สวัสดีวันกรรมกรสากล

วันนี้สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วย ฯ ภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของริ้วขบวน แต่วันนี้กลุ่มผู้ป่วย ไปไม่ถึงจุดหมายปลายทาง เพราะล่าช้าแสงแดดที่เจิดจ้ากว่าปกติ จนแสบหน้าตาลายเหนื่อยจนหัวใจเกือบหยุดเต้น มานึกดูแล้ว เราร่วมเดินขบวนเฉลิมฉลองในวันกรรมกรสากล ตั้งแต่ตอนอายุได้ 17 ปี เข้าประตูโรงงานตั้งแต่ปี 2519 ซึ่งเป็นปีแรก มาถึงปี 2555 นี้ รวมเวลาที่ร่วมเดินริ้วขบวนวันกรรมกรสากล มาแล้ว 36 ปี คนป่วยเก่าๆได้ทยอยล้มหายตายจากไปหรือไม่ก็กลับไปพักฟื้นยังบ้านเกิดเมื่อนอนในบั้นปลายของชีวิตของพวกเขา ส่วนคนป่วยใหม่ๆก็มาเดินไม่ไหว

ความหวัง 300 บาท เพื่อยังชีพ

สภาวะในปัจจุบันนี้ ข้าวยากหมากแพง ค่าแรงต่ำ ค่าครองชีพถีบตัวสูงขึ้น ค่าจ้างประกาศขึ้น ค่ารถ ค่าเรือ ค่าน้ำมัน ขึ้นราคาล่วงหน้ามารอก่อนแล้ว เงิน 100 บาท เดินออกจากบ้าน หมดไปค่าเดินทาง ค่าอาหารได้เพียงมื้อเช้าเท่านั้น ปัญหาเรื่องปากเรื่องท้องล้วนเป็นปัญหาใหญ่สำหรับคนใช้แรงงาน

ชีวิตคนงาน-ครอบครัวปิดเทอม

อีกมุมหนึ่งที่ทุกคนอาจจะลืมคิดหรือไม่เคยคิดถึงเลย คือ กลุ่มคนที่ทำงานใน โรงงานอุตสาหกรรมตามหัวเมืองใหญ่ต่างๆหรือคนที่อพยพเข้ามาทำงานในเมืองใหญ่นั้น พวกเขามีครอบครัวหรือไม่ และถ้ามีแล้วเขาจะมีครอบครัวของเขาอย่างไร คงจะเป็นเรื่องยากที่จะทำให้ทุกคนเข้าใจเรื่องราวเหล่านี้ อาจเข้าใจได้ไม่ลึกซึ้งนักหากไม่ประสบกับตัวเอง แต่ก็มีคนงานจำนวนมากที่พยายามสร้างครอบครัวที่สมบูรณ์ตามปัจจัย 3 อย่าง เช่นกรณี นายอุดมพร ชาวพงษ์ คนงานในบริษัทอุตสาหกรรมเหล็กและโลหะ แห่งหนึ่งใน อ.ปลวกแดง จ.ระยอง ที่พยามจะทำทุกอย่างเพื่อให้ครอบครัวของตนให้ได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน และนาง ดารุณี พลซ้าย ที่จะได้พบหน้าลูกของเธอทั้ง 2 คนก็เฉพาะช่วงวันหยุดเทศกาลและช่วงที่ลูกปิดเทอมเท่านั้น ทั้งสองคนนี้เป็นแต่เสี้ยวหนึ่งของ คนงานที่มาทำงานในเมืองใหญ่

บทบาทกฎหมายกับการลดช่องว่างทางสังคมให้แรงงาน

สุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย

“ยุทธศาสตร์สำคัญของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย คือ พัฒนากฎหมายให้เป็นธรรม และทันสถานการณ์ ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ พันธกรณี บนพื้นฐานสร้างองค์ความรู้ และการเสริมสร้างความเข้มแข็ง และการมีส่วนร่วมของประชาชน

บนหลักนิติธรรม ธรรมาภิบาล และความเสมอภาคระหว่างประเทศ แต่เหนืออื่นใด ที่สำคัญที่สุดคือ การเสริมสร้างพลังของขบวนแรงาน และทำงานร่วมกับพลังทางสังคมต่างๆ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ขบวนการแรงงานต้องเชื่อมั่นว่า พลังของแรงงาน คือ พลังสำคัญที่สุดในการเป็นกองหน้าของการเปลี่ยนแปลงสังคม และลดช่องว่างทางสังคมให้ได้ ”

หมายเหตุ : ปาฐกถาพิเศษ บทบาทกฎหมายกับการลดช่องว่างทางสังคมให้กลุ่มแรงงาน เนื่องในโอกาสวันกรรมกรสากลปี 2555 วันที่ 27 เมษายน 2555 โรงแรมอิสติน มักกะสัน จัดโดย คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ โซลิดาริตี้เซ็นเตอร์ (SC) และ มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES)

“เมื่อแรงงาน วัดใจรัฐบาล อีกครั้งกับการเร่งร่างประกันสังคมเข้าสภาฯ”

ในอุณหภูมิสถานการณ์อันร้อนแรงของการเมืองที่มุ่งไปกับเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการสับขาหลอกประเด็นนำอดีตนายกฯทักษิณกลับประเทศ ทำให้กลายเป็นเรื่องสำคัญและบดบังความเดือดร้อนอื่นๆของภาคประชาสังคมไปในหลายเรื่อง โดยเฉพาะร่างกฎหมายของภาคประชาชน ที่เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรไปแล้ว ตั้งแต่สมัยประชุมที่ผ่านมา และมีการพิจารณาอยู่ในขั้นตอนของสภาผู้แทนฯ และวุฒิสภา ซึ่งรัฐบาลได้ยืนยันร่างกฎหมายแล้ว 7 ฉบับ และใน 7 ฉบับนั้นมีร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคม(ฉบับผู้ใช้แรงงาน และภาคประชาชน) พ.ศ. …ที่นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 14,264 คน เป็นผู้เสนอรวมอยู่ด้วย ในขณะที่การประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติจะปิดตัวลงในเมษายน 2555 ฉะนั้นจึงมีเวลาการนำร่างกฎหมายเข้าสภาวาระ 1 ไม่ถึง 30 วัน และถ้าเข้าไม่ทันก็อาจจะต้องรอ

สงกรานต์ กับ พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย และ ภิรมย์ ภูมิศักดิ์

สงกรานต์ปีนี้ ถนนในกรุงเทพว่างโล่งหลายวัน การเดินทางแม้ราบรื่นสะดวก แต่จิตใจของพวกเรากลับรู้สึกไม่โปร่งโล่งนัก ปีนี้พวกเราไม่ได้ไปที่บ้านเลขที่ 62 ซอยวัดบัวขวัญ ไม่ได้รดน้ำดำหัว ไม่ได้พรจากผู้ใหญ่ที่เคารพรัก และนี่ก็จะพ้นจากสงกรานต์ไปแล้ว อีก 4-5 วันก็จะครบ 1 เดือนที่ พี่ภิรมย์ ภูมิศักดิ์ จากพวกเรา จากทุกคน จากโลกนี้ไป พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยยังคงเปิดเป็นปกติ แม้จะไม่มีคนมาดูในช่วงนี้ แต่ “จะเข้” ของ อาจารย์จิตร ภูมิศักดิ์ ที่พี่ภิรมย์ มอบให้ ก็ยังคงเตรียมพร้อมเสมอที่จะบอกเล่าเรื่องราวสู่ชนรุ่นหลังต่อๆไป
.

ด้วยความเคารพรักและอาลัย
วิชัย นราไพบูลย์
พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย
๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕

เบื้องหลัง “ฉุกเฉิน”ระบบเดียว ; มาตรการลดเหลื่อมล้ำยังมีข้อกังขา

การรักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉิน 3 กองทุนสุขภาพ ทั้ง กองทุนสวัสดิการข้าราชการ กองทุนประกันสังคม และ ประกันสุขภาพถ้วนหน้า 3 กองทุน 1 มาตรฐานบริการ แม้จะเริ่มต้นภายใต้คำถามถึงความพร้อมในการให้บริการของทั้งโรงพยาบาลเอกชนและโรงพยาบาลรัฐบาล แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การเริ่มต้นพัฒนาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำระบบสุขภาพของรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เรียกเสียงตบมือ แต่รัฐบาลจะมีแนวทางที่จะทำให้ผู้รับบริการมั่นใจได้อย่างไรว่าจะได้รับมาตรฐานยาไปในแนวทางเดียวกัน จะยึดเกณฑ์การใช้ยาของกองทุนใด และจะมีการล็อกสเปคยาอีกหรือไม่ ระยะเวลาในการจ่ายเงินคืนให้กับแต่ละกองทุนจะล่าช้าตามระบบราชการไทยหรือไม่

เปิดปมสิทธิประกันสังคมแรงงานข้ามชาติยุค MOU

ข้อมูล ณ สิ้นปี 2554 พบว่า มีแรงงานต่างด้าวที่พิสูจน์สัญชาติและได้รับพาสปอร์ตกับใบอนุญาตทำงานแล้ว 505,238 คน นำเข้าตาม MOU อีก 72,356 คน และอยู่ระหว่างผ่อนผันอนุญาตให้ทำงานเพื่อรอพิสูจน์สัญชาติอีกราว 1,248,064 คน เมื่อเปรียบเทียบเป็นสัดส่วนจะพบว่า อัตราการใช้แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติต่อจำนวนผู้มีงานทำทั้งหมดจะอยู่ที่ 4.04% หรือทุก 100 คนจะเป็นแรงงานสัญชาติพม่า ลาว กัมพูชา ประมาณ 4 คน(1)

แรงงานต่างด้าวหรือแรงงานข้ามชาติที่หลบหนีเข้าเมืองสัญชาติ พม่า กัมพูชา และลาวที่มีเอกสารแสดงตัวและใบอนุญาตทำงานที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ จะเปลี่ยนสถานะเป็นผู้เข้าเมืองถูกต้องตามกฎหมาย ผลที่ตามมา คือ นายจ้างมีหน้าที่ต้องแจ้งขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติที่พิสูจน์สัญชาติแล้วเป็นลูกจ้างตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 และเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 ภายใน 30 วันที่ลูกจ้างนั้นมีหลักฐานครบถ้วน

คำถาม จากแรงงานกับการบริหารประกันสังคม

สิ่งที่แรงงานต้องการและอยากเห็นจากประกันสังคมคือ การให้บริการที่เป็นธรรม เหมาะสมกับค่าเงินที่พวกเขาและนายจ้างได้ส่งเงินสมทบอยู่ทุกเดือน นี่ยังไม่รวมเงินภาษีที่รัฐบาลนำมาใช้เป็นเงินส่งสมทบรวมอีกร้อยละ2.5 ฉะนั้นการบริการที่แรงงานไปใช้จึงเป็นสิทธิและสวัสดิการที่ไม่ใช่ระบบสงเคราะห์ที่ผู้ประกันตนผู้ใช้แรงงานไม่ได้จ่าย เงินทุกบาททุกสตางค์ที่เขาหามาได้และจ่ายสมทบประกันสังคมนั้นเป็นเงินที่พวกเขาแลกมาด้วยหยาดเหงื่อของพวกเขา ฉะนั้นเขาก็ควจะต้องได้ใช้ประโยชน์จากเงินนั้นให้มากที่สุด ไม่ใช่ถูกรัฐนำไปใช้ตามนโยบายอื่นแทนการพัฒนาระบบสวัสดิการ เช่น การดูงาน การจัดทำเสื้อวันแรงงาน การประชาสัมพันธ์แบบไม่ถึงผู้ประกันตนทั้งหมดเกือบ 10 ล้านคน

ประกันสังคมกับแรงงานนอกระบบความเท่าเทียมที่ต้องรอ

เมื่อเดือนมกราคม 2555 สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ได้สำรวจจำนวนแรงงานนอกระบบปี 2554 ซึ่งเป็นผู้ทำงานที่ไม่ได้รับความคุ้มครองและไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการทำงาน พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 24.6 ล้านคน จากจำนวนผู้ที่มีงานทำทั้งสิ้น 39.3 ล้านคน เป็นผู้ชาย 13.2 ล้านคน ผู้หญิง 11.4 ล้านคน ทำงานอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุดถึงร้อยละ 41.5 รองลงมาเป็นภาคเหนือ ร้อยละ 21.4 ภาคกลาง ร้อยละ 18.7 ภาคใต้ ร้อยละ 13.3 ขณะที่กทม.มีเพียงร้อยละ 5.1 เท่านั้น ส่วนใหญ่แรงงานนอกระบบทำงานอยู่ในภาคเกษตรกรรมถึง 15.1 ล้านคน หรือร้อยละ 61.4 รองลงมาทำงานอยู่ในภาคการค้าและการบริการ ร้อยละ 29.7 และภาคการผลิต ร้อยละ 8.9

ประกันสังคมกับแรงงานข้ามชาติสิทธิที่ไม่เท่าเทียม?

จากข้อมูลของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้คาดการณ์ไว้ว่า ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างช้าๆ โดยมีอัตราการพึ่งพิงโดยรวมจากร้อยละ 47 ในปี 2549 เป็นประมาณร้อยละ 49 ในปี 2550 – 2553 ในขณะที่อัตราการเจริญพันธุ์ของประชากรไทยในขณะนี้อยู่ที่ร้อยละ 1.8 ซึ่งต่ำกว่าอัตราทดแทนของกำลังแรงงาน ขณะที่อุตสาหกรรมหลายประเภทต่างก็ขาดแคลนแรงงานในการผลิตเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน พร้อมกับที่ประเทศมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความต้องการแรงงานก็มีมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นการใช้กำลังแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจะเห็นได้จากตัวเลขแรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติที่มีจำนวนสูงขึ้นทุกปี

“เมื่อแรงงานวัดใจรัฐบาลอีกครั้ง กับการเร่งร่างประกันสังคมเข้าสภาฯ”

ในอุณหภูมิสถานการณ์อันร้อนแรงของการเมืองที่มุ่งไปกับเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการสับขาหลอกประเด็นนำอดีตนายกฯทักษิณกลับประเทศ ทำให้กลายเป็นเรื่องสำคัญและบดบังความเดือดร้อนอื่นๆของภาคประชาสังคมไปในหลายเรื่อง โดยเฉพาะร่างกฎหมายของภาคประชาชน ที่เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรไปแล้ว ตั้งแต่สมัยประชุมที่ผ่านมา และมีการพิจารณาอยู่ในขั้นตอนของสภาผู้แทนฯ และวุฒิสภา ซึ่งรัฐบาลได้ยืนยันร่างกฎหมายแล้ว 7 ฉบับ และใน 7 ฉบับนั้นมีร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคม(ฉบับผู้ใช้แรงงาน และภาคประชาชน) พ.ศ. …ที่นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 14,264 คน เป็นผู้เสนอรวมอยู่ด้วย ปัจจุบันร่างกฎหมายประกันสังคม ฉบับ 14,264 ชื่อ ได้มีการบรรจุเป็นระเบียบวาระเพื่อพิจารณาเร่งด่วนของการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ลำดับที่ 9 ที่รอคิวเข้าอย่างใจจดใจจ่อ แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่ได้ถูกนำเข้าพิจารณาวาระ 1 สักทีหนึ่ง เพราะเมื่อถึงเวลาก็มักจะถูกลัดแรงแซงคิวจากร่างกฎหมายอื่นที่รัฐบาลเห็นว่าสำคัญกว่าเข้าสภาไปก่อน

1 16 17 18 27