“ที่ดินที่ใดเป็นของรัฐที่ดินนั้นเป็นของเรา”

คำว่าจัณฑาลทำให้ความเป็นคนหายไปถูกกระทำเหมือนไม่ใช่คน เป็นที่ต้องห้ามเหมือนไม่ใช่มนุษย์ เช่น ห้ามถูกเนื้อต้องตัว ห้ามพูด หรือคุย แม้กระทั้งการเดินยังไม่สามารถให้คนเดินทับรอยเท้า หรือเงาทับคนชนชั้นอื่นๆได้ แต่คนกลุ่มนี้ชุมชนดาลิด ได้ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงทางชนชั้นเพื่อให้มีศักดิ์ศรีความเป็นคนด้วยการเปลี่ยนศาสนา เพื่อที่จะได้หลุดพันจากการเป็นชนชั้นจัณฑาล และยังมีคำขวัญเพื่อการมีที่อยู่อาศัยว่า “ที่ดินที่ใดเป็นของรัฐที่ดินนั้นเป็นของเรา”

ดูงานอินเดีย หวังเข้าใจการจัดตั้ง และการเคลื่อนไหวทางสังคม

อินเดียเป็นประเทศหนึ่งที่ได้ชื่อว่า“เป็นแหล่งอารยธรรมของโลก” เป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยความแตกต่างหลากหลายทั้งด้านภูมิประเทศ สีผิว ชาติพันธ์ วัฒนธรรมประเพณี ภาษา ศาสนาและจิตวิญญาณ ระดับชนชั้นทางเศรษฐกิจและระบบวรรณะทางสังคม กลุ่มได้ไปดูงานใน 3 เมืองใหญ่ ได้แก่ เมืองมุมไบ (บอมเบย์) เมืองโบพาล (Bhopal) และ เมืองเดลี (Delhi) เป็นกลุ่มและขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม โดยผู้เขียนจะเล่าเป็นตอนๆในแต่ละวันที่ได้ลงพื้นที่ดูงานได้พบเห็น และรับฟังมา

1 107 108