นานาทัศนะปฎิรูปประกันสังคม

ระบบประกันสังคมมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปครั้งใหญ่ เพราะมีการบริหารที่เป็นหน่วยราชการรวมศูนย์มานานกว่า 20 ปี แล้วก็ถูกตั้งข้อสงสัยวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ประกันตน นายจ้าง สังคม สื่อมวลชน ว่ามีความไม่โปร่งใสในการทำงานขาดการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องอย่างแท้จริง
ทำยังไงที่จะให้กองทุนประกันสังคมซึ่งเป็นกองทุนใหญ่ที่สุดกองทุนหนึ่งของประเทศ และก็เป็นเงินส่วนหนึ่งมาจากลูกจ้างหรือผู้ใช้แรงงาน จะมีการบริหารที่เป็นอิสระ โปร่งใส และก็ตรวจสอบได้ ที่สำคัญที่สุด ทำยังไงที่จะให้ภาคส่วนของผู้ใช้แรงงานเข้ามามีส่วนร่วม ได้รับประโยชน์ทั้งดอก ทั้งผล ทั้งต้น ย้อนกลับไปที่ผู้ใช้แรงงานให้มากที่สุด

ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท: บางบทสนทนาหน้าทำเนียบรัฐบาล

เปลวแดดที่ร้อนระอุกำลังลามเลียไปทั่วผิวกายและใบหน้าของผู้ใช้แรงงานที่มาจากต่างสารทิศและรวมตัวกันอยู่ ณ ที่แห่งนี้ หลายคนเพิ่งออกจากงานกะดึกมาเมื่อรุ่งสางและมุ่งตรงมาที่นี่ทันที ความอ่อนล้า ความเพลียแดด เหงื่อไคลที่ไหลชะโลมทั่วแผ่นหลัง ผสานกับความง่วงที่เป็นผลมาจากการทำงานหนักมาทั้งคืนแฝงอยู่ทุกอณูของเรือนกาย แต่นั่นเอง! คำว่า “ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ต้องเท่ากันทั่วประเทศ” ได้สร้างความหวังและกำลังใจให้ผู้ใช้แรงงานอย่าง “เขา” ยิ่งนัก

เสียงเพลงศักดิ์ศรีกรรมกรท่อนหนึ่งที่ถูกร้องบนรถระหว่างเดินทางมาว่า “ทำงานทุกวันขันกล้า ค่าเลี้ยงชีพไม่พอ ลูกและเมียร้องเรียกหาพ่อ หิวข้าวตัวงอระงมไป หากดวงดาวพราวสดใส แม้สอยกินได้จะสอยไว้ให้ลูกกิน” ทำให้เขาน้ำตาแอบรินและสะอื้นอยู่ข้างใน ย้อนนึกถึงเมื่อวันก่อน จูงมือลูกไปที่ตลาดเพื่อหาซื้ออาหารเย็นไปเตรียมไว้ให้ครอบครัวยามที่แม่-ลูกต้องอยู่กันเพียงสองคนในยามค่ำคืน

ผู้ประกันตนเมินใช้สิทธิประกันสังคม เหตุไม่ประทับใจ หันใช้บริการโรงบาลเอกชน

ผู้ประกันตนหญิงรายหนึ่งเปิดเผยถึงสาเหตุที่เลือกใช้บริการโรงบาลเอกชนแทนโรงพยาบาลประกันสังคม “เมื่อวันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เกิดอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก เชื่อว่าเกิดจากโรคกรดไหลย้อนกำเริบ จึงไปตรวจรักษาที่โรงบาลเอกชนแห่งหนึ่งในอำเภอศรีราชา ซึ่งวิธีการตรวจรักษาแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจนกับโรงพยาบาลของประกันสังคมที่เคยเข้ารับบริการด้วยอาการเดียวกันเมื่อประมาณกลางปีที่แล้ว ถึงแม้การมารักษาที่โรงพยาบาลเอกชลจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงพอสมควรแต่ที่บริษัทที่ทำงานอยู่ก็สามารถนำค่ายใช้จ่ายไปเบิกคืนได้ถึงจะไม่เท่ากับจำนวนที่จ่ายไปก็ตาม แต่มันก็ทำให้เรามั่นใจในคุณภาพของการรักษา”

“ กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กองทุนนี้เพื่อใคร “

นับแต่นี้ไปคำถามที่รัฐบาลจะต้องเผชิญถูกทดสอบแบบเสียงดังดัง ภายใต้การขับเคลื่อนของเครือข่ายสตรีที่ต้องการความโปร่งใส เป็นธรรม และเข้าถึงทุกระดับ พวกเธอต้องคาดหวังที่สูงมากต่อท่านนายกที่เป็นผู้หญิงคนแรกของประเทศไทยเป็นธรรมดา ว่าจะที่นำเงินกองทุนพัฒนาสตรีจังหวัดละ 100 ล้านบาท มาเป็นกองทุนพัฒนาสตรีต้นแบบ เป็นกลุ่มสตรีเพื่อความยั่งยืนต้นแบบในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว และชุมชน อย่าให้พวกเธอต้องผิดหวัง และอย่าให้พวกเธอต้องหวาดระแวงว่า “กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กองทุนนี้ทำเพื่อพรรคเพื่อไทย หรือเพื่อใครกันแน่ “

ค่าจ้างที่เป็นธรรม : “เปลี่ยนมุมคิด พลิกคุณภาพชีวิตแรงงาน”

“ดำ” แรงงานข้ามชาติชาวมอญที่ทำงานที่นี่มากว่าสิบปีแล้ว เล่าให้ฉันฟังว่า “ถ้าผมมีบัตรถูกกฎหมาย ผมไม่อยู่ที่นี่แล้วพี่ แม้ผมจะขยันทำงานมาก แพปลามีอาหารทะเลส่งออกไปตามร้านอาหารใหญ่ๆมากขึ้น แต่ชีวิตพวกผมก็เหมือนเดิม ค่าแรงเท่าเดิม จะทำมากทำน้อยไม่ต่างกัน ค่าแรงเท่ากับการทำงานตามมีตามเกิด พวกผมถึงทำไปแบบให้หมดเวลาไปวันๆ งานอย่างนี้ไม่มีคนไทยคนไหนมาทำหรอก ถ้าไม่จ้างพวกผม เจ๊จะไปจ้างใครมาทำ ไม่มีหรอกครับ แม้ขยันทำงานมาก หนัก ทุ่มเท ทำให้แพได้กำไรมากขึ้น แต่ก็ไม่เคยตกถึงพวกผมแม้แต่น้อย ที่พี่เห็นหลายคนใช้เท้าเหยียบไปบนอาหารทะเล เพราะไม่มีใครอยากใช้มือหรอกครับ กลัวฟอร์มาลีนกันทั้งนั้น และเจ๊ก็ไม่สนใจอยู่แล้ว ขอมีอาหารทะเลส่งออกเป็นพอ พวกผมมีหน้าที่ใช้เท้าคัดแยกเป็นกองๆตามขนาดอย่างเดียว ที่เหลือเจ๊ก็ไปจัดการเอาเอง สกปรก ไม่สกปรก กินได้ กินไม่ได้ ผมไม่รู้ ไม่ใช่เรื่องของผม”

สถานการณ์น้ำท่วมต่อการเลิกจ้างแรงงานหญิงในพื้นที่

จากสถานการณ์วิกฤติของประเทศไทยที่เผชิญกับมหาอุทกภัยธรรมชาติมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 หลายพื้นที่ของประเทศจมอยู่ใต้น้ำมานานนับเดือน เมื่อโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศที่เน้นการส่งออกทำให้ประเทศไทยกลายเป็นฐานการผลิตสินค้าที่ผลิตจากการขูดรีดแรงงานราคาถูกจากพลเมืองของประเทศ เพื่อส่งออกสินค้าที่ทำมาจาก “มือเล็กๆ” ของแรงงานหญิง ซึ่งในทุกวันนี้ยังหมายรวมถึงในกลุ่มแรงงานข้ามชาติจากพม่า ลาว กัมพูชา ที่ไม่ใช่เพียงพลเมืองไทยเท่านั้นเพิ่มขึ้นมาด้วย เมื่อมวลน้ำมหาศาลทะลักเข้าสู่นิคมอุตสาหกรรมย่านต่างๆ โดยเฉพาะในพื้นที่อยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร นครปฐม และกรุงเทพมหานคร แรงงานหญิงกลายมาเป็นผู้ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง หลายโรงงานย้ายฐานการผลิตไปที่จังหวัดอื่น เช่น ฉะเชิงเทรา ชลบุรี หรือขอนแก่น อีกหลายสถานประกอบการก็ประกาศเลิกจ้างลดจำนวนคนงาน รวมถึงขณะที่หลายแห่งยังไม่ทราบชะตากรรมจนบัดนี้ว่าจะสามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้อีกครั้งหรือไม่

นิคมฯบางปะอินฟื้นเปิดรับคนหางาน – หลังเลิกจ้างก่อนหน้านี้

นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ถูกน้ำท่วมวันที่ 15 ตุลาคม 2554 ในพื้นที่ 1,962 ไร่ จำนวนโรงงาน 90 โรง จำนวนแรงงาน 35,000 คน ภาพหลังวิกฤตการณ์น้ำท่วม วันนี้กลับมาคึกคักอีกครั้งกับภาพของแรงงานที่เดินทางมาจากหลายจังหวัด เพื่อหางานทำ มีทั้งบัณฑิตย์จบใหม่ แรงงานที่เก่ามาจากที่อื่นๆ หรือแรงงานเก่าในพื้นที่ที่เคยถูกเลิกจ้างช่วงน้ำท่วม ภาพของแรงงานที่เปิดหางานในใบรับสมัครงาน โดยทางบริษัทต่างๆในนิคมได้นำมาติดไว้ มีทั้งค่าจ้าง และสวัสดิการ สภาพการจ้างที่ได้กำหนดไว้ เพื่อดึงดูดใจแรงงานให้ไปสมัครงาน ทามกลางแรงงานที่วิ่งหางานทำกันฝุ่นตลบ เพื่อการหารายได้หากมีงานทำ ยังมีอีกอาชีพที่ยิ้มร่ากล่าวสวัสดีพร้อมคำถามว่า “จะไปไหนครับใช้บริการรถมอเตอร์ไซต์ไหมครับ” ของลุงทอง คนขับวินมอเตอร์ไซด์ หน้านิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน

ปริมณฑลของกฎหมาย: นักกฎหมาย สัญญา กระชังปลา และสารคดี

ระบบเกษตรพันธสัญญาคือระบบเศรษฐกิจที่ยืนอยู่บนอำนาจของรัฐและกฎหมายดังที่กล่าวไป เพราะเอกชนสองฝ่าย (หรือมากกว่านั้น) ที่เป็น “เอกชน” เหมือนกันมาหารือตกลงกันว่าจะกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันในการผลิตอย่างไรถึงจุดนี้อาจมีข้อสงสัยว่าชาวบ้านกับบริษัทนั้นจะเสมอเท่าทียมกันได้อย่างไร ในเมื่อ “บริษัท” นั้นไม่ได้เป็นคนด้วยซ้ำ ทั้งนี้สายตาของกฎหมายนั้นจำแนกตัวแสดงในสังคมเป็น “รัฐ” และ “เอกชน” เป็นส่วนใหญ่ นั้นหมายถึง เมื่อไม่ใช้รัฐก็เป็นเอกชน ดังนั้น บริษัทขนาดใหญ่ บริษัทข้ามชาติ ที่บางครั้งแทบจะกล่าวได้ว่ามีอำนาจเหนือรัฐด้านเศรษฐกิจ แต่กฎหมายยังเรียกบริษัทเหล่านี้ว่า “เอกชน” อยู่ดีระบบเกษตรพันธสัญญา จึงเป็นระบบเศรษฐกิจที่อาศัยอำนาจของกฎหมายคอยจรรโลงระบบอยู่ ให้เอกชนมีอำนาจกำกับเอกชนด้วยกันในด้านการผลิต

จะให้คนแม่เมาะต้องตกเป็นเหยื่อต้องตกนรกตลอดชาติอยู่อย่างนี้หรือ?

ในสภาพไม่แตกต่างกัน ถามถึงเรื่องนโยบายก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มคนป่วยผู้ถูกผลกระทบทุกคนก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ขณะปัจจุบันนี้การแก้ไขปัญหาก็ยังแก้ไม่ถูกจุด เครื่องดักฝุ่นต่างๆมันก็นานนมแล้วถ้าดักฝุ่นดีทำไมพวกเขาถึงมาล้มป่วยแล้วใช้ ถังออกซิเจนในปี 2554 นี้เรื่อยมาบางคนก็ล้มมาสองสามปีแล้ว บางคนมีอาการทางสมองปากเบี้ยวพูดลำบาก เป็นอยู่ปีสองปีก็เสียชีวิต ล่าสุดรายป้าจันทร์หอมภรรยาลุงอิน อินติ๊บ ลุงลวด ไชยานนท์ และคนอื่นๆกว่าสามสี่ร้อยคนแล้วที่ต้องเสียชีวิตสละความสุขส่วนตัวความแข็งแรงสมบูรณ์ให้กับโรงไฟฟ้าที่แผ่ความเจริญไปยังภาคเหนือ ภาคกลางภาคอีสาน สำหรับชาวบ้านแม่เมาะต้องสูญเสียอนาคตอยู่อย่างท้อแท้รอความตาย เสียงแหบแห้งของผู้ป่วย 3-4คนนี้บอกว่าไม่ขออะไรมากตอนนี้ขอเพียงถังอ๊อกซิเจนเต็มอยู่ตลอดเวลาได้ไหมแล้วมีใครที่เอามาให้ถึงบ้านไม่ต้องเสียเงินทองมากมายขนาดนี้เพื่อหวังยื้อชีวิตไว้ต่อไปและจะได้ๆไม่หายใจไม่ลำบาก

วิเคราะห์มาตรา 75 และค่าจ้าง 75% กรณีน้ำท่วมโรงงาน

การเกิดมหาอุทกภัยที่แผ่ขยายกระจายคุกคามสถานประกอบการและความมั่นคงในชีวิตของคนงานจำนวนมาก จนกระทั่งนายจ้างหลายรายอ้างมาตรา 75 หรือจ่ายค่าจ้าง 75% ไปเรื่อยๆนั้น มีความชอบธรรมตามเจตนารมณ์กฎหมายและสังคมหรือไม่อย่างไร ? มีข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์จากสื่อมวลชน ชุมชนวิชาการ องค์กรภาคประชาสังคมและการอภิปรายตรวจสอบของพรรคการเมืองฝ่ายค้านว่า อุทกภัยครั้งใหญ่นี้ ไม่ใช่เกิดจากธรรมชาติภูมิอากาศอย่างแท้จริง แต่เกิดจากการบริหารจัดการที่ผิดพลาดบกพร่องของนโยบายรัฐบาลและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องจนกระทั่งไม่อาจป้องกัน/หลีกเลี่ยงความสูญเสียมหาศาลที่ตามมาได้

น้ำท่วมโรงงานต้องจ่ายค่าจ้างหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2525

การที่น้ำท่วมบริเวณโรงงานแต่มิได้ท่วมตัวโรงงาน จนนายจ้างต้องปิดโรงงาน ประกอบกับลูกจ้างพร้อมที่จะทำงานให้แก่นายจ้างนั้นพฤติการณ์ดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นเหตุขัดขวางในการที่นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างและกรณีไม่ถือว่าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้ซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ นายจ้างยังไม่หลุดพ้นจากการชำระค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง

มหาอุทกภัย 2554: ผลกระทบและมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้แรงงาน

มหาอุทกภัยในครั้งนี้เกิดจากการที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับพายุพัดกระหน่ำติดต่อกันถึง 5 ลูก ทำให้มีปริมาณน้ำจากทางภาคเหนือไหลท่วมเข้าพื้นที่เกษตรและพื้นที่ธุรกิจหลายพื้นที่ ที่สำคัญคือการเข้าท่วมเขตนิคมอุตสาหกรรมที่สำคัญ และพื้นที่บางส่วนของกรุงเทพฯ นนทบุรี นครปฐมและสมุทรสาครซึ่งได้สร้างความเสียหายกับพื้นที่ธุรกิจอย่างมหาศาล

1 17 18 19 27