คสรท. ลงพื้นที่กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย – อ้อมใหญ่ ให้ความรู้อนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 เพื่อการขับเคลื่อนและรณรงค์

วันที่ 22 กันยายน 2556 ณ โรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ จ.สมุทรสาคร คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้ลงพื้นที่กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย – อ้อมใหญ่ ให้ความรู้อนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ( ILO )

คุณสงวน ขุนทรง ผู้ประสาน กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย – อ้อมใหญ่ กล่าวว่าการ ให้ความรู้สามารถทำได้ทุกที่ เช่น ใต้ต้นไม้ ในการจัดอบรมการให้ความรู้เรื่องอนุสัญญาฉบับ 87 และ 98 เพื่อให้พี่น้องได้รับรู้และเข้าใจ

กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียงจับมือคณะกรรมการสมานฉันท์จัดการความรู้อนุสัญญาILOฉบับที่ 87 และ 98

เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2556 กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิต และใกล้เคียง ได้ร่วมกับคณะกรรมการสมานฉัน์แรงงานไทยจัด เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ “การขับเคลื่อนและรณรงค์ของแรงงานในระดับพื้นที่ต่อการผลักดันให้ รัฐบาลไทยรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98″ ณ โรงแรมแมนฮัตตัน (นวนคร ) โดยการสนับสนุนจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวนผู้เข้าร่วม 66 คน ประกอบด้วย สหภาพแรงงาน 20 แห่ง, กลุ่มออมทรัพย์พัฒนาชุมชน และสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย

กลุ่มแรงงานปราจีนจัดให้ความรู้อนุสัญญาILO ฉบับที่ 87 และ98

ผู้ใช้แรงงานปราจีนบุรี จัดทำความเข้าใจเรื่องอนุสัญญษองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 เพื่อสรุปความสำคัญ เห็นด้วยต้องร่วมดันรัฐบาลให้รับรองโดยเร็ว

นายไพฑรูย์ สีตา ประธานกลุ่มสหภาพแรงงานปราจีนบุรี กล่าวว่าทางกลุ่มฯได้มีการจัดเสวนาเรื่องอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และ 98 ร่วมกับคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2556 เพื่อการระดมและทำความเข้าใจซึ่งมีผู้เข้าร่วมราว 40-50 คน ซึ่งในกลุ่มก็มีความชัดเจนว่าในส่วนของการคุ้มครองสิทธิการรวมตัวเจรจาต่อรองร่วม

กลุ่มแรงงานอยุธยา ถกเตรียมชุมนุมให้รัฐรับรองอนุสัญญาILO 87 และ98

คสรท.รุกจับมือกลุ่มแรงงานอยุธยาเคลื่อนพลดันให้รัฐรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และ ฉบับที่ 98 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรองร่วมนั้นถือเป็นอนุสัญญาที่เป็นหลักการพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญที่สุดหลักการหนึ่งของ ILO ที่เชื่อกันว่าจะเป็นการสร้างหลักประกันสำคัญให้กับคนทำงานและจะนำมาซึ่งสังคมที่เป็นธรรมและสันติสุข ด้วยเหตุนี้ประเทศสมาชิกILO ส่วนใหญ่จึงให้การสนับสนุนโดยการให้สัตยาบัน เคารพและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

แรงงานนอกระบบ” กับ “อนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87-98” : เพราะไม่อยู่ภายใต้นิยามคำว่า “ลูกจ้าง” การรวมตัว-เจรจาต่อรองจึงมีข้อจำกัด

“เศรษฐกิจนอกระบบ” คือ ต้นตอของการเกิดแรงงานนอกระบบที่เป็นผลพวงของเศรษฐกิจในระบบทุนนิยม แรงงานนอกระบบส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบชีพอิสระขนาดเล็กและกลุ่มผู้รับเหมาช่วง (Sub contractor) ในระบบอุตสาหกรรม และกลุ่มผู้ทำงานในระบบพันธสัญญา(Contract Farming) ในอุตสาหกรรมการเกษตร แรงงานกลุ่มนี้มีการใช้แรงงานอย่างเข้มข้น (Labor Intensive) แต่กลับไม่ได้รับการคุ้มครองกฎหมายตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และนโยบายอื่นๆ การรวมตัวของพี่น้องแรงงานนอกระบบ เช่น ในรูปแบบเครือข่ายแรงงาน ศูนย์ประสานงานแรงงาน หรือสภาแรงงานนอกระบบ ถือได้ว่าเป็นความจำเป็นและเป็นหนทางที่ดีที่สุดทางหนึ่งในการคุ้มครองสิทธิทำให้พี่น้องแรงงานนอกระบบมีโอกาสในการเจรจาต่อรองกับนายจ้างหรือภาครัฐ อนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างที่บัญญัติรับรองในเรื่อง เสรีภาพในการรวมตัวกันเป็นองค์การและการเจรจาต่อรอง คือ อนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 เอาไว้

นอกระบบเตรียมเคลื่อน ดันรัฐให้สัตยาบันอนุสัญญาILO 87 และ 98

แรงงานนอกระบบ รุกจัดประชุมปฏิบัติการอนุสัญญาILO 87 และ98 เตรียมความพร้อมดันรัฐให้สัตยาบันทั้ง 2 ฉบับ ฉลอง “วันงานที่มีคุณค่า”

เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2556 ศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบร่วมกับคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)จัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ “การขับเคลื่อนและรณรงค์ของแรงงานในระดับพื้นที่ต่อการผลักดันองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98” ที่ห้องประชุมชั้น 7 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนราชเวที อนุสารีย์ชัยสมรภูมิ กรุงเทพมหานคร

คสรท.รุกหนักเร่งรณรงค์ผลักดันรัฐบาลให้รับรองอนุสัญญา ILO.ฉบับที่ 87 และ 98

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เตรียมรณรงค์เร่งผลักดันรัฐบาลให้รับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 โดยรณรงค์ให้กลุ่มผู้ใช้แรงงานในระดับพื้นที่/กลุ่มย่านอุตสาหกรรม เกิดความรู้ความเข้าใจในอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 และแนวทางการขจัดอุปสรรคทางกฎหมายต่างๆ โดยเฉพาะกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องกับการให้สัตยาบัน อันจะนำไปสู่การมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนผลักดัน เพื่อให้รัฐบาลไทยรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 ในอนาคตต่อไป

คสรท.เตรียมดันรัฐรับอนุสัญญาILO 87 และ 98 วางแผนลงพื้นที่ก่อนชุมนุมใหญ่

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ได้จัดประชุมว่างแผนงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มสหภาพแรงงานต่างๆ เพื่อเตรียมการขับเคลื่อนผลักดันรัฐบาลให้รับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และ89 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรองร่วม

นายชาลี ลอยสูง ประธานฯ กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ร่วมในการก่อตั้ง และเป็นสมาชิกILO แต่วันนี้รัฐบาลยังไม่มีการรับรองอนุสัญญาILOฉบับที่ 87 และ 98 ซึ่งถือเป็นอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิขั้นพื้นฐานในการรวมตัว และเจรจาต่อรองร่วม ซึ่งขบวนการแรงงานได้มีการยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลมาหลายยุคหลายสมัยแล้ว ในวาระและโอกาส เช่น วันกรรมกรสากล วันงานที่มีคุณค่าสากล เกือบทุกปี

ILRF มอบรางวัลสิทธิแรงงานระหว่างประเทศปี56-เครือข่ายแรงงานข้ามชาติ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ

กลุ่มเครือข่ายสิทธิเเรงงานข้ามชาติชาวพม่า (MWRN) เเละสหพันธ์สหภาพเเรงงานรัฐวิสาหกิจฯ ไทยรับรางวัลจากกลุ่มสิทธิเเรงงานสหรัฐฯ 22 พฤษภาคม 2556 ที่วอชิงตัน ดีซี – องค์กร The International Labor Rights Forum (ILRF) จะมอบรางวัลสิทธิแรงงานระหว่างประเทศ พ.ศ. 2556 แก่เครือข่ายสิทธิเเรงงานข้ามชาติ จากการรวมกลุ่มของเเรงงานข้ามชาติพม่า (MWRN) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) สำหรับการทำงานที่มีผลงานก้าวหน้าในการปกป้องแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย

วันกรรมกรสากล 2 ขบวนแรงงาน เรียกร้องนายก ให้สัตยาบันสัญญา ILO ฉบับ87 และ98

2 ขบวนแรงงาน ชูข้อเรียกร้องนายกให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87และ98 หวังเสรีภาพในการจัดตั้งองค์กร และการเจรจาต่อรองร่วม ในวันที่ 1 พ.ค 56 แรงงานนอกระบบร่วมดันให้เปิดรับสมาชิกกฎหมายกองทุนการออมแห่ง และมีส่วนร่วมเป็นกรรมการบริหารประกันสังคม นายก รับมีหลายประเด็นที่ต้องติดตาม และเฝ้าระวังแก้ปัญหาผลกระทบของคุณภาพชีวิตผู้ใช้แรงงาน เช่นความเสี่ยงของการถูกเลิกจ้างในช่วงครึ่งปีแรก การปรับเพิ่มของค่าแรงขั้นต่ำเฉลี่ย 39.5 เปอร์เซ็นต์ พร้อมด้านสุขภาพรัฐบาลได้มีการบูรณาการ 3 กองทุนสุขภาพเข้าด้วยกัน เพื่อให้กองทุนสวัสดิการของราชการ กองทุนประกันสังคม และกองทุนประกันสุขภาพถ้วนหน้า ได้ดูแลคนไทยทุกคนอย่างเสมอภาค หนุนลงทะเบียนแรงงานนอกระบบ เพื่อที่จะร่วมกันช่วยเหลือ เพื่อให้มีหลักประกัน ลดความเหลื่อมล้ำ

เปิดบ้าน Thai PBS:สื่อภาคพลเมือง

รายการ เปิดบ้าน Thai PBS : นักข่าวพลเมือง

ออกอากาศเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2555

พูดคุยกับตัวแทนสื่อภาคพลเมืองจากทุกภูมิภาค ทบทวนการเปิดพื้นที่ให้กับสื่อพลเมืองตลอด 5 ปีของไทย พีบีเอส รวมถึงการใช้สื่อใหม่เพื่อพัฒนาศักยภาพการขับเคลื่อนประเด็นปัญหาให้ออกสู่สาธารณะชนของนักข่าวพลเมืองจากไทใหญ่ และในเมื่อสื่อกระแสหลักไม่สามารถนำเสนอปัญหาของกลุ่มแรงงานได้อย่างครบถ้วน พวกเขาจึงมีช่องทางของพวกเขาเองเพื่อสื่อสารปัญหาให้

ILOร่วมสหภาพแรงงานไทย ผลักดันให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับที่ 87 และ 98 เพื่อยกระดับมาตรฐานแรงงาน

วันที่ 29-30 สิงหาคม 2555 ที่โรงแรมอามารี วอเตอร์เกต ประตูน้ำ กรุงเทพฯ จัดโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) ร่วมกับเครือข่ายองค์กรแรงงานต่างๆ ในนามของคณะทำงานผลักดันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 อันประกอบด้วย สภาองค์การลูกจ้าง , สหพันธ์แรงงาน , กลุ่มสหภาพแรงงาน , คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย , สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ได้มีการจัดประชุมเพื่อผลักดันรัฐบาลให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวจัดตั้งองค์กร และเจรจาต่อรอง เพื่อสิทธิและคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ใช้แรงงาน เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานในประเทศไทยสามารถเข้าถึงสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรองร่วม อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะทำให้คนทำงานทุกภาคส่วนสามารถรักษาสิทธิและผลประโยชน์อันพึงมีพึงได้ และเพื่อส่งเสริมความเป็นธรรมทางสังคมและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ คนทำงานทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้างรัฐ ลูกจ้างเอกชน แรงงานนอกระบบและแรงงานข้ามชาติ รวมทั้งประชาชนทั่วไป จึงสนับสนุนให้รัฐบาลไทยรับรองอนุสัญญาอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 โดยเร็ว เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ใช้แรงงานทุกคนในประเทศไทย

1 5 6 7 253