แรงงานบังคับ กับการยึดหนังสือเดินทางแรงงานข้ามชาติ

ขณะที่ข่าวนโยบายค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาทของพรรคเพื่อไทยกำลังอยู่ในกระแสจนพาให้ตลาดแรงงานข้ามชาติอจากกัมพูชาพลอยคึกคักไปด้วย เพราะหวังจะได้อานิสงส์จากนโยบายเดียวกัน แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องกลับไม่ค่อยมีใครพูดถึงอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อแรงงานเหล่านี้เมื่อเข้ามาแล้ว ไม่เฉพาะแต่ปัญหาค่าแรงขั้นต่ำ

หลินสาวฉันทนา ชีวิตความหวังค่าจ้างเพื่อลูก

หลินชีวิตนี้เพื่อลูก แม้ชีวิตจะล้มเหลว ล้มลุกคลุกคลาน หนี้สินรุงรังอยู่ด้วยความหวังสักวันคงดี “หากปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทจริง หลินคงมีชีวิตที่ดีขึ้น สามารถออมเงินใช้หนี้หมด”

ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ความหวังของแม่ กับ อนาคตลูก

ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เป็นความหวังของอนาคตลูก อีกลมหายใจหนึ่งของสาวโรงงานที่ค่าแรงต่ำ จะมีแรงส่งลูกเรียนสูงๆ แม้วันนี้จะเรียนโรงเรียนวัด

วันนี้ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ผู้ใช้แรงงานต่างตั้งความหวังว่า รัฐบาลใหม่ (พรรคเพื่อไทย) ที่ประกาศเป็นนโยบายว่าทำได้ทันทีที่เป็นรัฐบาล ซึ่งขณะนี้พรรคเพื่อไทยได้เป็นแกนนำตั้งรัฐบาลเรียบร้อยแล้ว นโยบายปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท จะทำหรือไม่ เป็นคำถามของพี่น้องผู้ใช้แรงงาน แต่ขณะเดียวกันเสียงคัดค้านจากเหล่านายจ้างที่พลัดกันออกมาส่งสัญญาณไม่เห็นด้วย เพราะรับภาระค่าใช้จ่ายไม่ไหวกับค่าแรงที่สูง ไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ บ้างว่าจะย้ายฐานการผลิต บ้างว่าจะปิดกิจการ หรือแม้กระทั่งอาจต้องลดต้นทุนการผลิต นั่นหมายถึงจะต้องมีการเลิกจ้างคนงาน

“300 บาท เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสค่าจ้างทั่วประเทศ “

จากการประกาศใช้นโยบายขึ้นค่าจ้าง 300 บาท ทันทีที่ได้เป็นรัฐบาล โดยภาพรวมค่อนข้างแน่ที่หลายฝ่ายอาจมองเห็นสถานการณ์ปัญหาที่จะตามมาในสามประการใหญ่คือ ประการที่หนึ่ง นายจ้างต้องหันไปใช้แรงงานนอกระบบ และแรงงานข้ามชาติที่เข้าเมืองแบบผิดกฎหมายจำนวนมาก เนื่องจากที่ผ่านมาแรงงานเหล่านี้มีราคาถูก ขาดอำนาจการต่อรอง ถูกเดียดฉันท์จากสังคมไทย จนเป็นช่องว่างให้เกิดการแสวงประโยชน์จากการค้าแรงงานและการค้ามนุษย์ เป็นเป้าโจมตีของประเทศมหาอำนาจในการจ้องตัดสิทธิประโยชน์ทางการค้าในข้อหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน จนอาจทำให้ประเทศไทยต้องเผชิญปัญหาการเลิกจ้าง

ปัญหาค่าจ้างขั้นต่ำ และการกำหนดค่าจ้างในประเทศไทย: ถึงเวลาต้องทบทวน

ปัญหาของการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทย ที่ผ่านมาด้วยนโยบายรัฐที่ต้องการรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันด้วยการควบคุมต้นทุนด้านค่าจ้างแรงงานให้ต่ำอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับความอ่อนแอไม่เป็นเอกภาพของขบวนการแรงงานในประเทศไทยทำให้อัตราการเติบโตของค่าจ้างในประเทศไทยมีอัตราที่ช้ามาก จากการวิเคราะห์ของสำนักงานคณะกรรมการค่าจ้าง กระทรวงแรงงานพบว่าเมื่อเปรียบเทียบการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศกับการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อทั้งประเทศ ตั้งแต่ ปี 2002 – 2011 พบว่า อัตราเงินเฟ้อทั้งประเทศสะสม 10 ปี มีการปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยทั้งประเทศสะสม อยู่ร้อยละ 1.9

แม่ค้าแมลงทอด อีกเสียงสะท้อนต่อรัฐบาล ปู1

เมื่อกระบวนการเลือกตั้งได้จบลงไปแล้ว ไม่ว่า ณ ที่ไหน หรืออาชีพอะไร จะได้ยินเสียงคุยกันของคนต่างๆเหล่านั้น ที่พูดถึงนโยบายทั้งหมดของพรรคการเมืองที่ได้รับปากไว้กับประชาชน บางคนคิดว่า ทำได้แต่ไม่ทั้งหมด อาจจะทำได้เป็นบางนโยบาย และบางนโยบายอาจทำได้ยาก ยกตัวอย่าง เช่นนโยบายที่ว่า นักศึกษาวุฒิปริญญาตรี เมื่อเข้าทำงานต้องได้เงินเดือนขั้นต่ำ 15,000 บาททันที ซึ่งความเป็นจริงแล้วเป็นไปได้ยากเพาะเอกชนให้ไม่ได้ เท่ากับเป็นการเพิ่มต้นทุนให้มากยิ่งขึ้น

เมื่อผู้หญิงขึ้นเป็นผู้นำประเทศ

หลังจากการนับคะแนนเสียงเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ผลออกมาว่านางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ขึ้นเป็นผู้นำหญิงดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีของไทย จึงถือเป็นประวัติศาสตร์หน้าแรกในบทบาทผู้นำหญิงที่ก้าวขึ้นเป็นผู้นำประเทศ

การก้าวเข้ามาทำงานในตำแหน่งผู้นำประเทศของผู้หญิงเป็นครั้งแรกผู้ใช้แรงงานก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หลังจากก้าวเข้ามารับตำแหน่งสูงสุด คงบริหารบ้านเมืองแบบสุจริต เป็นธรรมและโป่งใสในทุกๆเรื่อง

คนงานทวงสัญญารัฐบาลใหม่ ปรับค่าแรง 300 บาททันที

หลังจากที่ทราบผลการเลือกตั้งเมื่อ วันที่ 3 กรกฎาคม 2554ไปแล้วนั้น ได้เห็นโฉมหน้าของผู้นำประเทศไทย คนต่อไป ซึ่งถือเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการเมืองไทย ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้หญิงคนแรกของประเทศไทย ชื่อ นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และประชาชนมีความตื่นตัวทางการเมืองสูง เห็นได้จากจำนวนผู้ที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นจำนวนมาก ของแต่ละพื้นที่ที่สูงถึง 70-80% และในส่วนของคนงานนั้นมีความตื่นตัวในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวนมากเช่นกัน มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องการเมืองในกลุ่มเพื่อนๆโดยเฉพาะเรื่องนโยบายด้านแรงงานของพรรคการเมืองที่ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ที่ใช้หาเสียงก่อนการเลือกตั้งว่าจะทำได้จริงหรือไม่

คนงาน กับ สิทธิเลือกตั้งนอกเขต แต่ไม่มีสิทธิเลือกคนในพื้นที่

คำว่า “พลเมืองแฝง” ใช้เรียกประชากรที่อพยพถิ่นฐานมาทำมาหากินในพื้นที่อื่นที่ตนไม่มีสำเนาทะเบียนบ้านอยู่ และไม่มีสิทธิเสียงในการกำหนดตัวผู้ปกครองในท้องที่รวมถึงการรับผลประโยชน์ต่างๆ จากท้องที่นั้น ซ้ำยังถูกมองว่าเป็นภาระของท้องที่ ทั้งที่ความจริงเราจะเห็นว่าเมืองอุตสาหกรรมต่างๆเช่น สมุทรสาคร สมุทรปราการ อยุธยา ชลบุรี ระยองฯลฯ มีการเติบโตทางเศรษฐกิจภายในสูงมากโดยเฉพาะจังหวัดระยอง เคยมียอดผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงที่สุดในประเทศไทย นั่นเพราะมีคนงานส่วนใหญ่ไม่ใช่คนในพื้นที่ เป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จนส่งผลให้ในพื้นที่นั้นๆเติบโต จนเทศบาลหลายแห่ง ถูกยกสถานะจากเทศบาลตำบลเป็นเทศบาลเมือง และเทศบาลนครตามลำดับ เช่นเดียวกับเทศบาลอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร ใช้เวลาเพียง 16 ปี ยกสถานะเป็นเทศบาลนครอ้อมน้อย แต่คนงานที่มาสร้างความเจริญให้กับท้องถิ่นกลับไม่ค่อยได้รับการเหลียวแลจากผู้ปกครองในจังหวัดเลย

หากแรงงานมีสิทธิเลือกสส.ในพื้นที่ทำงาน เสียงแรงงานคงดังพอ กำหนดการเมือง

แรงงานเหล่านี้ก็จะถูกมองว่าเป็นพวกที่มาทำความวุ่นวายในพื้นที่ แต่ถ้าแรงงานเหล่านี้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่ที่ทำงาน และมีสิทธิหย่อนบัตรให้กับผู้สมัครในระดับท้องถิ่น หรือผู้สมัคระดับชาติก็ดี เพราะคงได้รับการต้อนรับ และช่วยดูแลแก้ไขปัญหาหากแรงงานถูกรังแกจากนายจ้างบ้าง ถ้าไม่มีสิทธิแรงงานก็จะเป็นเพียงผู้ที่มาทำความวุ่นวาย เป็นเพียงประชากรแฝงที่มาใช้ทรัพยากรของเขา ในท้องที่นั้น ๆ โดยไม่ได้คิดว่าแรงงานเหล่านั้นก็มีส่วนที่สร้างรายได้ และความเจริญมาให้ชุมชนของตน เช่นกัน

แรงงานนครปฐมคึกคักใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าหวังชี้ชะตาประเทศ

2 บรรยากาศ 2 เขต เลือกตั้งล่วงหน้า เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2554 เป็นวันเลือกตั้งล่วงหน้า และเป็นการเลือกตั้งนอกเขตพื้นที่ ที่ศาลาเอนกประสงค์ เทศบาลอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร มีผู้ไปใช้สิทธิจำนวนกว่า 50,000 รายชื่อ มีผู้ใช้แรงงาน ที่ยื่นขอใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวนมากทยอยเดินเข้าศูนย์เลือกตั้ง ตั้งแต่ก่อนเปิดหีบเลือกตั้ง นับว่าเป็นการตื่นตัวของผู้ใช้แรงงานต่อการใช้สิทธิเลือกตั้งในครั้งนี้ การเลือกตั้งครั้งนี้ทางกรรมการการเลือกตั้ง(กกตง) ได้กำหนดการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตพื้นเพียงวันเดียวเท่านั้น

5 พรรคการเมืองร่วมลงสัตยาบันรับ 9 ข้อเสนอแรงงาน ซื้อใจคนงาน

พรรคการเมืองชูนโยบายปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 2 ปี 25% ปรับ 300 บาท 400 บาท จนทะลุ 421 บาทต่อวัน แถมโปรโมชั่นแรงงานนอกระบบทั้งแจกคูปองประกันสังคม-ปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ เอาใจแรงงานร่วมลงนามรับข้อเสนอ 9 ข้อ

เมื่อวันที่ 21 มิถนายน 2554 ณ ห้องราชา โรงแรมรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) ร่วมกับแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน จัดเวทีสมัชชาแรงงานจุดยืนและข้อเสนอต่อนโยบายแรงงานของพรรคการเมืองในการเลือกตั้ง 54 โดยมีตัวแทนผู้สมัคร สส.จากพรรคการเมืองเข้าร่วม 5 พรรค พร้อมตอบประเด็นคำถามข้อเสนอของผู้ใช้แรงงาน นำโดยนายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการครสท.และแกนนำเครือข่ายแรงงานเป็นผู้ถามใน 9 ประเด็น

1 21 22 23 27