นโยบายต้านยาเสพติดพ่นพิษลูกจ้างยานยนต์ ทุกข์ถูกเลิกจ้างข้อหาทุจริตการตรวจปัสสาวะ

ตรวจยาตรวจหายาเสพติด

นโยบายต้านยาเสพติดพ่นพิษ ลูกจ้างยานยนต์ ร้องทุกข์ถูกนายจ้างเลิกจ้างข้อหาทุจริตการตรวจปัสสาวะ ซวยไม่ตรวจครั้งเดียว ทั้งที่ให้ความร่วมมือตรวจมาตลอดและไม่เคยพบ เมื่อวันที่ 4 กันยายน2556เวลาประมาณ18.30น. นายเอ(นามสมมุติ)พนักงานบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบรอร์ด จ. ระยองได้มาร้องเรียนต่อคณะกรรมการกลุ่มบ่อวินสัมพันธ์เนื่องจากถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยซึ่งให้ไปรับทราบคำสั่งในวันที่5กันยายน2556 ทางคณะกรรมการกลุ่มบ่อวินสัมพันธ์จึงแนะนำให้นายเอไปรับหนังสือเลิกจ้างในวันดังกล่าวก่อนแล้วจึงนำมาให้ทางคณะกรรมการกลุ่มบ่อวินสัมพันธ์อีกครั้งเพื่อจะได้ทราบว่านายจ้างเลิกจ้างด้วยข้อหาอะไร

ต่อมาวันที่ 5 กันยายน2556เวลาประมาณ16.30น.นายเอ ได้นำหนังสือเลิกจ้างมาให้ที่คณะกรรมการกลุ่มบ่อวินสัมพันธ์ซึ่งในหนังสือเลิกจ้างระบุว่านายเอทำผิดวินัยร้ายแรงฝ่าฝืนคำสั่งผู้บังคับบัญชาและฝ่าฝืนระเบียบบริษัทเรื่องนโยบายต้านภัยยาเสพติดปี 2556 ให้เลิกจ้างนายเอโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้มีผลวันที่5 กันยายน 2556 เป็นต้นไป

ด้านนายเอได้เล่าถึงสาเหตุให้ฟังว่า “บริษัทฯได้มีนโยบายต้านภัยยาเสพติดเมื่อเดือนมีนาคม2556และทำการสุ่มตรวจปัสสาวะหาสารเสพติดเรื่อยมาตนให้ความร่วมมือทุกครั้งซึ่งผลตรวจปกติทุกครั้งจนเดือนสิงหาคมที่ผ่านมามีการสุ่มตรวจทั้งหมด 3 ครั้ง ซึ่งครั้งแรกวันที่ 6ส.ค. ครั้งที่สองวันที่ 26ส.ค. และครั้งที่สามวันที่ 30ส.ค. นอกจากนี้บริษัทยังได้จัดให้มีการตรวจสุขภาพประจำปีพร้อมทั้งตรวจหาสารเสพติด ในวันที่ 28สิงหาคมอีก 1 ครั้ง ตนให้ความร่วมมือทุกครั้งยกเว้นวันที่ 30 สิงหาคมเนื่องจากตนเห็นว่า ตนไม่ได้ทำงานเข้ากะจึงต้องตรวจทุกครั้งในขณะที่พนักงานที่เข้ากะยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่ได้ตรวจ ตนจึงไม่ไปตรวจและเห็นว่า สองวันก่อนก็ตรวจไปแล้ว และตนจึงไม่แน่ใจว่าทางบริษัทจะกลั่นแกล้งพนักงานหรือเปล่าเมื่อวันที่ 2 กันยายนมีการสุ่มตรวจอีกตนจึงไปตรวจผลการตรวจออกมาปกติแต่ทางบริษัทฯได้เรียกตนเข้าไปพบแล้วบอกเลิกจ้างตนอ้างว่า ตนทุจริตการตรวจปัสสาวะเมื่อวันที่ 6 สิงหาคมและขัดคำสั่งไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจในวันที่30 ส.ค.ซึ่งตนได้โต้แย้งว่า เป็นข้อหาที่รุนแรงเกินไปไม่มีการไต่สวนและไม่เคยมีการเตือนใดๆอีกทั้งเมื่อวันที่ 6 ส.ค.ตนได้พิสูจน์ไปแล้วหากตนผิดจริงเหตุใดไม่ส่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่มาตรวจดำเนินคดีไปเลย ต่อมาอีกสองวันทางบริษัทฯได้เรียกไปพบโดยครั้งนี้ได้ให้หัวหน้างานอ่านใบเตือนใบแรกกล่าวหาว่า ตนพกถุงปัสสาวะและให้อ่านใบเตือนใบที่สองกล่าวหาว่า ตนไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจปัสสาวะในวันที่30 ส.ค.และให้ตนมารับทราบคำสั่งในวันที่ 5 กันยายน2556”

ส่วนนายมงคล ยางงามผู้รับเรื่องร้องทุกข์ในครั้งนี้ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวต่อกรณีนี้ว่า “ขณะนี้ในพื้นที่ภาคตะวันออกมีการตรวจสารเสพติดลูกจ้างกันอย่างเข้มข้นซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดอะไรเพียงแต่นโยบายนี้ควรปฏิบัติให้ถูกต้องเช่นตามหลักการต้องถือว่า ผู้เสพคือผู้ป่วยต้องส่งไปบำบัดแต่หลายที่เลิกจ้างโดยไม่ให้โอกาสลูกจ้างไปบำบัดเลย ส่วนกรณีนี้ถือว่าลงโทษรุนแรงเกินไปในเมื่อลูกจ้างตรวจทุกครั้งปกตินั้นย่อมเชื่อได้ว่าลูกจ้างผู้นี้ไม่น่าจะเป็นผู้เสพยาซึ่งหากวันที่30ลูกจ้างเสพยามาแล้วต้องการเลี่ยงยังไงวันที่2กันยายนก็ต้องตรวจพบเพราะสารเสพติดจะอยู่ในร่างกายมากกว่าสองวันอยู่แล้วแต่ผลออกมาก็ปกติ คงต้องไปสู้กันในชั้นศาลซึ่งผมได้แนะนำสิทธิให้นายเอได้รับทราบและได้ประสานองค์กรพัฒนาเอกชนแห่งหนึ่งที่ทำงานในประเด็นยาเสพติดเพื่อช่วยในเรื่องคดีให้นายเอโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น และจะมีการนัดหารือในการฟ้องคดีในระหว่างวันที่15-16กันยายน นี้”

นักสื่อสารแรงงานกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก รายงาน