วันแรงงานยื่นขอปรับขึ้นค่าจ้าง -ให้สัตยาบันILO ต่อนายก

20150501_091541

2 ขบวนการแรงงานเดินรณรงค์เรียกร้องนายกแก้ปัญหา เร่งรัฐให้สัตยาบัน ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ หยุดแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ปฏิรูปสำนักงานประกันสังคม แก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงาน ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ตั้งกองทุนประกันความเสี่ยง ยกระดับสำนักงานความปลอดภัย ตราพ.ร.ฎ.การจัดเก็บเงินสะสม และเงินสมทบเพื่อเป็นกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง และให้รัฐสนับสนุนพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

DSCN9319DSCN9470

ในวันทที่1 พฤษภาคม 2558 ปีนี้ขบวนการแรงงานประกอบด้วยคณะจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ จาก 14 สภาองค์การลูกจ้าง 1 สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ ที่มีนายมานิตย์ พรหมการีย์กุล เป็นประธานจัดงานโดยมีคำขวัญ  “แรงงานไทยปรองดอง เฉลิมฉลองจักรีวงศ์ รณรงค์สู่อาเซียน” จัดกิจกรรมทำบุญตักบาตร และเดินรณรงค์จากทำเนียบรัฐบาลสู่ท้องสนามหลวง โดยมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานเปิดงาน

20150501_09402920150501_094039

ส่วนคณะจัดงานวันกรรมกรสากล 2558 ประกอบด้วยคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ร่วมกับสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) นำโดยนางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคสรท. และนายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสรส.  โดยมีคำขวัญ “สามัคคีกรรมกร ต้านทุนนิยมครอบโลก สร้างสังคมใหม่ ประชาธิปไตยประชาชน” นัดรวมตัวกันที่หน้ารัฐสภามีพิธิเปิด เพื่อติดตามข้อเรียกร้อง 4 ข้อต่อนายกรัฐมนตรี จากนั้นเดินขบวนไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเพื่อประกาศเจตณารมณ์ ในโอกาสวันแรงงานสากล โดยยึดมั่นในคำประกาศแห่งฟีลาเดลเฟียขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)ปี 2487 ดังนี้

  1. แรงงานไม่ใช่สินค้า
  2. เสรีภาพในการแสดงความเห็นและจัดตั้งสมาคมเป็นสิ่งสำคัญสู่ความก้าวหน้าอันยั่งยืน
  3. ความยากจน ณ แห่งใดแห่งหนึ่ง ย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญรุ่งเรืองในทุกแห่ง
  4. มนุษย์ทุกคน โดยไม่คำนึงถึง เชื้อชาติ ความเชื่อ และเพศใด มีสิทธิที่จะแสวงหาทั้งสวัสดิภาพทางวัตถุ และพัฒนาการด้านจิตใจ ภายในเงื่อนไขของเสรีภาพและความมีศักดิ์ศรี ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และโอกาสอันเท่าเทียมกัน

ข้อเรียกร้อง 2 ขบวนที่เหมือนและต่างกันมีดังนี้

คณะจัดงานวันแรงงานแห่งชาติปี 2558 คณะจัดงานวันกรรมกรสากล 2558
1. ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่87 และ98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวเจรจาต่อรอง รัฐต้องให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคม และคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน และอนุสัญญาฯฉบับที่ 98 ว่าด้วยการปฏิบัติตามหลักการแห่งสิทธิในการรวมตัว และการเจรจาต่อรอง เพื่อสร้างหลักประกันสิทธิในการรวมตัว และการเจรจาต่อรอง เพื่อให้กลไกของลูกจ้าง สหภาพแรงงานเป็นส่วนช่วยให้คนงานเข้าถึงสิทธิ และเป็นกลไกในการเป็นเกราะป้องกันไม่ให้คนงานถูกกระทำอย่างไม่เป็นธรรม และเป็นส่วนช่วยรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงาน การค้ามนุษย์ที่ประเทศไทยถูกจับตามมองเป็นพิเศษจากสังคมโลก และรัฐบาลยังไม่มีกลไกที่ดีพอในการแก้ไขปัญหา การรับรองอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ จะเป็นโอกาสที่ดีของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวซึ่งจะได้รับความนิยมความชื่นชมจากนานาชาติ
2. ให้รัฐบาลสนับสนุนและผลักดันกฎหมายพัฒนารัฐวิสาหกิจและยุตินโยบายการแปรรูปหรือแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัทเอกชน หรือยุบรัฐวิสาหกิจ รัฐต้องยกเลิกนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจทุกรูปแบบและผลักดันให้มีกฎหมายว่าด้วยการพัฒนารัฐวิสาหกิจ ตามข้อเสนอของสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ที่ได้ยื่นต่อรัฐบาลก่อนหน้านี้ โดยสาระสำคัญให้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนารัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เกิดการขยายงาน การพัฒนาศักยภาพหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในการให้บริการประชาชน และยุติการแทรกแซงการบริหารงานรัฐวิสาหกิจ ปรับโครงสร้างการบริหารงานรัฐวิสาหกิจใหม่ ให้เกิดการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆประกอบด้วยภาครัฐผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ และองค์กรผู้บริโภคภาคประชาชน เพื่อให้เกิดระบบธรรมาภิบาล ความโปร่งใส สามารถตรวจสอบถ่วงดุลกัน
3 ให้รัฐบาลปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ พร้อมทั้งควบคุมราคาสินค้าอุปโภค และบริโภค รัฐต้องกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรมให้ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน โดยกำหนดนิยามค่าจ้างขั้นต่ำให้เป็นค่าจ้างแรกเข้าที่มีรายได้พอเพียงเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวอีก 2 คน ตามหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ทั้งนี้ โครงสร้างค่าจ้างของแรงงานให้มีการปรับค่าจ้างทุกปี โดยคำนึงถึงค่าครองชีพ ทักษะฝีมือและลักษณะงาน ทั้งนี้รัฐจะต้องทบทวน มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2554 ที่ให้คงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาทในปี 2557 และปี 2558 ซึ่งในปัจจุบันจากผลสำรวจค่าใช้จ่ายของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมต่างๆแรงงานจะอยู่ได้ต้องมีค่าจ้างวันละ 360 บาท และรัฐต้องยกเลิกคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด
4 ให้รัฐบาลเร่งดำเนินการนำร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมของผู้ใช้แรงงานเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รัฐต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาการวางมาตรการอย่างเข้มข้นต่อการละเมิดสิทธิแรงงานการคุกคาม และการเลิกจ้างผู้นำสหภาพแรงงานในรูปแบบต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยที่นายจ้างมิได้เกรงกลัวต่อกฎหมายแม้ในยามที่รัฐบาลประกาศใช้กฎอัยการศึก กรณีที่นายจ้างของสถานประกอบการบางแห่งไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน
5 ให้รัฐบาลตรากฎหมายตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงให้กับลูกจ้างใจกรณีที่สถานประกอบกิจการปิดกิจการ เลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงในการทำงาน
6 ให้รัฐบาลยกเว้นการเก็บภาษีเงินได้กรณีค่าชดเชยลูกจ้างภาคเอกชนและเงินตอบแทนความชอบของพนักงานรัฐวิสาหกิจ รวมถึงเงินได้อื่นๆซึ่งเป็นเงินงวดสุดท้ายของลูกจ้าง
7 ให้รัฐบาลตราพระราชกฤษฎีกาการจัดเก็บเงินสะสม และเงินสมทบเพื่อเป็นกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามบทบัญญัติว่าด้วยเงินกองทุนสงเคราะห์ ในหมวด 13 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ( มาตรา 163 )
8 ให้รัฐบาลยกระดับสำนักความปลอดภัยแรงงานเป็นกรมความปลอดภัยแรงงาน
9 ให้รัฐบาลปฏิรูปสำนักงานประกันสังคม ดังนี้1. ให้รัฐบาลยกสถานะสำนักงานประกันสังคมเป็นองค์กรอิสระ2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน แก้ไขกฎกระทรวงเกี่ยวกับบัตรรับรองสิทธิให้ใช้ได้ทุกโรงพยาบาล3. ให้รัฐมนตรีแก้กฎกระทรวงเกี่ยวกับลูกจ้างเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุอันเนื่องมาจากการทำงาน เมื่อลูกจ้างใช้สิทธิได้แล้วให้สิทธิลูกจ้างไปใช้กองทุนประกันสังคม4. ให้สำนักงานประกันสังคมจัดสร้างโรงพยาบาลประกันสังคมต้นแบบเป็นของผู้ประกันตน
10 ให้รัฐบาลสนับสนุนมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย
11 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานแต่งตั้งคณะทำงานติดตามข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติปี 2558

DSCN9717DSCN9714

พล.เอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการแก้ทุกปัญหา และปัญหาของแรงงานมีความสำคัญที่สุด ตนและรัฐบาลปัจจุบันถือว่าวันแรงงานสำหรับรัฐบาลมีทุกวันไม่ใช่แค่ 1 พฤษภาคมเพียงอย่างเดียว หน้าที่ของรัฐบาลคือการทำงานรับใช้ทุกคนในทุกๆ วัน เพื่อให้ทุกคนมีความสุข รัฐบาลพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ทุกคนมีชีวิตมีรายได้และสวัสดิการที่ดี มีอาชีพที่ดีให้กับคนไทยทุกคนไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ข้อเสนอทั้ง 11 เรื่องยินดีรับมาทุกเรื่องและจะพิจารณา ซึ่งบางอย่างสามารถทำได้เลย บางอย่างอาจต้องใช้เวลาบ้างแต่จะพิจารณาให้ทุกเรื่องและเชื่อว่าหลายๆ อย่างจะดีขึ้นอย่าลืมว่าเศรษฐกิจเราไม่ได้ยืนอยู่ได้เพียงคนเดียว

รายได้ของประเทศทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์ประมาณ 3 แสนกว่าล้านบาทได้มาจากการส่งออกทั้งหมด 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการลงทุนมีทั้งจากไทยและต่างประเทศ ซึ่ง 70 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ประเทศ ส่วนที่เหลือคือธุรกิจเอสเอ็มอีที่ไม่ใช่การลงทุนขนาดใหญ่อีก 2.6 ล้าน บริษัทจดทะเบียนกับรัฐบาลเพียงแค่ 6 แสนกว่าบริษัทอีก 2 ล้านกว่าบริษัทไม่ได้จดทะเบียน แต่ก็อยู่ในห่วงโซ่การผลิตของประเทศ รัฐบาลจำเป็นต้องดูแลทั้งหมด และทำอย่างไรจะลดรายจ่าย โดยจะพยายามหาสินค้าราคาถูกมาจัดจำหน่ายโดยของความร่วมมือกับบริษัทต่างๆ มาจำหน่ายให้ผู้มีรายได้กลุ่มของแรงงาน ซึ่งอาจเป็นสินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ที่ไม่สวยงามแต่คุณภาพเหมือนเดิม ห้ามนำไปขายต่อ รวมทั้งกำลังจะตั้งร้านค้าอาหารราคาประหยัดโดยจะนำผลิตภัณฑ์ที่ทหารเพาะปลูกมาตั้งที่หน้าหน่วยงานทหารหรือกระทรวงต่างๆ เพื่อที่ทุกคนจะได้มีเงินเหลือเก็บ”

DSCN9754P5010540

อีกประเด็นคือปัญหาแรงงานต่างชาติอีกกว่าล้านคน ซึ่งการจดทะเบียนยังไม่เรียบร้อย ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาการจัดการบ้าง ยืนยันว่ารัฐบาลแก้ปัญหาทั้งระบบ แต่เราให้ความสำคัญกับแรงงานไทยในการแก้ไขปัญหาสำคัญเร่งด่วนสูง และตั้งแต่ตนเข้ามามีโรงงานที่ลงทุนผ่านบีโอไอภายในระยะเวลา 3 ปีขึ้นมากกว่าหมื่นโรงงาน อนาคตถ้าเราพัฒนาตัวเองและมีความเข้มแข็งมีระบบกฎหมายที่ดีทุกคนจะมีงานทำ ซึ่งในปีหน้าโรงงานที่จะเกิดขึ้นกว่า 2 พันกว่าโรงงานก็อยากให้เป็นแรงงานไทยทั้งหมด ซึ่งเราก็ต้องเตรียมความพร้อมตัวเอง ต่อไปทุกคนจะได้รับสิทธิต่างๆ เท่าเทียมกันทั้งหมด แต่จะต้องมีการพัฒนาฝีมือตัวเองขึ้นไปอีก และอยากให้แรงงานไทยพัฒนาตัวเองไปอยู่ระดับหัวหน้าและตนมีคำสั่งประสานไปยังภาคเอกชนให้มีการพัฒนาฝีมือแรงงานจะได้ไม่เกิดปัญหา

“วันนี้ผมอายุ 60 ปีจะแก้ไขอะไรได้บ้างก็ยังไม่แน่ เพราะระบบประชาธิปไตยบ้านเรากำลังมีปัญหา ทำให้ประชาชนและแรงงานทั้งหมดกลายเป็นกลุ่มเสียงแรงงาน เนื่องจากต้องไปสนับสนุนกลุ่มการเมืองแต่ละฝ่ายทำให้ความเข้มแข็ง อำนาจการต่อรองลดลง เพราะเดี๋ยวก็จะมีประชาธิปไตยและการเลือกตั้งก็เป็นเรื่องของทุกคน ผมก็จะทำหน้าที่ของผมจนถึงวาระที่ผมไม่ได้ทำ โดยจะวางพื้นฐานไว้จากการปฏิรูป” นายกฯ กล่าว

นายกฯ กล่าวอีกว่า ตนต้องการทำให้ประเทศเข้มแข็ง ซึ่งการเดินทางไปต่างประเทศเขาพอใจประเทศไทยว่ามีเสถียรภาพ มีความชัดเจน มียุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน วันนี้อัตราการว่างงานของประเทศอาจจะน้อยที่สุดในโลก ซึ่งเราว่างงานน้อยที่สุดในอาเซียน และงานในส่วนที่ผิดกฎหมายลดลงจำนวนมาก เพราะรัฐบาลสามารถจัดระเบียบได้ ส่วนข้อเรียกร้องทั้ง 11 เรื่องไม่ต้องห่วงแต่อาจต้องใช้เวลาบ้างขอร้องว่าอย่าเพิ่งมาประท้วง นายจ้างก็ต้องดูแลลูกจ้างด้วย หากนายจ้างไม่ดีก็มีช่องทาง ในส่วนของค่าจ้างแรงงานอย่างไรไม่ให้ต่ำกว่า 300 บาทแน่นอน อย่างน้อยเดือนหนึ่งต้องไม่ต่ำกว่า 9,000 บาท ซึ่งไม่มีการเสียภาษีอย่างแน่นอน

P5010506P5010364

ด้านนายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสรส.ได้กล่าวว่า หากนายกมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาของผู้ใช้แรงงานจริง วันนี้ข้อเรียกร้องของผู้ใช้แรงงานมิได้ขออะไรมากมาย เมื่อมีอำนาจอยู่ในมือ หากตั้งใจจะแก้ปัญหาแรงงานก็ทำได้ โดยประกาศให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) ฉบับที่ 87 และ 98 ประกาศปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ประกาศหยุดการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงาน ซึ่งสามารถทำได้หากต้องการที่จะแก้ปัญหา

อย่างไรก็ตามตนไม่ได้เรียกร้องต่อรัฐบาลอย่างเดียว แต่ยังเรียกร้องต่อขบวนแรงงานว่าให้มีความสมัคคี ต้องเชื่อมั่นในพลัง ดังคำว่า “ภายนอกเป็นเงื่อนไข ภายในชี้ขาด” เราต้องยืนยันในสิทธิอันชอบธรรมอย่างมั่นคง เพราะทุกคนได้ใช้แรงงานสร้างประเทศ และสร้างโลกร่วมกัน เราเองต้องสร้างพลังอำนาจต่อรองยืนหยัดอย่างมีศักดิ์ศรีต่อไปจนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย

20150501_10090520150501_114237

ต่อประเด็นการเรียกร้องให้รัฐบาลปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำนั้น นายประวิทย์   ธรรมรักษ์ กลุ่มผู้ใช้แรงงานพระนครศรีอยุธยาและใกล้เคียงกล่าวว่า ค่าจ้าง 300 บาทต่อค่าใช้จ่ายประจำวันคงไม่พอ เนื่องจากว่าาเรายังมีค่าใช้จ่ายต่อวัน ถ้านับแล้วก็ไม่ต่ำกว่า 200 กว่าบาทแล้ว  นอกจากนี้เรายังค่าใช้จ่ายนอกหนือจากชีวิตประจำวัน อย่างเช่น ค่าเช่าห้อง  ค่าเหล่าเรียนลูก แม้กระทั้ง ค่าหนี้สิน อย่างอื่น

หลายคนอาจจะมองว่าทำไมจะต้องขอที่ 360 บาท ทำไมไม่ขอที่ 421 บาท เหมือนก่อน เพราะในเมื่อบางคนอาจจะค่าแรงที่เกินไปแล้ว เนืองจากทางสมานฉันท์เองได้มองถึงแรงงงานทุกภาคส่วน อย่างเช่นผู้ใช้แรงงานก่อสร้าง  ที่ไม่มีโอกาสได้ปรับโดยนายจ้างจะต้องรอการประกาศจากรัฐบาลอย่างเดียว จึงเป็นที่มาของการปรับค่าแรงขั้นต่ำ ที่ 360 บาท”นายประวิทย์กล่าว

นายวรโชติ  บุญเพิ่ม  คนงานในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร กล่าวว่า “ค่าแรงขึ้นต่ำที่มันขึ้นมานานแล้ว ไม่มีการเคลื่อนไหวเลย ปัจจุบันค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท มันเพียงพอหรือไม่ เพราะค่าครองชีพแต่ละรอบแต่ละเดือนมันไม่เพียง มันมีการขึ้นอยู่เรื่อย ๆ ส่วนการเรียกร้อง แต่ละครั้งนั้นเท่าไหร่ก็ไม่เคยเพีเยงพอ จึงเป็นที่มาจากการสำรวจถึงค่าแรง 360 บาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนไปอีกนิดหน่อย จึงอยากให้คนงานทุกภาคส่วนมาช่วยกันผลักดันในเรื่องนี้”

แรงงานนอกระบบเสนอกระทรวงแรงงาน ปฏิรูปกฎหมายแรงงานหยุดการแบ่งแยกแรงงาน นางสุจิน รุ่งสว่าง ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบกทม. กล่าวว่า “วันนี้เป็นวันแรงงานมาสะท้อนให้ภาครัฐหรือกระทรวงแรงงานที่รับผิดชอบอยู่ให้ปฏิรูปกฎหมายแรงงานให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบ เพราะปัจจุบันนี้กฎหมายแรงงานแบ่งแยกแรงานในระบบ และนอกระบบเพราะฉะนั้นกฎหมายแรงงานเราเห็นว่าควรจะปฏิรูปกฎหมายแรงงานให้แรงงานทั้งในระบบ นอกระบบอยู่ในกฎหมายฉบับเดียวกัน วันนี้เป็นวันแรงงานแห่งชาติเราก็ขอสะท้อนผ่านวันแรงงานแห่งชาติเพื่อให้รัฐและกระทรวงที่รับผิดชอบอยู่ช่วยนำไปปฏิรูปกฎหมายแรงงาน ”

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน