นักกฎหมายอินเดีย ชี้คนพิการยังเข้าไม่ถึงสิทธิแม้มีกฎหมายรองรับ

เครือข่ายนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน นำเสนอกลุ่มคนพิการอินเดียยังเข้าไม่ถึงสิทธิแม้มีกฎหมายรองรับ และความพิการของเด็กที่เกิดขึ้นจากการดื่มน้ำที่มีสารเคมีน้ำไม่สะอาด แม้ว่าเป็นสวัสดิการพื้นฐาน ตัวเลขคนพิการขณะนี้มีราว 70 ล้านคน แต่มีคนพิการที่เข้าถึงการจ้างงานเพียงร้อยละ 2 เท่านั้น จากจำนวนคนพิการหูหนวก ร้อยละ 1.5 คนพิการทางกายจะไม่ได้รับการจ้างงาน

นายจ้างสมบูรณ์โซมิค รุกหนักยื่นข้อเรียกร้องขอคืนสวัสดิการลูกจ้าง

หลังสหภาพแรงงานฯล่ารายมือชื่อยื่นข้อเรียกร้องเพื่อเป็นเครื่องมือในการคุ้มครองสมาชิก ด้านนายจ้างยื่นข้อเรียกร้องสวนขอคืนสวัสดิการ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2556 ตัวแทนลูกจ้างบ.สมบูรณ์โซมิคได้นำรายมือชื่อลูกจ้างจำนวน 450 คนพร้อมข้อเรียกร้องจำนวน 7 ข้อยื่นให้นายจ้าง วันเดียวกันทางตัวแทนบริษัทได้ยื่นข้อเรียกร้องให้กับตัวแทนสหภาพแรงงานฯจำนวน 7 ข้อ เช่นกันซึ่งแต่ละข้อล้วนขอเปลี่ยนแปลงข้อตกลงสภาพการจ้าง

องค์กรผู้หญิงอินเดีย ย้ำการจัดตั้งต้องใช้งานวัฒนธรรมเพื่อสร้างพลัง

องค์กรผู้หญิง ชื่อ “สังกัด” เกิดขึ้นมาจากการเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิผู้หญิงทำงานมา 25 ปี กับผู้หญิง 8 ประเทศ แต่ละประเทศมีความหลากหลาย ด้านชนชั้น วัฒนธรรม การแต่งกาย และศาสนา แต่ความเหมือนกันของผู้หญิงแต่ละประเทศ คือ ความไม่เท่าเทียมเนื่องจากเพศ ถูกคุกคามทางเพศ การทำงานจึงเน้นการใช้งานวัฒนธรรม เช่นบทเพลง การเต้นรำ ละคร เข้ามาจัดตั้งรวมกลุ่ม ให้การศึกษา

ดูงานจัดตั้งภาคประชาชน-แนวคิดการต่อสู่แบบคานธี

เอ็กต้าปาริฉัตร เป็นองค์กรภาคประชาชนที่มีความหลากหลายทั้งอาชีพ ภาษา วัฒนธรรม วรรณะ มารวมกันเพื่อเคลื่อนไหวประเด็นเรื่องที่ดิน ที่อยู่อาศัย การประกาศอุทยานทับที่ ค้านการสร้างเขื่อน แนวการรวมกลุ่มเพื่อพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ เคารพกันไม่เลือกชั้นวรรณะ ภาษา ฯลฯ เน้นสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็ง โดยต่อสู้ในรูปแบบอหิงสา เดินธรรมยาตรา ใช้ระบบสัตยาเคราะห์ ได้ร่วมกันเคลื่อนไหวใหญ่เมื่อปี 2012

ผู้หญิง “สลัมพากัดซิงค์” ลุกรวมกลุ่มสร้างงาน ความรู้ เพื่อสิทธิและการยอมรับ

ผลสำรวจโครงการ Saathi คนงานผู้หญิงในสลัม ความต้องการของคนจนในชุมชน “สลัมพากัดซิงค์”มุมไบ ประเทศอินเดีย ซึ่งมีคนอาศัยอยู่กว่า 5 แสนคน สิ่งที่ต้องการส่วนใหญ่คือ น้ำที่สะอาด การศึกษา ศูนย์เลี้ยงเด็ก อาชีพ และความไม่ปลอดภัยในเนื้อตัวร่างกายของผู้หญิง อินเดียยังไม่ยอมรับบทบาทของผู้หญิง การลุกขึ้นมารวมตัวกันเป็นการสร้างโอกาสในการจัดสวัสดิการกันเอง การคุ้มครองสิทธิ และการศึกษาในวันที่ 24 มิถุนายน 2556ได้ลงพื้นที่เพื่อดูการทำงานของ กลุ่มเดส (Desh Seva Samiti)

“ที่ดินที่ใดเป็นของรัฐที่ดินนั้นเป็นของเรา”

คำว่าจัณฑาลทำให้ความเป็นคนหายไปถูกกระทำเหมือนไม่ใช่คน เป็นที่ต้องห้ามเหมือนไม่ใช่มนุษย์ เช่น ห้ามถูกเนื้อต้องตัว ห้ามพูด หรือคุย แม้กระทั้งการเดินยังไม่สามารถให้คนเดินทับรอยเท้า หรือเงาทับคนชนชั้นอื่นๆได้ แต่คนกลุ่มนี้ชุมชนดาลิด ได้ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงทางชนชั้นเพื่อให้มีศักดิ์ศรีความเป็นคนด้วยการเปลี่ยนศาสนา เพื่อที่จะได้หลุดพันจากการเป็นชนชั้นจัณฑาล และยังมีคำขวัญเพื่อการมีที่อยู่อาศัยว่า “ที่ดินที่ใดเป็นของรัฐที่ดินนั้นเป็นของเรา”

ดูงานอินเดีย หวังเข้าใจการจัดตั้ง และการเคลื่อนไหวทางสังคม

อินเดียเป็นประเทศหนึ่งที่ได้ชื่อว่า“เป็นแหล่งอารยธรรมของโลก” เป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยความแตกต่างหลากหลายทั้งด้านภูมิประเทศ สีผิว ชาติพันธ์ วัฒนธรรมประเพณี ภาษา ศาสนาและจิตวิญญาณ ระดับชนชั้นทางเศรษฐกิจและระบบวรรณะทางสังคม กลุ่มได้ไปดูงานใน 3 เมืองใหญ่ ได้แก่ เมืองมุมไบ (บอมเบย์) เมืองโบพาล (Bhopal) และ เมืองเดลี (Delhi) เป็นกลุ่มและขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม โดยผู้เขียนจะเล่าเป็นตอนๆในแต่ละวันที่ได้ลงพื้นที่ดูงานได้พบเห็น และรับฟังมา

1 106 107