ความคืบหน้าการผลักดันนโยบายสาธารณะ พระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่..) พ.ศ. ….

จากการประชุมคณะทำงาน ผลักดันร่างพระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่….) พ.ศ. …. ในวันศุกร์ ที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๓ ที่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรหลัก และเป็นผู้ประสานงานในการเคลื่อนนโยบายดังกล่าว ร่วมกับคณะทำงาน Core Team โดยการสนับสนุนจากแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เบื้องต้นจากการประชุมได้มีการวางแผนที่จะมีการจัดเวทีสานเสวนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับแก้ไขสิทธิประโยชน์พระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่….) พ.ศ. …. (ฉบับเครือข่ายแรงงานและภาคประชาชน) ขึ้น ในวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๓ เพื่อให้ผ่านความเห็นที่รอบด้านทั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ เครือข่ายผู้นำแรงงาน และผู้ที่ได้รับผลกระทบประสบอันตรายจากการทำงาน และภาคีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพราะสถานการณ์ทางนิติบัญญัติของพระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่….) พ.ศ. ….

สรุปสาระสำคัญ ร่าง พระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….

สรุปสาระสำคัญ
ร่าง พระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ฉบับบูรณาการแรงงาน)

ความเป็นมา
เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย , มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน , เครือข่ายแรงงานนอกระบบ , เครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ , สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย , สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย และเครือข่ายผู้ประกันตน โดยการสนับสนุนของแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้เล็งเห็นความสำคัญของการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 ในโอกาสที่กฎหมายประกันสังคมบังคับใช้มานาน 20 ปี (กันยายน 2533 – กันยายน 2553) จึงได้ร่วมกันยกร่าง “พระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ” (ฉบับบูรณาการแรงงาน) มาตั้งแต่เดือนกันยายน 2552 โดยการยกร่างกฎหมายจะให้ความสำคัญต่อการปรับปรุงสำนักงานประกันสังคม (สปส.) จากหน่วยราชการระดับกรม เป็นองค์กรมหาชนอิสระ ที่บริหารจัดการด้วยคณะกรรมการที่มีความรู้ความสามารถและมีส่วนร่วมจากผู้ประกันตนและนายจ้างปลอดพ้นจากการครอบงำแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองและข้าราชการ

17 ปีกับการผลักดันการจัดตั้งสถาบันความปลอดภัยเป็นองค์กรอิสระ

เริ่มเห็นผลจากการที่ได้ช่วยกันลงแรงร่วมพลังกันอย่างมากมายพร้อมเพียง จนทำให้ การจัดตั้งองค์กรอิสระสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยได้เข้าไปบรรจุอยู่ในหมวดที่ 6/1 มาตรา 51/1 และให้กระทรวงแรงงานจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯขึ้นมาภายใน 1 ปี หลังกฎหมายประกาศใช้ แต่ขณะนี้ พ.ร.บ.ความปลอดภัยฯ ฉบับที่มีการบรรจุการจัดตั้งสถาบันฯส่งเสริมความปลอดภัยนี้กำลังอยู่ในการประชุมพิจารณาของสมาชิกวุฒิสภาเพื่อพิจารณากฎหมายให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 26 ตุลาคม 2553 เพื่อส่งให้สภาฯ มีมติรับรองอีกครั้ง ดังนั้นสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯในฐานะองค์กรหลักที่รับผิดชอบร่วมกับทุกภาคี มีความกังวลอยากจะเสนอผ่านสื่อมวลชนทั้งหลาย …ไปยังสมาชิกวุฒิสภา ได้โปรดพิจารณาผ่านกฎหมาย พ.ร.บ. ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยเฉพาะหมวด 6/1 ทีมีการจัดตั้งองค์กรอิสระสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯด้วย

ค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ … ก้าวใหม่ของนโยบายค่าจ้าง โดยรัฐ ??

เนื่องจากสถานประกอบการจำนวนมหาศาลไม่มีหลักเกณฑ์การปรับค่าจ้างประจำปีที่โปร่งใสเป็นธรรมและมีส่วนร่วมจากฝ่ายลูกจ้าง ทำให้ “ค่าจ้างขั้นต่ำ”ที่กระทรวงแรงงานประกาศบังคับใช้ในแต่ละปี กลายเป็นฐานค่าจ้างที่นายจ้างหลายแห่งนำไปใช้เป็นค่าจ้างของลูกจ้างหรือเกณฑ์การปรับค่าจ้าง โดยไม่คำนึงถึงภาวะเงินเฟ้อ-ค่าครองชีพ, ทักษะฝีมือและการแบ่งปันกำไรจากผลประกอบการอย่างแท้จริง หลายโรงงานที่ไม่มีสหภาพแรงงานหรือมีสหภาพแรงงานไม่เข้มแข็ง ค่าจ้างของคนงานจำนวนมากจะใกล้เคียงค่าจ้างขั้นต่ำหรืออ้างอิงค่าจ้างขั้นต่ำมาตลอด ส่งผลให้คนงานต้องทำงานล่วงเวลาเป็นประจำ ทำงานในวันหยุดหรือควงกะ อาจต้องทำงานแบบเหมางานรายชิ้นปริมาณมากตามคำสั่งซื้อของลูกค้าและความต้องการของนายจ้าง เพื่อให้มีรายได้มากเพียงพอแก่การเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัว

เจตนารมณ์การผลักดันองค์กรอิสระ กับความปลอดภัยในการทำงาน

หากมองย้อนไปในอดีต 17 ปีที่ผ่านมา มีการเกิดโศกนาฏกรรม ซ้ำซากที่ทำให้เกิดการสูญเสียสุขภาพร่างกาย จิตใจ คนงาน แล้วยังนำมาสู่การเกิดความหายนะมาสู่ครอบครัว ซ้ำร้ายยังเกิดการกล่าวขาน ไปในทางไม่ดีไปทั่วโลก กับเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่สะเทือนขวัญของแรงงานไทยได้แก่ * ชุมชนคลองเตยถูกผลกระทบจากสารเคมีระเบิดที่คลองเตย (2 มี.ค.34) มีผู้เสียชีวิต 4 คน บ้านเรือน 642 หลังคาเรือนเสียหายในกองเพลิง*โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ไฟไหม้ตึกถล่ม จังหวัดนครปฐม จนทำให้คนงานวัยหนุ่มสาว ต้องตายถึง 188 ศพและบาดเจ็บถึง 469 ราย (ในวันที่ 10 พ.ค. 36)*โรงงานรอยัลพลาซ่าถล่ม (วันที่ 13 ส.ค.36 ) มีคนงานข้าราชการ นักท่องเที่ยวตายรวม 167 รายบาดเจ็บกว่า 200 ราย กรณีไฟไหม้โรงแรมรอยัลจอมเทียน (11 ก.ค.40) ทำให้คนงาน นักท่องเที่ยว และพนักงานไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ตายรวมจำนวน 91 รายบาดเจ็บกว่า 50 ราย โรงงานอบลำไยแห้งบริษัทหงษ์ไทยระเบิด (19 ก.ย. 2542) คนงานเสียชีวิต 36 คน บาดเจ็บ 2 ราย ชุมชนสันป่าตองบริเวณรอบโรงงานรัศมี 1 กิโลเมตร บ้านเรือน วัด โรงเรียน โรงพยาบาล เสียหายกว่า 571 หลังคา เรือน และชาวบ้านบาดเจ็บ 160 ราย จะเห็นว่าผลกระทบเหล่านี้ยังขยายตัวออกมาสู่คนในชุมชน เช่น ชุมชนแม่เมาะ จ.ลำปาง

ข้อมูลเพื่อประกอบการผลักดัน “ค่าจ้างที่เป็นธรรม”

“ค่าจ้าง” ไม่ได้เป็นเพียงตัวชี้วัดค่าตอบแทนสำหรับคนงานเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวชี้วัดสินค้าและบริการที่เข้าออกในระบบเศรษฐกิจอันเป็นผลมาจากการดำเนินงานของกลไกการผลิตด้วยเช่นกัน เศรษฐกิจจะมั่นคงอยู่ได้ก็เพราะค่าจ้างของคนงานที่ส่งผลต่อเนื่องถึงสมาชิกในสังคมกลุ่มอื่นๆ และส่งผลให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

DECENT WORK งานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน

งานที่มีคุณค่าสรุปอยู่ในความใฝ่ฝันของผู้คนในชีวิตการทำงานของพวกเขา — แรงบันดาลใจของพวกเขาสำหรับโอกาสและรายได้สิทธิการรับรู้เสียงและความมั่นคงของครอบครัวและการพัฒนาส่วนบุคคลและความเป็นธรรมและความเสมอภาคหญิงชาย ในที่สุดเหล่านี้สัดส่วนต่างๆของงานที่มีคุณค่าหนุนความสงบสุขในชุมชนและสังคม งานที่มีคุณค่าสะท้อนให้เห็นถึงความกังวลของรัฐบาลที่คนงานและนายจ้างที่ร่วมกันให้องค์การแรงงานระหว่างประเทศที่มีเอกลักษณ์ที่ไม่ซ้ำกันของไตรภาคี

20 ปีสปส.ถึงเวลาที่ต้องปฏิรูปเป็นองค์กรอิสระ

ดิฉันอยากจะย้ำบ่อยครั้งว่า การเกิดกองทุนของประกันสังคมนั้นเกิดจากความทุกข์ยากของคนงานที่เวลาเจ็บป่วยไม่มีเงินรักษา เวลาตายไม่มีเงินทำศพ เวลาทุพพลภาพไม่มีใครดูแล ตกงานก็ไม่มีเงินค่าเช่าบ้าน ไม่มีเงินให้ลูกไปโรงเรียน ไม่มีเงินแม้แต่จะซื้อข้าวกิน นี้คือปัญหาที่เกิด ทำให้คนงานในเขตย่านอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งภาครัฐวิสาหกิจ นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชนนักศึกษา ข้าราชการตัวอย่างเช่น อาจารย์นิคม จันทรวิทุร และผู้นำแรงงานให้ความสำคัญเคลื่อนไหวใหญ่ในเดือนกันยายน 2533 จนประสบความสำเร็จ

…โดย วิไลวรรณ แซ่เตีย
ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย

ทำอย่างไรกับบริษัทแม่แต่ไม่ใช่นายจ้าง

หลายคนคงทำงานเป็นลูกจ้างกับบริษัทใหญ่ๆและมีกิจการหลายกิจการหรือเปิดหลาย สาขามีการจัดการระบบจัดการที่บริษัทใหญ่ไม่ว่าจะรับสมัครพนักงานแล้วส่งลง สาขาหรือกำหนดค่าจ้างหรือสวัสดิการต่างๆก็เป็นนโยบายจากบริษัทใหญ่หรือที่ ทั่วไปเรียกว่า”บริษัทแม่” นั้นเอง การดำเนินกิจการของนายจ้างเป็นอย่างนี้คงจะไม่เกิดการเขียนบอกเล่าให้พี่ น้องได้รับทราบหรอกเพราะหลายท่านรู้ดีอยู่แล้วเกี่ยวกับระบบต่างๆของการ ดำเนินการตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ไม่ว่าจะเป็นการยื่นข้อเรียกร้อง การเจรจาต่อรอง การขอพูดคุยขอเปลี่ยนแปลงสวัสดิการหรือเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยตรงกับ บริษัทได้เลยใช่ไหมครับ

ปลดล็อค….สำนักงานประกันสังคม

ปลดล็อค….การการบริหารของสำนักงานประกันสังคม

ได้รับความสนใจจากผู้เกี่ยวข้องมาโดยตลอด ในปัจจุบันมีความเห็นจากสังคมว่าน่าจะการปรับปรุงการบริหารเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพโดยเฉพาะการบริหารกองทุน ทั้งนี้ด้วยเหตุผลหลักๆ ที่พอจะรวบรวมความคิดเห็นได้ดังนี้ 1. ขาดอิสระในการบริหารงาน 2. ระเบียบราชการเป็นอุปสรรคในการดำเนินงานโดยเฉพาะงานบางส่วนที่ต้องมีความรวดเร็วในการตัดสินใจ 3. ผู้บริหารไม่ใช่มืออาชีพ 4. คณะกรรมการมิใช่ผู้แทนที่แท้จริงของกลุ่มและไม่ใช่ผู้มีความรู้ในสาขาที่กำหนดอย่างแท้จริง

สรุปสาระสำคัญ ร่างพ.ร.บ.สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย

สถานะของสถาบันฯ

(1) สถาบันนี้ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ เป็นองค์กรนิติบุคคลของรัฐภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงแรงงาน

(2) วัตถุประสงค์การจัดตั้งสถาบันฯ 4 ประการ คือ 1. ส่งเสริมและแก้ไขปัญหาความปลอดภัยฯ 2. พัฒนาและสนับสนุนการจัดทำมาตรฐานเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยฯ 3. บริการทางแพทย์เกี่ยวกับการรักษา ขึ้นกับโรคพิจารณาจ่ายเงินทดแทนและการฟื้นฟูสมรรถภาพของลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้สามารถกลับเข้าทำงานประกอบอาชีพได้ตามความเหมาะสม และ4. สนับสนุนและร่วมดำเนินงานกับหน่วยงานด้านความปลอดภัยฯในการทำงานของภาครัฐและเอกชน

พรบ.ความปลอดภัย บันทึกประวัติศาสตร์ สภาไทย

เมื่อปลายเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมาข่าวหน้าหนึ่งหลายฉบับได้พาดหัว การเกิดโศกนาฏกรรมตึกที่กำลังก่อสร้างของมหาวิทยาลัยมศว.บางแสน ถล่มลงมามีแรงงานที่ได้รับบาดเจ็บจำนวนมากกว่า 30 คน มีผู้เสียชีวิต 3 คน นี่เป็นบทเรียนครั้งล่าสุด ในรอบ17 ปี หลังเกิดเหตุการณ์โศกนาฏกรรมไฟไหม้โรงงานครั้งร้ายแรงเป็นอันดับสองของโลกคือโรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ จ.นครปฐม ตายไป 188 คน บาดเจ็บ 469 ราย และถ้ารวมผลกระทบจากสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม ชุมชนที่ถูกทำลายจากการพัฒนาอุตสาหกรรม

1 26 27