สรุปเวทีสาธารณะ “ข้อเสนอเชิงนโยบายแรงงานนอกระบบและการท่องเที่ยว”

โครงการเวทีสาธารณะ เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบาย-แรงงานนอกระบบ และการท่องเที่ยว วันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2563 ณ ห้องอินฟินิตี้ บอลรูม โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพมหานคร จัดโดยมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ สมาคมเครือข่ายแรงงานนอกระบบ(ประเทศไทย) โครงการวิจัย และสนับสนุนเป้าหมายการพัมนาที่ยั่งยืน สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณืมหาวิทยาลัย ภาคีสังคมแรงงานสู้โควิด มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES)

นางเวสน่า โรดิช ผู้อำนวยการมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท กล่าวเปิดว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 คือภาคนอกระบบ กับภาคท่องเที่ยว ซึ่งมีผู้ได้รับผลกระทบจำนวนมาก ภาคนอกระบบไม่สามารถเข้าถึงสิทธิมากมายทั้งที่เป็นผู้ได้รับผลกระทบ จากโครงการต่างๆที่รัฐบาลมีการเสนอเพื่อลดผลกระทบ และมีสวัสดิการมากมายที่มีแต่เข้าไม่ถึง  การจัดเวทีเพื่อการพูดคุยหาทางออก

นางพัฒนา พันธุฟัก ผู้ตรวจราชการ กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า วิกฤตโควิด-19 ผลกระทบที่เกิดขึ้น แม้ว่าปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทยจะเป็นไปในทางที่ดีขึ้น  แต่ผลกระทบต่อการจ้างงานยังคงมีอยู่ ผู้ใช้แรงงานจำนวนมากยังคงว่างงานหรือมีงานทำไม่เต็มที่ ทำให้ไม่มีรายได้หรือมีรายได้น้อยไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต แรงงานในภาคการท่องเที่ยวก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน เนื่องจากแต่เดิมพึ่งพารายได้จากนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ  ในเมื่อภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจต่อเนื่องยังไม่สามารถกลับมาประกอบธุรกิจได้เช่นเดิม กระทรวงแรงงานจึงได้เตรียมมาตรการช่วยเหลือต่างๆ เช่น การพัฒนาฝีมือแรงงานให้เป็นเชิงรุกมากขึ้น โดยการนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการพัฒนาทักษะฝีมือ เพื่อให้เข้าถึงง่าย โดยการเรียนออนไลน์ ผ่านวีดีทัศน์ ทำให้แรงงานสามารถเข้าไปเรียน ได้ตลอดเวลา ที่เว็บไซต์ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปัจจุบันมีหลักสูตรให้เรียนแล้ว จำนวน 15 สาขาอาชีพ ได้แก่ การประกอบอาหารไทย และภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี เป็นต้น รวมไปถึงหลักสูตรการพัฒนาทักษะแรงงานด้านการท่องเที่ยวและบริการ ตลอดจนการพัฒนาระบบการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน  เพื่อแก้ปัญหาการหางานใหม่โดยไม่ต้องใช้วุฒิการศึกษา

สำหรับในด้านการพัฒนาระบบการจัดหางาน มีการนำเทคโนโลยีมาช่วย อาทิ ผ่านระบบตู้บริการ job box  ผ่านเว็บไซต์กรมการจัดหางาน และปัจจุบันได้มีการพัฒนาการให้บริการจัดหางานภาครัฐผ่านรูปแบบบัตรดิจิทัล (Smart Job Wallet) ซึ่งได้พัฒนาและขึ้นใช้งานบนเว็บไซต์ smartjob.doe.go.th เพื่อให้ผู้ใช้บริการ ได้แก่ ผู้สมัครงานและนายจ้าง/สถานประกอบการได้เข้าถึงบริการง่ายขึ้น และสะดวกขึ้นผ่านโทรศัพท์มือถือ Smartphone และให้บริการ 3 ช่องทาง ได้แก่ 1) บริการจัดหางานผ่านระบบอินเทอร์เนต 2) บริการ ณ สำนักงานจัดหางาน และ 3) บริการนัดพบแรงงาน โดยนายจ้างและผู้สมัครงานพบกันและแลกเปลี่ยนข้อมูลประวัติของผู้สมัครงานและตำแหน่งงานผ่านการแสกน QR Code  โดยไม่ต้องใช้เอกสาร

นอกจากนั้นกระทรวงแรงงาน ยังมีกองทุนที่ให้สินเชื่อสำหรับคนที่ไม่มีสินทรัพย์ค้ำประกันเพื่อนำมาลงทุนทำธุรกิจขนาดเล็ก ชื่อว่า กองทุนผู้รับงานไปทำที่บ้าน ให้กู้ยืมแบบปลอดดอกเบี้ย สำหรับซื้อวัตถุดิบและอุปกรณ์ในการผลิต หรือขยายการผลิต เพื่อสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่ผู้รับงานไปทำที่บ้าน ในช่วงวิกฤตที่เกิดจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 เงื่อนไขเพียงที่จดทะเบียนเป็นผู้รับงานไปทำที่บ้านกับกรมการจัดหางาน โดยกู้รายบุคคล วงเงินกู้ไม่เกิน 50,000 บาท และกู้รายกลุ่ม วงเงินกู้ไม่เกิน 300,000 บาท

กระทรวงแรงงาน ได้ดำเนินการขอสนับสนุนเงินกู้ตามแผนงานโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาด เพื่อให้การช่วยเหลือแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ จำนวน 16 โครงการ ซึ่งหากได้รับอนุมัติ คาดว่าจะมีแรงงานที่ได้รับประโยชน์จากโครงการดังกล่าว ประมาณ 2 ล้านคน มีการศึกษา เพื่อปรับปรุงการทำงานในหลายเรื่อง โดยเฉพาะในเรื่องของการปรับปรุง ระเบียบ กฎหมาย ให้ทันสมัย สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง และเอื้อต่อการช่วยเหลือลูกจ้าง ปัจจุบันมีกฎหมายที่อยู่ระหว่าง การพิจารณาหลายฉบับ อาทิ พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ พ.ศ. …. นอกจากนี้ยังมีการศึกษาการนำระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการทำงาน เช่น ระบบเตือนภัยด้านแรงงาน การจัดทำแผน และการลดภาระให้แรงงาน เช่น การทำระบบ labour platform  เป็นต้น

ดร.บวร ทรัพย์สิงห์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอผลการสึกา เรื่องแรงงานนอกระบบหลังโควิด โดยสรุปได้ดังนี้ จากการเก็บข้อมูลอาชีพของแรงงานนอกระบบนั้น มีหลากหลายอาชีพมาก โดยได้เก็บข้อมูล ระหว่างเดือน มิถุนายน – กรกฏาคม 2563 (ช่วงเวลาภายหลังการระบาด) แรงงานนอกระบบ 7 กลุ่มอาชีพ 5 ภูมิภาค รวม 708 คน ประกอบด้วย คนขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง (MTD) คนเก็บของเก่า (WP) ผู้รับงานไปทำที่บ้าน/ทำการผลิตที่บ้าน (HBW) พนักงานนวด (MW) ลูกจ้างทำงานบ้าน (DW) ผู้ค้าหาบเร่แผงลอย (SV) และเสริมสวย (SA) และคนทำงานในกทม.73% มีภูมิลำเนาเดิมเป็นต่างจังหวัด และ การที่เข้ามาทำงานในกรุงเทพตั้งแต่ปี 2538(25 ปี) จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานครแล้ว และยังพบว่า หนึ่งครอบครังมีคนทำงานประมาณ 2 คนคือทั้งสามี และภรรยา และหากตกงาน หมายความว่า ตกงานทั้งคู่

การอยู่อาศัยของคนทำงาน ในภูมิภาค (66%) อาศัยอยู่ในที่อยู่อาศัยของตนเอง  ส่วนในกทม. (44%) ต้องเช่าที่อยู่อาศัย, (44%) อยู่ในที่อยู่อาศัยตนเอง คนทำงานที่ต้องเช่าที่อยู่อาศัย คนขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง (67%), ลูกจ้างทำงานบ้าน (51%) และยังมีภาระค่าผ่อน/เช่า, ค่าเช่าร้าน เช่าแผง/หน้าร้าน เช่าที่จอดรถ และช่วงโควิคจะมีการกลับไปต่างจังหวัดจำนวนหนึ่ง ปัญหาที่พบคือความเครียดที่เกิดขึ้น อย่างการที่จะกลับไปที่บ้านในต่างจังหวัดก็จะถูกมองว่าเป็นภาระ และค่าเช่าบ้าน เช่าอุปกรณ์ทำกินยังต้องจ่ายอยู่ และงานของผู้หญิงเพิ่มมากขึ้น 27% มีหน้าที่ต้องทำความสะอาดบ้านมากขึ้น 17% ต้องทำอาหารเพิ่มขึ้น คนทำงานผู้หญิงที่ครอบครัวมีเด็ก 24% มีหน้าที่ดูแลเด็กๆ เพิ่มขึ้น ความเครียดก็เพิ่มขึ้น การทำงานของคนทำงานบ้านดูแลคนเพิ่ม ทำงานหนักขึ้น คนเก็บของเก่าก็มีปัญหามากขึ้นคนเก็บเพิ่มมากขึ้น มีความไม่ไว้วางใจกันในชุมชน การซื้อการขาย การทำงานใช้เวลายาวนานขึ้นหากต้องการรายได้เท่าเดิม และต้องหยุดงานให้รายได้ลดลง กลุ่มหมอนวด แต่ค่าเช่าบ้าน ร้านค้าต้องจ่าย อย่างเช่นการทำงานก่อนเกิดโรโควิดระบาด ทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ แต่พอโควิดระบาดเหลือทำงาน สัปดาห์ละ 2 วัน หลังการระบาด (มิ.ย.-ก.ค. 63) คนทำงานมีวันทำงานเฉลี่ย 5 วันต่อสัปดาห์เป็นต้น

รถจักรยานยนต์รายได้อาจไม่ลดลงมากนัก แต่ว่าต้องทำงานมากขึ้น ระยะเวลานานขึ้นในการรอผู้โดยสาร กลุ่มคนเก็บของเก่าที่ต้องเก็บในระยะเวลาน้อยลงเพราะติดเคอร์ฟิวส์ และการที่คนก็ไม่ได้ทิ้งของเก่าแบบเดิม คือรายได้ลดลง เสริมสวยรายได้หายไปหมดจากมาตรการ ช่วงโควิดลูกค้าตัดผมเองทำให้พอกลับมาเปิดลูกค้ายังไม่กลับมาเหมือนเดิม

การช่วยเหลือมีมาตรการรัฐบ้างที่เข้ามา เงินช่วยเหลือ/เยียวยา โครงการเราไม่ทิ้งกัน 5,000 บาท ช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งในระยะสั้น ลูกจ้างทำงานบ้าน ส่วนมาก (54%) ไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ/เยียวยา เพราะยังทำงานอยู่ และไม่เชื่อว่ารัฐจะช่วยเหลือ ถอนเงินที่เก็บออมไว้มาใช้จ่าย (51%), กู้ยืมเงิน (33%), ขอความช่วยเหลือจากครอบครัว (19%), นำทรัพย์สินจำนำ จำนอง (12%), ขายทรัพย์สิน (8%) และทำอาชีพอื่น เพื่อให้มีรายได้เพียงพอ (12%) การช่วยเหลือสมาชิกและเพื่อนในกลุ่ม เครือข่าย และชุมชน ช่วยเหลือในการลงทะเบียนโครงการเราไม่ทิ้งกัน ช่วยแบ่งปันอาหาร (50%), แบ่งปันอุปกรณ์ป้องกันโรค (30%) ให้กับสมาชิกและเพื่อน แต่ก็ไม่เพียงพอ ก็จะมีการกูเงิน รีไฟแนนซ์ หรือ นำเครื่องมือทำมาหากินไปจำนองจำนำ ซึ่งคิดว่า ผลจากโควิดทำให้เกิดหนี้สินเพิ่มมากขึ้น คนทำงานที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือเป็นคนทำงานที่ไม่ได้สังกัด อยู่ในชุมชน เป็นผู้เช่า ออกมาทำงาน

บทเรียน และข้อเสนอแนะ

  1. 1. บทเรียนการรับมือการระบาด (ครั้งที่ 1) ที่ดี แต่ดีขึ้นได้อีก

1.1 เพิ่มการช่วยเรื่อง การลงทะเบียน, เพิ่มเงินเยียวยา, ลดข้อจำกัด/เงื่อนไขการเข้าถึง รอคอย และพิสูจน์สิทธิตามอาชีพ

1.2 แก้ไขปัญหาร่วมของคนทำงาน เช่น ดอกเบี้ยเงินกู้ใน/นอกระบบ, ค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถยนต์ /จักรยานยนต์

1.3 เตรียมการ และให้ความช่วยช่วยเหลือด้านที่พัก/บ้านพักชั่วคราว , ค่าใช้จ่ายสำหรับแรงงานที่ต้องดูแลผู้อยู่ในอุปการะ

1.4 กลุ่ม/เครือข่ายของคนทำงานนอกระบบแต่ละอาชีพ แต่ละพื้นที่ เป็นศักยภาพที่แบ่งเบาภาระของรัฐได้

  1. 2. โควิด19 ช่วยให้ปัญหาเดิม เด่นชัด และสร้างผลกระทบรุนแรง

2.1 ผลกระทบจากนโยบายของรัฐที่ละเลยเศรษฐกิจขนาดจิ๋ว และคนทำงานนอกระบบ เช่น ยกเลิกจุดผ่อนผัน การนำเข้าขยะ ละเลยสวัสดิการคนทำงาน ไม่สบับสนุนเงินกู้ยืม/ทุนประกอบอาชีพ การฝึกอาชีพ การรวมกลุ่ม

2.2 ผลกระทบจากเศรษฐกิจภายในประเทศ พฤติกรรมผู้บริโภค เทคโนโลยี การจ้างงานชั่วคราว กระทบต่อคนทำงานนอกระบบทุกอาชีพ

2.3 ผลกระทบจากภาคการท่องเที่ยว มีผลกระทบต่อ HBW, SV, MA

  1. 3. การใช้ข้อมูลเป็นฐานในการพัฒนา และเข้าใจความแตกต่าง

3.1 การวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลของกลุ่มแรงงานนอกระบบจากข้อมูลผู้รับเงินช่วยเหลือเยียวยา

3.2 การส่งเสริมการรวมกลุ่มของกลุ่มแรงงานในอาชีพ/ลักษณะ/พื้นที่ดียวกัน

(แรงงานเป็นใคร อยู่ตรงไหน มีโอกาส ความต้องการการสนับสนุน การพัฒนาอย่างไร)

  1. 4. การใช้ศักยภาพของคนทำงานนอกระบบ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

 4.1 การแก้ไขปัญหาของคนทำงานนอกระบบแต่ละกลุ่ม แต่ละพื้นที่

4.2 ผู้รับงานไปทำที่บ้าน: การจ้างงานโดยรัฐและเอกชน การหาตลาด กระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ

4.3 ลูกจ้างทำงานบ้าน: ช่วยเหลือผู้ที่ถูกเลิกจ้าง/หยุดงานได้รับค่าจ้าง ให้นายจ้างคำนึงถึงสิทธิและความปลอดภัยของลูกจ้าง

4.4 ขับรถรับจ้าง: ห้องน้ำ/จุดล้างมือ เสื้อวินสำรอง เชื่อมโยงกับร้านค้าในพื้นที่เพื่อส่งอาหาร/สินค้า

4.5 ค้าขาย/แผงลอย: พื้นที่ทำการค้า ทุนประกอบอาชีพ การเปลี่ยนสินค้าให้สอดคล้องกับผู้ซื้อ

4.6 เก็บของเก่า: จุดล้างมือ/ทำความสะอาด จุดรับซื้อของเก่าของรัฐ/ชุมชน ราคาของเก่าที่เหมาะสม

4.7 การพัฒนาความรู้และทักษะที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค/ผู้รับบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงและต่อยอดจากอาชีพเดิม ตลอดจน พื้นที่ทดลองประกอบอาชีพ และทุนประกอบอาชีพ

4.8 การออกแบบระบบสวัสดิการที่สอดคล้องกับความต้องการ และศักยภาพในการจ่าย

4.9 การเตรียมการรองรับการเพิ่มขึ้นของแรงงานที่เปลี่ยนงาน/ถูกให้ออกจากงาน และการเพิ่มขึ้นของแรงงานอิสระภาคบริการ

รศ.ดร.กิริยา กุลกลการ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำเสนองานวิจัย ผลกระทบของวิกฤตโควิด-19 ต่อแรงงานและการจ้างงานในอนาคต: กรณีศึกษา อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย โดยสรุปได้ดังนี้ ผลกระทบของโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจและการจ้างงาน ในภาคธุรกิจโรงแรมการท่องเที่ยวนั้นกระทบหนักมาก รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องด้วย ซึ่งมีการฟื้นตัวช้ามาก ภาคการท่องเที่ยวถือว่า เป็นรายได้สูงมาก ซึ่งมาจากต่างประเทศสูงมากกว่า รายได้จากนักท่องเที่ยวไทยน้อยมาก

โดยภาพรวมตัวเลขจากธนาคารโลก อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยรายได้จากภาคท่องเที่ยว 3 ล้านล้านบาท โดย 63% มาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเกือบ 40 ล้านคนในปี 2019 ครึ่งปีแรกของปี 2020 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 6.7 ล้านคน ซึ่งมีการจ้างงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยปี 2562 อยู่ที่ 6.4 ล้านคน

ห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมต้นน้ำเกษตรกรรมโรงงาน การจัดการท่องเที่ยว ที่พักโรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว ร้านค้า ร้านอาหารและเครื่องดื่ม การเดินทาง กระทบหมด

ก่อนเกิดโควิด-19 ภาคท่องเที่ยวเป็นสำคัญในการพยุงเศรษฐกิจไทยในภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว มีความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของไทยติดอันดับ 31 จาก 140 ประเทศทั่วโลก และอันดับ 3 ของอาเซียนรองจากสิงคโปร์ และมาเลเซีย มีปัญหาการกระจุกตัวในเชิงแหล่งท่องเที่ยวและสัญชาติของนักท่องเที่ยว อย่างเช่น จีน และการเติบโตของรายได้ภาคการท่องเที่ยวขึ้นกับจำนวนนักท่องเที่ยว และขาดแคลนแรงงานที่มีคุณภาพและฝีมือ ต้องนำเข้าแรงงานต่างชาติจำนวนมาก เช่น แรงงานจากฟิลิปปินส์

ผลกระทบของโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจและการจ้างงาน คาดการณ์ปี 2020 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 8 ล้านคน ส่งผลให้รายได้ภาคการท่องเที่ยวลดลง 80%ได้รับผลกระทบรุนแรงและคาดว่าจะยาวนานอย่างน้อย 3 ปีกว่าจะฟื้นตัวเท่าเดิม ซึ่งแรงงานกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ แรงงานอายุงานน้อย ทักษะน้อย เหมาช่วง ทดลองงาน จบใหม่ แรงงานที่ทำงานในสถานประกอบการขนาดเล็ก ที่ถูกให้ออกจากงาน ตกงาน และยังพบปัญหาประกันสังคมขาดประสิทธิภาพ การขาดรายได้ การว่างงาน ภาระหนี้สิน สุขภาพจิตแย่ ความไม่รู้อนาคตของแรงงาน การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ซึ่งการจ้างงานใหม่หลังเลิกจ้างในภาคการท่องเที่ยวมีลักษณะเป็นงานชั่วคราว งานไม่มั่นคงมากขึ้น

หลังโควิด-19 เน้นนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูง เช่น นักท่องเที่ยวสุขภาพ กระจายการเติบโตไปยังภาคเศรษฐกิจอื่น เพื่อลดการพึ่งพิงภาคการท่องเที่ยว มีการพัฒนาทักษะและการศึกษาให้กับแรงงาน เพื่อทำงานโดยใช้เทคโนโลยีและมี multiskills และทำงานในธุรกิจใหม่ เช่น กลุ่มเทคโนโลยี หลังจากที่โรงแรมปรับตัวเป็นพื้นที่กักตัว และส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยเพิ่มขึ้น ด้วยปรับตัวเมื่อมีโรคระบาดส่งผลกระทบ และการจ้างงานมีความไม่มั่นคง มีการจ้างแรงงานใหม่ นำเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นแรงงานใหม่จะต้องทำงานได้มากกว่าหนึ่งอย่าง และแรงงานในภาคท่องเที่ยวต้องปรับตัวการจ้างงานมีการ Outsource (เอ้าท์ซอร์ส) มากขึ้น การระบาดของโควิดที่สร้างผลกระทบยังอยู่จนกว่าจะมีวัคซีน ระยะที่มีการมาตรการรัฐคือบรรเทา ฟื้นฟู ปฏิรูป และยังมีงานที่ยังไม่ชัดการที่มีการจัดงานจ๊อบเอ็กซ์โป 2020 มีนักศึกษาไปดูงานจำนวนมาก แต่ไม่ใช่งานที่เขาอยากทำเนื่องจากเป็นงานชั่วคราวมีข้อจำกัดอยู่มากงานที่มีไม่ตรงกับคนที่ต้องการงาน รัฐบาลมีการเงินกู้ 4 แสนล้าน ที่มาเพื่อฟื้นฟู แต่การท่องเที่ยวได้ออกแคมเปญการเที่ยวด้วยกันก็ไม่ได้มีการท่องเที่ยวที่จะให้ครอบคลุมการท่องเที่ยวทั่วประเทศ ยังเป็นการท่องเที่ยวแบบกระจุกตัวในโซนใกล้ๆกรุงเทพฯไปไม่ถึงภูเก็ต

แบ่งผลกระทบ  3 ระยะ  ระยะที่ 1 ยังมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะมีวัคซีน ซึ่งคาดว่าเร็วที่สุดคือ ไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 ระยะ 2 เศรษฐกิจหดตัวอย่างรุนแรง ตลาดแรงงานหดตัว แรงงานตกงานจำนวนมาก อาจเกิดควบคู่กับระยะแรก แต่ยาวนานกว่า ระยะ 3 เศรษฐกิจฟื้นตัว สามารถเดินทางระหว่างประเทศได้ ส่งออกสินค้าได้

มาตรการบรรเทา ฟื้นฟู ปฏิรูป มาตรการบรรเทา (Relief) = ถุงยังชีพ ตู้ปันสุข เงินเยียวยา ประกันสังคมกรณีว่างงานเหตุสุดวิสัย มาตรการฟื้นฟู (Recover) = แรงงานสามารถกลับไปทำงาน นโยบายเที่ยวด้วยกัน การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างคัดสรร โครงการจากเงินกู้ 4 แสนล้าน โครงการช็อปดีมีคืน หรือจ่ายคนละครึ่ง การพักชำระหนี้ และการปฏิรูป (Reform) = ระบบสวัสดิการและการคุ้มครองแรงงาน  โครงสร้างเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว

การจ้างงานในภาคท่องเที่ยว ด้วยตัวเลขพบว่าจะอยู่แบบครึ่งๆ คือ แรงงานในระบบร้อยละ 50 แรงงานนอกระบบ 50 แรงงานหญิงในระบบ28% แรงงานชายในระบบ 22% เป็นกลุ่มลูกจ้าง ส่วนใหญ่ทำงานธุรกิจที่พัก ที่เป็นแรงงานอิสระ แรงงานหญิง16% แรงงานชาย 34% ซึ่งงานอิสระ ส่วนใหญ่ทำงานธุรกิจการขนส่งผู้โดยสารทางรถยนต์

เสียงของพนักงานโรงแรม ต่อการใช้มาตรการเยียวยาของภาครัฐ การประกันสังคม 90 วันที่ได้รับ 62 % ความล้าช้า และแรงงานในระบบไม่ได้รับการเยียวยา 5,000 บาท ผลกระทบจากมาตรการรัฐทังเคอร์ฟิว เดือดร้อนตกงาน ไม่มีงานทำ ฯลฯ ความรู้สึกของพนักงานโรงแรมว่า ต้องการผ่อนชำระหนี้สินในปัจจุบันเป็นภาระหนักมาก ผลการทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตของพนักงานโรงแรม ซึ่งได้มีการทำจำนวน 15 ข้อ พบว่า รู้สึกแย่มากถึง 43% รู้สึกปานกลาง 40.9%  รู้สึกดีเพียง 16.1% ซึ่งมีความเสี่ยงสิ้นหวัง

จากการที่เก็บข้อมูลแรงงานโรงแรมยังคง ต้องการที่จะทำงานในกิจการโรงแรมเหมือนเดิมถึง 27.8% ด้วยมองว่าทำงานโรงแรมรายได้สูง ยังไม่รู้จะทำอะไรใหม่ด้วยมองว่าอายุมากแล้ว รายได้น้อย 15.9%  ทำงานบริการอื่นๆ 14.6% งานอิสระค้าขาย แม่ครัว 14.4% และส่วนหนึ่งอาจกลับบ้าน 14.1% ทำเกษตรกรรม อายุมาก 7.5%  และการผลิต รับจ้างรายได้น้อย ผลกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยวขนาดเล็กและจิ๋ว ลูกจ้างประมาณ 50 คน ตอนนี้การท่องเที่ยวส่วนใหญ่ (79%) กลับมาเปิดทำการในเดือนกันยายน สถานการณ์ดีขึ้นมาก เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน ที่มีเพียง 46% แต่รายรับของสถานประกอบการยังไม่ดีเท่าเดิมเพียง 4% ที่มีรายรับเท่ากับหรือสูงกว่าระดับก่อนโควิด 13% มีรายได้ 50% ของระดับก่อนโควิด และ44% มีรายได้น้อยมากหรือไม่เพิ่มสูงขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 16% มีรายได้ลดลงจากเดือนพฤษภาคมระยะเวลาที่ธุรกิจจะสามารถอดทนกับโควิด 49% มั่นใจว่าจะสามารถผ่านโควิด-19 แน่นอน 7% จะสามารถทนอยู่ได้ไม่เกิน 2 เดือน แต่ละภูมิภาคฟื้นตัวไม่เท่ากัน: ภาคใต้ฟื้นตัวช้าที่สุด และแรงงานถูกเลิกจ้างตั้งแต่พฤษภาคม 5.7 ล้านคน (60%) รายได้ของแรงงานภาคการท่องเที่ยวและบริการลดลงเฉลี่ย 45.29% แรงงานในภาคนี้ยังได้รับผลกระทบ และรายได้ก็ลดลง การส่งสริมการท่องเที่ยว การกลับมาเปิดดำเนินธุรกิจ

ปัญหาและสิ่งที่รัฐสามารถช่วยได้ คือ ลดความสับสนในโครงการเยียวยาของภาครัฐ เงินกู้ยืม เสริมกลยุทธ์ช่วยภาคธุรกิจปรับตัว การส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ ซึ่งยังน้อย การขาดแคลนแรงงานทักษะน้อย อนุญาตให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาโดยมีมาตรการรองรับที่ดีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการจ้างงาน การจัดการระบบคมนาคมขนส่งภายในประเทศ ด้วยประเทศไทยตอนนี้ถือว่าปลอดการติดเชื้อจึงเป็นความต้องการแรงงานในต่างประเทศ อนุญาตให้แรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ การเคลื่อนย้ายแรงงานภายในประเทศ บริการจัดการการแพร่ระบาดโควิด-19 เป็นต้น

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย มีดังนี้

  1. จัดลำดับการช่วยเหลือ

1.1 กลุ่มที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ แรงงานภาคท่องเที่ยว แรงงานนอกระบบ

1.2 พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ ภูเก็ต

  1. สนับสนุนรายได้และการคงสถานะการจ้าง

2.1 แรงงานในระบบ เลือกกลุ่มที่ควรได้รับการอุดหนุนค่าจ้างจากรัฐ เช่น SMEs มีปัญหาการเงิน แต่มีศักยภาพในการเติบโต

2.2 แรงงานนอกระบบ ที่ว่างงานจากภาคท่องเที่ยว จ้างงานเพื่อสังคม (workfare) ให้ภาคเอกชนช่วยสนับสนุน

  1. กำหนดเงื่อนไขการสนับสนุนในเรื่องการฝึกอบรมพัฒนาทักษะอาชีพ

3.1 Upskill เช่น ภาษาต่างประเทศ ดิจิตัล

3.2 Reskill เช่น ดูแลผู้ป่วย งานสีเขียว

นายนิธิพัฒน์ วัฒนสุวกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายแรงงานนอกระบบ สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ทราบตลอดว่าโควิดนั้นกระทบต่อภาคการผลิต ภาคนอกระบบ และภาคการท่องเที่ยวซึ่งรัฐบาล โดยกระทรวงการคลังได้ออกมาตรการช่วยเหลือ 5 พันบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของแรงงานนอกระบบในช่วงระยะแรกเป็นเวลา 3 เดือน จากนั้นกระทรวงแรงงานก็เข้ามารับช่วงต่อที่ได้มีการลงพื้นที่เพื่อการจ้างงานชั่วคราว เช่นการจ้างงานเพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนทางอาชีพ มีการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับผู้ได้รับผลกระทบก่อน และหลังโควิด ซึ่งมีการจ้างงานมากมาย เป็นการจ้างงานระยะสั้นในกลุ่มแรงงานนอกระบบแล้วแต่พื้นที่กำหนด มีการจ้างงานบัณฑิตย์จบใหม่ จ้างงานในภาคเกษตรเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน แต่ก็อย่างที่ทราบตอนนี้แรงงานในระบบก็มาแย้งงานแรงงานนอกระบบ เช่นมาขับGrab แย้งงานวินมอเตอร์ไซค์ซึ่งก็มีผลกระทบกันอยู่ ซึ่งกระทรวงแรงงานทำคือการชลอการเลิกจ้างเช่นการใช้เงินประกันการว่างงานเพื่อการเยียวยา 62% เพื่อการผยุงเศรษฐกิจการจ้างงานไว้ไม่ให้ตกงาน แล้วออกมาสู่แรงงานนอกระบบมาแย้งงานแรงงานนอกระบบทำ

ประเด็นเงินกู้ของผู้รับงานไปทำที่บ้านนั้นการกู้กับภาครัฐค้อนข้างจะยืดหยุ่นมากกว่าการไปกู้กับแบงค์อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องมีการค้ำประกัน หรือรวมกลุ่มมากู้ สามารถกู้เป็นรายบุคคลก็ได้ซึ่งกู้ได้เพียง 5 หมื่นบาทซึ่งต้องกู้เพื่อประกอบอาชีพจริงๆไม่ใช่กู้เพื่อพยุงเศรษฐกิจ แต่จะให้ปรับตัวระเบียบยังไม่เปิดรับเป็นโครงการโดยรวมกลุ่มกันมาขอเงินให้เปล่านั้นระเบียบไม่ได้เปิดตรงนั้น ซึ่งตรงนี้อาจต้องมาคุยกันในกรรมการผู้รับงานไปทำที่บ้านซึ่งก็มีหลายหน่วยงานที่จะมาให้ความคิดเห็น

การปรับตัว การพัฒนาทักษะกระทรวงแรงงานมีการส่งเสริมการพัฒนาทักษะจำนวนมาก ในส่วนของแรงงานนอกระบบก็มีการทดสอบสกิล อย่างทักษะทางด้านภาษาที่ใช้ในการท่องเที่ยว หรือแม่ค้า พ่อค้าก็สามารถไปอบรมทักษะการค้าขายในช่องทางออนไลน์เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดได้มากขึ้น ซึ่งมีการเตรียมทักษะไว้ในการฟื้นฟูหลังวิกฤติโควิด เดิมไม่ค่อยมีการประชาสัมพันธ์ ต่อไปก็จะเน้นประชาสัมพันธ์ให้รวดเร็วมากขึ้นว่า 15 หลักสูตรที่มีไว้ปรับทักษะ เช่นเรื่องภาษา การทำอาหาร การค้าขายออนไลน์ ฯลฯ มีจัดที่ไหนอย่างไรบ้าง อบรมแล้วจะมีการทดสอบ ได้รับใบประกาศนียบัตร เพื่อการันตี ต่อยอดได้ว่ามีการผ่านการอบรมนี้มา โดยปกติหลักสูตรละ 20 คนกระทรวงฯก็สามารถจัดให้ได้

ท้องถิ่นควรมีการกระจายอำนาจมากขึ้น เป็นข้อเสนอที่ตรงใจมาก มีร่างพรบ.คุ้มครองแรงงานนอกระบบที่มีการพูดถึงการจัดทำทะเบียนแรงงานนอกระบบ และการส่งเสริมการมีงานทำในท้องถิ่น มีการจัดทำทะเบียนแรงงานนอกระบบ โดยจะให้ทุกคนมาขึ้นทะเบียนแรงงานนอกระบบ ตามร่างพระราชบัญญัติแรงงานนอกระบบ เพื่อที่จะได้มีข้อมูลแรงงานนอกระบบมากขึ้น เพื่อการคุ้มครองตามกฎหมาย และทำให้แรงงานนอกระบบเข้าถึงสิทธิต่างๆได้ ซึ่งตอนนี้เป็นร่างกฎหมาย รอเข้าพิจารณาแล้ว

ดร.พิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า ก่อนเกิดสถานการโควิด กระทรวงได้มีมาตรการมาดูแลผู้ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง อย่างมาตรการเยียวยา 5 พันบาททั้งแรงงานนอกระบบ ภาคเกษตรกร ภาครัฐก็เห็นสถานการณ์ยืดเยื้อเรื่องการรักษาระดับการจ้างงานของภาคธุรกิจก็เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งก็จะเป็นมาตรการต่างๆที่จะออกมา มีมาตรการภาษีเข้ามาดูแล เรื่องนโยบายต้องมาดูกันให้ชัดเจน ในยุคปัจจุบันก็จะมีนโยบายที่มีเป้าหมายชัดเจนขึ้น อย่างตอนนี้มีการขึ้นทะเบียนตัวเลขของผู้มีรายได้น้อย 14 ล้านคน มีการเพิ่มเงินให้กับผู้มีรายได้น้อยเดือนละ 500 บาท เรื่องแรงงนนอกระบบก้ต้องมาดูว่าเม็ดเงินที่พอจะใช้ได้ภายใต้พรบ.เงินกู้ 4 แสนล้านบาท จะช่วยแรงงานนอกระบบอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพ ซึ่งจะมีการพูดคุยกันภายในหน่วยงานภาครัฐในเร็วๆนี้ ทั้งเรื่องมาตรการเยียวยา และมาตรการพักชำระหนี้รอว่ามีความยืดเยื้อขนาดไหนภาครัฐก็จะมีมาตรการดูแลทั้งภาคแรงงาน และภาคธุรกิจ

มีโครงการต่างๆภาครัฐเองก็มีความพยายามที่จะมีการหางานให้คนมีงานทำ และมีความพยายามจะให้คนมีรายได้ แต่การประกันการมีงานทำ ประกันรายได้ ภาครัฐได้พยายามแล้วในการดูแลผู้มีรายได้น้อย เรื่องการประกันการทำงานอาจต้องดูรายละเอียด ซึ่งต้องเป็นการทำงานระดีบนโยบายที่กำลังประเมินว่าเรื่องศักยภาพ ที่ผ่านมา ก็ดูเรื่องการผลิตยา ผลิตเครื่องดื่ม ผลิจภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์กระดาษที่เติบโตดีช่วงก่อนโควิด ซึ่งประเทศไทยผลิตยาเครื่องดื่มและอาหารเติบโตได้ดี แต่ก็มีเฟอร์นิเจอร์ ยาสูบ ไฟฟ้ามีการปรับตัวได้ก็มี ซึ่งก้อยากให้ผู้ประกอบการ และลูกจ้างได้รับทราบข้อมูล ภาคบริการที่พัก โรงแรมก่อนหน้านี้ดีอยู่ แต่ช็อกช่วงโควิด แต่ตอนนี้ก็มีการค้นพบวัคซีนแล้ว แต่ก็คงจะปีหน้า และคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง เมื่อสถานการณ์โควิดดี ขึ้นแน่นอนก็คงจะมีการเปิดให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามา ที่พักโรงแรมก็ คงเริ่มมาประกอบกิจการได้ ซึ่งคิดว่าน่าจะเริ่มกลับมาได้ในปีหน้า

ประเทศไทยกลับออกสู่นอกระบบมากขึ้นแบบเติบโต ซึ่งต่างประเทศเศรษฐกิจนอกระบบจะเข้าไปอยู่ในระบบมากขึ้น คนที่เข้าไปอยู่ในระบบมีกลไกภาครัฐดูแลจัดสวัสดิการสังคม ซึ่งที่ผ่านมาภาครัฐพยายามดูแล กระทรวงการคลังก็พยายามที่จะมีการดูแลอย่าง กองทุนการออมแห่งชาติ เพื่อดึงแรงงานนอกระบบเข้าสู่ระบบ เป็นการส่งเสริมการออมเพื่ออนาคต กองทุนประกันความเสี่ยงที่ดูแลเกษตรกร เมื่อเกิดอุทกภัย หรือภัยแล้ง ออมผ่านทางธกส. กระทรวงการคลัง พยายามกระจายอำนาจ ใส่เม็ดเงินสู่ท้องถิ่น และการนำนโยบายการกระจายเม็ดเงิน สู่ท้องถิ่นอย่าง โครงการคนละครึ่ง การตอบรับก็เป็นเชิงบวก หากว่าไปประเทศไทยก็มีเศรษฐกิจนอกระบบมาตั้งแต่ก่อนโควิด ซึ่งภาครัฐก็ควรจะมีการนำเศรษฐกิจนอกระบบเข้าสู่ระบบ คือผู้มีรายได้น้อย รัฐจะได้ช่วย แต่หากมีรายได้มากก็ต้องเสียภาษี กระทรวงการคลังอัตราภาษีติดลบ นำทุกอย่างเข้าสู่ระบบ เพื่อการเก็บภาษี และเมื่อมีปัญหาวสามารถที่จะช่วยเหลือได้เร็วขึ้น โจทย์ที่ต้องช่วยคิดว่า ทำไมไม่เข้าสู่ระบบ อย่างโรงแรมขนาดเล็กที่ได้รับผลกระทบ และต้องการความช่วยเหลือว่าจะช่วยอย่างไร เมื่อเขาไม่ได้อยู่ในระบบเพราะกลัวเสียภาษี

นางปราณี สุทธศรี ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจธนาคารแห่งประเทศไทย ก็เข้าใจว่า ในส่วนของนายจ้างก็ขาดสภาพคล่อง ขาดรายได้แต่ยังมีรายจ่ายที่ต้องจ่ายอย่างค่าจ้าง ค่าน้ำค่าไฟฟ้า สมทบประกันสังคม และลูกจ้างก็ขาดรายได้ บางส่วนถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าว บางส่วนถูกให้หยุดไปโดยไม่ได้รับเงิน หรือบ้างครั้งกลับมาก็มีการเจรจาต่อรองค่าจ้างกันใหม่ การที่เศรษฐกิจมีการหดตัวมากขึ้นเกิดผลกระทบใกล้ตัว แรงงานนอกระบบก็เดือดร้อนทั้ง วินมอร์เตอร์ไซค์ เสริมสวย ร้านนวด คนค้าขาย ฯลฯ  ซึ่งรัฐบาล และแบงค์ชาติเห็นความเดือดร้อน ได้ให้ช่วยกันมีทั้งหมด 6 ด้านมาตราการเงินให้ปล่าวเยียวยา 3 เดือน และการช่วยเหลือลดต้นทุนต่างๆ เช่น การลดค่าน้ำค่าไฟฟ้า การคืนเงินประกันมิตเตอร์ประปา ไฟฟ้า ลดเงินสมทบประกันสังคม ขอความร่วมมือจากแบงค์เพื่อพักชำระหนี้ และมีคลินิกแก้หนี้ มียาสองสูตร หากผ่อนชำระไม่ไหวให้ติดต่อสถาบันการเงินที่ใช้อยู่ภายในวันที่ 20 พฤศจิกายนนี้ เพื่อขอพักชำระหนี้ไปถึงมิถุนายน 2564  สูตรที่สองหากจ่ายไหวจะจ่ายได้ที่เท่าไร ให้ไปเจรจากับทางสถาบันการเงินว่า จะชำระได้มากน้อยแค่ไหน หากพอจ่ายไหวเพื่อให้ยืดในระยะเวลาที่ยาวขึ้น และดอกเบี้ยจะได้ไม่เดินมาก หากจายได้มากอย่างเช่น 80% ยอดหนี้ก็จะมีส่วนลดซึ่งสอบถามได้ที่สถาบันการเงินที่เป็นหนี้อยู่ เพื่อไม่ให้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น มีเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ด้วย

รัฐบาลพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจโดย ให้มีการซื้อสินค้าภายในประเทศ โครงการเราเที่ยวด้วยกัน โครงการกำลังใจที่พาอสม.ไปเที่ยวโครงการคนละครึ่ง และช็อปดีมีคืน เพราะรัฐบาลพยายามกระตุ้นความต้องการซื้อตั้งแต่ร้านค้าธรรมดาถึงคนมีเงินที่มาซื้อ ด้วยรู้ว่าสถานการณ์นี้รุนแรง และยาวนานที่ไม่ทราบว่าจะจบเมื่อไร แม้ว่าจะมีวัคซีนที่คาดการณ์ว่าจะใช้แพ่หลายในครึ่งปีหลังในปี2564 ซึ่งช่วงนี้ยังต้องกินต้องใช้รัฐบาลก็พยายามที่จะช่วยให้ผ่านพ้นความยากลำบากไปให้ได้ และมีเรื่องการให้สินเชื่อประกอบอาชีพ ซึ่งมีทั้งบริษัท ผู้ค้า หาบเร่ แผงลอย รัฐบาลมีการสร้างงานเชิงพื้นที่ก็มีทั่วประเทศ ซึ่งก็หางานได้ มีเว็ปไซต์ในการหางานของกระทรวงแรงงาน และเว็บไซต์ไทยมีงานทำ.com ซึ่งสามารถเข้าไปหางานได้ และหากต้องการเพิ่มทักษะ อย่างเทคดนโลยีดิจิตอล หรือภาษา งานต่างๆที่ยังขาดแคลนอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม ด้วยวิกฤตครั้งนี้ไม่เคยมีใครเจอมาก่อน และไม่สามารถที่จะรอให้ทุกอย่างมาเหมือนเดิมได้เพราะไม่มีอะไรที่จะกลับมาเหมือนอีกต่อไป  และขณะนี้สสว. วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)ได้เปิดลงทะเบียน เพื่อที่จะได้โอกาสในการประมูลงานของภาครัฐสามารถไปลงทะเบียนได้ที่ www.thaismegp.com ครั้งแรกมีการเสนอการจัดซื้อจัดจ้างไม่เกิน 30% ของการจัดซื้อจัดจ้างทุกปี โดยจะมีการคัดเลือกSMEในจัดหวัดก่อน ซึ่งขณะนี้มีการเปิดลงทะเบียนอยู่

หากเราเป็นธนาคาร แล้วลูกหนี้ที่ค้างหนี้เป็นNPLอยู่ก็ลำบากใจในการที่จะปล่อยกู้ การที่ธนาคารออมสินมีดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าที่อื่น เราก็ต้องช่วยกันในการที่จะสร้างภาพพจน์ที่ดี เพื่อให้มีมาตรการดีๆ ในการปล่อยกู้ ข้อมูลว่า มีรายรับเงิน ตอนลูกค้ามาซื้อ ค้าขายตรงไหนบ้าง หรือไปที่ไหนมาบ้าง หากตัวข้อมูลคนละครึ่งมีการต่อท่อของสถาบันการเงินก็จะเข้ามาหากมีประวัติที่ดี จากที่ทำงานมาเพิ่งจะเห็นข้อมูลแรงงานนอกระบบในการขึ้นทะเบียนตามโครงการของรัฐ เป็นการทำฐานข้อมูลตอนนี้ดีขึ้นหลังจากโควิด-19 มีการลงทะเบียนทั้งพ่อค้า แม่ค้า เกษตรกร แรงงานนอกระบบ ซึ่งมีรายกลุ่มรายพื้นที่วางแผนในการช่วยเหลือได้มากขึ้น

Ms.Sanda Yu ผู้เชี่ยวชาญยุทธศาสตร์งานที่มีคุณค่าระดับพื้นที่ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) กล่าวถึง การทำงานของหลายประเทศ ต่อผลกระทบจากโควิด-19 มีทั้งการให้เงินให้เปล่า แต่ควรมีการลงทะเบียนเพื่อขอความช่วยเหลือ มีมาตรการเพื่อระบุตัวตน ซึ่งประเทศไทยก็เช่นกัน ซึ่งการพัฒนาเรียนรู้การลงทะเบียนลูกจ้างแรงงาน ประชาชน การประกันสังคมนำมาหลอมรวมกันได้ คนที่ไม่ได้อยู่ในระบบลูกจ้างก็ควรมีการช้อนเขาขึ้นมาให้ได้อย่างแรงงานนอกระบบ ความช่วยเหลือไม่ควรแบ่งให้เกิดการตกหล่นเข้าไม่ถึงมาตรการของรัฐ

โดยประเทศต่างๆมีการจัดการลงทะเบียนคนที่อยู่ในนอกระบบ เมื่อมีโรคระบาดมีความเปลี่ยนแปลงไปตลาดควรเป็นอย่างไร หลายๆประเทศตลาดพึ่งพิงกัน เมื่อรายได้ก็กลายเป็นสูญ จึงมีการคุยกันถึงกระบวนการผลิตที่มีการพึ่งพาตนเอง และมาดูว่า ห่วงโซ่ไหนมีความอ่อนแอ มีอะไรที่หายไป และมีทักษะอะไรที่ต้องการพัฒนาใหม่ หรือว่าทักษะอะไรที่ล้นเกินต้องให้ไหลไปอยู่ในทักษะอื่นๆได้อย่างไร และกระทรวงต้องมีข้อมูลเป็นพื้นฐาน และเรียนรู้นอกระบบได้ ในประเทศบราซิลให้ไปทำงานกับเกษตร ไปทำงานหาบเร่ แผงลอย และเก็บขยะ มีการเข้าไปช่วยแรงงานนอกระบบ เพื่อช่วยให้เขาได้เข้าถึงตลาด อย่างเราใช้ระบบบล็อกเชนในประเทศลาวที่ปลูกกาแฟ หาตลาด และประเทศไทยมีคนทำงานทางIT จำนวนมากก็นำความรู้มาช่วยกัน และในอนาคตก็นำความรู้มาเรียนรู้ร่วมกัน ตลาดที่ใหญ่ที่สุดคือ ภาครัฐ ซึ่งเราก็ต้องนำตลาดภาครัฐมาร่วม ซึ่งประเทศไทยยังไม่ทำแบบนั้น การขับรถใช้แอพพลิเคชั่น ใครให้การคุ้มครอง กิ๊กออนไลน์ในต่างประเทศมีการให้การคุ้มครอง และมีการประกันรายได้ ซึ่งมีตัวอย่างที่ดีๆจำนวนมาก

ช่วงบ่ายได้มีการเสวนากับพรรคการเมือง เรื่อง “นโยบายการฟื้นฟูแรงงานหลังโควิด

โดยนายมานพ แก้วผกา นายกสมาคมสมาพันธ์แรงงานนอกระบบ(ประเทศไทย) ได้อ่านข้อเรียกร้องต่อพรรคการเมือง เรื่อง “การฟื้นฟูแรงงานนอกระบบจากโควิด” จำนวน 4 ข้อโดยสรุปได้ ดังนี้

สมาพันธ์แรงงานนอกระบบ(ประเทศไทย) ขอยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม เพื่อเรียกร้องนโยบายแรงงานนอกระบบที่ดีกว่าเดิม ในประเทศไทย เรามีแรงงานนอกระบบ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 56 ของแรงงานทั้งหมด

สมาพันธ์แรงงานนอกระบบ(ประเทศไทย)  จึงขอยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล ดังต่อไปนี้

  1. พวกเรามีความจำเป็นที่จะต้องมีการงานทำอย่างเต็มศักยภาพ เพื่อให้สามารถยืนอยู่บนขาตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรีและยั่งยืน จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลจัดการช่วยเหลือเบื้องต้น ดังนี้

1.1 สนับสนุนเงินลงทุนเพื่อประกอบอาชีพ โดยจัดสรรงบประมาณจากกองทุนผู้รับงานไปทำที่บ้าน

1.1. ช่วยเหลือเป็นเงินกู้รายบุคคล ปลอดดอกเบี้ยและยกเลิกเงื่อนไขคนค้ำประกัน รายละ 50,000-300,000 บาท

1.1.2ช่วยเหลือเป็นเงินสนับสนุนเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนของกลุ่ม องค์กรที่จดทะเบียน เป็นเงินสนับสนุนแบบให้เปล่า เป็นจำนวน 100,000-1,000,000 บาท ต่อกลุ่ม

1.2 คืนพื้นที่ทางการค้าขายเพื่อการประกอบอาชีพให้แก่แรงงานนอกระบบ เช่น พื้นที่สำหรับหาบเร่แผงลอย ถนนคนเดิน ตลาดนัด ตลาดเขียว ตลาดในหน่วยงานราชการ

1.3 จัดทำโครงการจ้างงาน workfare เพื่อจ้างงานแรงงานที่ทำงานบริการสาธารณะ เช่น การดูแลผู้ป่วยติดเตียง/หรือผู้สูงอายุในชุมชน การช่วยซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้กับกลุ่มผู้เปราะบาง เป็นต้น

1.4 ให้มีการประกันการมีงานทำแก่แรงงานนอกระบบ อย่างน้อย 10 วันต่อเดือน โดยได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ

1.5 ให้รัฐช่วยรักษาการจ้างงานแก่แรงงานในระบบกลุ่มที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากโควิด โดยอุดหนุนค่าจ้างครึ่งหนึ่งแก่ลูกจ้างในกิจการขนาดเล็ก (SME) เพื่อป้องกันการถูกผลักมาเป็นแรงงานนอกระบบมากขึ้น

1.6 ในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ ต้องจัดสรรโควตาให้แก่แรงงานนอกระบบที่ได้รับผลกระทบจากโควิด อย่างน้อยร้อยละ 30

2.พวกเราต้องการพัฒนาฝีมือแรงงานให้ดีขึ้น เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพในตลาดแรงงานใหม่หลังโควิดได้

2.1 จัดให้มีการยกระดับทักษะเดิมให้สูงยิ่งขึ้น เช่น การดูแลเด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ

2.2 จัดให้มีการพัฒนาทักษะใหม่ๆ เช่น การใช้เทคโนโลยีออนไลน์ ในการค้าขายและงานบริการต่าง ๆ

2.3 การพัฒนาทักษะฝีมือ ต้องให้บริการฟรี ระหว่างการอบรมต้องมีค่าเดินทาง/ค่าอาหาร หลังการอบรม ต้องมีบริการช่วยหาตลาดหรือหางานให้ทำ

  1. พวกเรา ต้องการการคุ้มครองทางสังคมที่เท่าเทียมและทั่วถึง เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสถานการณ์วิกฤตจากโควิด 19 ครั้งนี้ รวมถึงวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต โดยรัฐต้อง

3.1ให้สิทธิประโยชน์ประกันการว่างงานแก่ผู้ประกันตน มาตรา 40

3.2 ในระยะยาว ต้องปรับสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนทุกมาตราให้เท่าเทียมกัน รวมทั้งปฏิรูปสำนักงานประกันสังคมให้เป็นองค์การอิสระ ที่มีการบริหารโดยผู้ประกันตน และในคณะกรรมการมีสัดส่วนของผู้ประกันตนทุกมาตรา

  1. ในการดำเนินการตามข้อเสนอทุกข้อ ต้องให้มีการกำกับติดตามหรือการมีส่วนร่วมจากสมาพันธ์แรงงานนอกระบบ ภาคประชาสังคม และภาคีวิชาการ เพื่อให้ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล

สมาพันธ์แรงงานนอกระบบ(ประเทศไทย) หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทุกท่านจะให้การสนับสนุนข้อเรียกร้อง เรื่อง การฟื้นฟูแรงงานนอกระบบจากโควิด เพราะผลที่ได้จากการนำข้อเรียกร้องนี้ไปดำเนินการ จะเป็นทั้งการช่วยให้แรงงานนอกระบบสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้  และเป็นส่วนสำคัญประการหนึ่งในการช่วยสร้างความเป็นธรรมทางสังคม ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจ และสร้างความสมานฉันท์ที่แท้จริงในสังคมไทย

 

นางสาวชนก จันทาทอง พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ปัญหาเศรษฐกิจเกิดมาก่อนที่โควิดจะมาแล้ว ซึ่งตอนนี้ทางภาคอีสานเกิดปัญหาข้าวยากหมากแพงสินค้าแพงมาก การที่ประเทศไทยสามารถควบคุมการระบาดของโควิดได้ ทำให้คนปลอดภัย และการรอการท่องเที่ยวกลับมา  ช่วงนี้คงต้องมีการพัฒนาฝีมือเมื่อมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเราก็จะกลับเข้ามา

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบาตรี คณะทำงานปีกแรงงาน พรรคก้าวไกล กล่าวว่า แรงงานนอกระบบจำนวนมากที่สูญเสียรายได้ประจำ ปัจจุบันมีรายได้ในการประทังชีวิตอยู่ที่ 3-5 พันบาทซึ่งต่ำมา แรงงานนอกระบบแบกรับปัญหามากขึ้น ขัดกับคำที่รัฐบาลว่า “ไม่เลือกงานไม่ยากจน” การที่เด็กนักเรียนต้องดรอปการเรียน ไปทำงานพาสไทม์เพื่อหาเงินนั้นแสดงว่า เขาจะไม่มีโอกาสกลับมาเรียนอีก การที่มาอยู่ตรงนี้เพราะเราเชื่อมั่นในระบบประชาธิปไตย วันนี้ทำไมแรงงานนอกระบบไม่สามารถที่จะรับงานจากภาครัฐได้ ทำไมกลุ่มทุนสามารถรับงานจากรัฐได้ นั้นหมายถึงโอกาส กลุ่มทุนมีความล้นเกินทางโอกาส มาตรการต่างๆไม่สามารถทำให้กลุ่มทุนขนาดเล็กเข้าถึงได้ อย่างเช่นโฮสเทลที่ภูเก็ต และตอกข้าวสาร ต้องล้มขาดทุนเป็นต้น

แรงงานถูกทำให้ขาดการรวมกลุ่มปัญหาการส่งเสียงการชุมนุมไม่ได้ ยังไม่มีการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 และ 98 เพื่อรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานในการรวมกลุ่มโดยได้รับการคุ้มครอง วันนี้พรรคราชการใหญ่โตขึ้น วิธีคิดก็จะผูกอยู่กับราชการ การที่จะเรียกร้องเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหา 1ปีที่ผ่านมาไม่มีการนำกฎหมายฉบับใดที่เกี่ยวข้องกับแรงงานเข้าสู่การพิจารณา และพรบ.บำนาญก็ไม่ได้เข้าสู่การพิจารณา เพราะอ้างเกี่ยวกับการเงินนายกต้องเซ็นต์รับรอง พรบ.คุ้มครองแรงงานที่มีการแก้ไขเรื่องระบบการจ้างงานไม่ให้เกิดการเอาเปรียบด้านการจ้างงานเหมาค่าแรงเอาซอส แต่อยู่บนโต๊ะนายกรัฐมนตรีและยัง รอการเซ็นต์ ภาคการจ้างงานนอกระบบที่ใหญ่ที่สุดคือการจ้างงานนอกระบบในภาครัฐ

การประกันสังคมมาตรา 40 จ่ายน้อยได้น้อย เราต้องการที่จะยกระดับการประกันสังคม เพื่อให้ทั่วหน้าทุกคน การรีสกิลที่ประสบความสำเร็จ และมีชื่อเสียงได้ เพราะเขาพ้อมที่จะล้มเหลวได้ เพื่อเริ่มต้นใหย่ เขามีต้นทุนเพียงพอ แต่แรงงานนอกระบบทำแบบนั้นไม่ได้ เพราะเราล้มเหลวไม่ได้ แรงงานนอกระบบต้องทำงานให้สำเร็จอย่างเดียว ด้วยต้นทุนน้อยหากล้มหมายถึงอนาคตทั้งหมดเลยที่เดียว

รัฐควรมีแนวคิดในการจัดให้มีสวัสดิการโดยรัฐ จากสภาพปัญหาที่มีปัจจุบันทำให้ประเทศต้องการสวัสดิการโดยรัฐอย่างครอบคลุมทุกกลุ่ม โดยการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เก็บภาษีที่ดินเท่านั้นที่จะทำให้สามารถจัดสวัสดิการให้กับประชาชนได้

 

นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล พรรคภูมิใจไทย ประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว กล่าวว่าการท่องเที่ยว หรือเศรษฐกิจจะกลับมาได้ในปีนี้ และคิดว่า รัฐบาลต้องมีการพิจารณาความช่วยเหลือด้านการเงิน การส่งเสริมเพื่อเข้าร่วมโครงการกับภาครัฐ เรื่องประกันสังคมในหลายประเด็นต้องมีการปรับปรุงใหม่ ทางกรรมาธิการการท่องเที่ยวก็ถือเป็นอีกช่องทางในการที่จะแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยว

กรรมาธิการทำงานมาตั้งแต่ก่อนเกิดโควิด และนักท่องเที่ยวต่างประทศ 70 เปอร์เซ็นต์ ไทย 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งวันนี้เท่ากับการท่องเที่ยวหายไปถึง 70 เปอร์เซนต์ แน่นอนปัญหาเศรษฐกิจหลักคือการท่องเที่ยว ภูเก็ตกระทบหนัก ตอนนี้ที่ท่องเที่ยวกันส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวสายบุญ เมืองไหนที่เป็นเมืองเกี่ยวกับทำบุญนักท่องเที่ยวภายในประเทศ การที่จะไปท่องเที่ยวต่างประเทศตอนนี้ก็ไปไม่ได้ก็ต้องมาท่องเที่ยวภายในประเทศกันเอง ด้วยโควิดยังไม่เป็นสูญ การท่องเที่ยวจึงยังไม่สามารถที่จะเปิดได้เต็มที่ และยังไม่สามารถที่จะให้นักท่องเที่ยวเดินทางประเทศไทยได้อย่างปลอดภัย ตอนนนี้การท่องเที่ยวมาต้องกักตัว ซึ่งยังไม่สามารถทำได้เต็มที่ การท่องเที่ยวต้องเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ยวที่มีคุณภาพ ต้องมีค่าใช้จ่ายสูง

นายศุภฤกษ์ ศูรางกูร ประธานบริษัทหนุ่มสาวทัวร์ และที่ปรึกษาการคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว กล่าวว่า  บริษัทของตนก็ได้รับผลกระทบทั้งทัวร์ โรงแรม ร้านอาหารที่ออกแบบมาเพื่อที่รองรับนักท่องเที่ยว จึงยังไม่สามารถเปิดได้ ซึ่งเมื่อมีการเปิดประเทศแล้วก็ต้องมีการกระตุ้นเศรษฐกิจ และหากเปิดประเทศเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวต้องเปิดแบบปลอดภัย ผลกระทบที่เกิดขึ้นทางเศรษฐจะแก้ได้เมื่อคนมีงานทำ หากไม่มีงานก็ไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ แล้วเมื่อไรจะมีการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวได้อย่างปลอดภัย อย่างภูเก็ตนั้นเป็นมืองการท่องเที่ยวร้อยเปอร์เซ็นต์ เมื่อรัฐบาลบอกว่า จะให้ภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวนำร่อง แต่ว่า กรุงเทพฯก็มองว่า ทำไมไม่ใช่กรุงเทพฯ หรือเปิดทั้งหมดไปเลย เพราะการท่องเที่ยวเดือดร้อนทุกที่ หรือไม่ก็โรคยังระบาดรุนแรงทั่วโลกเปิดไปจะกระทบระบาดอีกรอบเศรษฐกิจจะทรุดหนักมากไปอีก ซึ่งการที่นำเสนอให้จังหวัดภูเก็ต เป็นจังหวัดนำร่องในการเปิดรับนักท่องเที่ยว ด้วยมองถึงความเป็นเกาะ หากเกิดการระบาดสามารถที่จะจำกัดพื้นที่ได้ง่าย

ประเทศไทยพบกับวิกฤตทั้งทางการเมือง และโรคระบาดอย่างโรคซาร์ส และก็มีภัยพิบัติต่างๆ อย่างสึนามิ ทุกวิกฤติประเทศไทยสามารถฝ่าวิกฤติมาได้ วิกฤติโควิดเป็นปัญหาอยู่เพราะมีระยะเวลาที่ยาวนาน และยังมีคนที่ต้องจบชีวิตลงจากวิกฤตินี้

จากนั้นผู้แทนแรงงานนอกระบบ และแรงงานในระบบได้ร่วมกันยื่นหนังสือข้อเรียกร้องทั้ง 4 ข้อต่อประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว และผู้แทนคณะกรรมาธิการการแรงงานเพื่อให้ช่วยแก้ปัญหาผลกระทบต่างๆด้วย

 

 

ต่อมาวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ได้มีการเปิดตัวตลาดออนไลน์ “Home Craft ByHomeNet Thailand” จัดโดยมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ สมาคนเครือข่ายแรงงานนอกระบบ (ประเทศไทย) ณ โรงแรมพูลแมน คิงเพาเวอร์ กรุงเทพฯ โดยมีการจัดเดินแฟชั่นโชว์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง ผลิตภัณฑ์จักรสาน งานคราฟท์และสินค้าแปรรูปตัวอย่างจากเครือข่ายผู้ค้า HomeNet Brand และมีการจัดเวทีTED TALK ยกระดับคุณภาพชีวิต พลิกเสรษฐกิจ ฝ่าวิกฤติโควิด-19 อีกด้วย

            นักสื่อสารแรงงาน รายงาน