สวัสดีปีใหม่ “ยาม” อาชีพที่ถูกลืม

“สวัสดีปีใหม่พี่ยาม” ช่วงปีใหม่เป็นช่วงที่คนงานหลายคนได้มีโอกาสหยุดงานและกลับไปเยี่ยมเยียนครอบครัวที่ต่างจังหวัดแม้เป็นช่วงเวลาสั้นๆ แต่ก็ถือว่าเป็นช่วงที่คนงานหลายคนรอคอย แต่ก็มีคนงานอีกอาชีพหนึ่งที่ไม่สามารถกลับไปบ้านที่ต่างจังหวัดได้นั่นก็คืออาชีพงานในภาคบริการโดยเฉพาะ อาชีพรักษาความปลอดภัย (รปภ.) หรือที่เราเรียกกันจนชินปากว่า “ยาม”เนื่องเพราะภาระหน้าที่การงานที่จะต้องรักษาความปลอดภัยตามสถานที่ต่างๆ ตามที่ได้รับผิดชอบโดยมีอาวุธคู่กายเพียงกระบองไม้หนึ่งอัน หรือบางบริษัทอาจมีมีดพกให้หนึ่งเล่ม ในขณะที่พิทักษ์รักษาทรัพย์ให้กับผู้อื่นหารู้ไม่ว่าทรัพย์ของตนถูกขโมยไปโดยไม่รู้ตัว

เชิญร่วมปฏิรูปประกันสังคม สู่สังคมสวัสดิการ ไร้การกีดกัน

เครือข่ายพัฒนาพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน และคณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับขบวนการแรงงานจัดงานสมัชชาแรงงานปฏิรูปประกันสังคม กับคุณภาพชีวิตแรงงาน ในวันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม 2554 โรงแรมรามาการ์เด้นส์

สมัชชาแรงงาน 2554 ปฏิรูปประกันสังคมกับคุณภาพชีวิตแรงงาน

*สมัชชาแรงงาน 2554 ปฏิรูปประกันสังคมกับคุณภาพชีวิตแรงงาน *ประกันสังคมถ้วนหน้า อิสระและโปร่งใส *สู่สังคมสวัสดิการ ไร้การกีดกัน ลดช่องว่าง สร้างความเป็นธรรม

ผู้ประกันตนหวังปฏิรูปเพื่อบริการ แพทย์ชงลดผู้ป่วยอนาถา

ผู้ประกันตนหวังปฏิรูปประกันสังคม เพื่อการบริการที่ดีขึ้น เพราะปัจจุบันไม่กล้าใช้ประกันสังคมเมื่อป่วย เพราะรอนาน ยาไม่มีประสิทธิ จ่ายเงินสดแพทย์ดูแลดีกว่า รวดเร็วทันใจ ส่วนโรงพยาบาลมองว่า หากประชาชนอยู่ในระบบประกันสังคมจะทำให้ผู้ป่วยอนาถาหมดไป ลดภาระโรงพยาบาลเรื่องค่าใช้จ่าย และความเสี่่ยงคนป่วยไม่มีเงินจ่าย

นายทุนต้องมาก่อน แรงงานฝันค้าง

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน และ 9 ธันวาคมที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญได้ออกนั่งบัลลังก์ แถลงปิดคดีด้วยวาจาในการวินิจฉัยยุบพรรคประชาธิปัตย์ จากกรณีการใช้เงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองจำนวน 29 ล้านบาท และกรณีเงินบริจาค 258 ล้านบาท ผิดวัตถุประสงค์ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้ยกคำร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์ ทำให้รอดพ้นจากการยุบพรรค แต่ในมุมของแรงงานก็ยังรอลุ้น ความเป็นจริงใจจากรัฐฐาลระหว่างนายทุนกับแรงงานว่าพรรคการเมืองที่มีนาโยบายประชาชนต้องมาก่อน จะใจแข็งปรับค่าจ้างตามที่ประกาศวันละ 250 บาทถึงจะใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นธรรม เมื่อนายทุนออกมาโวยวายว่าอยู่ไม่ได้ นายกหันหลังกลับปรับ 10-11 บาทก็ได้ ความหมายคือทุนมาก่อนใช่หรือไม่ ปล่อยให้แรงงานต้องฝันค้างหวานอมขมกลืน

พระราชบัญญัติ ประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓

พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๑๖๑ ลงวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๓ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๓๓ ได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๖๓ ก ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๓๗ และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๓๘ เป็นต้นไป และพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๒ ก ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๒ และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๒ เป็นต้นไป

กลุ่มสระบุรี “ชง” รองผู้ว่า–ฟันบริษัทละเมิดสิทธิแรงงาน!!

ลูกจ้างเสนอ เอาจริงกับบริษัทนายทุนที่ละเมิดสิทธิแรงงานและไม่ปฎิบัติตามกฎหมาย – รองผู้ว่า รับลูก “สั่งเชือด” ทันทีหากผิดจริง! มอบ สนง. สวัสดิการฯ – อุตสาหกรรม – สรรพากร เข้าตรวจสอบ!! เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2553 คณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดสระบุรีได้เรียกประชุมคณะอนุกรรมการฯครั้งที่ 4/2553 ณ ห้องประชุมทานตะวัน ศาลากลางจังหวัดสระบุรี โดยมีนายอุกฤช พึ่งโสภา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธานในที่ประชุม โดยที่ประชุมรับทราบมติการปรับค่าจ้างขึ้นต่ำของจังหวัดสระบุรีวันละ 9บาท จากค่าจ้างวันละ 184 บาทเพิ่มเป็นวันละ 193 บาท และร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลข้อเท็จจริง สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคมและแรงงาน ระดับประเทศและระดับจังหวัด
นายส่งศักดิ์ รูปแก้ว แรงงานจังหวัดสระบุรี กล่าวว่า ได้ส่งมติของที่ประชุมเมื่อวันที่ 7 กันยายน ให้คณะกรรมการค่าจ้างกลางพิจารณา 2 ความเห็นตามที่ที่ประชุมทั้งฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างเสนอ เนื่องจากยังหาข้อยุติไม่ได้ว่าจะปรับขึ้นกี่บาท แต่ทั้งนี้ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าให้มีการปรับค่าจ้างเพิ่มขึ้น ส่วนผลการพิจารณาจะเป็นแนวทางใดนั้นให้เป็นดุลพินิจของส่วนกลาง โดยในส่วนของผู้แทนฝ่ายลูกจ้างเสนอปรับเพิ่มขึ้นอีกวันละ 66 บาท และผู้แทนฝ่ายนายจ้างเสนอปรับเพิ่มขึ้นอีกวันละ 5 บาท

แรงงานเสนอประกันสังคมปลอดการเมือง

กลุ่มผู้หญิง – แรงงานสระบุรีเสนอปฏิรูปประกันสังคมแบบมีส่วนร่วม เน้นสร้างโรงพยาบาลประกันสังคม

นายบุญสม ทาวิจิตร อายุ 38 ปี ประธานกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง กล่าวว่า ประกันสังคมมีการประกาศบังคับใช้มา 20 ปีแล้ว มีผู้ประกันตนจำนวนมากกว่า 8- 9 ล้านคนที่เป็นแรงงานในระบบเท่านั้นที่ได้รับการคุ้มครอง การหักเงินสมทบเข้าสู่กองทุนประกันสังคมมีมูลค่ามหาศาล หลายแสนล้าน ปัญหาที่พบและปรากฏชัดเจนคือความโปร่งใสในการบริหารจัดการ การนำเงินไปลงทุนนั้น คณะกรรมการประกันสังคม (บร์อด)บริหารควรมีความชำนาญรอบรู้ในการลงทุนหรือเชียวชาญด้านการลงทุนเป็นอย่างมากเพราะผลกำไรที่ได้รับต้องนำไปคืนเข้ากองทุน เพื่อนำมาจ่ายเป็นสวัสดิการใหผู้ประกันตน
ทางด้านนางสาวธนพร วิจันทร์ อายุ 39 ปี ประธานกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี กล่าวว่าปัญหาของประกันสังคม ณ ปัจจุบันโครงสร้างบร์อดบริหารงานยังไม่มีผู้หญิงเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหาร ทั้งๆที่มีประเด็นสอทธิที่เกี่ยวข้องกับของผู้หญิงเช่นเรื่อง คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร โดยเฉพาะกรณีสงเคราะห์บุตรจ่ายสิทธิประโยชน์เพียงเดือนละ 350 บาท นั้นไม่สอดคล้องกับสภาวะในปัจจุบัน ที่เด็กมีค่าใช้จ่ายจำนวนมากเพิ่มขึ้น

แรงงานแถลงปฏิรูปประกันสังคมต้องโปร่งใสมีส่วนร่วม

นายชาลี ลอยสูง รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้จัดแถลงข่าว เรื่องการขับเคลื่อนการปฏิรูปประกันสังคม ที่ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิตในเวที “เปลี่ยนประเทศไทยด้วยพลังพลเมือง” กับทีวีไทย และการสื่อสารภาคพลเมือง ระดมสมองแสวงหาแนวทางเปลี่ยนประเทศไทยด้วยพลังพลเมือง “กองทุนประกันสังคมเป็นกองทุนใหญ่มากมีเงินในกองทุนกว่า 7 แสนล้านบาท ต้องดูแลผู้ประกันตนประมาณ 10 ล้านคน จึงต้องมีระบบการบริหารจัดการที่คล่องตัวและโปร่งใสตรวจสอบได้ ปราศจากการแทรกแซงจากภาครัฐ อีกทั้งกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมที่บังคับใช้ในปัจจุบันยังไม่สอดคล้องกับการบริหารจัดการงานประกันสังคม จึงต้องมีการแก้ไขกฎหมาย ซึ่งขณะนี้ขบวนการแรงงานได้มีการร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับบูรณาการแรงงาน แก้ไขทั้งในเรื่องนิยามคำว่า ลูกจ้าง นายจ้าง ค่าจ้าง ทุพพลภาพ ให้มีขอบเขตการคุ้มครองที่ครอบคลุมกับลูกจ้างทุกประเภท รวมถึงการขยายสิทธิประโยชน์ต่างๆให้สอดคล้องและเป็นธรรมมากขึ้น การปรับปรุงโครงสร้าง และระบบการบริหารงานรวมถึงกำหนดบทบาทของคณะกรรมการประกันสังคมเพื่อสร้างหลักประกันในการตรวจสอบการบริหารกองทุนให้เกิดความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น”

สรุปสาระสำคัญร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับบูรณาการแรงงาน)

สรุปสาระสำคัญร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับบูรณาการแรงงาน) เช่น 1. ขอบเขตการคุ้มครอง การขยายการคุ้มคครอง 2. ปรับปรุงคำนิยาม นายจ้าง ลูกจ้าง ค่าจ้าง และทุพพลภาพ 3. ปรับปรุงองค์ประกอบ คุณสมบัติ อำนาจหน้าที่ ที่มาและวาระของคณะกรรมการประกันสังคม ประกอบด้วยประธานและกรรมการอีก เช่นประธานกรรมการ มาจากการสรรหาบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับงานประกันสังคม โดยการสรรหาของกรรมการโดยตำแหน่ง,ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง,ฝ่ายผู้ประกันตนและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการโดยตำแหน่ง ประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงแรงงาน,สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้แทนสำนักนายกรัฐมนตรีและเลขาธิการสปส. 4. สำนักงานประกันสังคมและเลขาธิการ สปส. 5. โครงสร้างการบริหารกองทุนประกันสังคม 6. อัตราเงินสมทบ และประโยชน์ทดแทน การเพิ่มบทลงโทษ กรณีนายจ้างไม่นำส่งเงินสมทบหรือนำส่งเงินสมทบไม่ครบ เป็นเงินเพิ่มร้อยละ 4 (เดิมร้อยละ 2)หากนายจ้างเคยถูกลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ยังทำผิดซ้ำความผิดเดียวกันอีก ให้ศาลพิจารณาเพิ่มโทษแก่นายจ้างนั้นอีก 1 ใน 3 ของอัตราโทษจำคุก หรือเพิ่มอีกกึ่งหนึ่งของอัตราโทษปรับสำหรับความรับผิดนั้น

ดร.เสกสรรค์ ปฏิรูปอำนาจรัฐเพิ่มอำนาจภาคพลเมือง

เมื่อวันที่18ธันวาคม 2553ได้มีการปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “การปฏิรูปโครงสร้างอำนาจในประเทศไทย ความจำเป็นแห่งยุคสมัย” โดย ดร. เสกสรร ประเสริฐกุล คณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย ณ ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์ รังสิต จ.ปทุมธานี ซึ่งมีผู้เข้าร่วมรับฟังจากเครือข่ายเปลี่ยนประเทศด้วยพลังพลเมือง ประกอบด้วยนักข่าวพลเมืองจากภูมิภาคต่างๆ นักสื่อสารแรงงาน เครือข่ายเชิงประเด็นจากกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้อำนาจรัฐ รวมแล้วประมาณ 400 คน

คนงานค้าน นายจ้างปรับวันหยุดประเพณี

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2553 เวลาประมาณ 12.30 น.พนักงานบริษัทแห่งหนึ่งในตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร หลายร้อยคนได้รวมตัวกันภายในโรงงานหลังจากที่ทางบริษัทฯได้ติดประกาศวันหยุดประจำปี 2554 เนื่องจากมีการนำวันเสาร์ที่ 1มกราคม 2554 ซึ่งเป็นวันหยุดตามข้อตกลง เสาร์เว้นเสาร์มานับรวมไปในวันหยุดประเพณีด้วยและวันที่ 3 มกราคม 2554 ควรจะเป็นวันหยุดแต่บริษัทกลับไม่ให้เป็นวันหยุด

1 240 241 242 253