ประกันสังคมกับแรงงานนอกระบบความเท่าเทียมที่ต้องรอ

เมื่อเดือนมกราคม 2555 สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ได้สำรวจจำนวนแรงงานนอกระบบปี 2554 ซึ่งเป็นผู้ทำงานที่ไม่ได้รับความคุ้มครองและไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการทำงาน พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 24.6 ล้านคน จากจำนวนผู้ที่มีงานทำทั้งสิ้น 39.3 ล้านคน เป็นผู้ชาย 13.2 ล้านคน ผู้หญิง 11.4 ล้านคน ทำงานอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุดถึงร้อยละ 41.5 รองลงมาเป็นภาคเหนือ ร้อยละ 21.4 ภาคกลาง ร้อยละ 18.7 ภาคใต้ ร้อยละ 13.3 ขณะที่กทม.มีเพียงร้อยละ 5.1 เท่านั้น ส่วนใหญ่แรงงานนอกระบบทำงานอยู่ในภาคเกษตรกรรมถึง 15.1 ล้านคน หรือร้อยละ 61.4 รองลงมาทำงานอยู่ในภาคการค้าและการบริการ ร้อยละ 29.7 และภาคการผลิต ร้อยละ 8.9

ประกันสังคมกับแรงงานข้ามชาติสิทธิที่ไม่เท่าเทียม?

จากข้อมูลของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้คาดการณ์ไว้ว่า ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างช้าๆ โดยมีอัตราการพึ่งพิงโดยรวมจากร้อยละ 47 ในปี 2549 เป็นประมาณร้อยละ 49 ในปี 2550 – 2553 ในขณะที่อัตราการเจริญพันธุ์ของประชากรไทยในขณะนี้อยู่ที่ร้อยละ 1.8 ซึ่งต่ำกว่าอัตราทดแทนของกำลังแรงงาน ขณะที่อุตสาหกรรมหลายประเภทต่างก็ขาดแคลนแรงงานในการผลิตเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน พร้อมกับที่ประเทศมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความต้องการแรงงานก็มีมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นการใช้กำลังแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจะเห็นได้จากตัวเลขแรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติที่มีจำนวนสูงขึ้นทุกปี

“เมื่อแรงงานวัดใจรัฐบาลอีกครั้ง กับการเร่งร่างประกันสังคมเข้าสภาฯ”

ในอุณหภูมิสถานการณ์อันร้อนแรงของการเมืองที่มุ่งไปกับเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการสับขาหลอกประเด็นนำอดีตนายกฯทักษิณกลับประเทศ ทำให้กลายเป็นเรื่องสำคัญและบดบังความเดือดร้อนอื่นๆของภาคประชาสังคมไปในหลายเรื่อง โดยเฉพาะร่างกฎหมายของภาคประชาชน ที่เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรไปแล้ว ตั้งแต่สมัยประชุมที่ผ่านมา และมีการพิจารณาอยู่ในขั้นตอนของสภาผู้แทนฯ และวุฒิสภา ซึ่งรัฐบาลได้ยืนยันร่างกฎหมายแล้ว 7 ฉบับ และใน 7 ฉบับนั้นมีร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคม(ฉบับผู้ใช้แรงงาน และภาคประชาชน) พ.ศ. …ที่นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 14,264 คน เป็นผู้เสนอรวมอยู่ด้วย ปัจจุบันร่างกฎหมายประกันสังคม ฉบับ 14,264 ชื่อ ได้มีการบรรจุเป็นระเบียบวาระเพื่อพิจารณาเร่งด่วนของการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ลำดับที่ 9 ที่รอคิวเข้าอย่างใจจดใจจ่อ แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่ได้ถูกนำเข้าพิจารณาวาระ 1 สักทีหนึ่ง เพราะเมื่อถึงเวลาก็มักจะถูกลัดแรงแซงคิวจากร่างกฎหมายอื่นที่รัฐบาลเห็นว่าสำคัญกว่าเข้าสภาไปก่อน

เวทีสาธารณะเชื่อถ้ารัฐบาลจริงใจ ประกันสังคมฉบับแรงงานเข้าสภาได้แน่

เวทีสาธารณะไทยพีบีเอส “ผลักดัน พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับเข้าชื่อ 14,264 รายชื่อของแรงงาน” หน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2555 ทุกฝ่ายเห็นตรงกันประกันสังคมมีปัญหามากต้องปฏิรูป แก้โครงสร้างอาจใช้เวลานานแต่ยั่งยืน เชื่อหากรัฐบาลจริงใจและการเมืองทุกฝ่ายร่วมมือกฎหมายเข้าชื่อของประชาชนฉบับนี้เข้าสภาทันสมัยประชุมนี้แน่ ฝ่ายแรงงานแจงข้อดีการบริหารงานอิสระ ขยายคุ้มครองแรงงานทุกกลุ่ม เพิ่มสิทธิประโยชน์ และผู้ประกันตนมีส่วนร่วมเลือกตั้งบอร์ดโดยตรงสอดคล้องเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ
(รายการออกอากาศในวันเสาร์ที่ 31 มีนาคม 2555 เวลา 14.00น.)

แรงงานบุกสภาจี้!รัฐรับร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับประชาชน)

แรงงานรุกบุกสภาฯยื่นหนังสือทวงความจริงใจรัฐบาลกรณีวาระเร่งด่วนร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม ฉบับประชาชน ฝากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าฝ่ายค้านช่วยตาม พร้อมยื่นถามประธานรัฐสภา เสนอร่างฯเข้าที่ประชุมและรับหลักการให้ทันสมัยประชุมนี้ ก่อนค่อยมาร่วมกันพิจารณาหลังตั้งอนุกรรมาธิการฯ

แรงงาน! เดินหน้าผลักดันประกันสังคม

แรงงาน ร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการปฏิรูประบบประกันสังคมให้เกิดความถ้วนหน้า เป็นอิสระ และโปร่งใส โดยจัดกิจกรรมรณรงค์ในวันที่ 22 มีนาคม 2555 เคลื่อนขบวนจากลานพระบรมรูปทรงม้า – รัฐสภา ยื่นหนังสือต่อ ตัวแทนรัฐบาลและฝ่ายค้าน ที่รัฐสภา

ชี้นโยบาย 300 บาทหวังคะแนนเสียง เสนอ “รัฐสวัสดิการ” ดีกว่า “ประชานิยม”

เสวนาวิชาการ“นโยบายค่าจ้างกับการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมไทย-ไม่เป็นธรรมอย่างไร” ระบุการกำหนดเกณฑ์ค่าจ้างขั้นต่ำก็เพื่อเป็นหลักประกันด้านรายได้ให้คนงานและครอบครัวที่ไร้อำนาจต่อรอง ผู้นำแรงงานเผยทำงานมานานทักษะฝีมือสูงก็ยังได้ค่าจ้างขั้นต่ำแต่ค่าครองชีพที่สูง นักวิชาการ มช.ชี้การใช้แรงงานราคาถูกตอบสนองการผลิตส่งออกทำให้เกิดคนรวยกระจุกตัวและสังคมเกิดความเหลื่อมล้ำ บอกนโยบายขึ้นค่าจ้าง 300 บาทแค่หวังคะแนนเสียงชนะเลือกตั้ง แล้วพลิกเปลี่ยนค่าจ้างว่าเป็นรายได้ และปรับขึ้นเพียงบางจังหวัด เห็นว่าควรปรับเปลี่ยนนโยบายประชานิยมไปเป็นรัฐสวัสดิการ ใช้นโยบายค่าจ้างเพื่อการพัฒนาประเทศไม่ใช่เพื่อการกดค่าจ้าง
(ข่าวเผยแพร่ใหม่หลังเว็บไซต์ถูกแฮ็ก)

เปิดปม! ชะตากรรมแรงงานสิ่งทอ-อิเล็คทรอนิคส์ เลวร้ายสุดๆหลังน้ำท่วม

การเสวนาเรื่อง “เปิดปม..ชะตากรรมและความไม่เป็นธรรมของแรงงานค่าจ้างขั้นต่ำ” เผยให้เห็นผลกระทบที่เกิดกับลูกจ้างในอุตสาหกรรมต่างๆจากเหตุการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วมต้องเผชิญชะตากรรมที่แตกต่างกันออกไป ลูกจ้างสิ่งทอและอีเล็คทรอนิคส์ส่วนใหญ่กินค่าแรงขั้นต่ำและไม่ค่อยมีการรวมตัวหรือมีสหภาพแรงงานไม่เข้มแข็งจะได้รับผลกระทบมากกว่ากลุ่มลูกจ้างยานยนต์ซึ่งส่วนใหญ่ได้ค่าจ้างสูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ และมีโครงสร้างค่าจ้างปรับขึ้นเงินประจำปี มีสหภาพแรงงานในการสร้างอำนาจต่อรองที่เข้มแข็ง แต่ก็ยังคุ้มครองไม่ถึงลูกจ้างเหมาค่าแรงจำนวนมาก ฐานธุรกิจกลุ่มยานยนต์ยังแข็งแกร่งกว่าจึงไม่ค่อยมีการย้ายฐานการผลิตมากนัก
(ข่าวเผยแพร่ซ้ำหลังเว็บไวต์ถูกแฮ็ก)

นานาทัศนะปฎิรูปประกันสังคม

ระบบประกันสังคมมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปครั้งใหญ่ เพราะมีการบริหารที่เป็นหน่วยราชการรวมศูนย์มานานกว่า 20 ปี แล้วก็ถูกตั้งข้อสงสัยวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ประกันตน นายจ้าง สังคม สื่อมวลชน ว่ามีความไม่โปร่งใสในการทำงานขาดการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องอย่างแท้จริง
ทำยังไงที่จะให้กองทุนประกันสังคมซึ่งเป็นกองทุนใหญ่ที่สุดกองทุนหนึ่งของประเทศ และก็เป็นเงินส่วนหนึ่งมาจากลูกจ้างหรือผู้ใช้แรงงาน จะมีการบริหารที่เป็นอิสระ โปร่งใส และก็ตรวจสอบได้ ที่สำคัญที่สุด ทำยังไงที่จะให้ภาคส่วนของผู้ใช้แรงงานเข้ามามีส่วนร่วม ได้รับประโยชน์ทั้งดอก ทั้งผล ทั้งต้น ย้อนกลับไปที่ผู้ใช้แรงงานให้มากที่สุด

ดีเดย์ 22 มีนา แรงงานเคลื่อน ! ดันสภารับร่างฯประกันสังคม 14,264 รายชื่อ

เครือข่ายแรงงานในระบบ นอกระบบ ข้ามชาติ เดินหน้าดันร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับประชาชน พร้อมนัดวันที่ 22 มีนาคม 2555 เวลา 09.00 น. ลานพระบรมรูปทรงม้า เดินรณรงค์ไปหน้ารัฐสภายื่นหนังสือย้ำสภาฯเร่งวาระพิจารณาร่างกฎหมายฉบับประชาชนก่อนปิดสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัตินี้

วิดีโอ คมคิดคน-ปฎิรูปประกันสังคม

ระบบประกันสังคมของไทย คงถึงคราวที่จะต้องมีการปฏิรูปครั้งใหญ่ เพราะการบริหารงานที่เป็นหน่วยราชการรวมศูนย์มานานถึง 20 ปี ถูกตั้งข้อสงสัย วิพากษ์วิจารณ์ จากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ประกันตน นายจ้าง สังคม และสื่อมวลชนมาโดยตลอดว่า มีความไม่โปร่งใสในการทำงาน ขาดการมีส่วนร่วมของผู้ประกันตนอย่างแท้จริง อีกทั้งขณะนี้ ก็กำลังจะขยายไปรองรับคนจำนวนมากขึ้น
ดังนั้นขบวนการแรงงานได้เข้าชื่อ 14,264 รายชื่อ เพื่อเสนอร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมเข้าสู่สภา แต่ยังไม่ได้รับการพิจารณาซึ่งเป็นสิ่งที่มีเนื้อหาก้าวหน้าเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้แรงงานหลายประการ

กลุ่มผู้หญิงฮือ! จี้รัฐบาล แก้ปัญหาแรงงานหญิง

นางสาวธนพร วิจันทร์ กล่าวว่า วันนี้เป็นวันที่ 8 มี.ค. วันสตรีสากลทั่วโลก กลุ่มบูรณาการฯ ได้มีการประชุมหารือกับพี่น้องเครือข่ายแรงงานหญิงทุกองค์กร ว่าจะมีการเดินรณรงค์เคลื่อนไหว พร้อมทั้งยื่นข้อเรียกร้องต่อท่านายกรัฐมนตรี ก่อนหน้านี้ก็ได้รู้ว่าท่านนายกไม่อยู่มอบหมายให้ผู้แทนมารับหนังสือ จากการประสานงานก่อนเข้าพบนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ คุณลลินี ซึ่งเป็นเลขาสำนักนายกรัฐมนตรี มารับหนังสือแทน เนื่องจากท่านนายกติดภารกิจกับนายทุนต่างชาติ ต้องเดินทางไปต่างประเทศ แต่ผลปรากฏว่าวันที่ 8 มี.ค. 55 กลุ่มบูรณาการฯจะยื่นหนังไม่มีใครมารับหนังสือ ทำให้ทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้ต่างพากันผิดหวังในตัวผู้นำประเทศมาก ไม่เห็นความสำคัญของวันสตรี ทั้งๆที่นายกรัฐมนตรีก็เป็นผู้

หญิง การกระทำเช่นนี้บ่งบอกได้ว่ามีความตั้งใจและวางแผนที่จะไม่มารับหนังสือ และมีเจตนารมณ์ที่ชัดเจนว่า จะไม่ทำงานร่วมกับผู้หญิงข้อเสนอของผู้หญิงก็จะไม่รับการแก้ไข อีกต่อไป อย่างน้อยการที่ได้รับเลือกตั้งจากคะแนนเสียงประชาชนก็ขอให้เห็นความสำคัญของประชาชนคนงานบ้าง

1 2 3 4