เว็บไซต์ Voicelabour ลงข้อความขอโทษบริษัท MMI

ตามที่ทางเว็บไซต์ Voicelabour.org ลงข่าว “ลูกจ้างMMI งง! เจอโทรศัพท์ขอเลิกจ้าง” 27 พฤศจิกายน 2554 ซึ่งทางนายพิสิษฐ เดชไชยยาศักดิ์ ทนายความผู้รับมอบอำนาจ จากบริษัท เอ็มเอ็มไอ พรีซิชั่น (ประเทศไทย)จำกัด ส่งเอกสารถึง มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ผู้ดูแลเว็บไซต์ Voicelabour.org สื่อสารแรงงาน และคุณสุชิลา ลืนคำ โดยมีข้อความชี้แจงการทำงานของบริษัทฯต่อกรณีการเลิกจ้าง เพื่อให้เข้าใจถึงการทำงาน กรณีการเลิกจ้างคนงาน (ข้อความตามหนังสือ) ทางเว็บไซต์ได้ตีพิมพ์ข้อความตามที่ท่านได้เขียนชี้แจงมาดังกล่าวแล้ว

วีดีโอ ข่าวค่ำThai PBS แรงงานรับเหมาช่วง

วีดีโอ ข่าว Thai PBS แรงงานรับเหมาช่วง ออกอากาศวันที่ 12 ธันวาคม 2554 ปัญหาที่กระทบกับแรงงานส่วนหนึ่งจากน้ำท่วมก็คือเรื่องของการถูกเลิกจ้าง ซึ่งน้ำที่ท่วมที่นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทำให้กลุ่มคนงานรับเหมาช่วงหรือว่าซับคอนแทรคส่วนใหญ่นั้นถูกเลิกจ้างไปบ้างแล้ว และมีการประเมินจากผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงานจากสถาบัน TDRI ว่าคนงานกลุ่มนี้นั้นอาจจะต้องเสี่ยงกับการตกงาน แม้ว่าโรงงานอุตสาหกรรมจะกลับมาเดินสายพานการผลิตได้เต็มที่เพราะว่าผู้ประกอบการบางรายนั้นอาจใช้วิธีการนำเครื่องจักรที่มีกำลังการผลิตมากกว่าเข้ามาใช้ทดแทนเครื่องที่เสียเพื่อเป็นการลดต้นทุน และรองรับการประกาศขึ้นค่าจ้าง 300 บาท ก็ทำให้คนกลุ่มนี้ได้รับผลกระทบ

วีดีโอ ข่าวค่ำThai PBS ผลกระทบแรงงาน

วีดีโอ ข่าวค่ำThai PBS ผลกระทบแรงงาน ออกอากาศวันที่ 13 ธันวาคม 2554 น้ำที่ท่วมในนิคมอุตสาหกรรมหลายจังหวัดจนไม่สามารถเดินสายพานการผลิตได้ โรงงานส่วนใหญ่จึงตัดสินนยกเลิกการจ้างงานโดยเฉพาะในกลุ่มรับเหมาช่วงหรือที่เรียกว่าซับคอนแทรค แต่ก็มีนายจ้างบางคนฉวยโอกาสเลิกจ้างโดยที่ไม่แจ้งให้พนักงานทราบโดยตรง เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายเงินชดเชย ทำให้แรงงานหลายคนที่ไม่รู้กฎหมายคุ้มครองแรงงานถูกเอาเปรียบ ทางเครือข่ายแรงงานจึงเรียกร้องไปยังรัฐบาลให้เข้ามาตรวจสอบข้อมูลของการถูกเลิกจ้างที่แท้จริงเพื่อให้แรงงานได้รับเงินชดเชยตามกฎหมาย

วีดีโอ ข่าวเที่ยงThai PBS เสวนาวิชาการ แรงงานไทยหลังวิกฤติอุทกภัย สภาพปัญหาและผลกระทบของผู้ใช้แรงงานในระบบแนวทางการแก้ไขและข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล

เสวนาวิชาการ แรงงานไทยหลังวิกฤติอุทกภัย สภาพปัญหาและผลกระทบของผู้ใช้แรงงานในระบบแนวทางการแก้ไขและข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล ข่าวเที่ยง Thai PBS ออกอากาศวันที่ 10 ธันวาคม 2554 การเสวนาวิชาการสถานการณ์แรงงานไทยหลังวิกฤติอุทกภัย สภาพปัญหาและผลกระทบของผู้ใช้แรงงานในระบบ แนวทางการแก้ไขและข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล ที่คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้ร่วมกับเครือข่ายองค์กรแรงงานจัดขึ้น ผู้เข้าร่วมประกอบไปด้วยแรงงานที่ได้รับผลกระทบ ที่ได้นำเสนอปัญหา เช่น ถูกนายจ้างบางรายถือโอกาสใช้กฎหมายคุมครองแรงงานมาตรา 75 เลิกจ้างแรงงานและจ่ายค่าแรงที่ไม่เป็นธรรม รวมถึงไม่ได้รับการติดต่อจากนายจ้างทำให้ไม่ทราบในสถานะของตนเองว่ายังอยู่ในสภาพของพนักงานหรือไม่ เครือข่ายแรงงานจึงมีข้อเสนอให้รัฐบาลเร่งหามาตรการในการป้องกันการถูกเลิกจ้างอย่างแท้จริงโดยเร็วที่สุด

วีดีโอ รายการ เปิดบ้าน Thai PBS

รายการ เปิดบ้าน Thai PBS ออกอากาศวันที่  3 ธ.ค. 54 บทบาทสำคัญอย่างหนึ่งของการทำหน้าที่ของสื่อสาธารณะก็คือการทำให้เกิดการมีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นทั้งหน้าจอและหลังจอ และกับวิกฤติน้ำท่วมใหญ่ครั้งใหญ่ในครั้งนี้นอกจากการายงานข้อมูลข่าวสารสถานการณ์น้ำที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆแล้ว  การทำงานหลังจอของ Thai PBS นั้นยังได้ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการให้ความร่วมมือและประสานกับกลุ่มเครือข่ายต่างๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมตามพื้นที่ต่างๆอีกด้วย

วีดีโอ รายการ สถานีประชาชน Thai PBS ส่งน้ำใจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

รายการ สถานีประชาชน Thai PBS ส่งน้ำใจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ออกอากาศวันที่ 2 ธ.ค. 54 1. หลังจากน้ำลดการฟื้นฟูก็เกิดขึ้นล่าสุด Thai PBS ร่วมกับกองทัพเรือกรมอู่ทหารเรือหน่วยแพทย์ลงไปช่วยกันฟื้นฟูซ่อมแซมโรงเรียนที่ถูกน้ำท่วมอย่างหนักในจังหวัดลพบุรี 2. แรงงานที่ยังอาศัยอยู่รอบๆนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน ไฮเทค โรจนะ นวนคร และนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ร้องเรียนผ่านรายการสถานีประชาชน Thai PBS ว่ามีแรงงานหลายคนขาดแคลนอาหารและน้ำดื่มเป็นจำนวนมากพร้อมกันนี้พวกเขายังเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งฟื้นฟูโรงงาน เพื่อที่จะได้มีงานทำเหมือนเดิม 3. พ่อนักสู้ดูแลลูกสาวที่ป่วยเป็นไวรัสขึ้นสมองกล้ามเนื้ออ่อนแรงคล้ายเจ้าหญิงนิทรา ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย แต่ผ่านมากว่า 2 ปี ผู้เป็นพ่อยังคงคอยดูแลอย่างใกล้ชิด

วีดีโอ ข่าวThai PBS เสวนา ถอดบทเรียนช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยพื้นที่อยุธยา

ข่าว Thai PBS เสวนา ถอดบทเรียนช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยพื้นที่ อยุธยา ออกอากศ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 ณ ศูนย์แรงงานช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อ.บางปะอิน  เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 54 การเสวนา ถอดบทเรียนช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วมในพื้นที่อยุธยา คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เครือข่ายองค์กรแรงงาน ได้จัดขึ้นที่ศูนย์แรงงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม บริเวณแยกบางปะอิน อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา  โดยตัวแทนแรงงานและนักวิชาการได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาในการช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยกันอย่างหลากหลาย เช่น ระบบการแจ้งเตือนที่ขาดประสิทธิภาพ นายจ้างและลูกจ้างขาดศูนย์กลางในการประสานงานกันในช่วงที่น้ำท่วม ไม่มีข้อมูลของแรงงานต่างด้าวและแรงงานที่ไม่มีทะเบียนบ้านอยู่ในพื้นที่ ที่ชัดเจนทำให้การดูแลไม่ทั่วถึง อีกทั้งยังไม่มีการเชิญตัวแทนแรงงานเข้าไปร่วมแก้ไขปัญหาให้เกิดไตรภาคี ทำให้การช่วยเหลือถูกมุ่งเน้นไปที่ภาคอุตสาหกรรมเพียงฝ่ายเดียว ไม่ได้มุ่งเน้นที่ตัวแรงงาน

วีดีโอ ข่าวThai PBS แรงงานนิคมอุตสาหกรรมนวนครถูกเลิกจ้าง

ข่าว Thai PBS แรงงานนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ถูกเลิกจ้าง ออกอากาศวันที่ 25 พฤศจิกายน 2554 เนื่องจากผลกระทบจากน้ำท่วมกับสภาพของพื้นที่แล้ว สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานก็คือปัญหาเรื่องของการจ้างแรงงานในสถานประกอบการที่ประสบภัยอย่างที่บริเวณนิคมอุตสาหกรรมนวนคร น้ำท่วมมานานกว่า 1 เดือน และยังไม่มีทีท่าว่าโรงงานที่อยู่ในนิคมนั้นจะกลับมาเดินเครื่องได้ตามปกติเมื่อไร ส่งผลให้บางโรงงานตอนนี้ไม่สามารถแบกภาระค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานได้ และนำมาสู่การเลิกจ้างที่นี่เปรียบเสมือนเป็นเคราะห์ซ้ำกรรมซัดสำหรับแรงงาน ทั้งที่ถูกเลิกจ้างและที่พักอาศัยอยู่กับน้ำท่วมด้วยและภาระค่าใช้จ่ายก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ทำให้แรงงานหลายคนนั้นตั้งตัวไม่ติดและไม่รู้ว่าจากนี้ไปจะใช้ชีวิตอย่างไรต่อไป

วีดีโอ รายการชีวิตจริงยิ่งกว่าละคร ฝ่าวิกฤติน้ำท่วมThaiPBS ตอน แรงงานกู้ภัย

แรงงานอาสากู้ภัยกลุ่มนี้ เกิดจากการรวมตัวเฉพาะกิจของแรงงานจากโรงงานอุตสาหกรรม จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ใช้เวลาว่างระหว่างที่โรงงานหยุดประกอบกิจการมาช่วยกันทำประโยชน์เพื่อสังคมทั้งที่พวกเขาต่างก็ประสบภัยน้ำท่วม แต่พวกเขาเหล่านี้เลือกที่จะไม่รอยคอยความช่วยเหลือจากภายนอก สถานการณ์ที่เริ่มคลี่คลายทำให้ความช่วยเหลือจากภายนอกเริ่มถอยห่าง แต่พวกเขาต่างก็ยังยืนหยัดช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ยังรอคอยความช่วยเหลือ ขณะเดียวกันพวกเขาก็ยังทำหน้าที่ให้คำปรึกษากับกลุ่มแรงงานที่หยุดงานมานานและยังไม่ได้ติดต่อจากนายจ้างให้กลับเข้าทำงานอีกครั้ง

วีดีโอ รายการเวทีสาธารณะThai PBS ฝ่าวิกฤติน้ำท่วม นิคมโรจนะ

รายการเวทีสาธารณะ Thai PBS ฝ่าวิกฤติน้ำท่วม หน้านิคมโรจนะ ออกอากาศวันที่ 19 พฤศจิกายน 2554 รายการเวทีสาธารณะ Thai PBS ฝ่าวิกฤติน้ำท่วม  สดจาก  อบต.ธนู หน้านิคมโรจนะ จ.พระนครศรีอยุธยา  บริเวณโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งก็ยังอยู่ในสภาพประสบอุทกภัยอยู่ ถึงแม้สถานการณ์จะดีขึ้นเรื่อยๆ ในเรื่องของน้ำที่ลดระดับความสูงลง แต่ว่าหลังจากน้ำลดลงแล้วยังมีการบ้านมีโจทย์ปัญหาอีกมากมายที่รออยู่ในเวลานี้ ที่นี่มีลูกจ้างแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากกำลังรอคอยความชัดเจนกำลังประสบปัญหา บางคนบอกว่าประสบปัญหาอย่างโดเดี่ยว และไม่มีใครให้คำตอบอย่างชัดเจนกับการดำเนินแนวทางชีวิตต่อพวกเขาได้กับสภาพปัญหาที่ประสบปัญหากันถ้วนหน้า ทั้งประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม นักลงทุนและทั้งราชการรัฐบาลด้วย แต่ยังไงก็ตามคำตอบสำหรับเสียงเล็กๆที่ไม่ค่อยจะมีใครได้มีโอกาสฟัง ไม่มีโอกาสได้ส่งเสียง ลูกจ้างแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมใน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดใกล้เคียงหลายๆโรงงานที่นี่มีนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่ง มีโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมด 500-600 โรงงานและมีลูกจ้างประมาณ 300,000 คน มีคนที่ถูกเลิกจ้างแล้วอย่างเป็นทางการประมาณ 3,000-6,000 คน จะเดินไปยังไงต่อหลังจากน้ำลดแล้ว วันนี้จะพูดคุยกับพวกเขาทุกคนรวมทั้งจะมีผู้ช่วยเสนอข้อเสนอทางนโยบายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง  จะต้องคิดไปให้ถึงทั้งนักวิชาการ อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้นำแรงงาน ดำเนินรายการโดย คุณณาตยา แวววีรคุปต์ 1. รายการเวทัสาธารณะ Thai PBS ฝ่าวิกฤติน้ำท่วมนิคมโรจนะ 2. […]

วีดีโอ Thai PBS ฝ่าวิกฤติน้ำท่วม:ผลกระทบแรงงานในนิคมอุตสาหกรรม จ.พระนครศรีอยุธยา

ข่าวรายการ Thai PBS ฝ่าวิกฤติน้ำท่วม ออกอากาศวันที่ 10 พฤศจิกายน 2554 ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งถูกน้ำท่วมเสียหายอย่างมาก กลุ่มผู้ใช้แรงงานได้เรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้ความช่วยเหลือแรงงานที่ประสบอุทกภัย โดยเฉพาะเรื่องของการจ้างงานในขณะที่แรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยาก็มั่นใจหลังสถานการณ์น้ำท่วมนั้นโรงงานส่วนใหญ่จะเรียกลูกจ้างกลับมาทำงาน เพราะว่าพื้นที่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยายังมีความต้องการแรงงานจำนวนมาก

วีดีโอ ที่นี่Thai PBS:เสวนา กู้นิคมอย่างไรให้ปลอดภัย?

รายการ ที่นี่Thai PBS ออกอากาศวันที่ 9 พ.ย. 54 ชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบนิคมอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำท่วมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นำตัวอย่างน้ำและกิ่งไม้ที่เต็มไปด้วยคราบน้ำมันจากรอบพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาแสดงในเวทีเสวนา “กู้นิคมอย่างไรให้ปลอดภัย” โดยชาวบ้านบอกว่ามีความกังวลกันว่าการกู้เขตนิคมอุตสาหกรรมที่รัฐบาลประกาศว่าจะเริ่มสูบน้ำออกในวันที่ 11 พฤศจิกายน  จะเป็นการสูบน้ำที่ปนเปื้อนสารเคมีอันตรายออกมาสู่เขตชุมชน เพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่เคยเปิดเผยข้อมูลสารเคมีต่อสาธารณะและขณะนี้ทางนิคมโรจนะ นิคมบางปะอิน นิคมไฮเทค ได้เริ่มสูบน้ำบ้างแล้วทำให้น้ำที่บนเปื้อนคราบน้ำมันไหลเข้าไปในเขตชุมชน ทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้จัดตั้งคณะทำงานฟื้นฟูเขตนิคมอุตสาหกรรมถึง 7 ชุด และกำหนดแผนงานไว้หมดแล้ว แต่ชาวบ้านยืนยันว่าไม่ได้รับการแจ้งหรือชี้แจงจากหน่วยงานรัฐ และเรียกร้องว่าคณะทำงานชุดนี้ควรให้ชุมชนได้มีโอกาสมีส่วนร่วมเพราะเป็นผู้ถูกกระทบโดยตรง

1 8 9 10 253