“16 ศพแรงงานพม่า กับการถามหาความปลอดภัย”

เมื่อไม่กี่วันมานี้มีความเคลื่อนไหวในเรื่องความตายของแรงงานข้ามชาติชาวพม่าในเขตอุตสาหกรรมมหาชัย 16 คนที่เสียชีวิตจากการถูกรถบรรทุกเสยชน กับรถขนส่งแรงงานขณะรับส่งคนงานเพื่อมาทำงาน มีคำถามเกิดขึ้นมากมายถึงความรับผิดชอบ และระบบป้องกันการเกิดอุบัติภัยความไม่ปลอดภัยของแรงงาน กับการเดินทางทั้งระบบในพื้นที่อุตสาหกรรม ความจริงที่ต้องพูดถึงโศกนาฎกรรมชีวิตความตายในครั้งนี้ มิใช่เพียงครั้งแรกที่เกิดขึ้น ถ้าย้อนหลังกลับไปเกือบยี่สิบปีมีตัวอย่างความตายจากการเดินทางไป-กลับของแรงงานทั้งคนไทยและข้ามชาติหลายกรณี เช่น รถสองแถวขนส่งคนงานชนกับรถบรรทุกที่สงขลาทำให้คนงานเสียชีวิต และบาดเจ็บหลายสิบคน กรณีรถสองแถวใหญ่ส่งคนงานย่านอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่กลับบ้านหลังฉลองปีใหม่มีคนงานเสียชีวิตสามคนและบาดเจ็บอีกนับสิบคน อาจกล่าวได้ว่ากรณีความไม่ปลอดภัยจากการเดินทางของคนงานในย่านอุตสาหกรรมนั้นเกิดขึ้นมากมาย เพียงแต่ไม่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นข่าว และให้ความสำคัญป้องกันแก้ไขปัญหาในระดับนโยบาย และพื้นที่อย่างจริงจัง การเกิดเหตุการณ์แต่ละครั้งกลับกลายเป็นเรื่องการดำเนินคดีความระหว่างบริษัทประกันภัยรถ กับตัวแรงงาน หรือครอบครัว

เสียงครวญจาก “ลุ่มน้ำโขง” บอกเล่าปัญหาการย้ายถิ่นของแรงงานข้ามชาติ

เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2554 เวลา 09.00-13.00 น. โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติและผู้มีปัญหาสถานะบุคคล (คพรส.) ร่วมกับหน่วยงานพัฒนาและบริการสังคม สภาคริสตจักรในประเทศไทย (SDSU-CCT) เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนด้านประชากรข้ามชาติ (Migrant Working Group-MWG) เครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ (Action Network for Migrants-ANM) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีเสวนาเรื่อง เสียงครวญจาก “ลุ่มน้ำโขง” บอกเล่าปัญหาการย้ายถิ่นของแรงงานข้ามชาติที่เป็นผลมาจากนโยบายการพัฒนาประเทศ และการแสดงนิทรรศการภาพถ่ายแรงงานข้ามชาติในลุ่มน้ำโขง ณ สำนักกลางนักเรียนคริสเตียน สะพานหัวช้าง ราชเทวี กรุงเทพฯ

พยาบาลแนะประกันสังคมดีกว่าบัตรทอง ตรงเจ็บหนัก คนงานเสนอบัตรเดียวเข้าได้ทุกที

ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีนโยบายการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ที่มุ่งเน้นให้คนไทยสามารถเข้าถึงสิทธิได้อย่างเท่าเทียม ประกอบกับขณะนี้ได้มีการร่างพระราชบัญญัติประกันสังคมที่อยู่ในขั้นตอนยกร่างของกรรมาธิการฯนั้น เป็นที่โต้เถียงในหมู่คนงานและประชาชนเป็นจำนวนมากในหลายๆแง่มุม ว่าอย่างไหนดีกว่ากัน ทั้งเรื่องคุณภาพการรักษา การเลือกใช้สถานพยาบาลและการใช้สิทธิบัตรทองดีกว่าจริงหรือไม่

ผู้หญิงกับยุคโลกาภิวัฒน์

ในอดีตผู้หญิงเป็นเพศที่มีบทบาทน้อยที่สุดหรือไม่มีเลยก็ย่อมได้ เพราะในอดีตแนวความคิดที่ปลูกฝังมาช้านานนั้น ทำให้ผู้หญิงจะต้องอยู่กับบ้านเป็นแม่บ้านแม่เรือน ต้องเป็นช้างเท้าหลัง เป็นผู้ตามไม่แสดงความคิดเห็นใดๆในทุกเรื่อง ผู้หญิงในอดีตถูกมองว่าเป็นเพียงเพศที่อ่อนแอและต้องอ่อนหวานสวยงามเท่านั้น

แต่ปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่าผู้หญิงได้ออกมามีบทบาทมากขึ้นในสังคม การเมือง แรงงาน ผู้บริหารหรือสาขาอาชีพอื่นๆ รวมถึงกระบวนการเคลื่อนไหวต่างๆล้วนแต่มีบทบาท และได้รับการยอมรับมากขึ้น ในฐานะผู้นำเช่นในกระบวนการแรงงานในปัจจุบัน คุณ วิไลวรรณ แช่เตีย ได้รับการไว้วางใจให้เป็นประธานสมานฉันท์แรงงานไทยถึง 2สมัย และนี่คือ ภาพสะท้อนให้เห็นว่าผู้หญิงเป็นเพศที่มีความสามารถในการปรับตัวให้ทันกับเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลง เพื่อสอดคล้องการการดำเนินชีวิตตามกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงตามพลวัฒน์ ด้วยเหตุนี้จะเห็นได้ว่า แนวความคิดของคนในสังคมเริ่มมองผู้หญิงในยุคนี้อีกมุมคือความสามารถ ความรู้ การศึกษา ความเท่าเทียมเสมอภาค จนทำไห้มีผู้หญิงเก่งๆมีทั่วทุกมุมโลก ทุกสาขาอาชีพ

10 ทศวรรษ สตรีสากล เปิดสถานการณ์แรงงานหญิง ข้อเสนอต่อรัฐบาล

จากตัวเลขของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี 2551 รายงานว่า “ประเทศไทยมีแรงงานสตรีอยู่ในระบบจำนวน 6.33 ล้านคน และมีแรงงานสตรีอยู่นอกระบบอีก 11.09 ล้านคน โดยในจำนวนนี้เป็นแรงงานสตรีที่อยู่ในความคุ้มครองดูแลของกระทรวงแรงงานประมาณ 3.8 แสนคนเท่านั้น อีกทั้งปัจจุบันสตรีกับสถานภาพการทำงานยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ แม้ว่าจะได้รับการศึกษาสูงและบางคนประสบความสำเร็จในการทำงาน แต่สตรีที่เป็นแรงงานอีกจำนวนมากก็ยังคงต้องทำงานหนัก ค่าตอบแทนและประเภทของงานไม่ได้รับการยอมรับให้มีสถานะเท่าเทียมชาย ลักษณะงานของแรงงานสตรี ยังเป็นแบบเก่าที่สืบเนื่องทักษะมาจากงานภาคเกษตร เป็นงานละเอียดอ่อนใช้ทักษะมือ ทำงานซ้ำ ๆ ในลักษณะเดิมแบบสายพานการผลิต ไม่ต้องมีการวางแผนหรือใช้ระบบคิด” ในขณะที่รัฐบาลบอกว่าเศรษฐกิจ และการจ้างงานกำลังขยายตัวในเชิงภาพรวม แต่แรงงานสตรี ซึ่งเป็นกำลังการผลิตทั้งใน และนอกระบบที่มีมากถึง 17.42 ล้านคน กำลังเผชิญปัญหาสำคัญในหลายประการ กล่าวคือ

กรรมาธิการพิจารณาร่าง ประกันสังคม ข้อสงสัยวันนี้ แรงงานต้องการคำตอบ

นับแต่เวทีสมัชชาแรงงานกับการปฏิรูปประกันสังคม เมื่อวันที่13 มกราคม 2554 ซึ่งนายกอภิสิทธิ เวชชาชีวะ ได้มาเป็นประธานเปิดงาน และรับข้อเสนอของผู้ใช้แรงงานเรื่องประกันสังคมห้าข้อ คือ หนึ่ง กฎหมายประกันสังคมจะต้องเป็นองค์กรอิสระ สอง ความโปร่งใสมีกระบวนการตรวจสอบ สาม บัตรเดียวรักษาได้ทุกโรงพยาบาลคู่สัญญา การขยายการคุ้มครองและเพิ่มสิทธิประโยชน์ สี่ หนึ่งคนหนึ่งเสียงในการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม ห้า ประกันสังคมถ้วนหน้าเพื่อคนทำงานทุกคน นี่คือประเด็นที่ท่านนายกได้รับข้อเสนอ และส่งต่อไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน โดยผ่านร่างพรบ.ประกันสังคม ฉบับรัฐบาล และของพรรคประชาธิปัตย์ที่นำโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนคร มาฉิม และ สส.20 รายชื่อ ในขณะเดียวกันเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันเสนอร่างกฎหมายประกันสังคม ฉบับบูรณาการแรงงาน ผ่านช่องของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสถาพร มณีรัต ชลน่าน ศรีแก้ว สุชาติ ลายน้ำเงิน และสส.20 รายชื่อพรรคเพื่อไทย อีกทั้งการยื่นร่างกฎหมายฉบับนี้ฯยังมีเนื้อหาเสนอผ่าน ดร.สุเมธ ฤทธาคนี ประธาน คณะกรรมาธิการ การแรงงานสภาผู้แทนราษฎร โดยร่างกฎหมายฯทั้ง4 ร่าง ปัจจุบันได้ผ่านเข้าสู่การพิจารณารับหลักการวาระที่1 และมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พรบ..ประกันสังคม พ.ศ. …เมื่อมกราคม 2554 ที่ผ่านมา

ตรึกคิดจัดงาน 100 ปีสตรีสากล จากวันนั้น ถึงวันนี้

3-8-11 วันสตรีสากลที่ 100 ก็ผ่านไปด้วยการเดินขบวนตามประเพณี ส่วนระบบ 3/8 ก็ต้องต่อสู้กันต่อไป เพียงแต่ไม่จำกัดที่แรงงานในโรงงาน คำถามคือมนุษย์เราโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิง ทำงานเพื่ออะไร? ในยุคไฮเทค คนมีโอกาสหลายคนกลายเป็น workaholic จนลืมดูแลสุขภาวะทั้งทางกาย จิตใจ จิตวิญญาณของตัวเองหรือไม่มีเวลากับครอบครัว ดูแลความสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ และธรรมชาติในภาวะเช่นนี้ คนมีโอกาส ก็ถูกคุกคามไม่น้อยไปกว่าคนด้อยโอกาสต่างกันเพียงที่ คนด้อยโอกาส ทำเท่าไร ก็ไม่พอกิน หากยังติดในวัตถุ /บริโภคนิยมในด้านหนึ่ง ความไม่รู้จักพอเป็นเชื้อของความรุนแรงและการเบียดเบียนจากในสู่นอก อีกด้านหนึ่ง คือความไม่เป็นธรรมในสังคมคนรวย แม้มีเงินซื้อที่ดินมากมายเป็นกรรมสิทธิ์ แต่ก็ได้ถอนรากตัวเองไม่สามารถเป็นชาวนา “ติดดิน” ส่วนชาวไร่ชาวนาที่ “ติดดิน”ก็มักจะด้อยโอกาสเมื่อเทียบกับชาวเมือง…ในที่สุดก็กำลังถูกถอนรากเช่นกัน เมืองที่เจริญรุ่งเรือง กำลังจู่โจมคุกคามชนบท “ที่ล้าหลัง” มากยิ่งขึ้น ในภาวะวิกฤตโลกร้อน มาตรการแก้ไข เช่นคาร์บอนเครดิต กลับถูกบิดเบือน “แปลงทรัพย์สินให้เป็นทุน”

ประกาศเจตนารมณ์ ผู้หญิงทำงาน สู้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน

ประกาศเจตนารมณ์ “ผู้หญิงทำงาน สู้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนของทุกคน” ในวาระการฉลอง ๑๐๐ ปี วันสตรีสากล ๘ มีนาคม (พ.ศ.๒๔๕๔-๒๕๕๔) แถลงต่อ ฯพณฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี โดย ๓๓ เครือข่ายองค์กรแรงงาน องค์กรทำงานประเด็นผู้หญิง และองค์กรสิทธิมนุษยชน๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๘ มีนาคม ๒๕๔๔ เมื่อ ๑๐๐ ปีที่แล้ว คนงานหญิงในภาคอุตสาหกรรมหลายประเทศพร้อมใจกันเดินขบวนแสดงพลัง เรียกร้องค่าจ้างที่เป็นธรรม ลดชั่วโมงการทำงาน และ เพิ่มสวัสดิการ คือเรียกร้องการทำงานระบบสามแปด“ทำงาน ๘ ชั่วโมง พักผ่อน ๘ ชั่วโมง และแสวงหาความรู้ ๘ ชั่วโมง” เรียกร้องให้ค่าจ้างหญิงชายต้องเท่ากันในงานประเภทเดียวกัน ต้องคุ้มครองสวัสดิภาพผู้หญิงและเด็ก และเรียกร้องสิทธิทางการเมืองของผู้หญิง การแสดงพลังต่อเนื่องจนสหประชาชาติประกาศให้วันที่ 8 มีนา เป็นวันสตรีสากล “ ๘ มีนา” จึงเป็นสัญลักษณ์ของการเคลื่อนไหวเพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนของผู้หญิง และความเสมอภาคหญิงชาย

ส่งเสริมป้องกันหรือ จะให้คนงาน เจ็บป่วย พิการ ตาย ก่อน

นับจากที่ พรบ.เงินทดแทนประกาศใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 การทำงานของกระทรวงแรงงานก็ทำงานตั้งรับมาโดยตลอด ถึงวันนี้เข้าสู่ 17 ปีแล้วที่กฎหมาย พรบ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 พึ่งจะมีการแก้ไขเข้าสู่สภาด้วยมติคะแนนเสียง 334 เสียง เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2553 และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา พรบ.เงินทดแทนดังกล่าว โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้ที่มี นายสุกิจ อัถโถปกรณ์ เป็นประธานและมีกรรมาธิการฝ่ายผู้ใช้แรงงานได้รับแต่งตั้งจากสภาผู้แทนราษฎรเข้าไปเป็นกรรมาธิการ ร่วมนั่งแปรญัติเพื่อปรับปรุงกฎหมาย คือ รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ คุณสมบุญ สีคำดอกแค ซึ่งเป็นตัวแทนผู้ถูกผลกระทบโดยตรงและคุณมนัส โกศล สถิติข้อมูลจากผลการทำวิจัยระยะสั้นของสภาเครือข่ายฯร่วมกับมูลนิธิอารมณ์พงษ์พงัน โดยได้รับงบสนับสนุนจาก สำนักงานวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.)ระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง เดือนตุลาคม 2552 ตัวอย่างข้อมูลตัวเลขสถิติสะสมของการสูญเสีย
สุขภาพความปลอดภัยของแรงงานไทย ตั้งแต่ ปี 2531 – 2552 (21 ปี) จะยิ่งตกใจมาก

ศักดินาตกยุค กับทาสที่ยังปลดปล่อยไม่ไป!

แม้ว่าประเทศไทยจะได้มีการยกเลิกระบบไพร่ทาสมากว่าศตวรรษ ให้สิทธิเสรีภาพกับประชาชนมากขึ้นแต่ความสัมพันธ์เชิงอำนาจยังคงเป็นแบบ จำลองของระบบ ไพร่ทาส ทำให้คนส่วนใหญ่ยังไม่อาจก้าวข้ามความเป็นผู้ถูกปกครอง กลายเป็นสังคมที่ชอบพึ่งพา
อาชีพหมอ ตำรวจ ทหาร ข้าราชการรวมถึงนักการเมืองเป็นอาชีพที่มักจะขึ้นมาเป็นชนชั้นนำของสังคมใน ขณะที่อาชีพ พยาบาล แม่บ้าน คนทำความสะอาดรวมถึงกรรมกรในโรงงานกลับกลายเป็นชนชั้นล่างที่ต้องเป็นฝ่าย ตาม กลายเป็นสิ่งมีชีวิตตัวลีบเล็กที่ต้องทำตัวนอบน้อมยกมือไหว้ขอความช่วยเหลือ อยู่ร่ำไปถูกกดทับด้วยค่านิยมความเป็นชนชั้น ไม่ต่างอะไรกับระบบศักดินาแบบเดิม

15 ปี คดีทอผ้า สังคมไทยได้อะไร ? กับค่าทดแทนที่เป็นธรรม

ไม้ซีกน้อยด้อยแรงงัดแต่ถ้ามัดกันแล้วมุ่ง รวมใจงัดไม้ซุงมีหรือมิเคลื่อนไป
พลังอันน้อยนิดจะพิชิตอำนาจใหญ่ รวมกันเข้าผลักใสใหญ่แค่ไหนไม่อาจทาน
มาเถิดไม้ซีกน้อยถึงจะด้อยแต่อาจหาญ สองมือคือแรงงานใครจะทานพลังเรา” (ได้มาจากอีเมลสหภาพคนงาน GM 21 มค54)
กลอนบทนี้ ที่ได้จากเมลของสหภาพแรงงาน GM ทำให้เป็นแรงจูงใจที่จะเขียนบทความนี้ ขึ้นมาเพราะมันตรงใจของกลุ่มผู้ป่วยอย่างพวกเราพอดีเลย ช่วงที่เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายจ้างกันนั้น พวกเราจะถูกทักท้วงด้วยคำพูดนี้เสมอว่า จะเอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุงหรือไง ? แล้วก็มีคนหวังดีเข้ามาทักท้วงตักเตือนกันมากมาย แต่เราก็ไม่ได้หวั่นวิตกกับคำนี้เท่าไหร่เพราะเราคิดว่า สู้ก็ป่วย ไม่สู้ก็ป่วย ดังนั้นพวกเราสู้จะดีกว่า เพราะถ้าเราป่วยแล้วไม่มีเงินรักษาตัวนี่ซิจะทำอย่างไร ? แล้วนายจ้างก็ปฎิเสธการป่วยของพวกเราก่อน ผู้ป่วยเกือบ 200 คนต้องถูกนายจ้างฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยของกองทุนเงินทดแทน ที่ว่าพวกเราป่วยเป็นโรคบิสซิโนซิสจากการทำงาน ทั้งๆที่เราทุกคนได้รับการวินิจฉัย กับ พญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล คลินิกแพทย์อาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อม รพ.ราชวิถี ว่าพวกเราป่วยเป็นโรคบิสซิโนซิส ปอดอักเสบจากฝุ่นฝ้ายเนื่องจากการทำงาน ต้องกินยามื้อหนึ่งเกือบ 10 เม็ด 3 มื้อก็ตก 30 เม็ดต่อวันพวกเราทรมานด้วยอาการป่วย มีเจ็บคอ คอแห้ง มีเสมหะพันคอ มีไข้ ไอมากไม่หยุด จนเจ็บซี่โครง เสียวลึกๆในปอด หายใจไม่สะดวก จะนั่ง ยืน เดิน หรือ นอนก็เหนื่อยหายใจไม่เต็มอิ่ม

คนงานพีซีบีฯเดินเท้า สมทบคนงานแม็กซิสแล้ว

จากสภาพปัญหาแรงงานที่ต่างคนต่างโรงงานต่างที่ และต่างเวลา นัดรวมพลร่วมกันขับเคลื่อน มุ่งสู่ใจกลางศูนย์อำนาจรัฐกรุงเทพมหานคร เนื่องอำนาจรัฐพื้นที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ผู้ใช้แรงงานประมาณ 1,500 คน นำโดยกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก คนงานจากบริษัทแม็กซิส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่นิคมอุตสาหกรรมอิสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง ที่ถูกนายจ้างประกาศปิดงาน กับคนงานบริษัท พีซีบี เซ็นเตอร์ จำกัด เครือสหพัฒน์ ศรีราชา เลขที่ 684-685 ถนนสุขาภิบาล 8 หมู่ 11 ต.หนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี การที่ถูกนายจ้างเลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย ตามกฎหมาย โดยอ้างเหตุไฟไหม้โรงงาน พากันเดินเท้าปรับเปลี่ยนวิธีการต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานในมุมมองใหม่ เพื่อบอกให้สังคมได้รับรู้สภาพคนงานที่เดือดร้อนจากการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม จากการละเมิดสิทธิต่างๆที่นายจ้างกระทำต่อลูกจ้าง คนงานที่มีครอบครัวต่างจูงมือพากันเดินเท้าชี้แจง แจกเอกสารให้ประชาชนที่ผ่านไปมาตามข้างทาง ได้รับรู้ถึงสิ่งที่ผู้ใช้แรงงานทั้งสองบริษัทถูกกระทำ ซึ่งมีผู้คนสองข้างทางร่วมบริจาคน้ำท่าให้ดื่มกิน

1 23 24 25 27