บริษัทไม่มาจับปลา ปล่อยให้ผู้เลี้ยงปลากระชังเผชิญน้ำท่วมตามยถากรรม

ผู้เลี้ยงปลาในกระชังบริเวณแม่น้ำชี จังหวัดมหาสารคาม วอนบริษัทมาจับปลา หลังแม่น้ำชีขึ้นสูง ทำให้กระชังปลาขาดเสียหาย ไร้การเยียวยา

ในขณะที่ทุกภูมิภาคของประเทศไทยเผชิญวิกฤตอุทกภัยอย่างร้ายแรง ทำให้ทุกภาคส่วนต้องระดมกำลังให้ความช่วยเหลือ เพื่อฝ่าวิกฤตอุทกภัยครั้งนี้ไปให้ได้ ผู้เลี้ยงปลากระชังในระบบพันธสัญญาก็ประสบภัยพิบัติน้ำท่วมเช่นกันกับพี่น้องหลายจังหวัด ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากระชังต้องแบกรับภาระความเสี่ยงที่ทำพันธสัญญากับบริษัทเอาไว้ โดยทางบริษัทไม่มาจับปลาตามเวลาที่ครบกำหนดในการจับขายแล้ว ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังต้องแบกรับต้นทุนในการเลี้ยงปลาที่ที่สูงขึ้น และปัญหากระชังปลาขาดเสียหายซึ่งสาเหตุก็เนื่องมาจากแม่น้ำชีที่ไหลเชี่ยวในเวลานี้พัดเอาเศษไม้มาเกี่ยวกับกระชังปลา รวมไปถึงถุงทรายที่เป็นตัวถ่วงทุ่นลอยของกระชังถูกับตาข่ายสำหรับล้อมปลาขาดเสียหาย ทำให้ปลาหลุดออกจากกระชัง

การปราบปรามอย่างรุนแรงในห้วงวิกฤต

ท่ามกลางห้วงวิกฤตแห่งการช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรม เจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่นในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ได้ประกาศที่จะตามหาเหล่าแรงงานผิดกฎหมาย แม่สอดถือเป็นจุดผ่านแดนสู่ประเทศพม่าที่ใกล้ที่สุดสำหรับแรงงานข้ามชาติหลายพันคนที่ประสบอุทกภัยในกรุงเทพมหานครและตอนกลางของประเทศ เป็นเมืองให้ที่หลบภัยหรืออย่างน้อยก็เคยเป็นที่ปลอดภัย ในฐานะที่แม่สอดเป็นเมืองชายแดนที่มีอัตลักษณ์ของสองวัฒนธรรมและมีชุมชนชาวพม่าขนาดใหญ่ แรงงานข้ามชาติจากพื้นที่อื่นๆของประเทศไทยจึงคาดหวังว่าเพื่อนหรือญาติๆในแม่สอดจะให้ที่พักอยู่อาศัยและจัดหาอาหารการกินในห้วงวิกฤติได้ ด้วยเหตุนี้ชุมชนชาวพม่าในแม่สอดสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือหรือบรรเทาอุทกภัยได้ อีกทั้งยังจะเป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐบาลไทยในการดูแลช่วยเหลือกลุ่มแรงงานข้ามชาติบางส่วนได้ในระดับหนึ่ง แต่กลับกลายเป็นว่าการแสวงหาที่พักที่ปลอดภัยกลับนำแรงงานข้ามชาติมาพบเจอกับวิกฤตในรูปแบบใหม่ โดยที่เจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่นซึ่งดูเหมือนว่ากำลังเพิกเฉยต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในอีกหลายส่วนของประเทศ ได้ประกาศที่จะปราบปราบแรงงานข้ามชาติที่ไม่มีบัตรภายหลังการจดทะเบียนประจำปี ซึ่งผลก็คือความยุ่งเหยิงที่จะตามมา

ลูกจ้างโอด น้ำท่วมนายจ้างไม่หยุดจ่ายค่าเรือไปทำงานแพงกว่าค่าแรง

แรงงานในอยุธยาร้องน้ำท่วมบ้าน โรงงานไม่ปิดจ่ายค่าเรือไปทำงานแพงกว่าแรงรายวัน โอ่ดนายจ้างไม่เห็นใจให้หยุดงาน

หลังจากสถานประกอบการในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้รับผลกระทบจากอุทกภัยส่งผลให้นิคมอุตสาหกรรมต่างๆได้หยุดกิจการชั่วคราว ซึ่งบางสถานประกอบการจ่ายค่าจ้างเต็ม 100% และบางสถานประกอบการจ่ายเพียง 75% ซึ่งไม่เพียงพอกับค่าครองชีพสินค้าอุปโภคบริโภคที่สูงขึ้นตามกระแสน้ำที่ไหลท่วมพื้นที่ ภาระความรับผิดชอบของแต่ละคนทั้งครอบครัว ลูก ภรรยา และสามี ทำให้ลูกจ้างในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต้องประสบภาวะความเดือดร้อนหนักอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ม. 75 มาตราการช่วยเหลือ หรือ ซ้ำเติมแรงงาน

คณะทำงานแรงงานกลุ่มบ่อวินสัมพันธ์ ได้รับร้องเรียนจากลูกจ้างหลายบริษัทๆ ที่นายจ้างประกาศใช้มาตรา 75 โดยไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง

ช่วงต้นเดือนกันยายน2554 มีพนักงานจากหลายบริษัทๆในนิคมอุสาหกรรมอีสเทรินซีบอร์ด จังหวัดระยอง เข้ามาร้องเรียนต่อคณะทำงานแรงงานกลุ่มบ่อวินสัมพันธ์ถึงเรื่องที่ทางบริษัทประกาศใช้มาตรา 75 พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541กรณีให้หยุดงานชั่วคราวจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างร้อยละ 75 และที่แย่ไปกว่านั้นคือบางบริษัทไม่มีการประกาศให้ทราบล่วงหน้า ก่อนที่จะใช้มาตรา 75 อย่างเช่นกรณีบริษัทแห่งหนึ่งอยู่ในนิคมฯอีสเทรินซีบอร์ด ซึ่งนายจ้างได้อาศัยช่วงที่มีเหตุการของภัยพิบัติน้ำท่วมจากธรรมชาติเข้ามาต่อรองกับลูกจ้างว่า ไม่สามารถผลิตงานส่งลูกค้าได้จึงหยุดกิจการชั่วคราวโดยใช้มาตรา 75 ซึ่งมาตรา 75 พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 ได้กำหนดให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าเป็นหนังสือก่อนวันเริ่มหยุดกิจการไม่น้อยกว่าสามวันทำการ แต่นายจ้างไม่ปฏิบัติ

โอกาสและความท้าทายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กับการคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ

ในช่วงหลายเดือนมานี้ตามหน้าข่าวหนังสือพิมพ์กระแสหลักมีรายงานข่าวเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติบ่อยครั้ง โดยเฉพาะเมื่อกลางเดือนสิงหาคม 2554 มีข่าวกรณีแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าคนหนึ่งทำงานอยู่ที่ จ.สมุทรสาคร และผ่านการพิสูจน์สัญชาติเมื่อเดือนมกราคม 2554 เรียบร้อยแล้ว ได้ประสบอุบัติเหตุล้มศีรษะกระแทกพื้นจนอาการสาหัส แต่เมื่อเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลได้ตรวจสอบประวัติกลับพบว่า แรงงานยังไม่ได้เข้าสู่ระบบประกันสังคม ตามพรบ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ทำให้ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลด้วยตนเองเป็นเงินร่วมแสนกว่าบาท แต่เนื่องจากแรงงานไม่มีเงินจ่ายค่ารักษา ทำให้ต้องออกมารักษาตามมีตามเกิดและเสียชีวิตในเวลาต่อมา

“รัฐบาลใหม่ กับลมหายใจร่างกฎหมายประกันสังคม ฉบับผู้ใช้แรงงาน”

หนังสือพิมพ์หลายฉบับได้มีการนำเสนอข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อ 20 กันยายน 2554 ว่าคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบให้นำร่าง พระราชบัญญัติที่จัดทำโดยภาคประชาชน 4-5 ฉบับ เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติเหล่านี้รัฐบาลต้องให้ความเห็นชอบภายใน 60 วัน ไม่เช่นนั้นร่างกฎหมายจะตกไปในเดือนกันยายน 2554 หนึ่งในร่างกฎหมายที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติเห็นชอบและให้นำร่างกฎหมายเสนอต่อสภาผู้แทนฯ คือร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. …. (ฉบับภาคประชาชน ผู้ใช้แรงงาน เข้าชื่อเสนอกฎหมาย 14,500 รายชื่อ ที่เสนอโดยคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย) ทำให้ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. …. ของรัฐบาลชุดที่แล้วที่อยู่ในขั้นของการพิจารณาชั้นวุฒิสมาชิกต้องตกไป ทั้งนี้ร่างกฎหมายประกันสังคม (ฉบับผู้ใช้แรงงานฯ) ที่ผ่านมติคณะรัฐมนตรี 20 กันยายน 2554 จะต้องมีการนำเสนอเข้าบรรจุวาระเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร ในวาระแรก โดยมีการประเมินว่าน่าจะประมาณเดือน พฤศจิกายน 2554

เมื่อประกันสังคมแรงงานข้ามชาติไร้ค่า : “งานที่มีคุณค่า” จะเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

ทุกวันที่ 7 ตุลาคมของทุกปี คือ วันที่เครือข่ายแรงงานทั่วโลกได้ออกมารณรงค์เพื่อให้เกิดการยกระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของผู้ใช้แรงงานให้ดีขึ้น หรือที่เรียกว่า “World Day of Decent Work” คำว่า “Decent Work” หรือในภาษาไทยแปลว่า “งานที่มีคุณค่า” เป็นคำที่เกิดขึ้นครั้งแรกในที่ประชุมใหญ่ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เมื่อปี 2547 โดย “งาน” ที่เรียกว่าเป็น “งานที่มีคุณค่า” นั้น ต้องเป็นงานที่รวมความต้องการของผู้ใช้แรงงานคนหนึ่งๆใน 8 เรื่องเข้าด้วยกัน คือ 1) การมีโอกาสและรายได้ -opportunity and income 2) การมีสิทธิในด้านต่างๆ -rights 3) การได้แสดงออก –voice 4) การได้รับการยอมรับ –recognition
5) ครอบครัวมีความมั่นคง -family stability 6) การได้พัฒนาตนเอง -personal development 7) การได้รับความยุติธรรม -fairness และ 8) ความเท่าเทียมระหว่างเพศ -gender equality

กล่าวโดยง่าย คือ เป็นงานที่สร้างโอกาสความก้าวหน้า สร้างรายได้ที่เหมาะสมกับงานที่ทำ แรงงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของที่ทำงาน มีสิทธิ มีเสียง เป็นที่ยอมรับ อีกทั้งยังต้องเป็นงานที่ช่วยให้ชีวิตครอบครัวมีความมั่นคง มีการพัฒนาศักยภาพของตนเอง และเป็นงานที่มีความเป็นธรรม มีความเท่าเทียมกันไม่ว่าเป็นชายหรือหญิงและไม่ถูกเลือกปฏิบัติ

คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายเสนอนายกฯ เห็นชอบร่างประกันสังคมฉบับประชาชน

คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ในส่วนแนวนโยบายแห่งรัฐว่าด้วยกฎหมายและการยุติธรรม มาตรา 81 (3) “รัฐต้องจัดให้มีกฎหมายเพื่อการจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมายที่ดำเนินการเป็นอิสระ เพื่อปรับปรุงและพัฒนากฎหมายของประเทศรวมทั้งการปรับปรุงกฎหมายให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ โดยต้องรับฟังความเห็นของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายนั้นประกอบด้วย” นำไปสู่การตราพระราชบัญญัติคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายพ.ศ. 2553 ที่กำหนดให้มีคณะกรรมการจำนวน 11 คน

แรงงานข้ามชาติในประเทศไทย : สถานการณ์ที่กำลังเปลี่ยนแปลง

แรงงานข้ามชาติมากกว่า 930,000 คน ได้ยื่นเรื่องเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติภายในกำหนดเส้นตาย แต่อีก 300,000 คนไม่สามารถยื่นเรื่องได้ทัน จากประมาณการที่ว่ามีแรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้จดทะเบียนจำนวนหนึ่งล้านคนอยู่ในประเทศไทยในขณะนั้น โดยที่ไม่มีสิทธิเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ จึงกล่าวได้ว่าเมื่อประมาณ 17 เดือนที่แล้วแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นแรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้จดทะเบียน

ความหวังก่อนเลือกตั้งกับค่าจ้าง 300 บาท

จากการหาเสียงเลือกตั้งที่ผ่านมา มีหลายพรรคการเองที่ชูนโยบายหาเสียงด้านแรงงาน เช่น การปรับขึ้นค่าจ้างให้กับแรงงาน ทำให้คนงานเกิดการตื่นตัวออกไปใช้สิทธิการเลือกตั้งเป็นจำนวนมาก เพราะหวังว่า พรรคการเมืองที่ตนเลือกจะทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้ พรรคเพื่อไทยได้ชัยชนะการเลือกตั้งเพราะมีนโยบายซื้อใจคนงานคือปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ทันทีที่ได้เป็นรัฐบาล

สระบุรีเตรียมบุกจวนผู้ว่า ยื่นค่าจ้างเป็นธรรม 300บาททั่วประเทศ

กลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีเคลื่อนเย็นนี้ หลังประกาศปรับค่าจ้างขั้นต่ำ เพียง 7 จังหวัด ทิ้งให้แรงงานทั่วประเทศฝันค้าง

ในการเลือกตั้งที่ผ่านมา พรรคเพื่อไทยได้รณรงค์หาเสียงโดยประกาศว่า หากได้รับการเลือกตั้งเป็นรัฐบาล จะดำเนินการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ทั่วประเทศโดยทันที ทำให้พรรคเพื่อไทยได้รับชัยชนะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลอย่างหวังไว้

คนงานเสนอนายกกลับคำ ขึ้นค่าจ้าง แทนรายได้ 300 บาท

คำว่า ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท กับคำว่า รายได้ไม่น้อยกว่า 300 บาท คำประกาศนโยบาย รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หรือที่เรียกกันว่า นโยบายปูแดง ขอเรียนจริงๆว่า ตนฟังอย่างไร พยายามฟังซ้ำแบบพินิจ พิเคราะห์อย่างไร ก็ไม่มีทางเหมือนกัน ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันเท่ากันทันทีทั่วประเทศ เพราะคนงานยังหวังมีโอกาสได้ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท โดยไม่ต้องทำงานล่วงเวลา ที่เรียกว่า OT หากแต่รายได้ไม่น้อยกว่า 300 บาท ทำให้คนงานยังคงง่วนอยู่กับการทำงานล่วงเวลาอย่างหลังขดหลังแข็ง จึงจะได้ 300 บาทมาซึ่งก็ยังไม่พอกินอยู่ดี หรือไม่ก็ต้องกระเบียด กระเสียร ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับปัจจุบันที่เป็นอยู่

1 19 20 21 27