29 ปี โศกนาฎกรรมโรงงานผลิตตุ๊กตาเคเดอร์

วันที่ 10 พฤษภาคม 2565 ช่วงเช้าคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.)และพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ได้ร่วมกันทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับเนื่องในเหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ 188 ศพ โดยมีนายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคสรท. และผู้แทนจากกลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ รวมถึงอดีตคนงานเคเดอร์ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทยมาร่วมกันทำบุญและวางดอกไม้หน้าอนุสาวรีย์ เตือนใจความปลอดภัยของคนงาน ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าพิพิธภัณพ์แรงงานไทย ริมถนนมักกะสัน เขตราชเทวี

ต่อมาคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ร่วมกับสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทยได้จัดเวที วันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ร่วมรำลึก 29 ปี 188 ศพ โศกนาฏกรรมโรงงานผลิตตุ๊กตาเคเดอร์ และจัดเวทีเสวนา “คุณภาพชีวิตคนงานที่ยังขาดมาตรฐานความปลอดภัยใครต้องรับผิดชอบ…?”

สาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)กล่าวว่า พัฒนาการ การได้มาซึ่งกฎหมาย หรือระบบต่างๆในการสร้างให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานนั้น ผ่านมา 29 ปี และก้าวเข้าสู่ 30 ปี กรณีไฟไหม้โรงงานเคเดอร์ ที่ทำให้ความสูญเสียชีวิตของแรงงาน 188 ศพ และบาดเจ็บ พิการกว่า 400 คน แม้ว่าจะมีกฎหมายออกมาดูแลคุ้มครองบ้างแล้วแต่ปัญหาความไม่ปลอดภัยในการทำงานยังคงเกิดขึ้นในทุกๆวันกับแรงงานทั้งในระบบโรงงานอุตสาหกรรม และแรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ ซึ่งปี 2566 จะครบ 30 ปีแล้ว คงจะได้มีการทบทวนร่วมกันในปีหน้าเพื่อให้เกิดการปรับปรุงแก้ไขทำให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน

สมบุญ สีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายผู้ป่วยจากการทำงานฯ กล่าวว่า การขับเคลื่อนร่วมกันกับขบวนการแรงงานนักวิชาการ และองค์กรสมัชชาคนจนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาแพทย์ผู้เชียวชาญด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงอยากให้เกิดสถาบันความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ที่เป็นองค์กรอิสระ ด้วยสภาพปัญหาการเข้าถึงสิทธิทั้งการชดเชย ดูแล ตรวจสอบ รวมถึงการมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวเวชศาสตร์ที่น้อยมาก ภายใต้โรงงานอุตสาหกรรมราว 4 แสนแห่ง สหภาพแรงงานที่ทำหน้าที่ในการเรียกร้องหรือปกป้องสิทธิของแรงงานก็มีน้อยมาก โดยบทบาทหน้าที่ในการที่จะเข้าไปดูแลสร้างความเข้าใจให้กับคนทำงานเพื่อให้เข้าถึงสิทธิการรักษาหรือได้รับการวินิจฉัยโรคจากการทำงาน หรือการได้รับการชดเชยเมื่อเกิดการสูญเสียเกิดขึ้น และภาครัฐก็ไม่มีคนเพียงพอในการเข้าไปตรวจเรื่องความปลอดภัยในสถานประกอบการ และบางโรงงานก็มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน(จป.) และบางโรงงานก็ไม่มีจป. จึงมีหลายกรณีที่กองทุนเงินทดแทนปฏิเสธในการจ่ายเงินทดแทนให้กับคนงานที่ประสบภัย ประสบอันตรายจากการทำงาน หรือสูญเสียชีวิต พิการ หรือทุพพลภาพ และทำให้คนงานเองไม่เข้าใจเรื่องการที่จะอุทธรณ์เพื่อเข้าถึงสิทธิการทดแทน ซึ่งมีคนงานที่ทำงานในห้องเก็บความเย็นคลังสินค้าแห่งหนึ่งจนมือเท้าเปื่อยเป็นแผล แต่ก็ไม่ได้เข้าถึงการดูแลรักษาว่าเป็นการเจ็บป่วยจากการทำงาน ซึ่งเป็นปัญหาที่ยังคงมีอยู่และคนงานยังเข้าไม่ถึงการบริการรักษาตามสิทธิ และนายจ้างเองก็ไม่ต้องการให้เกิดตัวเลขความไม่ปลอดภัยในการทำงาน ด้วยปัญหาทางการค้า เรื่องความปลอดภัยในการทำงานคนทำงานต้องตระหนักเรื่องความปลอดภัยในการทำงานด้วยการทำให้ตนเองปลอดภัย และสร้างองค์กรเครือข่ายให้เข้มแข็งเพื่อที่จะทำให้ชีวิตคนทำงานปลอดภัยด้วย

ประสิทธิ์ ประสพสุข ประธานสมาพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  กล่าวว่า การทำงานและความไม่ปลอดภัยในการทำงานนั้นมีการตั้งเป้าหมายในการผลิตทำให้คนงานต้องการผลิตให้ได้ตามเป้าที่กำหนด ซึ่งการทำงานที่เร่งรีบทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน หรือเกิดอุบัติเหตุได้ แม้นายจ้างจะเตรียมให้มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันด้านความปลอดภัย เช่นชุดพีพีอี แต่ลูกจ้างไม่ใช่อุปกรณ์ความปอดภัยเพราะมองว่า ไม่สะดวกในการทำงานจึงไม่ใช่ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงานได้ ซึ่งบริษัทก็มีการนำเรื่องการประเมินเรื่องความไม่ปลอดภัยมีการทำKPIในกระบวนการผลิตด้วย ซึ่งนายจ้างเองก็ไม่ได้มีการส่งเรื่องประสบอุบัติเหตุของแรงงานต่อรัฐด้วยหากไม่ส่งรายงานก็ทำให้ผลประกอบการไม่เกิดปัญหา และเบี้ยก็ลดลงด้วย นายจ้างจึงไม่ส่ง และทำการรักษากันเอง ซึ่งการกำหนดเป็นKPI ทำให้การเกิดอุบัติเหตุเป็น 0 ความปลอดภัยในการทำงานเป็นเรื่องที่ต่อรองไม่ได้ เราต้องทำให้เกิดความปลอดภัยให้มากที่สุดด้วยร่างกายของเราไม่สามารถที่จะเรียกกลับมาได้หากต้องสูยเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิตเรียกกลับมาไม่ได้ การที่จะให้เกิดการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเทคโนโลยีใหม่ต้องลงทุน ซึ่งนายจ้างอาจไม่ลงทุนด้วยมองว่า เป็นต้นทุนสูงรัฐอาจต้องมาช่วยดูเรื่องนี้หรือไม่จะส่งเสริมให้เกิดอุตสหกรรมที่ปลอดภัยการใช้เทคโนโลยีสูงเพื่อลดปัญหาไม่ให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานได้อย่างไร

ศราวุธ สราญจิตร ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การทำงานของคนรถไฟต้องเน้นเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน แต่ในความเป็นจริงแล้วนโยบายรัฐเพื่อการเน้นเรื่องเป็นสวัสดิการให้กับประชาชน และรัฐก็เน้นให้สร้างผลกำไรด้วย การที่จะมีการจ้างบุคคลากรเพิ่มจึงน้อยมาก และยังมีการรถอุปกรณ์ในการทำงาน ซึ่งเมื่อบุคลากรไม่เพียงพอในการทำงานการพักผ่อนน้อย และขบวนรถที่ไม่มีอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย ซึ่งส่วนของนายจ้างก็ยังให้มีการนำขบวนไปทำขบวนได้โดยกำหนดว่า ต้องระมัดระวัง เมื่อเกิดอุบัติเหตุทำให้ลูกจ้างมีความผิด แต่ว่า นายจ้างเองก็ยังต้องรับผิดชอบร่วมด้วย เพราะว่า มีกฎหมายและสภาพการจ้างที่กำหนดเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน เมื่อเกิดเหตุการขึ้นนายจ้างหรือหน่วยงานของรัฐก็ต้องรับผิดชอบ และมีการเปลี่ยนแปลงในระบบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้น ในการจัดการปรับเปลี้ยนอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยมากขึ้น ผ่านมา 13 ปีแล้วซึ่งก็มีการปรับปรุงด้านความปลอดภัยมากขึ้นด้วยระบบราชการก็เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป “คนงานต้องคำนึงถึงว่าเราจะทำงานอย่างไรให้เกิดความปลอดภัย ทำให้เพื่อนร่วมงานปลอดภัย และภายในสถานที่ทำงานไม่ปลอดภัยเราต้องช่วยกันในการส่งเสียง และสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้แทนที่เข้าไปต่อรองด้วย”

จันทนา เอกเอื้อมณี ผู้แทนมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ กล่าวว่า แรงงานนอกระบบตอนนี้มีจำนวนมากขึ้น เมื่อแรงงานในระบบถูกเลิกจ้างก็จะเข้าสู่การเป็นแรงงานนอกระบบ เรามีทั้งมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ช่างเสริมสวย ลูกจ้างคนทำงานบ้าน และอื่นๆ ตอนนี้ช่วงสถานการณ์โควิด -19 เรามีแรงงานแกร็บที่เข้ามาช่วยกันในการรับจ้างรับส่งอาหาร และเป็นอาชีพที่ไม่เกิดความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งแต่ว่าเขากลับไม่ใช่ลูกจ้างไม่ได้อยู่ในกฎหมายแรงงาน เขาต้องดูแลตนเอง และค่าจ้างที่ได้ก็ไม่ได้อยู่ในกฎหมายขั้นต่ำ และเขาได้ตามที่เขาทำงาน ซึ่งถูกกำหนดโดยบริษัทแพลตฟอร์มนั้นๆเป็นผู้กำหนดเมื่อเกิดอุบัติเหตุก็ไม่ได้รับการดูแลต้องดูแลตนเอง กรณีแรงงานนอกระบบก็เช่นกันต้องดูแลตนเอง แม้ว่า มีการกำหนดเรื่องการส่งงานให้กับคนทำงานต้องไม่เป็นงานที่อันตรายกับคนทำงานที่บ้าน แต่ในความเป็นจริงคือมีความไม่ปลอดในการทำงานและยังเป็นที่อันตราย ถึงแม้กฎหมายจะกำหนดให้นายจ้างต้องดูแลและรับผิดชอบแต่ว่าก็ไม่มีการเอาผิดเรื่องนี้ ซึ่งเราเคยพบกรณีคนรับทำครกหินที่ฝุ่นจากหินจำนวนมาก สันนิษฐานได้ว่าฝุ่นนั้นอาจส่งผลให้เขาป่วยเป็นมะเร็งปอด และยังมีกรณีคนทำแหอวน ซึ่งมีการทำงานที่มีตะกั่วจากโซแหอวน เมื่อตรวจพบว่าเลือดของคนรับงานมาทำมีสารตะกั่วเกิดมาตรฐานก็ไม่ได้มีการรับผิดชอบอะไรจากนายจ้างเช่นกัน ผลจากการร้องเรียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นายจ้างโกรธและไม่ได้ส่งงานให้กับคนรับงานในหมู่บ้านนั้นอีกเลย และทางสวัสดิการฯก็ไม่ได้มีการช่วยเหลือและเป็นผลกระทบในการขาดรายได้ในการรักษาตัวเองจากสารตะกั่วในร่างกายของชาวบ้าน

สุธาสินี แก้วเหล็กไหล ผู้ประสานงานเครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติกล่าวว่า แรงงานข้ามชาติสถานการณ์และผลกระทบคือ แรงงานข้ามชาติเป็นกลุ่มที่ไร้ฝีมือ เป็นความหมายที่รัฐไทยว่าไว้ งานที่แรงงานข้ามชาติทำเป็นงานที่แรงงานไทยไม่ทำแล้ว ซึ่งเป็นงานที่ไม่ปลอดภัยทั้งโรงเหล็ก ในเรือ และคนงานที่มาหาคือมือขาด และกรณีล่าสุด 3 ศพ ในเรือที่คนงานไปลงเรือและสารแอมโมเนียเสียชีวิต และการทำงานในโรงเหล็กเราไม่รู้ว่านายจ้างมีการอบรมหรือมีอุปกรณ์ป้องกันแค่ไหนในการทำงาน ซึ่งพบว่า แรงงานมือกุดขาดไปเพราะเครื่องตัดเหล็ก และยังมีอีกหลายโรงงานที่เกิดอุบบัติเหตุจำนวนมากแรงงานข้ามชาติต้องพิการเนื่องจากการทำงานจำนวนมาก และนายจ้างเองก็ไม่เข้าใจว่าต้องนำแรงงานเข้าสู่ระบบประกันสังคมหรือไม่ ซึ่งมีนายจ้างมาติดต่อสอบถามทางมูลนิธิด้วย ซึ่งเมื่อนายจ้างไม่พาแรงงานเข้าสู่ระบบเมื่อเกิดปัญหาความไม่ปลอดภัยในการทำงานทำให้เขาได้รับผลกระทบการไม่ได้รับสิทธิด้านเงินทดแทนเพื่อให้เขาได้รับสิทธิการชดเชย ด้วยแรงงานข้ามชาติต้องประสบอุบัติเหตุพิกลพิการที่เกิดขึ้นเขาต้องพิการกลับไปประเทศเขาด้วย

อย่างกรณีที่มีการออกกฎหมายแบบพิกลพิการมีการให้คนงานซื้อประกันตนเอง ประกันสุขภาพไม่ได้เข้าสู่ระบบประกันสังคม เมื่อเกิดปัญหาเรื่องความไม่ปลอดภัยในการทำงานเขาไม่ได้รับการดูแล อย่างกรณีการเสียชีวิตที่เกิดขึ้นก็เช่นกันเขาไม่ได้รับการดูแลถือเป็นความพิกลพิการทางกฎหมายไทยจริงๆ

“รัฐนั้นทราบดีอยู่แล้วว่าบริษัท หรือสถานประกอบการใดมีความเสี่ยงต่อการเกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน การจัดการหรือการเข้าไปตรวจสอบจึงต้องทำและมีการเฝ้าระวังเพื่อสร้างให้เกิดการดูแลเรื่องความปลอดภัยในการทำงานอย่างแท้จริงW

ไพฑูรย์ โพธิ์ศรี ผู้แทนคนทำงานอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวว่า นายจ้างส่วนใหญ่เป็นชาวญี่ปุ่น และผลิตสินค้ามีแบร์นท์ ผู้บริหารเองเอาใจใส่เรื่องความปลอดภัยในการทำงานพอสมควร แต่ปฎิเสธไม่ได้ว่ามีการเกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงานจำนวนมาก แม้ว่า จะเอาใจใส่แล้วแต่ก็ยังมีความไม่ปลอดภัยอยู่แต่อาจไม่หนักเหมือนในอดีต เป็นการบาดเจ็บเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อเกิดอุบัติเหตุผู้บริหารญี่ปุ่นก็จะมีการเข้ามาดูและมีการออกสารขอโทษทำให้เกิดการตื่นตัวในสถานประกอบการมากขึ้นในการดูแล อุบัติเหตุที่เกิดอาจเป็นเครื่องจักรบางตัว หรือบางกระบวนการผลิตที่มีความเสี่ยงผู้ประกอบการจะมีการนำกระบวนการผลิตนี้ออกไปผลิตในห้องแถวมากกว่าเป็นต้น

จาตุรงค์ ไพรสิงห์ ผู้แทนคนทำงานอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์ กล่าวว่า ด้วยอุตสาหกรรมในเครือมีความหลากหลายมาก อย่างโรงงานผลิตปูนซิเมนต์ ที่สระบุรีก็เป็นเมืองในสายหมอก ซึ่งปฎิเสธไม่ได้เรื่องความปลอดภัย ซึ่งอุตสาหกรรมต่างๆต้องดูเรื่องความปลอดภัยที่แบ่งเป็นสองแบบคือ ความปลอดภัยของสถานประกอบการเป็นความปลอดภัยของแรงงานในโรงงาน และความไม่ปลอดภัยในชุมชนอย่างมลพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิตเป็นต้น ซึ่งความไม่ปลอดภัยอาจเกิดภายในรั่วโรงงานมีการเจ็บป่วยจากงาน ที่มีทั้งเห็นด้วยตาเปล่าและไม่เห็น ซึ่งที่เห็นก็น่าจะมีการนำมาคุยในคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน เมื่อเกิดเหตุเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บพิการเนื่องจากการทำงาน เช่นกรณีที่คนงานขาหักสองข้างซึ่งนายจ้างให้ลูกจ้างไปแจ้งทางกองทุนฯเองซึ่งลูกจ้างขอให้นายจ้างช่วยแจ้ง แต่นายจ้างก็อ้างว่าต้องแจ้งเองไม่แจ้งวคือไม่ได้สิทธิ ในกรณีที่นายจ้างหรือสถานประกอบกาอาจต้องสงสัยเมื่อมีการย้ายงานแรงงานบ่อยครั้ง โดยภาครัฐต้องช่วยจับตาเก็บข้อมูลด้วย เนื่องจากเมื่อป่วยจะได้ทราบว่าคนทำงานผ่านงานอะไรไปบ้าง เพื่อให้เกิดการวินิจฉัยการป่วยจากสารเคมีต่างๆได้

เพ็ชรจรินทร์ จงใจหาญกล้า ผู้แทนคนทำงานในอุตสาหกรรมโลหะ เล่าว่า ด้วยเป็นอุตสาหกรรมหนักอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมีตั้งแต่เล็กๆไปจนถึงใหญ่ เช่นบาดเจ็บจนสูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิตเลย ซึ่งสถานประกอบการใดมีสหภาพแรงงานจะมีการดูแลด้านความปลอดภัยดีกว่า สถานประกอบการที่ไม่มีสหภาพแรงงาน ซึ่งสังคมไทยกลับมองว่าการมีสหภาพแรงงานไม่ได้ ซึ่งสถานประกอบการที่ตนเองทำมีการดูแลเรื่องความปลอดภัยในการทำงานดีมากมีการประชุมร่วมกันเพื่อติดตามและปรับปรุงให้เกิดความปลอดภัย และหากมีการเกิดความไม่ปลอดภัยก็จะมีสหภาพแรงงานเข้าไปร่วมกันในการหารือแก้ไขปัญหาด้วย จากประสบการณ์ในอุตสาหกรรมพบว่า มีปัญหาการร้องเรียนเรื่องความไม่ปลอดภัย เกิดอุบัติเหตุในการทำงาน และพบว่าเข้าไม่ถึงสิทธิด้วยเขาไม่มีสหภาพแรงงานเราก็เข้าไปดูแลในฐานะอุตสาหกรรม และสหภาพแรงงานใกล้เคียงในการทำงานเราก็ต้องช่วยกันดูแลเพื่อให้ได้เข้าถึงสิทธิด้วย

กิตติพงษ์ นาถ้ำพลอย สหภาพแรงงานธนาคารไทยพานิชย์ และเครือข่าBFUNกล่าวว่า การทำงานในอุตสาหกรรมภาคธนาคาร ซึ่งก็มีกทารดูแลเรื่องความปลอดภัยค้อนข้างดี ซึ่งการดูแลด้านความปลอดภัยจะมีการจ้างบริษัทอื่นๆเข้ามาดูแล เรื่องความปลอดภัยในการทำงาน การที่พนักงานไม่พร้อมในเรื่องของอุปกรร์การทำงานภายใน ทางธนาคารก็มีการควบคุมดูแลระบบ 5 ส และมีการซ้อมเรื่องหนีไฟเมื่อเกิดเหตุ และมีการเดินทางไปข้างนอกก็มีการดูแลด้านความปลอดภัยด้วย

สุรินทร์ พิมพา ผู้แทนคนทำงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ กล่าวว่า มีกรณีความไม่ปลอดภัยในการทำงานกรณีหม้อแปลงไฟระเบิดซึ่งทางกองทุนได้ตีความสูญเสีย 80% แต่ว่ามีการจ่ายเป็นรายปีจนกว่าลูกจะเสียชีวิต ซึ่งความไม่ปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งคนงานมีการล้างเครื่องแป้งด้วยการทำงานไม่ปลอดภัยส่งผลให้เครื่องโม่แป้งบดร่างคนงานแหลกครอบครัวรับเงินเพียง 2 หมื่นบาทชดเชยเท่านั้น

ธนวรรณ ชมหอม ผู้แทนคนทำงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ เล่าถึงการทำงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ที่มีความไม่ปลอดภัยในการทำงานของแรงงานข้ามชาติกรณีเครื่องอบผ้าทับมือด้วยความร้อนของเครื่องอบทำให้มือของแรงงานข้ามชาติที่สูญเสียไปต้องการให้มีการประเมินดูแลความสูญเสียให้กับคนงานด้วย และต้องกมารให้มีการเข้าไปดูแลแรงงานในอุตสาหกรรมดังกล่าวนี้ด้วย

อนุชา แก่ค้างพูล ผู้แทนคนทำงานอุตสาหกรรมยานยนต์ เล่าว่า เป็นคนงานที่การทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมหนักที่มีการผลิตมีทั้งเชื่อมมีสารตะกั่วหลายตัว ซึ่งเป็นการทำงานในรายการผลิตไม่ต่ำกว่า12 ชั่วโมงการที่จะมีการเจ็บป่วยจากการทำงาน หรือว่ามีคนที่เกิดการป่วยเป็นมะเร็งหมอก็ไม่เคยที่จะมีการชี้ว่าป่วยจากการทำงานเป็นการป่วยเป็นมะเร็งจากการกินการใช้ชีวิต การยกของหนักจนปวดหลังก็ไม่เคยมีการวินิจฉัยว่า เกิดจากการทำงานเช่นกัน ซึ่งมีแรงงานจำนวนมาก อุตสาหกรรมรถยนต์มีทั้งสี เสียง ความร้อน และสารเคมีแต่ว่าผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้นเมื่อเจ็บป่วยกับไม่มีการวินิจฉัยว่า ป่วยจากการทำงานเลย

วันทนา ณัฐพูลวัฒน์ ผู้ตรวจราชการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า สถานประกอบการที่ไม่มีการนำแรงงานเข้าสู่ระบบเงินทดแทน หรือแรงงานเข้าไม่ถึงสิทธิ และนายจ้างพยายามหลีกเลี่ยงการแจ้งกรณีบาดจ็บพิการ หรือป่วยจากการทำงานเข้ากองทุนเงินทดแทน สิ่งที่มีการนำมาพูดคุยนั้นอยากให้มีการชี้เบาะแสมาที่สำนักงานประกันสังคมแม้จะมีเครือข่ายประกันสังคม มีทั้งบ้านวัด โรงงาน โรงเรียนแต่ยังไม่มีการแจ้งเบาะแสเข้ามา หรือว่าแจ้งไปที่เขตพื้นที่ สื่อโซเซียล หรือโทรที่ 1506 ได้เพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปดูแล ด้วยคอนเซ็บของกองทุนต้องการให้เงินลูกจ้างเป็นรายเดทอนเพื่อการดูแลหากเกิดการบาดเจ็บพิการ ทุพพลภาพ

ไพโรจน์ พันธะคาร ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน กล่าวว่า การมารับฟังปัญหาเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน คิดว่าเป็นหน้าที่ของคนทำงานทุกคน และกฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541 เป็นเพียงเพื่อการบรรเทาลูกจ้างแต่ไม่ใช่จะเป็นทุกอย่าง และกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานอาชีวอนามัยในการทำงานปี 2554 ตามหลักการดองความปลอดภัยในการทำงานทำการดูแล และมีกองตรวจความปลอดภัยมีทุกจังหวัด เพื่อเน้นการดูแลเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน และมีการอบรมพนักงานความปลอดภัยให้มากที่สุดแต่ตามที่ทราบคือเจ้าหน้าที่สวัสดิกมารฯมีน้อยทำให้การดูแลก็ยังไม่ทั่วถึง แต่ก็จะนำข้อเสนอไปปรับปรุงเพื่อลดเรื่องความไม่ปลอดภัย และแก้ไขปัญหาการเข้าไม่ถึงสิทธิด้านกฎหมายด้วย

สมศักดิ์ โกศัยสุข ที่ปรึกษาคสรท. กล่าวว่ามนุษย์ต้องรับผิดชอบตัวเองด้วยเราจะเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่มาดูแลเราอย่างไร แต่เมื่อกฎหมายไม่คุ้มครอง หรือบกพร่องก็ว่ากันอีกทีสหภาพแรงงานต้องมีการดูแลเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน และการทำงานของแรงงานที่ต้องมีการทำงานล่วงเวลากันหนักมาก ต้องมีการดูแลกัน สหภาพแรงงานต้องเป็นเจ้าภาพในการเรียกร้องเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน เรื่องกฎหมายต้องผ่านสภาผู้แทนราษฎร เราก็ต้องทำงานการเมืองพรรคการเมืองของแรงงานเพื่อต่อสู้และแก้กฎหมายเพื่อการคุ้มครองแรงงานอย่างแท้จริง

ทั้งนี้ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ได้แถลงเนื่องในวันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ 10 พฤษภาคม 2565  เรื่อง “สุขภาพดี คือ ชีวิตที่มั่นคง ความปลอดภัย คือ หัวใจของการทำงาน” โดย มีข้อเสนอต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องในวันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ  9 ข้อ ดังนี้

1. รัฐต้องรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 155 ว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน และอาชีวอนามัย ค.ศ.1981 (พ.ศ.2542) และฉบับที่ 161 ว่าด้วยการบริการอาชีวอนามัย ค.ศ.1985 (พ.ศ.2528) และให้ตรากฎหมายรองรับให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับข้อตกลงของนานาประเทศ และขอให้รัฐบาลมีความมุ่งมั่น ที่จะดำเนินงานเรื่องการบริการอาชีว

อนามัยอย่างเต็มที่ จริงจัง

2. ให้เร่งจัดหาและฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันเชื้อไวรัส โควิด -19 ให้แก่ประชาชนโดยเร็ว กำหนดมาตรการดูแลบุคคลที่มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ เช่น บุคลากรทางการแพทย์ สาธารณสุข พนักงานที่ให้บริการแก่ประชาชนในการบริการสาธารณะ ทั้งเรื่องวัคซีน เครื่องมืออุปกรณ์ การตรวจการป้องกัน ให้เพียงพอ ให้ประชาชนคนทำงานทุกกลุ่มสาขาอาชีพ รวมทั้งแรงงานข้ามชาติเข้าถึงการบริการ การตรวจโรคอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และเป็นธรรมโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งจะเป็นการควบคุมการป้องกันการแพร่ระบาดได้

3. ให้กระทรวงสาธารณสุขเร่งดำเนินการวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวกับสารเคมี มลพิษ สิ่งแวดล้อม โรคมะเร็งจากการทำงานต่างๆ และให้ตั้งโรงพยาบาล คลินิกอาชีวเวชศาสตร์ในย่านนิคมอุตสาหกรรมเพื่อดำเนินการ ป้องกัน รักษาให้เพียงพอ

4. ทำให้สังคมไทยปราศจากแร่ใยหิน โดยเฉพาะการรื้อถอน ต้องมีมาตรการกำจัดฝุ่นแร่ใยหินที่ดี มีมาตรฐาน

5. แก้ไขพระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561 ให้คนงานเข้าถึงสิทธิ์ ง่าย สะดวก รวดเร็ว

6. บังคับใช้กฎหมายความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างเข้มข้น พร้อมออกกฎหมายรับรอง เพื่อให้เกิดมาตรฐานความปลอดภัยที่ทุกฝ่ายต้องปฏิบัติตาม เร่งตรวจสอบสถานประกอบการที่มีความเสี่ยงทุกแห่ง และโรงงานขนาดเล็ก จัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยทุกแห่ง เพื่อเป็นกลไกในสถานประกอบการทุกแห่ง เพื่อบริหารจัดการเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พร้อมทั้ง ให้องค์กรแรงงาน สหภาพแรงงาน มีส่วนร่วม

7. การเข้าถึงบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งการเข้าถึงบริการมี 3 ด้าน คือ การป้องกัน การส่งเสริมความปลอดภัย การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ และการวินิจฉัยโรค รวมทั้งงบประมาณ และ คลินิก บุคลากร อุปกรณ์ทางการแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญอาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อม อย่างเพียงพอ

8. การออกกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานเกี่ยวกับโรคเออร์โกโนมิกส์ โรคโครงสร้างกระดูก โดยเฉพาะต้องบังคับใช้อย่างจริงจัง เคร่งครัด เพื่อป้องกันปัญหาการใช้แรงงานที่เกินกำลัง ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายคุ้มครอง เพราะถือเป็นเรื่องใหญ่ และบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น กรณีนายจ้างไม่ส่งเรื่องคนงานประสบอุบัติเหตุและเจ็บป่วยจากการทำงานเข้าใช้สิทธิเงินทดแทน

9. การสิ้นสุดการรักษาพยาบาลโรคที่เกี่ยวข้องจากการทำงานให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของแพทย์ที่รักษาไม่ใช่งบประมาณตามที่กำหนด

“สุขภาพดี  คือ  ชีวิตที่มั่นคง ความปลอดภัย  คือ  หัวใจของการทำงาน”

Good Health is Stablelile Security is Heart of Working

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน