บริษัทงัดกลเม็ดกดดัน กรรมการสหภาพฯมิชลินหวังป่วน

นาย เกียรติศักดิ์ บุญเปี่ยม คณะกรรมการสหภาพฯฝ่ายข้อมูลเปิดเผยว่า หลังจากที่ตนเองลาบวชเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2553 เป็นเวลาทั้งหมด 90 วันหลังจากสึกออกมาแล้วปรากฎว่าถูกบริษัทสั่งหักค่าจ้างย้อนหลังเกือบหมดเงินในบัญชี ในความเป็นจริงแล้วกฎเกณฑ์บริษัทในการลาบวช 15 วันแรกบริษัทจะจ่ายค่าจ้างเต็ม 100 %

แรงงานบุกยื่นหนังสือเรื่อง “ค่าจ้างขั้นต่ำ”ส่งท้ายผู้ว่าปากน้ำ

“กลุ่มสหภาพแรงงานโลหะ (TEAM) บุกยื่นหนังสือต่อผู้ว่าปากน้ำ เรื่อง ค่าจ้างที่เป็นธรรมต้อง
421 บาทต่อวัน ขณะผู้ว่าฯ กำลังเก็บข้าวของเตรียมย้ายในวันที่ 1 ตุลา นี้ ”

วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2553 เวลา 09.30 น. สมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็คโทรนิคยานยนต์และโลหะแห่งประเทศไทย (TEAM) นำโดย นายชาลี ลอยสูง ประธานสมาพันธ์ และคณะ เข้ายื่นหนังสือต่อนายสุระชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อให้ช่วยผลักดันเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 421 บาท เท่ากันทั่วประเทศ ตามข้อมูลที่คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยได้จากการสำรวจผู้ใช้แรงงานในพื้นที่ต่างๆทุกจังหวัดทั่วประเทศ

สภาฯผ่านร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านด้วยคะแนน 344 เสียง

วันนี้ 29 กันยายน 2553 เวลา 16.00-17.00 น. ณ ตึกรัฐสภา ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีการพิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ…. ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านตามที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ด้วยคะแนน 344 /9 เสียงขั้นตอนกระบวนการนิติบัญญัติหลังจากนี้ คือ ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน นับแต่วันรับร่างนี้ เพื่อลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นกฎหมายบังคับใช้ต่อไป

นายจ้างเล่นเล่ห์ ล้มสหภาพ เอาเปรียบคนงาน

เมื่อวันที่ 4 กันยายน ที่ห้องฝึกอบรมพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน อ.บางประกง จ.ฉะเชิงเทรา ได้มีการฝึกอบรมทักษะการเขียนข่าวของนักสื่อสารแรงงาน โดยเชิญผู้แทนกรณีปัญหาจากโรงงานต่างมาร่วมเป็นวิทยากร โดยนายพรโพธิ์เจริญ ศรีละเลิง คนงานบริษัท ไทยคูณ เวิล์ดไวด์ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่ใน อ.นิคนพัฒนา จ.ระยอง กล่าวว่า ภายหลังที่คนงานได้รวมตัวกันก่อตั้งสหภาพแรงงานไทยคูณและได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้าง เพื่อขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง รวมทั้งให้บริษัท ให้ความสำคัญกบการดูแลเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน เพราะมีอุบัติเกิดขึ้นบ่อยมาก มีหลายกรณีที่รุนแรง เช่น ถูกรถโฟล์คลิฟท์เหยียบ ซึ่งขณะนี้คนงานยังอยู่โรงพยาบาล

ขบวนการแรงงานนัดรวมพล ๗ ตุลานี้ทวงถามรัฐให้รับรองอนุสัญญา ILO

แถลงการณ์ ฉบับที่ ๓/๒๕๕๓

“๗ ตุลา ทวงถามความจริงใจรัฐบาล ต่อการให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO”

ใน ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ข้อเรียกร้องหลักขององค์กรแรงงานต่างๆ ในประเทศไทยคือการเรียกร้องให้รัฐบาลไทยให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาองค์การ แรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization :ILO) ฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘ ซึ่งเป็นอนุสัญญาหลัก ๒ ฉบับ ในทั้งหมด ๘ ฉบับ ที่ประเทศสมาชิกของ ILO ต้องให้สัตยาบันรับรอง (Core Labour Standard) อนุสัญญาทั้ง ๒ ฉบับดังกล่าวถือเป็นหัวใจสำคัญของพวกเราพี่น้องผู้ใช้แรงงาน คือ ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเรื่องเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และ ฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยเรื่องการรวมตัวร่วมเจรจาต่อรอง ซึ่งรัฐบาลไทยยังไม่ให้สัตยาบันรับรอง ทั้งๆที่ ILO ได้ประกาศในปี ๒๕๔๑ ให้อนุสัญญาทั้ง ๒ ฉบับ อยู่ในปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงาน ซึ่งองค์กรแรงงานต่างๆ ร่วมกันขับเคลื่อนมาอย่างยาวนานนับสิบปี

คนงานโอดนายจ้างเซ้งกิจการ หวั่นกระทบสิทธิประโยชน์ประกันสังคม

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ที่โรงแรม ทวิน อินน์ จ.ภูเก็ต มีการจัดเวทีเสวนา”เรื่องจริงจากพื้นที่”โดยนางดวงเดือน เพ๊ชรสวัสดิ์ คนงานบริษัท สยามทูน่า จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานแปรรูปปลาทูน่าส่งออกต่างประเทศ กล่าวว่า ตนได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก เนื่องจากนายจ้างค้างจ่ายค่าจ้างมานานกว่า 5 เดือน โดยในเดือนเมษายน 2553 นายจ้างซึ่งเป็นชาวญี่ปุ่น ได้ประกาศปิดปรับปรุงกิจการชั่วคราว และได้ขายหุ้นให้กับคนไทยที่เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์เสียงใต้ โดยนายจ้างไม่ไดบอกเลิกจ้างพนักงานที่มีอยู่กว่า 51 คน

20 ปีสปส.ถึงเวลาที่ต้องปฏิรูปเป็นองค์กรอิสระ

ดิฉันอยากจะย้ำบ่อยครั้งว่า การเกิดกองทุนของประกันสังคมนั้นเกิดจากความทุกข์ยากของคนงานที่เวลาเจ็บป่วยไม่มีเงินรักษา เวลาตายไม่มีเงินทำศพ เวลาทุพพลภาพไม่มีใครดูแล ตกงานก็ไม่มีเงินค่าเช่าบ้าน ไม่มีเงินให้ลูกไปโรงเรียน ไม่มีเงินแม้แต่จะซื้อข้าวกิน นี้คือปัญหาที่เกิด ทำให้คนงานในเขตย่านอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งภาครัฐวิสาหกิจ นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชนนักศึกษา ข้าราชการตัวอย่างเช่น อาจารย์นิคม จันทรวิทุร และผู้นำแรงงานให้ความสำคัญเคลื่อนไหวใหญ่ในเดือนกันยายน 2533 จนประสบความสำเร็จ

…โดย วิไลวรรณ แซ่เตีย
ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย

ทำอย่างไรกับบริษัทแม่แต่ไม่ใช่นายจ้าง

หลายคนคงทำงานเป็นลูกจ้างกับบริษัทใหญ่ๆและมีกิจการหลายกิจการหรือเปิดหลาย สาขามีการจัดการระบบจัดการที่บริษัทใหญ่ไม่ว่าจะรับสมัครพนักงานแล้วส่งลง สาขาหรือกำหนดค่าจ้างหรือสวัสดิการต่างๆก็เป็นนโยบายจากบริษัทใหญ่หรือที่ ทั่วไปเรียกว่า”บริษัทแม่” นั้นเอง การดำเนินกิจการของนายจ้างเป็นอย่างนี้คงจะไม่เกิดการเขียนบอกเล่าให้พี่ น้องได้รับทราบหรอกเพราะหลายท่านรู้ดีอยู่แล้วเกี่ยวกับระบบต่างๆของการ ดำเนินการตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ไม่ว่าจะเป็นการยื่นข้อเรียกร้อง การเจรจาต่อรอง การขอพูดคุยขอเปลี่ยนแปลงสวัสดิการหรือเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยตรงกับ บริษัทได้เลยใช่ไหมครับ

ปลดล็อค….สำนักงานประกันสังคม

ปลดล็อค….การการบริหารของสำนักงานประกันสังคม

ได้รับความสนใจจากผู้เกี่ยวข้องมาโดยตลอด ในปัจจุบันมีความเห็นจากสังคมว่าน่าจะการปรับปรุงการบริหารเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพโดยเฉพาะการบริหารกองทุน ทั้งนี้ด้วยเหตุผลหลักๆ ที่พอจะรวบรวมความคิดเห็นได้ดังนี้ 1. ขาดอิสระในการบริหารงาน 2. ระเบียบราชการเป็นอุปสรรคในการดำเนินงานโดยเฉพาะงานบางส่วนที่ต้องมีความรวดเร็วในการตัดสินใจ 3. ผู้บริหารไม่ใช่มืออาชีพ 4. คณะกรรมการมิใช่ผู้แทนที่แท้จริงของกลุ่มและไม่ใช่ผู้มีความรู้ในสาขาที่กำหนดอย่างแท้จริง

สรุปสาระสำคัญ ร่างพ.ร.บ.สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย

สถานะของสถาบันฯ

(1) สถาบันนี้ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ เป็นองค์กรนิติบุคคลของรัฐภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงแรงงาน

(2) วัตถุประสงค์การจัดตั้งสถาบันฯ 4 ประการ คือ 1. ส่งเสริมและแก้ไขปัญหาความปลอดภัยฯ 2. พัฒนาและสนับสนุนการจัดทำมาตรฐานเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยฯ 3. บริการทางแพทย์เกี่ยวกับการรักษา ขึ้นกับโรคพิจารณาจ่ายเงินทดแทนและการฟื้นฟูสมรรถภาพของลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้สามารถกลับเข้าทำงานประกอบอาชีพได้ตามความเหมาะสม และ4. สนับสนุนและร่วมดำเนินงานกับหน่วยงานด้านความปลอดภัยฯในการทำงานของภาครัฐและเอกชน

พรบ.ความปลอดภัย บันทึกประวัติศาสตร์ สภาไทย

เมื่อปลายเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมาข่าวหน้าหนึ่งหลายฉบับได้พาดหัว การเกิดโศกนาฏกรรมตึกที่กำลังก่อสร้างของมหาวิทยาลัยมศว.บางแสน ถล่มลงมามีแรงงานที่ได้รับบาดเจ็บจำนวนมากกว่า 30 คน มีผู้เสียชีวิต 3 คน นี่เป็นบทเรียนครั้งล่าสุด ในรอบ17 ปี หลังเกิดเหตุการณ์โศกนาฏกรรมไฟไหม้โรงงานครั้งร้ายแรงเป็นอันดับสองของโลกคือโรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ จ.นครปฐม ตายไป 188 คน บาดเจ็บ 469 ราย และถ้ารวมผลกระทบจากสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม ชุมชนที่ถูกทำลายจากการพัฒนาอุตสาหกรรม

1 251 252 253