทั้งกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมที่บังคับใช้ในปัจจุบันยังไม่สอดคล้องกับการบริหารจัดการงานประกันสังคม จึงต้องมีการแก้ไขกฎหมาย ซึ่งขณะนี้ขบวนการแรงงานได้มีการร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับบูรณาการแรงงาน แก้ไขทั้งในเรื่องนิยามคำว่า ลูกจ้าง นายจ้าง ค่าจ้าง ทุพพลภาพ ให้มีขอบเขตการคุ้มครองที่ครอบคลุมกับลูกจ้างทุกประเภท รวมถึงการขยายสิทธิประโยชน์ต่างๆให้สอดคล้องและเป็นธรรมมากขึ้น การปรับปรุงโครงสร้าง และระบบการบริหารงานรวมถึงกำหนดบทบาทของคณะกรรมการประกันสังคมเพื่อสร้างหลักประกันในการตรวจสอบการบริหารกองทุนให้เกิดความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น”

ดร.เสกสรรค์ ปฏิรูปอำนาจรัฐเพิ่มอำนาจภาคพลเมือง

เมื่อวันที่18ธันวาคม 2553ได้มีการปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “การปฏิรูปโครงสร้างอำนาจในประเทศไทย ความจำเป็นแห่งยุคสมัย” โดย ดร. เสกสรร ประเสริฐกุล คณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย ณ ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์ รังสิต จ.ปทุมธานี ซึ่งมีผู้เข้าร่วมรับฟังจากเครือข่ายเปลี่ยนประเทศด้วยพลังพลเมือง ประกอบด้วยนักข่าวพลเมืองจากภูมิภาคต่างๆ นักสื่อสารแรงงาน เครือข่ายเชิงประเด็นจากกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้อำนาจรัฐ รวมแล้วประมาณ 400 คน

คนงานค้าน นายจ้างปรับวันหยุดประเพณี

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2553 เวลาประมาณ 12.30 น.พนักงานบริษัทแห่งหนึ่งในตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร หลายร้อยคนได้รวมตัวกันภายในโรงงานหลังจากที่ทางบริษัทฯได้ติดประกาศวันหยุดประจำปี 2554 เนื่องจากมีการนำวันเสาร์ที่ 1มกราคม 2554 ซึ่งเป็นวันหยุดตามข้อตกลง เสาร์เว้นเสาร์มานับรวมไปในวันหยุดประเพณีด้วยและวันที่ 3 มกราคม 2554 ควรจะเป็นวันหยุดแต่บริษัทกลับไม่ให้เป็นวันหยุด

นักสื่อสารแรงงานร่วมทีมนักข่าวพลเมืองหวังเปลี่ยนประเทศด้วยพลังพลเมือง

วันที่ 17 – 19 ธันวาคม 2553 นายมงคล ยางงาม และ นายสมบูรณ์ เสนาสี เป็นตัวแทนนักสื่อสารแรงงานเข้าร่วมทีมบรรณาธิการ(บก) และนักสื่อสารร่วม 7 คน เข้าร่วมเสวนาในขัวข้อ “ เปลี่ยนประเทศไทยด้วยพลังพลเมือง ” ที่ ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต โครงการการพัฒนาสื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนขบวนการแรงงาน ได้นำนิทรรศการสื่อประวัติศาสตร์การสื่อสารแรงงาน เช่นหนังสือพิมพ์กรรมกร ของ นายถวัติ ฤทธิเดช อดีตผู้นำกรรมกร จดหมายข่าวคนงาน และจดหมายข่าวแรงงานปริทัศน์ จนถึงผลงานใหม่ล่าสุดของนักสื่อวานแรงงานคือหนังสือพิมพ์วอยซ์เลเบอร์น้องใหม่ของการสื่อสารในขบวนการแรงงานที่จะออกมาอวดโฉมทีี่เดือนจากนี้ รวมทั้งมีการนำวงดนตรีวงภราดร วงดนตรีของแรงงานแสดงให้เครือข่ายภาคประชาชนได้ดูและรับฟังกัน อีกทั้งนายชาลี ลอยสูงได้แถลงข่าวข้อเสนอการประฏิรูปประกันสังคม และเตรียมการจัดงานสมัชชาแรงงาน”ปฏฺิรูปประกันสังคมกับคุณภาพชีวิตแรงงานไทย” ที่เสนอเรื่องการขยายความคอบคลุมคนทำงานทุกกลุ่มทั้งนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ แรงงานภาคเกษตร อาชีพอิสระ ให้เป็นองค์กรอิสระ มีการบริหารงานที่โปร่งใส่เป็นต้น เพื่อเชิญชวนผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเข้าร่วมงานในวันที่ 13 มกราคม 2554 ที่โรงแรมรารมการ์เด้น กรุงเทพ ทั้งนี้นักสื่อสารแรงงานยังเข้าร่วมเสนอเสนอปัญหาและทางออกในหัวข้อหลักจากปัญหาของเครือข่ายจาก 4 ภาค

กลุ่มแรงงานเวลโกรว์ศึกษาดูงานด้านความปลอดภัยหวังสร้างจิตสำนึก

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 53 เวลา 08.30 – 16.30 น. นายลาเร่ อยู่เป็นสุข ประธานกลุ่มพัฒนาแรงงงานสัมพันธ์ย่านเวลโกรว์ และนายเฉลย สุขหิรันต์ เลขาธิการฝ่ายประสานงานโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน พร้อมด้วยผู้นำแรงงานในกลุ่มย่านนิคมเวลโกรว์ที่สนใจเพื่อดูงานจำนวน 21 คน จากสหภาพแรงงานฯต่างๆ ดังนี้
1. สหภาพแรงงานชิ้นส่วนยานยนต์และโลหะแห่งประเทศไทย
2. สหภาพแรงงานพานาโซนิค
3. สหภาพแรงงาน วาย เอส ภัณฑ์
4. สหภาพแรงงานไดน่าเมททอล
5. สหภาพแรงงานเจเทคโตะ ประเทศไทย
6. สหภาพแรงงาน เอส เอส แอล ( ประเทศไทย )

NTN นิเด็คระยองเปิดโครงการสมัครใจลาออก

เมื่อวันที่ 14 ธ.ค.2553 บริษัท นิเด็ค แบริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรม อีสเทิร์น ซีบอร์ด 300 หมู่ที่4 ตำบลปลวกแดง อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยองนายจ้างประเทศญี่ปุ่น ประกอบตลับลูกปืนหัวอ่านข้อมูล คอมพิวเตอร์มีพนักงานประมาณ 900 กว่าคน ได้ประกาศ ถึงสถานการณ์ที่ยากลำบากในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ในช่วงเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา ได้ใช้มาตรการเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจของบริษัทฯ หลายอย่างเช่น ปรับปรุงสายการผลิตและเครื่องจักร หาตลาดและผลิตภัณฑ์ใหม่ ลดค่าใช้จ่ายในการผลิต ลดค่าล่วงเวลา และมีการเปิดโครงการสมัครใจลาออกไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อเดือน กรกฎาคม 2553 ที่ผ่านมาจำนวน 328 คน ในครั้งนี้บริษัทฯเปิดเข้าโครงการแบบไม่จำกัดจำนวน แต่จำกัดวันตั้งแต่วันที่ 15 – 21 ธันวาคม 2553 มีสิทธิประโยชน์พิเศษ เงื่อนไขและหลักเกณฑ์ในการสมัครเข้าโครงการดังต่อไปนี้
1. ค่าชดเชย ตามกฎหมายกำหนด + เงินช่วยเหลือพิเศษ 60 วัน
2. วันหยุดพักผ่อนประจำปี บริษัทฯ จ่ายให้สำหรับวันหยุดที่ยังไม่ได้ใช้
3. เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพร้อมดอกเบี้ย 100%
4.หนังสือรับรองการผ่านงาน บริษัทฯ ดำเนินการออกให้แก่พนักงาน
5.เงินรางวัลพิเศษประจำปี

สองมาตรฐานบริการรักษาพยาบาล

คนงานโอด รพ.ให้บริการคนจ่ายเงินสดดีกว่าคนที่ใช้บริการประกันสังคม   พนักงานหญิง บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จ.ชลบุรี เล่าว่า “ตนไม่สบาย ไปถึงโรงพยาบาลของรัฐ นางพยาบาลถามอาการและถามว่าจะใช้การรักษาของอะไร ตนบอกว่าใช้ประกันสังคม พยาบาลให้ไปเอาบัตรคิวเพื่อรอเรียกตัว … เวลาผ่านไปนานพอสมควรก็ไม่เห็นเรียกตัวสักที ตนจึงเดินเข้าไปถามว่าทำไมคนที่มาทีหลังถูกเรียกตัวก่อน พยาบาลบอกว่าเงินประกันสังคมมีจำกัด ถ้าบริษัทของคุณออกเงินให้ก่อนก็บอกนะเดี๋ยวจะแซงคิว” นี่คือตัวอย่างของการแบ่งแยก ทำไมมาตรฐานการให้บริการคนที่ใช้ประกันสังคมจึงต้อง “มาทีหลัง” คนที่ใช้เงินสด ?   พนักงานอีกท่านหนึ่งเล่าว่า “ตนและเพื่อนเคยประสบอุบัติเหตุ รถมอเตอร์ไซค์ล้ม พอถึงโรงพยาบาล ตนใช้ประกันสังคม ส่วนเพื่อนใช้เงินสด โรงพยาบาลดูแลเพื่อนดีกว่าตน ด้วยเหตุที่เพื่อนจ่ายเงินสด” นอกจากนั้นพนักงานท่านนี้ยังแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า “บริการประกันสังคมของโรงพยาบาลเอกชนดีกว่าโรงพยาบาลรัฐ … ตนอยากให้คนที่ใช้ประกันสังคมได้รับบริการเหมือนกับคนที่จ่ายเป็นเงิน ไม่อยากให้แบ่งแยก”   มาโนช  หอมจันทร์ นักสื่อสารแรงงาน  ศูนย์แรงงานชลบุรี  รายงาน  

1 196 197 198 206