จี้รัฐเร่งรับรอง ILO. 87-98 ชี้ลดกีดกันการค้า สร้างความเป็นธรรมสังคม

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ไอ แอล โอ ร่วมกับสหภาพแรงงานไทย จัดการประชุมการให้สัตยาบันและการปฏิบัติตามอนุสัญญา ไอ แอล โอ ฉบับที่ 87และ 98 เมื่อวันที่ 29-30 สิงหาคม 2555 ที่โรงแรมอมารี วอเตอร์เกต กรุงเทพ
ที่ผ่านมา ไอ แอล โอ และองค์กรแรงงานต่างๆ ในประเทศไทยได้ร่วมกันผลักดันให้เกิดการรับรองอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว ซึ่งก่อให้เกิดความตระหนักถึงความจำเป็นของอนุสัญญาในกลุ่มแรงงาน ข้าราชการ สมาชิกรัฐสภาและสื่อมวลชนว่า การให้สัตยาบันอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ จะช่วยลดปัญหาเรื่องแรงงานสัมพันธ์ของประเทศไทยในปัจจุบัน การพัฒนาสิทธิแรงงานให้ดีขึ้นเป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้แรงงาน ซึ่งจะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการผลิตสูงขึ้น อันจะนำไปสู่การเติบโตของภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม การให้สัตยาบันยังช่วยให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งหลายประเทศใช้มาตรฐานแรงงานเป็นเครื่องมือในการกีดกันทางการค้า และในระยะยาว การให้สัตยาบันจะช่วยสร้างสังคมที่มีความเท่าเทียม แบ่งบันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม และลดช่องว่างทางรายได้

ประชาพิจารณ์ อนุสัญญา ILO 87-98

(เผยแพร่ใหม่หลังจากเว็บไซต์ถูกแฮ็กเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 55)
เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2555 ที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กระทรวงแรงงานจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเรื่อง การให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO. 87-98 ที่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง ซึ่งถือเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน โดยยังมีข้อกังวลจากบางหน่วยงานในเรื่องของแรงงานข้ามชาติกับปัญหาความมั่นคง ขณะที่ฝ่ายแรงงานเสนอให้รับรองอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับได้แล้ว เพราะผ่านการถกเถียงมายาวนานมีข้อสรุปว่าเกิดผลดีต่อประเทศในด้าน การค้า การลงทุน การดูแลปัญหาแรงงานข้ามชาติที่ยังเป็นที่ต้องการของไทยก็จะทำได้ง่าย โดยกระทรวงแรงงานฯ จะเสนอผลการรับฟังความคิดเห็นต่อ ครม. เพื่อดำเนินการให้สัตยาบันต่อไป
นักสื่อสารแรงงาน รายงาน

(เผยแพร่ใหม่หลังจากเว็บไซต์ถูกแฮ็กเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 55)

รัฐจัดประชาพิจารณ์อนุสัญญาILO ฉบับที่ 87 และ98 เตรียมให้สัตยาบัน

การเสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็น เรื่องการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และ 98 ในวันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม 2555 ณ ห้องประชุมไสว สุทธิพิทักษ์ อาคาร 6 ชั้น 7 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กรุงเทพฯ จัดโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สำนักงานแรงงานสัมพันธ์ ร่วมกับศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มีผู้เข้าร่วมประมาณ 200 คน อนุสัญญาฉบับที่ 87 มีเนื้อหาสำคัญคือ คนงาน และนายจ้างสามารถใช้สิทธิในการจัดตั้งสมาคม และรวมตัวกันได้อย่างเสรี โดยไม่ต้องได้รับการอนุญาตล่วงหน้าจากหน่วยงานของรัฐ ส่วนฉบับที่ 98 คือ คุ้มครองคนงานจากการกระทำอันเป็นการเลือกปฏิบัติ ในการจ้างงาน ส่งเสริมให้มีการพัฒนา และการใช้ประโยชน์จากกลไกการเจรจาโดยสมัครใจ

(เผยแพร่ใหม่หลังจากเว็บไซต์ถูกแฮ็กเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 55)

ILO หนุน คนรถไฟเรียกร้องระบบความปลอดภัย – ถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ย้ำ การเกิดอุบัติเหตุในการทำงาน เพราะผู้ประกอบการละเลยระบบความปลอดภัย วันนี้คนงานยังต้องเรียกร้องทั้งที่มีกฎหมาย – เน้นต้องขอบคุณสหภาพแรงงานรถไฟที่ปกป้องดูแล เรียกร้องให้การรถไฟดูแลระบบให้เกิดความปลอดภัย พร้อมติงกระทรวงแรงงานไม่ดูแลปล่อยให้เกิดการเลิกจ้างสหภาพ

ที่สุดในชีวิต : TCIJ ก้าวสู่ปีที่ 2 ในโลกสื่อออนไลน์

ในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 2 ในโลกสื่อออนไลน์ ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ) จัดงานสังสรรค์เพื่อร่วมแบ่งปันความคิดกัน เพราะทุกวันนี้สื่อออนไลน์มีบทบาทมากและจะมากยิ่งขึ้นในอนาคต แต่เนื้อหาของข่าวสารทั้งที่เผยแพร่ในสื่อออนไลน์และสื่อหลักแขนงต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ หรือโทรทัศน์ ส่วนใหญ่มักเป็นข่าวสั้นๆ ที่ขาดข้อมูลรายละเอียดเพื่อการรับรู้และสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง จึงอยากทำงานข่าวแบบสืบสวนเจาะลึกข้อมูลรายละเอียดมากกว่าแค่ทำข่าวปรากฏการณ์หรือโต้ตอบกัน และไม่ใช่เน้นแต่เรื่องการเมืองเท่านั้น

กลุ่มสระบุรีติวเข้ม!!! ผู้นำแรงงานด้าน IT

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2555 กลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียงได้จัดอบรมการใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานและการเข้าใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารให้กับผู้นำแรงงานในพื้นที่เพื่อนำกับไปใช้และพัฒนาในองค์กร ณ ศูนย์การเรียนรู้อดิตยา เบอร์ล่า ตั้งอยู่ที่ด้านหลังที่ว่าการอำเภอแก่งคอย สนับสนุนโดยโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานในระบบ โดยมีผู้นำแรงงานเข้าร่วมประมาณ 20 คน

ที่นี่ Thai PBS เครือข่าย ปชช.ยื่นข้อเรียกร้อง หลังระเบิดในนิคมมาบตาพุด

ที่นี่ Thai PBS เครือข่าย ปชช.ยื่นข้อเรียกร้อง หลังระเบิดในนิคมมาบตาพุด

ออกอากาศวันที่ 15 พฤษภาคม 2555

เครือข่าย ปชช.ภาคตะวันออกได้เดินสายเพื่อยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีและกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา เพื่อผลักดันให้มีแผนฟื้นฟูและช่วยเหลือผู้ประสบภัย

ชู ILO 87-98 ลดช่องว่างทางสังคม ค้านเตะถ่วงพิจารณาใหม่

ชู ILO. 87-98 ลดช่องว่างทางสังคม ค้านเตะถ่วงพิจารณาใหม่
เนื่องในโอกาสวันกรรมกรสากล 2555 องค์กรแรงงานและองค์กรต่างประเทศที่ทำงานด้านแรงงาน ร่วมจัดงานเสวนาเรื่อง มาตรการลดช่องว่างทางสังคมในกลุ่มแรงงาน เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2555 โรงแรมอิสติน มักกะสัน กรุงเทพ โดยวงเสวนาระบุว่าต้นเหตุของความเหลื่อมล้ำที่ทำให้เกิดช่องว่างทางสังคมไทย เป็นเพราะฝ่ายธุรกิจทุนสามารถกุมอำนาจรัฐ จนนำไปสู่ทางออกกฏหมายต่างๆที่ทำให้กลุ่มแรงงานแตกแยกย่อย จนขาดพลังในการต่อรอง กฎหมายต่างๆมุ่งควบคุมแรงงานมากกว่ามุ่งพัฒนาแรงงาน ความพยายามรวมตัวของแรงงานมักถูกขัดขวางจากรัฐและนายทุน โดยมักหยิบยกเหตุผลเรื่องความมั่นคงและบรรยากาศการลงทุน

ลดปัญหาแรงงาน ลดช่องว่างทางสังคม อนุสัญญา ILO 87-98

ลดปัญหาแรงงาน ลดช่องว่างทางสังคม อนุสัญญา ILO 87-98
ข่าวเที่ยง Thai PBS ออกอากาศวันที่ 27 เมษายน 2555

ปีนี้มีหลายประเด็นที่แรงงานจะมีการพูดคุยกัน ประเด็นปัญหาหนึ่งที่จะต้องมีการพูดคุยกันก็คือเรื่องการแก้ไขปัญหาแรงงานและลดช่องว่างต่างๆ วันนี่ทาง รองประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายก็ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ เนื่องจากว่าจะเป็นกลไกสำคัญในการแก้ไขปัญหาแรงงานและก็ลดช่องว่างทางสังคม

วิดีโอ รายการ เวทีสาธารณะ Thai PBS : ปฏิรูปกฎหมายประกันสังคม กฎหมายประชาชนความจริงใจของผู้แทน

รายการ เวทีสาธารณะ Thai PBS : ปฏิรูปกฎหมายประกันสังคม กฎหมายประชาชนความจริงใจของผู้แทน
ออกอากาศเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2555 หน้า รัฐสภา
พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับภาคประชาชนถูกเสนอโดยการเข้าชื่อของประชาชน 14,264 รายชื่อ และบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมสภาสมัยนิติบัญญัติครั้งที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2554 แต่ในขณะนี้ร่างกฎหมายยังคงอยู่ในลำดับที่ 15 ของวาระเร่งด่วน ซึ่งเครือข่ายผู้ใช้แรงงานมีความกังวลว่าพระราชบัญญัติประกันสังคมฉบับภาคประชาชนอาจไม่ถูกหยิบยกไปพิจารณาภายในสมัยประชุมสภาที่จะหมดวาระในวันที่ 18 เมษายน นี้

วิดีโอ รายการวาระประเทศไทย Thai PBS : ปฏิรูปโครงสร้างประกันสังคมเป็นองค์กรอิสระ

รายการวาระประเทศไทย สถานี Thai PBS : ปฏิรูปโครงสร้างประกันสังคมเป็นองค์กรอิสระ

ออกอากาศเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2555

ข้อเสนอเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานสำนักงานประกันสังคมเป็นองค์กรอิสระ ก็ถูกมองว่าภาคการเมืองและภาคราชการอาจถูกลดทอนอำนาจการบริหารกองทุนและเมื่อแยกเป็นอิสระแล้ว ภาคการเมืองก็จะเข้าไปตรวจสอบการบริหารงานได้ยาก แต่สำหรับกลุ่มผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ กลับมองว่าการเป็นองค์กรอิสระนั้นจะเปิดโอกาสให้ภาคประชาชน ซึ่งก็หมายถึงตัวผู้ประกันตนสามารถที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารกองทุนได้มากขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงในการนำเงินกองทุนไปใช้อย่างไม่เหมาะสม อย่างเช่นกรณีการนำกองทุนประกันสังคม 2,800 ล้านบาท ไปจัดซื้อคอมพิวเตอร์ในกระทรวงแรงงานจนนำมาสู่การร้องเรียน

วิดีโอ รายการวาระประเทศไทย Thai PBS : เส้นทาง พ.ร.บ. ประกันสังคม

รายการ วาระประเทศไทย ทางสถานี Thai PBS : เส้นทาง พ.ร.บ. ประกันสังคม

ออกอากาศเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2555

1 ใน 7 ของร่างกฎหมายภาคประชาชนที่ถูกติดตามและออกมาเคลื่อนไหวมากที่สุดฉบับหนึ่ง โดยเฉพาะจากภาคแรงงานก็คือร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม นั่นเป็นเพราะว่าเป้าหมายของรัฐ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้คือการปฏิรูประบบประกันสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงาน แต่ว่าเส้นทางในการผลักดันกฎหมายที่ผ่านมานั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย มีการรวบรวมรายชื่อประชาชนกว่า 14,264 รายชื่อ เพื่อผลักดันกฎหมายฉบับนี้มาตั้งแต่ปี 2550 โดยในรัฐบาลที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ลงนามรับรองไว้ก่อนที่จะมีการยุบสภาทำให้ในครั้งนี้จำเป็นที่จะต้องติดตามและออกมาเคลื่อนไหวเพื่อเป็นวาระเร่งด่วน

1 6 7 8 253