เกษตรกรพันธสัญญาท้ายตลาดร้องทุกข์หนักน้ำท่วมหมดตัว

เกษตรกรพันธสัญญาหมดตัวหลังน้ำท่วมเกือบ 2 เดือน หมู ไก่ ตายเกลี้ยง ปลาหลุดกะชัง ไร้คนเหลี่ยวแล บริษัทหายหน้า แรงงานบริษัทไก่ราว 50 คน ในชุมชน ร้องบริษัทไก่ไม่สนน้ำท่วมบ้าน ไม่ประกาศหยุดงานให้ ถ่ายรูปส่งหวังความช่วยเหลือจากบริษัท

เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2554 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย นำขบวนสื่อมวลชน ลงพื้นที่ ศาลาการเปรียญ วัดท่าข้าม ชุมชนท้ายตลาด ตำบลท้ายตลาด อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ซึ่งมีผู้อพยพมาพักพิงรวม 20 กว่าครอบครัว

นายทองเจือ เขียวทอง เครือข่ายเกษตรกรพันธสัญญา กล่าวว่า ได้เข้ามาอาศัยศาลาการเปรียญ วัดท่าข้าม ร่วมกับชาวบ้านกว่า 40 ครัวเรือน ตอนนี้เหลืออยู่ 20 ครัวเรือน บางส่วนกลีบไปบ้างเพราะน้ำเริ่มลดบ้างในบางส่วน

นายทองเจือ เขียวทอง กล่าวว่า น้ำได้เข้าท่วมพื้นที่ทั้งหมดของชุมชนท้ายตลาดทั้งหมดเมื่อวันที่ 23-24 กันยายน 2554 ช่วงที่น้ำมานั้นชาวบ้านไม่ได้มีการเตรียมตัว เพราะไม่ทราบล่วงหน้าทำให้เกิดความเสียหายต่อชุมชนชาวบ้านจำนวนมาก  ซึ่งชาวบ้านที่ชุมชนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรพันธสัญญา เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เลี้ยงหมู เพราะปลูกข้าวฯลฯ น้ำได้ทะลักเข้าท่วมทุกอย่างเร็วมากจนไม่มีใครได้ตั้งตัว เกษตรกรพันธสัญญาเกือบ 40 ครอบครัวต้องหมดตัว เนื่องจากไม่ได้มีการเตือนมาก่อน ทำให้ไม่ได้มีการอพยพ หรือหาทางแก้ไขปัญหา ทำให้ฟาร์มหมู4-5 แห่ง ทำให้หมูต้องจมน้ำตายกว่า 7 พันตัว ฟาร์มไก่ที่ต้องตายอีก กว่าแสนตัว มีเพียงรายเดียวที่มีบริษัทมาจับไปได้ทัน แต่ว่าไม่ได้มีการติดต่อกับผู้เลี้ยงแม้แต่น้อยว่าจะช่วยอะไรบ้าง

นายทองเจือ เขียว กล่าวอีกว่า “ดีที่ตนได้ออกจากระบบการเลี้ยงไก่แบบพันธสัญญามาแล้ว 3 ปี แต่ก็หมดตัว เพราะปลาที่เลี้ยงไว้ไปกับน้ำหมด ซึ่งปลาที่เลี้ยงในระบบพันธสัญญาก็หมดตัวเพราะปลาหลุดไปตามน้ำหมด ตนเองยังต้องสูญเสียทรัพย์สินรถ บ้านจมน้ำหมดมากกว่าแสนบาท” ส่วนเรื่องความช่วยเหลือของผู้อพยพในหมู่บ้านที่มาอยู่ร่วมกัน ได้จากองค์กรบริหารส่วนตำบล และองค์กรแรงงาน แผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน สสส. และวันนี้ได้ถุงยังชีพจากคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ที่รับบริจาคมากจากมหาวิทยาลัยสงขลา อ.หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งตนจะนำส่วนหนึ่งไปให้กับชาวบ้านที่ยังเดือดร้อนอยู่ด้วย แบ่งกันไป เพื่อเป็นการยังชีพส่วนหนึ่ง เพราะตอนนี้น้ำเริ่มลดลงบาฝงส่วนแต่ไม่มากนัก และช่วงนี้ไม่มีใครเข้ามามอบถุงยังชีพทำให้ข้าวของหมด จึงได้ร้องขอให้ทางเครือข่ายแรงงานให้ช่วยหาถุงยังชีพเข้ามาให้

ปัญหาสุขภาพ นายทองเจือกล่าวว่า มีปัญหาด้านสุขภาพกันบ้างเนื่องจากความเครียด ทึ่ต้องกลายเป็นคนหมดตัวเพียงข้ามคืน แถมไม่มีใครเข้ามาเหลี่ยวแล ตอนนี้ยังไม่มีบริษัทที่ส่งเสริมการเลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลายื่นมือเข้ามาช่วยเหลือแม้แต่ที่เดียว ซึ่งทางบริษัทซีพีได้นำอาหารหมูมาให้ 4 กระสอบ ซึ่งความเป็นอยู่ลำบากมาก แต่ดีที่มีที่อยู่เท่านั้น เพราะต้องอยู่รวมกันหมดทั้งวัว ไก่ หมู หมา แมว และคน แออัดอยู่ด้วยกัน ซึ่งก็มัแพทย์จากอนามัยเข้ามาตรวจสุขภาพชาวบ้านบ้าง ทั้งนี้ทางเครือข่ายเกษตรกรพันธสัญญา มีข้อเสนอต่อบริษัท และภาครัฐว่า ให้เข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรเหล่านี้ด้วย และควรมีการสำรวจความเสียหายและะชดเชยอย่างทั่วถึง เพราะเป็นภัยธรรมชาติ เกษตรกรไม่สามารถที่จะป้องกันได้ รวมทั้งอยากให้รัฐส่งเสริมพันธุ์พืช พันธุ์ข้าว และพันธุ์สัตว์ ช่วยซ่อมแซมอุปกรณ์ทำมาหากินให้กับเกษตรกร เพื่อจะได้พึ่งตนเองได้โดยไม่ต้องทำสัญญาเป็นหนี้สิน นายทองเจือกล่าว

นักสื่อสาสรแรงงาน โครงการการพัฒนาสื่อ รายงาน