วิดีโอ นักข่าวพลเมือง Thai PBS : วันสตรีสากล

นักข่าวพลเมือง Thai PBS ออกอากาศวันที่ 22 มีนาคม 2555
เครือข่ายผู้หญิงในประเทศไทยได้จัดเดินรณรงค์เพื่อสะท้องปัญหาเรื่องสิทธิและสวัสดิการสังคมขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใช้แรงงานหญิงที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมพร้อมยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหา

DSI เชิญ วิไลวรรณ ให้ข้อมูลสอบทุจริตประกันสังคม

นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย รองประคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ให้สัมภาษณ์ว่า ล่าสุด เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555 ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ได้เชิญให้เข้าไปให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ DSI เพื่อเป็นประโยชน์ในการตรวจสอบการบริหาร การทำงาน การใช้งบประมาณของทางสำนักงานประกันสังคม

โดยที่ผ่านมาคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้มีการตั้งข้อสังเกตเห็นความไม่โปร่งใสด้านการบริหารงานของสำนักงานประกันสังคม ในการนำเงินไปใช้ซึ่งอาจผิดต่อวัตถุประสงค์ของการประกันสังคมในหลายเรื่อง เช่นการทำสัญญาเช่าจัดหาและดำเนินการระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศ(คอมพิวเตอร์)แรงงานของสำนักงานประกันสังคม มูลค่า 2,800 ล้านบาทเมื่อปี 2549

วิดีโอ ข่าวเที่ยง Thai PBS สภาเครื่อข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ ยื่นหนังสือคัดค้านร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ

เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 55 สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทยได้ยื่นหนังสือคัดค้านถึง รมว.กระทรวงแรงงานผ่านนายวินัย ลู่วิโรจน์ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเพื่อเรียกร้องให้ทบทวนร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่กระทรวงแรงงานจะทำประชาพิจารณ์เพียงครั้งเดียวในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เนื่องจากไม่เห็นด้วยใน 4 ประเด็น คือ ประชาพิจารณ์ควรมีองค์กรกลางเป็นผู้จัด การทำประชาพิจารณ์ในวันดังกล่าวไม่มีตัวแทนฝ่ายแรงงานเป็นผู้เกี่ยวและเป็นผู้เสนอการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยเข้าร่วม ขาดสัดส่วนขบวนการมีส่วนร่วมจากผู้ใช้แรงงานหลายภาคส่วน การจัดประชาพิจารณ์เพียงครั้งเดียวจึงไม่ถือเป็นเสียงประชามติได้และข้อเสนอของผู้ใช้แรงงานในคณะอนุกรรมการยกร่างสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยต้องการให้บรรจุการรับเรื่องราวร้องทุกข์ในอำนาจหน้าที่และที่มาของคณะกรรมการบริหารให้มาจากการสรรหา

วีดีโอ ข่าวThai PBS จุดยืนเครือข่ายแรงงานจัดตั้งสถาบันความปลอดภัย

วีดีโอ ข่าวThai PBS จุดยืนเครือข่ายแรงงานตั้งสถาบันความปลอดภัย ออกอากาศวันที่ 24 มกราคม 2555 เวลาเที่ยงคืน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เตรียมจัดรับฟังความคิดเห็นจากเครือข่ายแรงงานและหน่วยงานราชการต่อการจัดตั้งส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์นี้ เพื่อแสดงท่าทีต่อเวทีรับฟังความคิดเห็นของไตรภาคีเกี่ยวกับร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งส่งเสริมสถาบันความปลอดภัย ก่อนให้ รมว.แรงงาน รับรองเพื่อเสนอต่อที่ประชุม ครม.ขณะที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจะประชุมรับฟังความคิดเห็นในวันที่ 14 กุมภาพันธ์นี้ เครือข่ายแรงงานเห็นว่ากระทรวงแรงงานเร่งนำมติของคณะอนุกรรมการยกร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยที่มีเสียงส่วนใหญ่เป็นฝ่ายข้าราชการและไตรภาคีในสมัยนายเฉลิมชัย ศรีอ่อนเป็น รมว.แรงงาน ซึ่งยังไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ทั้งวัตถุประสงค์การบริหารและการดำเนินการเร่งผ่านการรับรองจากคณะกรรมการความปลอดภัยในช่วงที่ รมว.แรงงานคนปัจจุบันยังไม่ได้เข้ามารับตำแหน่ง ทั้งที่นายเฉลิมชัยได้การให้ชะลอการจัดตั้งเอาไว้เพื่อรอรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาพิจารณาปรับโครงสร้างและจัดรับฟังความคิดเห็นอีกครั้ง

วีดีโอ ข่าวเที่ยง Thai PBS คสรท.แถลงข่าว จุดยืนของผู้ใช้แรงงานต่อนโยบายการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท

วีดีโอ ข่าวเที่ยง Thai PBS คสรท.แถลงข่าว จุดยืนของผู้ใช้แรงงานต่อนโยบายการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ออกอากาศวันที่ 18 มกราคม 2555 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย แถลงการณ์เพื่อย้ำจุดยืนเกี่ยวการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท หลัง ครม.มีมติให้เลื่อนการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เป็นวันที่ 1 เมษายน 2555 เพื่อช่วยบรรเทาทุกข์ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม โดยให้ปรับร้อยละ 39.5 นำร่องใน 7 จังหวัด และปรับให้ครบทุกจังหวัดในวันที่ 1 มกราคม 2556 และไม่มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเวลา 2-3 ปี ซึ่งคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ยื่นข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ  1.ให้รัฐบาลปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำให้เท่ากันทั่วประเทศทันทีโดยคำนึงถึงความเสมอภาคของแรงงานกับภาคราชการที่มีอัตราเงินเดือนเท่ากันทั่วประเทศ 2. คัดค้านมติของคณะกรรมการไตรภาคีในการไม่ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ใน 2-3 ปี หลังการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท และให้มีโครงสร้างค่าจ้างเพื่อความเป็นธรรมและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและมีการปรับขึ้นค่าจ้างทุกปีทุกสถานประกอบการณ์ 3. รัฐบาลต้องมีมาตรการควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภค […]

วีดีโอ รายการเปิดปมThai PBS ตอน แรงงานกว่าหนึ่งแสนคนถูกเลิกจ้าง

ความเป็นอยู่ของแรงงานทั้งไทยและต่างชาติที่นิคมฯหลักๆทั้ง 5 แห่งถูกน้ำท่วม ยังไม่นับรวมโรงงานที่อยู่นอกนิคมฯด้วย วันนี้นิคมต่างๆนั้นเริ่มเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูแล้วโรงงานบางแห่งก็กลับมาทำกิจการแล้วแต่ว่าแรงงานจำนวนมากนั้นต้องหยุดงานไปตั้งแต่เดือนตุลาคม เนื่องจากโรงงานประสบกับปัญหาน้ำท่วม หลายคนบอกว่ายังไม่รู้อนาคตของตัวเองว่าจะยังได้ทำงานในที่เดิมต่อไปหรือไม่ ติดตามจากเปิดปม

วีดีโอ รายการข่าวค่ำThai PBS งานหลังภัยพิบัติ

ในการเสวนา เรื่องแรงงานในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในภัยพิบัติน้ำท่วม นักวิชาการก็ได้เสนอมาตรการทั้งงระยะสั้นและระยะยาวให้รัฐบาลนำไปเป็นมาตรการในการส่งเสริมการจ้างงานหลังภัยพิบัติ รศ.ณรงค์ เพชรประเสริฐ คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอให้มีมาตรการการส่งเสริมการจ้างงานหลังภัยพิบัติน้ำท่วมโดยแบ่งเป็นมาตรการระยะสั้น คือการจัดมหกรรมการจ้างงานเพื่อให้แรงงานที่ว่างงานมาทำการฟื้นฟูสถานที่ราชการ ที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม

วีดีโอ รายการข่าวค่ำThai PBS แรงงานนอกระบบที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

แม้ว่าหลายมาตรการที่รัฐบาลใช้เพื่อเยียวยาภาคอุตสาหกรรมและแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ไม่ว่าจะเป็นเงินทดแทนการประกันการว่างงงานรวมไปถึงสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยฟื้นฟูสถานประกอบการ แต่ว่านักวิชาการด้านแรงงานกับมองว่ายังไม่ครอบคลุมไปถึงกลุ่มแรงงานนอกระบบที่เดือดร้อนจากน้ำท่วมกว่า 40,000 คน

วีดีโอ รายการข่าวเที่ยงThai PBS นักวิชาการเสนอรัฐเร่งสร้างความมั่นใจนักลงทุน ป้องกันการย้ายฐานการผลิต

รายการข่าว Thai PBS ข่าวเที่ยง  นักวิชาการเสนอรัฐเร่งสร้างความมั่นใจนักลงทุน ป้องกันการย้ายฐานการผลิต ออกอากาศวันที่ 16 ธันวาคม 2554 มีตัวเลขจากกระทรวงแรงงานที่ทำให้ทราบได้ว่ามีแรงงานกว่าหนึ่งล้านคนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัย และรัฐบาลพยายามที่จะดำเนินมาตรการอย่างเช่น การจ่ายเงินอุดหนุนรายละ 2,000 บาท เพื่อป้องกันการเลิกจ้าง แต่ก็มีความเห็นออกมาจากนักวิชาการด้านแรงงานที่เสนอรัฐบาลให้เร่งสร้างความมั่นใจในระบบบริหารจัดการน้ำให้กับนักลงทุนและแรงงานเพื่อป้องกันการย้ายฐานการผลิตพร้อมกับเร่งสร้างระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเองในการป้องกันปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ และภัยพิบัติระยะยาว ขณะที่มูลนิธิด้านแรงงานจากต่างประเทศได้เสนอลดชั่วโมงการทำงานเพื่อลดต้นทุนของนายจ้างและลดปัญหาการเลิกจ้างงาน  

วีดีโอ รายการข่าวค่ำThai PBS แรงงานถูกลดเงินเดือน

รายการข่าวค่ำ Thai PBS แรงงานถูกลดเงินเดือน ออกอากาศวันที่ 15 ธันวาคม 2554 สถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วมส่วนใหญ่ก็จะใช้มาตรการการเลิกจ้างหรือว่าการตัดลดสวัสดิการบางส่วนลง เพื่อลดต้นทุนการผลิตที่ยังไม่สามารถที่จะเปิดทำการหรือว่าเดินสายพานการผลิตได้ แต่ก็มีสถานประกอบการบางรายเลือกใช้วิธีการลดเงินเดือนพนักงาน

วีดีโอ รายการข่าว Thai PBS นักวิชาการเสนอตั้งธนาคารลูกจ้างช่วยแรงงานหลังน้ำลด

รายการข่าว Thai PBS นักวิชาการเสนอตั้งธนาคารลูกจ้างช่วยแรงงานหลังน้ำลด ออกอากาศวันที่ 16 ธันวาคม 2554 เวลา 17.30 น. ปัญหาน้ำท่วมที่ทำให้นิคมอุตสาหกรรมถึง 5 แห่ง รวมทั้งโรงงานในพื้นที่ต่างๆ ได้รับผลกระทบก็ทำให้แรงงานนับล้านคนยังต้องว่างานอยูในระยะนี้ ทำให้มีข้อเสนอจากนักวิชาการด้านแรงงานที่เสนอให้รัฐบาลเร่งออกมาตรการระยะสั้นและระยะยาวเพื่อให้แรงงานที่ยังคงว่างงานเข้ามาช่วยในการฟื้นฟูสถานที่ราชการ ซึ่งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมหรือว่าให้จัดตั้งธนาคารลูกจ้างหรือธนาคารคนงานเพื่อส่งเสริมการจ้างงานหลังภัยพิบัติ การเสวนาประเด็น แรงงานการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมหลังภัยพิบัติน้ำท่วมที่คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย องค์การแรงงานระหว่างประเทศหรือว่า ILO และมูลนิธิ FES รศ.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เสนอการส่งเสริมการจ้างงานหลังภัยพิบัติโดยเห็นว่าควรมีมาตรการระยะสั้นให้รัฐบาลนำแรงงานที่ยังว่างงานมาช่วยฟื้นฟูสถานที่ราชการของหน่วยงานต่างๆที่ถูกน้ำท่วม เช่น การทำความสะอาดหรือการซ่อมแซมตัวอาคาร ส่วนมาตรการระยะยยาวนั้นควรมีการจัดตั้งธนาคารคนงานเพื่อส่งเสริมให้แรงงานได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในการนำไปประกอบอาชีพเสริม  

วีดีโอ รายการข่าวค่ำThai PBS ตอน มาตรการช่วยเหลือแรงงาน

รายการข่าว ค่ำ Thai PBS ตอน มาตรการช่วยเหลือแรงงาน ออกอากาศวันที่ 14 ธันวาคม 2554 วิกฤติครั้งสำคัญๆ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติต้มยำกุ้งหรือว่าแฮมเบเกอร์ได้ส่งผลกระทบต่อแรงงานจำนวนมากที่ถูกเลิกจ้างและไม่สามารถที่จะกลับเข้าไปเป็นแรงงานในระบบได้ โดยเฉพาะแรงงานหญิงที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปเนื่องจากว่ารัฐบาลใช้วิธีการมุ่งเน้นและกำหนดมาตรการช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก ทำให้นักวิชาการด้านแรงงานมีข้อเสนอให้ทบทวนแนวทางของเครือข่ายแรงงานที่ต้องการให้มีคณะกรรมการไตรภาคีขึ้นมาเพื่อแกปัญหาผู้ใช้แรงงานถูกเลิกจ้างจากสถานการน้ำท่วมในครั้งนี้

1 7 8 9 253