นักสื่อสารแรงงานร่วมทีมนักข่าวพลเมืองหวังเปลี่ยนประเทศด้วยพลังพลเมือง

เครือข่ายแรงงานร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชนตั้งเป้าเปลี่ยนตัวเองเพื่อเปลี่ยนประเทศไทยด้วยพลังพลเมือง
 
วันที่ 17 – 19 ธันวาคม 2553 นายมงคล   ยางงาม  และ นายสมบูรณ์    เสนาสี เป็นตัวแทนนักสื่อสารแรงงานเข้าร่วมทีมบรรณาธิการ(บก) และนักสื่อสารร่วม 7 คน เข้าร่วมเสวนาในขัวข้อ “ เปลี่ยนประเทศไทยด้วยพลังพลเมือง ” ที่ ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต โครงการการพัฒนาสื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนขบวนการแรงงาน ได้นำนิทรรศการสื่อประวัติศาสตร์การสื่อสารแรงงาน เช่นหนังสือพิมพ์กรรมกร ของ นายถวัติ ฤทธิเดช อดีตผู้นำกรรมกร จดหมายข่าวคนงาน และจดหมายข่าวแรงงานปริทัศน์ จนถึงผลงานใหม่ล่าสุดของนักสื่อวานแรงงานคือหนังสือพิมพ์วอยซ์เลเบอร์น้องใหม่ของการสื่อสารในขบวนการแรงงานที่จะออกมาอวดโฉมทีี่เดือนจากนี้ รวมทั้งมีการนำวงดนตรีวงภราดร วงดนตรีของแรงงานแสดงให้เครือข่ายภาคประชาชนได้ดูและรับฟังกัน อีกทั้งนายชาลี ลอยสูงได้แถลงข่าวข้อเสนอการประฏิรูปประกันสังคม และเตรียมการจัดงานสมัชชาแรงงาน"ปฏฺิรูปประกันสังคมกับคุณภาพชีวิตแรงงานไทย" ที่เสนอเรื่องการขยายความคอบคลุมคนทำงานทุกกลุ่มทั้งนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ แรงงานภาคเกษตร อาชีพอิสระ ให้เป็นองค์กรอิสระ มีการบริหารงานที่โปร่งใส่เป็นต้น เพื่อเชิญชวนผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเข้าร่วมงานในวันที่ 13 มกราคม 2554 ที่โรงแรมรารมการ์เด้น กรุงเทพ ทั้งนี้นักสื่อสารแรงงานยังเข้าร่วมเสนอเสนอปัญหาและทางออกในหัวข้อหลักจากปัญหาของเครือข่ายจาก 4 ภาค
 
1. อำนาจรัฐกับการบังคับใช้กฎหมายกับประชาชน
2. ปัญหาที่ดินทำกิน
 
จากการลงไปพูดคุยกับชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่ของทีวีไทยในรายการเวทีสาธารณะ การพูดคุยหลายครั้งทำให้พบข้อมูลว่า การกระจายที่ดินที่ไม่เป็นธรรมถือเป็นรากฐานของปัญหาอื่นๆ เพราะที่ดินเป็นทรัพยากรที่เป็นพื้นฐานของชีวิตของเกษตรกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ  แต่นโยบายการจัดการที่ดินของรัฐบาลทุกสมัยไม่สอดคล้องกับกฎหมายที่ดินและพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน 
 
ความไม่เป็นธรรมที่เกิดกับประชาชนเกี่ยวกับที่ดินเกิดขึ้นทั่วทุกภาคของประเทศ  มีการฟ้องร้องดำเนินคดีกับชาวบ้านเป็นจำนวนมาก  ซึ่งชาวบ้านท่าหลุก จ. ลำพูน คือส่วนหนึ่งของปัญหานั้น วันที่ 21 สิงหาคม 2553 รายการเวทีสาธารณะ ตอน “ ที่ดินความมั่นคงในชีวิต ” ซึ่งจัดขึ้นที่บ้านท่าหลุก มีชาวบ้านที่ถูกดำเนินคดีและมีผลกระทบต่อชีวิตครอบครัวหลังถูกดำเนินคดีจากทั่วประเทศเข้าร่วม  และล่าสุดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2553 การปล่อยตัวชาวบ้าน 17 คนที่บ้านท่าหลุก เวทีสาธารณะได้สนทนาปัญหานี้ โดยมุ่งหาทางออกด้วยการปฏิรูป 2 ปัญหาคือ ที่ดิน และกระบวนการยุติธรรม และนักข่าวพลเมือง จ. อุบลราชธานี   ได้นำเสนอข่าวชีวิตครอบครัวของนายทองสอน   ผลพันธ์   ชาวบ้านปลาดุก  ต. ไร่น้อย  จ. อุบลราชธานี  ที่ถูกดำเนินคดีบุกรุกที่สาธารณะประโยชน์ ซึ่งชาวบ้านกว่า 50 ครอบครัวได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่นี้มาก่อน  เพราะที่ผ่านมาชาวบ้านเชื่ออย่างสนิทใจว่าพวกเขาครอบครองพื้นที่นี้อย่างบริสุทธิ์ 
 
จนกระทั่งวันที่ 23 พฤศจิกายน 2553 นายทองสอน   ผลพันธ์  ก็ได้รับอิสระภาพหลังถูกตัดสินจำคุกหกเดือนในข้อหาบุกที่สาธารณะ  ซึ่งเป็นที่ดินมรดกตกทอดมาตั้งแต่รุ่นพ่อ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2553 นักข่าวพลเมือง จ.อุบลราชธานี  ได้ติดตามทำข่าวการดำเนินชีวิตหลังจากได้รับอิสรภาพว่าจะดำเนินไปอย่างไร หลังจากต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินที่บรรพบุรุษมอบให้มา
 
หลังจากมีการเสนอประเด็นปัญหาที่ดินผ่านหน้าจอทีวีไทยอย่างต่อเนื่อง นำมาสู่การพูดคุยทำความเข้าใจในปัญหาที่ดิน โดยบอกเล่าผ่านเรื่องราวปัญหาเดือดร้อน และกรณีพิพาททั้งทางกฎหมายและความรุนแรงรูปแบบต่างๆ กว่าจะได้ซึ่งสิทธิในที่ดินทำกินก็ต้องผ่านการถูกคุกคามจากผู้มีอิทธิพลในหลายรูปแบบ ทีวีไทยโดยรายการ 2563 เปลี่ยนประเทศไทย จึงสะท้อนถึงปัญหาเชิงโครงสร้างระดับประเทศในการถือครองที่ดิน
 
จากนั้น 25 สิงหาคม และ 1 กันยายน 53 รายการได้เสนอข่าวกรณีที่ดินอย่างต่อเนื่องโดยยกระดับการพูดคุย ด้วยการเสนอทางเลือกต่างๆในการจัดการปัญหาที่ดินเผื่อผลักดันนโยบายสาธารณะเกี่ยวกับการจัดการที่ดิน ดังนี้
 การผลักดันโฉนดชุมชนเพื่อให้เกิดการกระจายการถือครองสิทธิที่ดินอย่างเป็นธรรม
 แนวคิดกองทุนธนาคาร
 การทบทวนระบบกรรมสิทธิ์
 เปิดเผยข้อมูลการกระจุกตัวของที่ดิน
 การตีความกฎหมายที่คำนึงถึงการใช้ประโยชน์จากที่ดินเป็นสำคัญ
 
นอกจากแนวทางการจัดการที่ดินที่จะออกมาในรูปแบบของนโยบายแล้ว  สิ่งสำคัญในการแก้ปัญหาที่ดิน คือ การยื่นข้อเสนอต่างๆอันนำไปสู่การมีอำนาจการต่อรองกับภาครัฐที่เริ่มจากภาคประชาชน
 
วันที่ 18 ธันวาคม 2553 เครือข่ายแรงงานได้สะท้อนปัญหาแรงงานที่ถูกกดทับมานานจากนายทุนต่างชาติที่ทุ่มการลงทุนมาที่ประเทศไทยเพื่อหนีค่าแรงที่สูงจากประเทศตัวเองมาใช้ค่าแรงที่ถูกกว่าในประเทศไทยเพื่อหวังผลกำไรสูงสุด 
นายมาโนช   หมอจันทร์  ตัวแทนเครือข่ายแรงงาน กล่าวว่า แรงงานในประเทศไทยส่วนใหญ่ดำรงชีพด้วยค่าแรงขั้นต่ำ หากจะอยู่ให้รอดในสภาพเศรษฐกิจไม่ดีช่วงข้าวยากหมากแพงในปัจจุบัน  ต้องดิ้นรนด้วยการทำล่วงเวลาอย่างน้อยวันหนึ่งต้องทำงาน 12 ชั่วโมง จึงจะมีเงินพอเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวให้อยู่รอด ถึงแม้ตามหลักสากลค่าแรงขั้นต่ำกำหนดไว้ว่า ค่าแรงขั้นต่ำหมายถึงคนทำงาน 1 คนต้องเลี้ยงดูคนได้อย่างน้อยอีก 3 คน แม้แต่การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำในแต่ละพื้นที่ก็ยังไม่เหมือนกัน  ทั้งที่ค่าครองชีพนั้นไม่แตกต่าง และเป็นปัญหาถูกกดทับมานานจากนโยบายของรัฐที่ใช้ระบบไตรภาคีมาเป็นเครื่องมือกีดกันเพื่อไม่ให้แรงงานมีอำนาจการต่อรองเหมือนในอดีต
 
สิ่งที่เครือข่ายแรงงานนำเสนอในห้องเสวนาหัวข้อ “ อำนาจรัฐกับการบังคับใช้กฎหมายกับประชาชน ” คือ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ถูกละเมิดจากนายจ้างที่เลิกจ้างพนักงานอย่างไม่เป็นธรรม  ถึงแม้จะมีกฎหมายห้ามอย่างชัดเจน เช่น กรณี นายทวี แกนนำจัดตั้งสหภาพแรงงาน  ถูกนายจ้างเลิกจ้างพร้อมกับเพื่อน 12 คน โดยที่เขาไม่มีความผิดทั้งที่กฎหมายอนุญาตให้พนักงานตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปสามารถรวมตัวจัดตั้งสหภาพแรงงานได้   เมื่อแกนนำจัดตั้งสหภาพแรงงานร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรงก็ได้รับคำแนะนำให้ยอมความทั้งที่เป็นสิทธิของเขาที่จัดตั้งสหภาพแรงงานได้ตามกฎหมาย  จึงเป็นข้อสงสัยและคาใจของผู้ใช้แรงงานเรื่อยมา
 
นอกจากนั้นเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2553 นายมงคล   ยางงาม ได้เสนอแนวทางร่วมกับเครือข่าย 4 ภาค ในช่วงรายการทีวีไทย “ เวทีสาธารณะ ” ว่า จากปัญหาของทุกภาคส่วนและทุกเครือข่ายล้วนมีปัญหาคล้ายกัน จะต่างกันเพียงแค่เพียงประเด็น หากภายใน “2563เปลี่ยนประเทศไทยด้วยพลังพลเมือง “  เป็นไปได้หรือไม่ที่ทุกเครือข่ายมาร่วมกำหนดนโยบายในแนวทางการต่อสู้ร่วมกัน และกำหนดว่าจากปีไหนจะระดมทุกเครือข่ายแก้ปัญหาอะไรก่อนเรียงเป็นลำดับสำคัญก่อนหลัง และทุกเครือข่ายร่วมระดมสมองและรวมพลังเพื่อผลักดันแนวทางแก้ปัญหานั้นๆต่อรัฐเพื่อกำหนดนโยบายตามที่เครือข่ายภาคประชาชนเสนอจนสำเร็จ
 
ในช่วงวันที่ 17 – 19 ธันวาคม 53 ที่ผ่านมานั้นการแลกเปลี่ยนของเครือข่ายแรงงานกับเครือข่ายอื่นๆ ยังเป็นที่น่าสนใจหลายเรื่อง เช่น การนำเสนอข่าวของเครือข่ายทุกเครือข่ายผ่านทีวีไทย โดยนักข่าวพลเมือง ทีวีออนไลน์  วิทยุออนไลน์ นสพ.กำแพง หนังสือพิมพ์ออนไลน์  มีแนวทางสรุปว่าจะร่วมกัน นำเสนอข่าวไปในทิศทางเดียวกันเพื่อให้เป็นที่สนใจและติดตามของผู้ชมผ่านสื่อต่างๆอย่างมีพลัง เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของฝ่ายกำหนดนโยบายของรัฐต่อไป
 
สมบูรณ์   เสนาสี  ศูนย์ข่าวแรงงานงาน รายงาน
หมายเหตุ : ข้อมูลบางส่วนอ้างอิงจาก ศูนย์บรรณาธิการเครือข่าย 4 ภาค