“ตำรวจที่ผู้หญิงและคนชายขอบต้องการ”

            เมื่อวันพุธที่ 4 มีนาคม 2565  การเสวนาในโอกาสวันสตรีสากล 2565 “ตำรวจที่ผู้หญิงและคนชายขอบต้องการ” ณ โรงแรมพูลแมน ซอยรางน้ำ กทม.และทางออนไลน์

            เป้าหมายการจัดเสวนาครั้งนี้ก็เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ข้อ 5 เรียกร้องให้มีความเสมอภาคทางเพศ โดยมีเป้าหมายย่อยที่สำคัญคือต้องขจัดความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงและเด็กหญิง และ SDG ข้อ16 เรียกร้องให้มีความยุติธรรม โดยการสร้างกระบวนการยุติธรรมที่ทุกคนเข้าถึงได้มีประสิทธิภาพและตรวจสอบได้ ในการที่จะบรรลุSDGs ทั้งสองประการได้ องค์กรตำรวจเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีความสำคัญมาก แต่ต้องมีการพัฒนาองค์ประกอบและวัฒนธรรมบางประการ กล่าวคือ การปรับองค์ประกอบของกำลังคนให้มาจากหลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรมีผู้หญิงเป็นตัวแทนอยู่ในโครงสร้างองค์กรทุกระดับ เพราะนี่เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดวัฒนธรรมองค์กรที่จะตอบสนองต่อความต้องการความมั่นคงและความปลอดภัยที่หลากหลายของประชาชนกลุ่มชายขอบทุกกลุ่ม อันรวมถึง ผู้หญิง เด็ก ผู้มีความหลากหลายทางเพศ กลุ่มชาติพันธุ์ แรงงานข้ามชาติ และชนกลุ่มน้อยทางศาสนา ในประเทศไทย ยังมีผู้หญิงในองค์กรตำรวจน้อยมาก โดยเฉพาะในภารกิจสำคัญขององค์กรคืองานสอบสวน ซึ่งปัจจุบัน มีพนักงานสอบสวนทั้งหมดประมาณ 12,000 คน แต่มีพนักงานสอบสวนหญิงเพียง 700 คน หรือ ร้อยละ 5.8 ในขณะที่มีสถานีตำรวจทั่วประเทศกว่า 1,400 แห่ง นั่นหมายความว่ามีสถานีตำรวจเกินครึ่งที่ไม่มีพนักงานสอบสวนหญิงอยู่ประจำ

            ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุความรุนแรงทางเพศ ผู้เสียหายจำนวนมากจึงไม่กล้าแจ้งความเพื่อนำคดีเข้าสู่

กระบวนการยุติธรรม ผลลัพธ์ที่ตามมาคือ สถิติความรุนแรงทางเพศที่ยังคงสูงมาก และความรุนแรงทางเพศเหล่านี้คืออุปสรรคสำคัญที่ขวางกั้นความเสมอภาคทางเพศในทุกมิติทั้งด้านสังคม การเมืองและเศรษฐกิจ

ในช่วงสองสามปี ที่ผ่านมา

            เวสน่า  โรดิช มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES) กล่าวว่า การเสวนาวันนี้เป็นเรื่อง ตำรวจที่ผู้หญิงและคนชายขอบต้องการ มูลนิธิฯมีความสนใจ และทำงานเรื่องความเท่าเทียมและความเสมอภาคมาช้านานแล้ว เรื่องความรุนแรงทางเพศ การคุกคามการล่วงละเมิดทางเพศเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก ประเด็นนี้หลายองค์กรที่ทำงานด้านผู้หญิงได้ร่วมกันขับเคลื่อนรณรงค์ร่วมกัน มีการจัดทำข้อมูลเพื่อให้ความรู้และสร้างความเข้าใจตระหนักรู้ถึงสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขการประชุมครั้งนี้เพื่อให้เกิดความเท่าเทียม และมีผู้หญิงเกิดขึ้นในอาชีพตำรวจมากขึ้นและมีงานที่เหมาะสมกับความสามารถของผู้หญิงด้วย

            เพศภาพในงานตำรวจ-ทำไมต้องมีและจะเพิ่มได้อย่างไร?

            ปนัดดา วงศ์ผู้ดี นักแสดง/พิธีกรกล่าวว่า จากการเข้าไปช่วยเหลือกรณีสมุทรปราการกรณีพ่อแท้ๆข่มขืนลูกสาวสองคน ซึ่งคนข้างห้องที่เด็กไปขออาศัยหลบพ่อได้มาขอความช่วยเหลือจากมูลนิธิ การที่คนข้างบ้านมาขอความช่วยเหลือจากเราเพราะคิดว่า หากตำรวจจับพ่อแล้วเด็กจะอยู่อย่างไร และเมื่อเราพาไปแจ้งความ แต่ตำรวจบอกคนข้างบ้านว่าไม่ควรบอกเราเพราะจะเป็นข่าวซึ่งวันที่ไปแจ้งความมีนักข่าวมาจำนวนมากไปรอ ซึ่งเข้าใจว่าเมื่อเป็นข่าวแล้วเรื่องคดีจะได้รับการแก้ไขเร็วมาก

            กรณีที่สองที่เขาค้อ เด็กถูกข่มขื่นมา 10 ปี จากเจ้าของร้านของชำซึ่งถือเป็นคนมีอิทธพลในพื้นที่ และยังมีการล่วงละเมิดเด็กชายอีก 3 คน ตำรวจไม่รับแจ้งความ และเมื่อเราพาไปแจ้งความตำรวจบอกว่าไหนหลักฐาน ซึ่งเด็กต้องจำยอมให้ถูกล่วงละเมิดอีกครั้ง เพื่อให้เพื่อนเก็บหลักฐานแจ้งความดำเนินคดี จังหวัดต่อมาเหตุเกิดที่จังหวัดสระบุรี เป็นกรณีพ่อเลี้ยงข่มขืนลูกเลี้ยง ซึ่งแม่อ้างว่าหากแจ้งความลูกอีกคนใครจะเลี้ยงลูกอีกคนที่เกิดกับสามีคนใหม่นี้

            อีกกรณีเกิดที่หาดใหญ่ การเดินทางลำบากมากเพราะยังมีโรคระบาดโควิด-19 ทำให้ลำบากเพิ่มอีก และการที่ต้องหาหลักฐานเพื่อแจ้งความซึ่งเป็นปัญหามาก กรณีสมุทรสาครก็เป็นประเด็นที่น้าสาวพาหนีจากพ่อ แม่ และถูกแจ้งความว่าน้าสาวลักพาตัวและตำรวจเองก็มีการดำเนินคดีกับน้าสาวให้เดินทางกลับไปในท้องที่เพื่อดำเนินคดีด้วย ซึ่งจริงแล้วอยากให้ตำรวจเข้าใจด้วยว่าท้องที่ที่เกิดเหตุนั้นเป็นถิ่นของผู้ที่กระทำต่อเด็กการกลับไปที่นั่นอาจทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยได้ ทำไมตำรวจจึงไม่ดำเนินคดีนอกพื้นที่ และทำไมแต่ละเคส ผู้ที่ถูกกระทำหรือผู้แจ้งความต้องเป็นผู้หาหลักฐานเอง อาจเป็นเพราะพนักงานสอบสวนส่วนใหญ่เป็นผู้ชายใช่หรือไม่ หากเป็นตำรวจผู้หญิงในการสอบสวนจะทำให้ผู้หญิงที่เป็นผู้ถูกกระทำสามารถที่จะบอกได้ว่าเจ็บตรงไหน ซึ่งหากเป็นหมอสอบถามคนไข้จะกล้าพูดด้วยว่าเป็นอย่างไร ซึ่งตำรวจจะพูดเหมือนกันหมด

            ตำรวจหญิงมีความนิ่มนวลกว่าในการที่จะสอบสวนกรณีดังกล่าว ซึ่งจริงๆก็เข้าใจว่าตำรวจมีงานมากและทุกเรื่องก็ตำรวจมีทั้งขโมย เมายา ปล้น สาระพัดเรื่องเข้ามา แต่เมื่อมีกรณีผู้หญิงถูกข่มขืนมาแจ้งความจึงอาจพบเจอกับท่าทีน้ำเสียงที่อาจดูหงุดหงิดลำคาญใจ ซึ่งในความต้องการของผุ้ที่ได้รนับผลกระทบก็ต้องการให้ตำรวจที่มีความเห็นอกเห็นใจ โดยมีทักษะเฉพาะด้าน ด้วยผู้เสียหายอาจต้องมีการตรวจร่างกาย ต้องเป็นแบบวันสต็อบเซอร์วิสได้

            ทิชา ณ นคร ผู้อ านวยการศูนย์ฝึ กและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก กล่าวว่า เรายอมรับใช่ไหมว่าตำรวจผู้หญิงทำงานได้เทียบเท่ากับผู้ชายและเมื่อปี 2552 มีการรับนักเรียนผู้หญิงเป็นนายร้อยตำรวจ และปี 2562 มีการยกเลิกไป ครบ 10 ปีไม่รับผู้หญิงเป็นนายร้อยตำรวจการที่ไม่มี คือความล้าหลัง และการที่มีแล้วทำให้ไม่มี นั่นคือการหักหลังประชาชนซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องตอบ และผู้หญิงต้องการตำรวจแบบไหน ผู้หญิงต้องการตำรวจมืออาชีพซึ่งเกิดขึ้นลอยๆไม่ได้ ต้องมาจากเบ้าหลอมที่ดี โรงเรียนตำรวจยังไม่ใช่เบ้าหลอมที่ดีพอ เพราะเป็นโรงเรียนอำนาจนิยม นอกจากโครงสร้างอำนาจนิยมแล้วยังมีแนวคิดที่ล้าหลัง

            โครงสร้างในประเทศนี้ยังมีเพียงสองเพศ ซึ่งมีความล้าหลังและเป็นความอัปยศของประเทศ และอาชีพต่างๆ ซึ่งเมื่อหลายปีก่อนบ้านกาญจนาพิเศษได้รับนักเรียนนายร้อยมาและสิ่งที่เราทำกิจกรรมเป็นปกติ และพบว่านักเรียนตำรวจไม่เคยดูหนังกรณีเชอรีแอนด์เลยทั้งที่นี่เป็นกรณีอัปยศของกรมตำรวจเป็นความผิดพลาดของตำรวจ เมื่อโรงเรียนตำรวจเป็นเบ้าหลอมที่ไม่ดี และควรเป็นเบ้าหลอมที่ดี มีคุณภาพเพื่อการพัฒนาตำรวจที่มีคุณภาพ ระบบไม่ดีไม่เปิดกว้างพอให้คนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้

            มีกรณีหนึ่งที่เด็กถูกละเมิดทางเพศเกิดขึ้นยกับเด็ก แต่ผู้ที่ละเมิดเป็นผู้มีอำนาจและยังมีตำรวจที่เป็นผู้มีอำนาจ ซึ่งเป็นอำนาจนิยมเสียด้วยการสอบการหาวัตถุพยานในศาลด้วย เด็กตัวเล็กๆที่ไม่ได้มีอำนาจแต่ต้องพบกับคนที่มีอำนาจ อย่าน้องที่มุกดาหาร เด็ก 3 คนที่ถูกละเมิดทางเพศจากครู และเพื่อนอีก เราพาเขาเข้าสู่กระบวนการเอ็มพาเวอร์ ทำให้เขาเมีพลังในการที่จะลุกขึ้นมาสู้ และเข้าสู่กระบวนยุติธรรมอย่างมั่นใจ กล้าที่จะทำให้เกิดความยุติธรรมเอาคนร้ายตัวจริงมาลงโทษ

            คำถาม หากมีเงิน 4 พันล้านจะเลือกไปฝากใครระหว่างวัดสัญญลักษณ์ของคนดี กับธนาคาร หากคิดได้ นั่นแหละเราก็จะมีการปฏิรูปตำรวจได้อย่างแท้จริง

            “อัญชนา หีมมิหน๊ะ กลุ่มด้วยใจ(องค์กรประชาสังคมชายแดนใต้) เล่าว่า ปัญหาคนชายขอบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากเป็นผู้หญิงแล้วยังเป็นมาลายูและมีความเป็นมุสลิมอีกด้วย หากตกเป็นเหยื่อของการถูกละเมิดทางเพศ จะมีคนในชุมชนและกรอบของศาสนาเข้ามาตัดสิน ทำให้เขาเข้าถึงกระบวนการยุตธรรม และมีความสำคัญในความเชื่อทางศาสนาและกลไกสังคมชุมชนทำให้เข้าไม่ถึงความยุติธรรม และมีกลไกทางสังคมที่ไม่มีผู้หญิงเข้าไปมีส่วนร่วมเลย ส่วนใหญ่จะเป็นผู้นำทางศาสนา มีการใช้อำนาจทางวัฒนธรรม ศาสนามาจัดการใช้แนวการตัดสินและโรงพักไม่ได้ใช้กระบวนการมีการตรวจสอบ การจับกุมใช้กลไกภายใต้กฏหมายพิเศษ ใช้กลไกการไกล่เลี่ย ซึ่งเข้าสู่ความเป็นธรรมไม่ได้

            ผู้หญิงถูกดำเนินการภายใต้กฎหมายพิเศษทำให้กลไกนี้ไม่มีผู้หญิงเข้ามาได้เลย และผู้หญิงที่ไม่สามารถให้เปิดเผยแม้แต่เส้นผมให้ชายที่ไม่ใช่พ่อดูได้เลย และการที่ผู้หญิงมาลายูไม่สามารถสื่อสารภาษาได้ และบางทีใช้กลไกทหารผู้หญิงมาควบคุมผู้หญิงเข้าค่ายทหาร

            ผู้หญิงชายแดนใต้ถูกกดทับเข้าไม่ถึงกระบวนการยุติธรรม และกระบวนการกลไกต่างต่างๆทางนโยบายไม่มีผู้หญิงเข้าไปมีส่วนร่วม และไม่มีผู้หญิงที่เป็นผู้เสียหายในกระบวนการต่างๆเข้าไปมีส่วนร่วม และทำให้ผู้หญิงถูกลดค่าด้อยค่า แม้แต่ทหารหญิงก็ถูกกระทำให้เห็นภาพที่อ่อนโยนดูแลแต่ในความจริงคือผู้ชายที่อยู่ข้างหลัง และยังมีความต้องการของผู้หญิงทื่ต้องการอาหารอาชีพเย็บผ้า ผู้ชายต้องการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งต่างกัน แต่ว่ากระบวนการรับฟังการมีส่วนร่วมแบบนี้ไม่มีและเป็นการใช้ความเมตตาเข้ามาใช้ทำให้มุมมองการแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ไม่ได้รับการดูแล

            “เราจะส่งเสริมเรื่องนี้ในระดับนโยบายอย่างไรดี?”

            ส.ส.อาดิลัน อาลีอิสเฮาะ พรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า จะมีการเพิ่มอัตรากำลังตำรวจหญิงเพิ่มขึ้นแต่ตอนนี้มีการระบาดโควิด-19 และภายในมีการเปิดเพื่อรับการอบรม400 คนนั้นมีผู้หญิงเข้ามาในอัตรากำลังส่วนหนึ่งจำนวน28 คน กรณีโรงพักที่เรียกว่าเป็นโรงพักประชาชนในส่วนนโยบายนั้นมีการเสนอมาหลาย 10 ปีแล้ว และต้องการที่มีการแก้ไขปัญหา ซึ่งวันนี้ยังเป็นปัญหาอยู่อยากให้กลุ่มผู้หญิงยื่นหนังสือต่อกรรมาธิการ สภาผู้แทนราษฎรเพื่อนำเสนอเชิงนโยบายให้กรรมาธิการการฯมีการเสนอแก้กฎหมายต่อสภาฯ เป็นการใช้สภานิติบัญญัติในการแก้ไขปัญหา ในอดีตไม่เคยใช้ช่องทางสภาผู้แทนราษฎร ด้วยเป็นนักกฎหมายก็ตจะใช้ช่องทางกฎหมาย แต่เมื่อมาเป็นส.ส.ก็เป็นว่าช่องทางนี้ก็เป็นอีกช่องทางในการที่จะเสนอเพื่อการแก้ไขกฎหมาย สามารถเสนอข้อมูลต่อกรรมาธิการการฯเพื่อแก้เชิงนโยบาย ขอให้กลุ่มมายื่นข้อเสนอกับทางกรรมาธิการการฯเพื่อแก้ไขปัญหา

            พ.ต.อ.ฉัตรแก้ว วรรณฉวี ประธานชมรมพนักงานสอบสวนหญิง กล่าวว่า ปัญหานี้ที่ทำให้เกิดพนักงานสอบสวนหญิงแล้ว แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าไปอีกหรือ แต่ก็มีความคืบหน้าไปบ้างแล้ว แต่ว่าผู้หญิงต้องสอบปากคำ และต้องเอ็มเพาเวอร์ สอบสวนหาหลักฐาน กระบวนการที่จะเร่งรัดบางทีก็ไม่ได้ จากประสบการทำงานเรื่องล่วงละเมิดทางเพศ แล้วทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติมองว่าใครก็ทำได้นั้นไม่จริงหากว่ามีมุมมองแบบนี้นั้นก็แก้ปัญหาไม่ได้ จะมาอ้างถึงการดำเนินคดีมามากมายอย่างลักชิงวิ่งปล้น คดีเหล่านี้มันเรื่องเล็กกว่าเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งการสอบสวนนั้นสอบที่ไหนก็ได้หากเขาไม่ต้องการขึ้นโรงพักหากไม่สบายใจ

            ด้วยเป็นเรื่องภาพลักษ์การแต่งกาย รูปแบบที่ทำให้ตำรวจต้องดูเข้มแข็ง งานยสอบสวนแบบนี้ไม่ใช่ตำรวจคนไหนก็ทำได้ และรูปแบบการสอบสวนรับแจ้งความทำที่ไหนก็ได้ต่างประเทศเขาเปลี่ยนกันแล้ว และพนักงานสอบสวนหญิงที่ถูกหล่อหลอมมาชุดหนึ่งที่เขาสามารถทำได้ การเพิ่มพนักงานสอบสวนหญิงเป็นเรื่องดี แต่ว่าการมีใจในการทำงานตรงนี้ด้วย คือต้องมีคุณภาพ การรับตำรวจหญิงนั้นต้องให้อยู่ได้ทุกที่ไม่ใช่แค่เสริฟกาแฟนั่งหน้าห้องอย่างเดียว แต่ผู้หญิงสามารถทำงานอะไรก็ได้อาจออกไปทำงานจราจร ทำงานไล่จับผู้ร้ายก็ได้ ต้องมีการส่งเสริมภาพลักษณ์ใหม่ให้กับตำรวจหญิงการสอบสวนสอบปากคำเหยื่อเขามีความสามารถ การยกระดับภาพจำตำรวจหญิงใหม่ ควรมีการส่งเสริมเขา และตำรวจหญิงทำงานได้เท่าเทียมกับผู้ชาย

            ควรดูความเจริญก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ด้วยภาพลักษณ์ของตำรวจหญิงที่ถูกทำให้เป็นแค่ตำรวจหน้าห้อง ซึ่งรัฐควรมีการให้ความรู้ตำรวจหญิงในความเป็นผู้นำด้วย

            ส.ส.นัฐวุฒิ บัวประทุม พรรคก้าวไกล กล่าวว่า เมื่อก้าวเข้าสู่สนามการเมือง ก็จะขอถามเรื่องโรงเรียนนายร้อยชุมชนตรงนี้ยังอยู่หรือไม่ และมีกรณีเคสน้องผู้หญิง ที่ศาลตัดสินว่าผู้กระทำไม่มีรอยสักอย่างที่นักเรียนหญิงร้องเรียนอยู่ และนักเรียนนายร้อยรู้สึกว่าหากเขาเป็นคนทำคดีเขาจะทำให้ดีกว่านี้

ขณะนี้รัฐสภาได้มีการร่างกฎหมายปฏิรูปตำรวจเกือบแล้วเสร็จแล้ว พนักงานสอบสวนตำรวจหญิง

องค์ประกอบกรรมาธิการมีกี่คนที่เป็นผู้หญิง และคณะกรรมการ 7 คนอย่างน้อยต้องมีผู้หญิง

            ตำรวจที่มีเพศภาพหลากหลายจะมีการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นหรือไม่ และการพิจารณาความดีความชอบ ต้องห้ามการนำผู้มีเพศภาพที่หลากหลายและเพศวิถีในการมาปรับตำแหน่งด้วย

            อคติ ความรวยความจนในการตัดสิน และแตกต่างกันอย่างไร หลักทรัพย์การประกันตัว คนรวยคนจนมีการแตกต่างกันอย่างไร พรรคก้าวไกลกำลังเสนอเรื่องการปรับ อคติด้านการศึกษาสูงต่ำ อย่างที่มีการนำไม้ตีกอร์ฟตีภรรยาตาย อคติ ชายหญิง และอคติความเป็นไทย ความเป็นชาติพันธ์ สิ่งเหล่านี้ยังไม่ได้มีการปรับอคติได้อย่างไร ในสภาผู้แทนราษฎร กรณีกรรมาธิการชุดต่างๆควรมีการกำหนดสัดส่วนการมีส่วนร่วมของผู้หญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศ

            สังคมไทยจะเป็นการขับเคลื่อนด้วยการด่า จริงๆ หลายเคสที่เกิดการล่วงละเมิดในครอบครัวต้องผ่านการขับเคลื่อนแก้ปัญหา ซึ่งสำนักงานตำรวจต้องมีการปรับการทำงาน ซึ่งสถานีตำรวจควรมีคนที่จะทำงานสอบสวน และเป็นรายชื่อในการที่จะให้คนสามารถร้องทุกข์ การนำตุ๊กตามาใช้แทนผู้หญิงเมื่อถูกละเมิดทางเพศ ซึ่งต้องซื้อจากต่างประเทศ

            ส.ส.มีการตั้งกลุ่มเพศภาพในสภาฯมีกลุ่มส.ส.หลายคนที่มาคุย และสนับสนุนข้อมูลกันและกัน ประเด็นที่มีการสร้างเครือข่าย ซึ่งเป็นประเด็นที่ผิดปกติที่ทำเป็นปกติ การที่ต้องเดินไปโรงพัก หาหลักฐานเอง หาทนายเอง เป็นความปกติที่ไม่ปกติในกระบวนการเข้าถึงความยุติธรรม การที่คนๆหนึ่งจะต้องมีการเข้าถึงกฎหมาย

            หากให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะทำให้เกิดการแก้ไขปัญหา เรื่องนี้ไม่ได้แตกต่างกับสมรสเท่าเทียม และประเด็นอื่นๆเลย เรื่องเบ้าหลอมทางระบบของตำรวจ รวมถึงองคาพยพต่างๆในระบบราชการและอำนาจรัฐในประเทศไทยที่เป็นปัญหาอย่างมาก การปฏิรูปและแก้ไขปัญหาเชิงนโยบายจึงต้องมีส่วนร่วมของประชาชนอย่าลืมใช้กลไกของสภาในการแก้ไขปัญหาด้วย

************************