กลุ่มแรงงานอยุธยา ถกเตรียมชุมนุมให้รัฐรับรองอนุสัญญาILO 87 และ98

P9150608

คสรท.รุกหนักจับมือกลุ่มแรงงานอยุธยาเคลื่อนพลดันให้รัฐรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และ ฉบับที่ 98 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรองร่วม ซึ่งถือเป็นอนุสัญญาที่เป็นหลักการพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญที่สุดหลักการหนึ่งของ ILO ที่เชื่อกันว่าจะเป็นการสร้างหลักประกันสำคัญให้กับคนทำงานและจะนำมาซึ่งสังคมที่เป็นธรรมและสันติสุข ด้วยเหตุนี้ประเทศสมาชิกILO ส่วนใหญ่จึงให้การสนับสนุนโดยการให้สัตยาบัน เคารพและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2556 กลุ่มผู้ใช้แรงงานอยุธยา และใกล้เคียง ร่วมกับคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย สนับสนุนโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เสวนา การรณรงค์ และแนวทางการขับเคลื่อนของแรงงานในระดับพื้นที่ต่อการผลักดันให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่าประเทศฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98 ที่ร้านอาหารของเรา พระนครศรีอยุธยา โดยมีผู้เข้าร่วมราว 80 คนจากสหภาพแรงงานในพื้นที่

P9150620P9150612

ชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) กล่าวว่า อนุสัญญาILO มีความสำคัญอย่างมากกับผู้ใช้แรงงาน คสรท.จึงได้ร่วมกับกลุ่มต่างๆเพื่อจัดการให้ความรู้และรับฟังเสียงจากพี่น้องแรงงานในแต่ละพื้นที่ ต่อความรับรู้เรื่อง อนุสัญญาILOฉบับที่ 87 และ 98 ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการรวมตัว และ เจรจาต่อรองร่วม ซึ่งจะครอบคลุมคนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ เกษตรกร รวมถึงหมอ พยาบาล ตำรวจ ทหาร ข้าราชการ ลูกจ้างภาครัฐ แรงงานข้ามชาติ ซึ่งบางกลุ่มที่รัฐยังมีความคิดว่าจะกระทบต่อความมั่นคง ซึ่งตนคิดว่าการรวมกลุ่มเท่านั้นที่จะทำให้คนทุกคนเข้าถึงสิทธิอย่างเท่าเทียม ไม่มีความเหลื่อมล้ำ หรือถูกเลือกปฏิบัติ แม้วันนี้รัฐบอกว่ารวมตัวกันไม่ได้จะทำให้เกิดการนัดหยุดงาน ประท้วง ถามว่า วันนี้มีการประท้วงหรือไม่ก็มีเกือบทุกวันเมื่อเกิดความเดือดร้อน ซึ่งเป็นเพียงการรวมตัวที่เรียกว่าเฉพาะกิจซึ่งบางครั้งก็เป็นความรุนแรงได้เพราะยังไม่ได้มีการรวมตัวจัดตั้งทางความคิดร่วมกัน

ขบวนการแรงงานได้มีความพยายามที่จะผลักดันให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาILO ทั้งสองฉบับมาเป็นเวลานานมากนับ 10 ปี มีการตั้งคณะทำงานผลักดันอนุสัญญาILO ฉบับที่ 87 และ98 ร่วมกัน หรือแม้ว่าจะทำให้มีการบรรจุเรื่องการรวมกลุ่มเป็นสหภาพ สมาคม ฯลฯในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไว้ แต่รัฐบาลก็ไม่ออกกฎหมายลูกมารองรับในทางปฏิบัติจึงยังไม่ได้ หรือแม้แรงงานในระบบมีกฎหมายแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 ซึ่งบังคับใช้มากว่า 30 ปีแล้ว การจัดตั้งสหภาพต้องมีการจดทะเบียนกับเจ้าหน้าที่รัฐหากข่าวเรื่องการจัดตั้งสหภาพแรงงานรู้ถึงนายจ้างก็ถูกเลิกจ้างเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหากมีการรับรองอนุสัญญาILO ทั้ง 2 ฉบับ คนงานมีสิทธิ และเสรีภาพในการรวมตัว เจรจาต่อรองร่วมโดยได้รับการคุ้มครอง หากมีการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมก็จะมีการรายงานทางองค์การแรงงานระหว่างประเทศ งรัฐบาลจะต้องรายงานทุกปี ทำให้เกิดการคุ้มครองการรวมตัวกันมากขึ้นในทุกกลุ่ม

P9150610P9150605

สุนี ไชยรส รองประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.)กล่าวว่า คำว่าสิทธิมนุษยชน คือสิทธิแรงงาน และแนวคิด หลัก 6 ประการของคณะราษฎร

  1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในบ้านเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
  2. จะรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
  3. จะต้องบำรุงความสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
  4. จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่
  5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวข้างต้น
  6. จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

ซึ่งกำหนดเรื่องสิทธิสวัสดิการไว้ด้วย ประเทศไทยเป็นผู้ร่วมก่อตั้งองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ร่วมก่อตั้งอาเซียนตั้งแต่เริ่มจาก 4 ประเทศ ซึ่งมีการกำหนดเรื่องกฎบัตรที่กำหนดเรื่อสิทธิสวัสดิการเศรษฐกิจ สังคมและหลังปี 2558ก็จะเปิดประตูสู่ประชาคมอาเซียน

การที่รัฐอ้างสิทธิที่ถูกกำหนดไว้ในกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ให้การคุ้มครองสิทธิแรงงานกฎหมายคุ้มครองแรงงาน แต่การจัดตั้งสหภาพแรงงานยังต้องทำกับแบบลับๆ เพราะหากนายจ้างรู้กฎหมายก็คุ้มครองไม่ได้ มีการข่มขู่คุกคามและถูกเลิกจ้างซึ่งในความจริงแล้วขบวนการแรงงานได้ขับเคลื่อนให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศมานาน แต่ด้วยทัศนคติของรัฐที่ไม่ดีต่อการรวมตัวต่อรองของแรงงาน เพราะส่งผลกระทบต่อนายทุนที่ต้องการลงทุนด้วยต้นทุนแรงงานราคาถูก ไม่มีการต่อรองรวมตัว รัฐจึงไม่ส่งเสริมสิทธิการรวมตัวการที่จะรับรองอนุสัญญาILOทั้ง 2 ฉบับจึงใช้เวลามานานจนถึงวันนี้

การร่างกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ฉบับภาคประชาชนที่รออยู่ และถือเป็นร่างกฎหมายที่ดีอีกฉบับ ซึ่งเราเองก็คงหวั่นใจว่าจะเป็นเช่นเดียวกับร่างกฎหมายประกันสังคมของภาคประชาชนที่ถูกตีตก แม้กฎหมายที่ดีอย่างกองทุนการออมแห่งชาติรัฐก็ไม่ปฏิบัติและยังจะยกเลิกด้วย ซึ่งหากความต้องการของขบวนการแรงงานยังไม่สุกงอมพอที่จะเรียกร้องรัฐก็ไม่สนใจ ทุกอย่างจะสำเร็จรัฐปฏิบัติก็ต้องส่งเสียงให้รัฐทำการรับรอง

P9150617P9150579

ยงยุทธ์ เม่นตะเภา เลขาธิการคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า หากว่ารัฐบาลรับรองอนุสัญญาILO แล้วจะไม่สามารถฉีกทิ้งได้เหมือนกับรัฐธรรมนูญแน่นอนเพราะเป็นขบวนการสากล การที่จะเรียกร้องให้รัฐมาสนับสนุนให้ขบวนการแรงงานเข้มแข็งเกิดการรวมตัว หากศึกษาประวัติศาสตร์ก็จะรู้ว่า รัฐไม่เคยทำการส่งเสริมมีแต่ทำลายทุกยุคทุกสมัย ยกตัวอย่างช่วงเผด็จการรสช. (คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ(รสช.))  ยึดอำนาจก็ยุบสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ แยกแรงงานเอกชนกับรัฐวิสาหกิจ โดยถือเป็นผลงานชิ้นโบแดงเป็นต้น

กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ 2518ก็ไม่ได้ให้การคุ้มครองการจัดตั้งสหภาพแรงงาน แรงงานยังถูกละเมิดสิทธิ เวลาชุมนุมเรียกร้องก็ถูกคุกคาม ข่มขู่จากผู้คนในเครื่องแบบราชการ โดยเฉพาะสหภาพแรงงานที่อยู่ต่างจัง เช่นจังหวัดระยอง ชลบุรี มีการโทรมาข่มขู่จะดูแลให้ มีชายชุดดำแต่งตัวคล้ายทหาร บุกเรื้อเต็นท์ที่แรงงานชุมนุมอยู่บ้าง โดยที่เจ้าหน้าที่รัฐ ตำรวจไม่รู้ไม่เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นเหมือนบ้านป่าเมืองเถื่อนแต่หากนายจ้างแจ้งว่าคนงานกักขังหน่วงเหนียวทำให้ขาดอิสรภาพเจ้าหน้าที่รัฐทุกส่วนจะรีบวิ่งมาดูแลคุ้มกันอย่างเต็มที่อันนี้ก็เห้นความแตกต่างของความเป็นนายทุนกับแรงงานชัดเจนในการเลือกปฏิบัติ มีการใช้กฎหมายมาจัดการลูกจ้าง ใช้ขบวนการศาลที่ไม่ค่อยยุติธรรม เพราะความยุติธรรมมาช้าจนแรงงานที่ฟ้อง หรือถูกฟ้องยอมไปแล้ว หรือแห้งตาย

หากรับรองอนุสัญญาILO ฉบับที่ 87 และ98 แรงงานจะได้อะไร ให้รับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการรวมตัว เจรจาต่อรองซึ่งเป็นมาตรฐานสากล ที่รับต้องปฏิบัติ การรวมกลุ่มสามารถทำได้ในหลายรูปแบบโดยไม่ต้องจดทะเบียนก็ได้ รวมตัวในรูปแบบสหภาพอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง จะเป็นสมาชิกของสหภาพใดก็ได้ไม่จำกัดตามความพอใจและต้องการ ซึ่งปัจจุบันแม้มีการพยายามรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมบ้าง แต่รับก็มาใช้กฎมายอุตสาหกรรมเข้ามาจัดการ เช่นตัวอย่างแม้ว่าจะเป็นคนงานผลิตอะไหล่รถยนต์ ผลิตรถยนต์ และขนส่งรถยนต์ จะรวมตัวกันไม่ได้ เพราะขนส่งเป็นอุตสาหกรรมบริการต่างกับอุตสาหกรรมผลิตรวมกันเป็นสหภาพแรงงานเดียวไม่ได้ต้องตั้งสหภาพแรงงานแยกกันไปทั้งที่ทำงานโรงงานเดียวกันนายจ้างเดียวกัน อันนี้ก็เป็นการทำให้ลดพลังการรวมตัวต่อรองของแรงงาน เป็นอีกเทคนิคที่รัฐ และนายจ้างร่วมกันใช้กฎหมายมาแบ่งแยก บอกแล้วว่าเขาไม่สนับสนุน และส่งเสริมการรวมตัวของแรงงาน

P9150575P9150630

ชาลี ลอยสูง ประธานคสรท. กล่าวทิ้งท้ายว่า ส่วนของกลุ่มผู้ใช้แรงงานอยุธยา และใกล้เคียงต้องช่วยก็คิดและเสนอว่าจะทำอย่าง ตุลาคมนี้จะทำอย่างไรรัฐบาลรับรองอนุสัญญาILO ฉบับที่ 87 และ 98 เพื่อที่เราจะไม่ต้องหลบๆซ้อนๆในการที่จะรวมตัวจัดตั้งสหภาพแรงงาน ซึ่งในหลายพื้นที่กำหนดร่วมกันว่าจะชุมนุมยืดเยื้อสักครั้ง

ทั้งนี้ในการจัดเวทีได้มีวงดนตรีภราดรร่วมแสดงในครั้งนี้ด้วย

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน

P9150629P9150606

P9150607P9150600

P9150588P9150601