พินิจร่างกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ฉบับกฤษฎีกา มิถุนายน 2565 : ไม่ดีกว่าเดิมตรงไหน? ให้เอาปากกามาวง

พินิจร่างกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ฉบับกฤษฎีกา มิถุนายน 2565 : ไม่ดีกว่าเดิมตรงไหน? ให้เอาปากกามาวง

ก้าวต่อไปของอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปไทยเพื่อการปรับปรุงสภาพการทำงานและสิทธิแรงงาน

 สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทยหรือ The Thai Tuna Industry Association (TTIA) และสมาคมแช่เยือกแข็งไทยหรือ Thai Frozen Food Association (TFFA) ยกระดับความมุ่งมั่นต่อโครงการแนวปฎิบัติการใช้แรงงานที่ดีในอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทย (Seafood Good Labour Practices – GLP) เพื่อให้ประสบความสำเร็จในฐานะโครงการเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีความแข็งแกร่งและน่าเชื่อถือ

สหพันธ์และสภาแรงงานอเมริกา เชิญผู้แทนแรงงานไทยร่วมประชุมใหญ่

สาวิทย์ แก้วหวาน ได้รับเชิญร่วมประชุมใหญ่สหพันธ์แรงงานและสภาแรงงานอุตสาหกรรมสหรัฐอเมริกา (AFL-CIO) ในนามผู้แทนแรงงานไทย

รัฐให้เด็กรอ 2-3 ปี แจ้งเงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า

คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (กดยช.) ยืนยันสวัสดิการเด็กเล็กให้เป็นแบบถ้วนหน้า  อาจจะใช้ระยะเวลา  2 – 3 ปี

วันกรรมกรสากลแรงงานไทย 2 ขบวนยื่นข้อเรียกร้อง 22 ข้อ

แรงงานไทยจัดเดินรณรงค์เฉลิมฉลองวันกรรมกรสากล โดยยื่นข้อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาด้านสิทธิ สวัสดิการแรงงาน และค่าจ้างขั้นต่ำ 492 บาทให้เท่ากันทั้งประเทศ

ขบวนแรงงานทวงค่าจ้าง 492 บาทเท่ากันทั่วประเทศ

ที่ผ่านมา คสรท.และสรส. ได้เคยยื่นนำเสนอหลักการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 360 บาท 421 บาท และ 700 บาท โดยปรับเท่ากันทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ถึง 2560 แต่ไม่คืบ

ค่าจ้างถึงเวลาที่จะต้องปรับค่าจ้างขั้นต่ำกันได้หรือยัง?

ถึงเวลาที่จะต้องปรับค่าจ้างขั้นต่ำกันได้หรือยัง? การปรับขึ้นค่าจ้างเป็นเรื่องน่าอภิรมย์สำหรับคนทำงานการปรับขึ้นค่าจ้างเป็นเรื่องระทมทุกข์ของผู้ประกอบการ สาวิทย์ แก้วหวานประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) การปรับขึ้นค่าจ้างเป็นข้อถกเถียงมาเป็นเวลาช้านาน และทุกครั้งที่จะมีการปรับขึ้นค่าจ้างจะมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยกับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยขึ้นมาโต้เถียงกันด้วยเหตุผลของฝ่ายตน และแทบทุกครั้งในการปรับขึ้นค่าจ้างต้องใช้เวลานาน ด้านหนึ่งสัญญาณการปรับขึ้นค่าจ้างก็จะเป็นเครื่องชี้นำให้ราคาสินค้าปรับราคาขึ้นไปรอไว้ล่วงหน้า และจะปรับขึ้นอีกครั้งเมื่อค่าจ้างได้ปรับขึ้นจริง ในท่ามกลางการถกเถียงที่เกิดขึ้นคนที่นั่งรับฟังหรือคนกลางคือรัฐ ก็คือ รัฐบาลและกลไกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะออกมาชี้ขาดว่าค่าจ้างควรเป็นเท่าใด ซึ่งจะชี้นำทางความคิดและการตัดสินใจของคณะกรรมการค่าจ้าง ซึ่งมีผู้แทนสามฝ่าย คือ รัฐ ผู้ประกอบการ และ ฝ่ายคนงาน ที่เรียกว่า “ไตรภาคี” และแทบทุกครั้งเช่นกันข้อเสนอราคาในการปรับขึ้นค่าจ้างที่ฝ่ายคนงานเสนอ จะไม่ได้ตามที่ต้องการด้วยข้ออ้าง ด้วยสูตร ด้วยหลักคิดมากมายแม้จะมีการโต้แย้งกัน แต่ในที่สุดก็จะจบลงตรงที่ว่า ฝ่ายผู้ประกอบการ กับ ฝ่ายรัฐสามัคคีกันลงมติตามที่สองฝ่ายต้องการ ฝ่ายคนงาน ก็ต้องยอมรับเสียงข้างมากที่มักบอกตอกย้ำกันบ่อย ๆ ว่าประชาธิปไตย คือ เสียงข้างมาก ความไม่สอดคล้องลงตัวกันของค่าจ้าง กับราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมทางสังคม นั่นหมายถึงผลลัพธ์ของความยากจน ความเหลื่อมที่ทอดยาวต่อเนื่องทำให้ประเทศไทยถูกจัดลำดับให้เป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงสุดเป็นเวลาติดต่อกันมาหลายปี *ค่าจ้าง เป็นความสัมพันธ์เชิงสังคมเศรษฐกิจ ระหว่างคนงาน กับ ผู้ประกอบการ หรือผู้จ้างงาน เมื่อคนงานขายแรงงานของตนและผู้ว่าจ้างตกลงซื้อแรงงานนั้น ผลผลิตที่เกิดจากแรงงานของคนงานก็จะกลายเป็นทรัพย์สินของผู้จ้างงาน แรงงานของคนงานจึงหมายถึงผู้มีรายได้หลักจากการขายแรงงานของตนแรงงานแลกค่าจ้างดำรงอยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งมานานหลายพันปีในหลากหลายสังคม ภายใต้ระบบทุนนิยมได้แปรเปลี่ยนให้แรงงานกลายเป็นแรงงานแลกค่าจ้าง จนกลายเป็นรายได้หลักของคนส่วนใหญ่ แรงงานแลกค่าจ้างภายใต้ระบอบทุนนิยมเป็นประเด็นที่ถูกนำมาวิเคราะห์ แรงงานแลกค่าจ้างหากไม่นิยามเป็นอย่างอื่น ก็จะถูกถือว่าเป็นมิติที่อยู่ในระบอบทุนนิยม แรงงานแลกค่าจ้างถูกนิยามภายใต้ระบอบทุนนิยมว่า คือการที่คนงานขายกำลังแรงงานของตนในฐานะสินค้า […]

“ตำรวจที่ผู้หญิงและคนชายขอบต้องการ”

            เมื่อวันพุธที่ 4 มีนาคม 2565  การเสวนาในโอกาสวันสตรีสากล 2565 “ตำรวจที่ผู้หญิงและคนชายขอบต้องการ” ณ โรงแรมพูลแมน ซอยรางน้ำ กทม.และทางออนไลน์             เป้าหมายการจัดเสวนาครั้งนี้ก็เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ข้อ 5 เรียกร้องให้มีความเสมอภาคทางเพศ โดยมีเป้าหมายย่อยที่สำคัญคือต้องขจัดความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงและเด็กหญิง และ SDG ข้อ16 เรียกร้องให้มีความยุติธรรม โดยการสร้างกระบวนการยุติธรรมที่ทุกคนเข้าถึงได้มีประสิทธิภาพและตรวจสอบได้ ในการที่จะบรรลุSDGs ทั้งสองประการได้ องค์กรตำรวจเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีความสำคัญมาก แต่ต้องมีการพัฒนาองค์ประกอบและวัฒนธรรมบางประการ กล่าวคือ การปรับองค์ประกอบของกำลังคนให้มาจากหลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรมีผู้หญิงเป็นตัวแทนอยู่ในโครงสร้างองค์กรทุกระดับ เพราะนี่เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดวัฒนธรรมองค์กรที่จะตอบสนองต่อความต้องการความมั่นคงและความปลอดภัยที่หลากหลายของประชาชนกลุ่มชายขอบทุกกลุ่ม อันรวมถึง ผู้หญิง เด็ก ผู้มีความหลากหลายทางเพศ กลุ่มชาติพันธุ์ แรงงานข้ามชาติ และชนกลุ่มน้อยทางศาสนา ในประเทศไทย ยังมีผู้หญิงในองค์กรตำรวจน้อยมาก โดยเฉพาะในภารกิจสำคัญขององค์กรคืองานสอบสวน ซึ่งปัจจุบัน มีพนักงานสอบสวนทั้งหมดประมาณ 12,000 คน แต่มีพนักงานสอบสวนหญิงเพียง 700 คน หรือ […]

1 6 7 8 112