ภาคีแรงงานจับมือภาคประชาชนยื่นข้อเสนอ การฟื้นฟูเศรษฐกิจสังคม หลังโควิด-19

เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2563 ภาคีสังคมแรงงานสู้วิกฤติโควิด ร่วมกับคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาอกชน (กป.อพช.) และเครือข่ายกลุ่มต่างๆ เพื่อแสดง จุดยืนและข้อเสนอ องค์กรภาคี ต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากผลกระทบการระบาดของโรคโควิด-19 โดยยื่นต่อ เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย และในส่วนของภาคีสังคมแรงงานฯยังได้ยื่นข้อเสนอต่อแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของแรงงานต่อผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยอีกด้วย โดยนายมานิตย์ พรหมการีย์กุล ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) นายเพชร โสมาบุตร สมาพันธ์แรงงานฮอนด้าประเทศไทย เป็นผู้แทนภาคีสังคมแรงงานฯ ยื่นข้อเสนอดังนี้

1.ปัญหาสำคัญที่สุดของแรงงานที่เป็นลูกจ้าง(แรงงานในระบบ) ขณะนี้คือการว่างงานจำนวนมากโดยมีสาเหตุทั้งที่เกิดจากผลกระทบของโรคโควิด-19 และสาเหตุอื่นก่อนหน้านี้

– การหยุดกิจการชั่วคราวตามมาตรา 75 ในพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานพ.ศ.2541

(ส่วนใหญ่อยู่ในภาคโรงแรมและการท่องเที่ยว)

– การปิดกิจการโดยอ้างเหตุสุดวิสัยจากโรคระบาดโควิด-19

– การปิดกิจการเนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจก่อนหน้านี้และถูกซ้ำเติมด้วยวิกฤตโควิด-19

– การปิดงานและเลิกจ้างบางส่วนในธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนการผลิตหรือลดการเกิดภาวะโลกร้อน(ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมรถยนต์)

 

  1. คาดการณ์ผลกระทบต่อแรงงานที่ว่างงานในขณะนี้และในอนาคตอันใกล้ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม

2.1.กลุ่มที่สามารถกลับไปทำงานเดิมได้หลังมีการเปิดกิจการใหม่

2.2.กลุ่มที่ต้องว่างงานต่อเนื่อง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

– กลุ่มที่สามารถกลับสู่ภาคชนบท ทำงานภาคการเกษตรหรือวิสาหกิจชุมชน มีจำนวนไม่มากและรายได้จะน้อยกว่าที่เคยได้รับในภาคอุตสาหกรรม แตกต่างจากที่มีการประเมินในแผนฟื้นฟูฯว่าจะเป็นส่วนใหญ่ของคนที่ตกงาน

– กลุ่มที่ไม่สามารถกลับสู่ภาคชนบทด้วยสาเหตุต่างๆเช่น ไม่ใช่คนที่มาจากชนบท จากชนบทมานานจนไม่เหลือรากฐานเดิม

2.3. กลุ่มคนที่กำลังจะว่างงานในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี

  1. ข้อเสนอของแรงงานในระบบต่อการใช้งบประมาณในแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจกลุ่มแรงงานที่เป็นลูกจ้างหรือแรงงานในระบบมักถูกมองข้ามในการให้ความช่วยเหลือเพราะเข้าใจว่าเป็นกลุ่มที่ไม่เดือดร้อนมากนักเพราะยังได้รับค่าจ้างบางส่วนหรือมีระบบสวัสดิการรองรับ แต่ความจริงแล้วแรงงานกลุ่มนี้มีความเดือดร้อนและต้องการความช่วยเหลือที่สอดคล้องกับปัญหาเช่นเดียวกับประชาชนที่เดือดร้อนกลุ่มอื่น ดังนี้

3.1 เสนอให้มีคณะกรรมการตรวจสอบประเมินสถานประกอบการ   โดยเป็นแบบพหุภาคี ประกอบด้วย ผู้แทนเครือข่ายแรงงาน กระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันการพัฒนาฝีมือแรงงาน

เพื่อตรวจสอบประเมินสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบ และหามาตรการในการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูอย่างมีประสิทธิภาพ

3.2 ข้อเสนอสำหรับสถานประกอบการทั่วไป เสนอให้แบ่งกลุ่มแรงงานเป็น 3 กลุ่มในการฟื้นฟู ดังนี้

 

กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มแรงงานอายุต่ำกว่า 40 ปี ในสถานประกอบการที่สามารถดำเนินการได้ต่อและจะใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยให้มีการพัฒนาเพิ่มทักษะฝีมือแรงงานให้สามารถทำงานได้ต่อไป โดยหากสถานประกอบการใดมีการส่งลูกจ้างเข้าร่วมพัฒนาทักษะฝีมือเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น การผลิตหุ่นยนต์ / AI หรือมีศูนย์ฝึกอบรมในสถานประกอบการเอง ให้กองทุนฟื้นฟูสนับสนุนด้านงบประมาณให้แก่สถานประกอบการ และให้รัฐสนับสนุนด้านการลดภาษีให้กับสถานประกอบการที่เข้าร่วม โดยให้ออกกฎระเบียบกฎเกณฑ์ที่จูงใจให้นายจ้างต้องมีการพัฒนาทักษะอย่างจริงจัง

กลุ่มที่ 2  เป็นกลุ่มแรงงานสูงวัย อายุตั้งแต่ 41 ปีขึ้นไป ซึ่งต้องการพัฒนาทักษะฝีมือเพื่อมองหาอาชีพใหม่ ซึ่งอาจเป็นอาชีพค้าขาย หรือการเกษตรกรรม หรือการใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อการสร้างอาชีพ โดยกองทุนฟื้นฟูต้องสนับสนุนทุนให้แรงงานกลุ่มนี้หรือสามารถเข้าถึงแหล่งทุนต่างๆ พร้อมทั้งส่งเสริมด้านเครื่องมือ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้วย

กลุ่มที่ 3 เป็นแรงงานที่นายจ้างอาจปิดกิจการหรือย้ายฐานการผลิต ในส่วนของกลุ่มนี้ เสนอให้มีการพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพใหม่ พร้อมจ่ายเบี้ยยังชีพเทียบเท่ากับค่าแรงขั้นต่ำและหางานให้ทำ โดยสนับสนุนด้านเงินทุน เทคโนโลยี และเครื่องมือต่างๆที่จำเป็น

 

3.3  ข้อเสนอสำหรับแรงงานภาคบริการและท่องเที่ยว

3.3.1) เสนอให้มีการพัฒนาทักษะแรงงานภาคบริการในกิจการโรงแรม เช่น ทักษะการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ (ช่วงระยะที่รอนักท่องเที่ยวในปัจจุบัน) พัฒนาทักษะด้านอาชีพให้เกิดความชำนาญ เช่น การปูเตียง การบัญชี การต้อนรับ การบริการที่เกี่ยวข้องแบบ New normal

3.3.2) การฟื้นฟูสถานประกอบการโดยใช้มาตรการลดภาษี การสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยรัฐช่วยอุดหนุนด้านราคาให้ต่ำลงเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวของคนไทยเข้าไปเสริมนักท่องเที่ยวจากต่างชาติที่มีราคาสูง

3.3.3)  ให้มีการจัดสรรงบฟื้นฟูสนับสนุนการส่งเสริมให้นายจ้างจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในสถานประกอบการ เพื่อการแก้ไขปัญหาระยะยาวให้กับผู้ใช้แรงงานที่เมื่อออกจากงานหรือตกงานจะมีเงินทุนเพื่อใช้จ่ายหรือประกอบอาชีพในอนาคต

ด้านจุดยืนและข้อเสนอของคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาอกชน (กป.อพช.)และองค์กรภาคี ต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากผลกระทบการระบาดของโรคโควิด-19 โดยนางสุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง เป็นผู้แทนเครือข่ายในการนำเสนอภาพรวมและข้อเสนอ ดังนี้

  1. บทบาทและพลังขององค์กรภาคประชาสังคมในฐานะภาคีหุ้นส่วนการพัฒนาเป็นที่ประจักษ์ การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการพัฒนาประเทศปรากฏเป็นหลักการและยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศมาตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 พ.ศ.2530-2534 จนกระทั่งฉบับที่ 12 ในปัจจุบัน  ในยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580 ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ก็ระบุอย่างชัดเจนถึงการสนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน ในมิติของกลไกและโครงสร้างก็มีตัวแทนขององค์กรภาคประชาสังคมร่วมอยู่ในคณะกรรมการ คณะทำงานเพื่อการพัฒนาและการแก้ปัญหาผลกระทบจากการพัฒนาหลายชุด รวมทั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน  ที่มีเลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นเลขานุการ

ประสบการณ์การร่วมฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมขององค์กรภาคประชาสังคมหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540  หลังเหตุการณ์สึนามิ พ.ศ.2547 และ ในเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ พ.ศ.2554 เป็นการเติมเต็มงานฟื้นฟูในส่วนที่รัฐไม่มีศักยภาพและความถนัดที่จะดำเนินการ ซึ่งก็คือ การเข้าถึงประชาชนคนจน คนชายขอบ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนา เป็นหลักประกันว่าประชาชนกลุ่มดังกล่าวจะไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง และการฟื้นฟูจะมีผลโดยตรงต่อการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งในระดับครอบครัว กลุ่ม และชุมชน

ในช่วงเวลาของการเยียวยาผลกระทบการระบาดของโรคโควิด-19 ตลอด 2-3 เดือนที่ผ่านมา องค์กรภาคประชาสังคม และกลุ่มของประชากรผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ทั้งองค์กรของเกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน แรงงานนอกระบบ พนักงานบริการ ผู้หญิง คนพิการ ผู้สูงอายุ กลุ่มชาติพันธุ์ คนจนเมือง คนไร้บ้าน ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อHIV ล้วนแต่มีบทบาทอย่างแข็งขันทั้งการให้ความช่วยเหลือเฉพาะหน้า สะท้อนปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของประชาชน และช่วยให้ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบสามารถเข้าถึงมาตรการเยียวยาของรัฐ มีผลเป็นการซ่อมจุดอ่อนในการปฏิบัติงานของหน่วยงานรัฐ ลดความไม่พอใจของประชาชน ทำให้วิกฤตสุขภาพที่กระทบต่อเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของประชนชนไม่ขยายตัวเป็นความขัดแย้งประชาชนกับรัฐ

  1. เมื่อประเทศกำลังจะก้าวจากการเยียวยาเข้าสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมด้วยเงินกู้จำนวน 400,000 ล้านบาท โดยให้หน่วยงานกรอบของรัฐทั้งนนระดับกระทรวง จังหวัด และท้องถิ่นจัดทำโครงการตามกรอบของสภาพัฒน์ และมีโครงการชุดแรกเสนอเข้าสู่การกลั่นกรองแล้วดังที่เผยแพร่ในวันที่ 8 มิถุนายนที่ผ่านมา กป.อพช.และภาคีเห็นข้ออ่อนหลายประการ ดังนี้

2.1. กระบวนการได้มาซึ่งโครงการส่วนใหญ่ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการะดมปัญหา ความต้องการ และ การเสนอแผนการฟื้นฟู เป็นการทำแผนโดยลำพังของหน่วยงานราชการ หรือเป็นการหยิบโครงการที่เคยมีมาแต่เดิมมาปัดฝุ่นนำเสนอใหม่ ส่งผลให้

2.2.โครงการที่ถูกนำเสนอจำนวนมากจะไม่สามารถนำไปสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจสังคมของประชนอย่างแท้จริง เช่น ป้ายชื่อเมือง ป้ายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญ การติดตั้งหรือเชื่อมระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด(CCTV) และอื่น ๆ

2.3.โครงการบางโครงการน่าจะมีความสำคัญ ความจำเป็นที่จะมีปฏิบัติการอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ เช่น แต่กลับเป็นโครงการที่เสนอโดยจังหวัดเล็ก ๆ ยกตัวอย่างเช่น พัฒนาศักยภาพแรงงานนอกระบบสู่การสร้างงานสร้างอาชีพวิถีใหม่ (New Normal) จะตำเนินการเฉพาะที่จ.สตูล  โครงการพัฒนาศักยภาพแรงงานนอกระบบเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ จะดำเนินการเฉพาะที่ตจังหวัดชุมพร ซึ่งหมายความว่าแรงงานนอกระบบในจังหวัดอื่น ๆ ทั่วประเทศจะไม่ได้รับการฟื้นฟูในประเด็นนี้  แสดงให้เห็นว่าการเสนอโครงการทำอย่างกระจัดกระจายขาดการวิเคราะห์ จัดลำดับความสำคัญ และวางแผนร่วมกันอย่างเป็นระบบของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง

2.4. แม้สภาพัฒน์ฯจะระบุเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ท้องถิ่น ชุมชน เป็นหลักการสำคัญในการจัดทำโครงการ แต่การออกแบบช่องทางที่ให้ภาคประชาชนเสนอโครงการผ่านหน่วยงานรัฐหรือท้องถิ่นเท่านั้น ทำให้โครงการของภาคประชาชนผ่านเข้ามาสู่ขั้นตอนการพิจารณากลั่นกรองได้ เนื่องจากไม่สอดคล้องกับกรอบที่หน่วยงานในพื้นที่ได้วางไว้ ยกตัวอย่างเช่น แผนฟื้นฟูทรัพยากรของเครือข่ายประชาชนในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนไม่สามารถนำเสนอขึ้นมาจากพท้นที่ได้ได้เพราะไม่สอดคล้องกับแผนของหน่วยงานอุทยาน หน่วยงานป่าไม้ ในระดับจังหวัด

2.5. ธรรมชาติของการรวมกลุ่ม รวมตัวของประชาชนมีความหลากหลาย เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ไม่เพียงแต่มีการรวมตัวกันในมิติภูมิลำเนาหรือแผนที่ภูมิศาสตร์เท่านั้น แต่ประชาชนยังรวมตัวกันเป็นองค์กร เครือข่าย สมาคม ตามสถานการณ์ปัญหาที่เผชิญ หรือความสนใจในการทำกิจกรรมร่วมกันด้วย เช่น องค์กรของคนพิการ องค์กรของคนไร้บ้าน องค์กรของเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ องค์กรของผู้อยู่กับเชื้อHIV ซึ่งจำนวนมากเป็นองค์กรระดับประเทศ  ตลอดจนโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตามระบบนิเวศน์ เช่น ลุ่มน้ำ ผืนป่า ชายฝั่งทะเล ฯลฯ ช่องทางสำหรับการเสนอโครงการของภาคประชาชนก็ควรจะมีมิติที่หลากหลายเช่นกัน ช่องทางเดียวสำหรับการเสนอโครงการที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน คือ ผ่านองค์กรท้องถิ่น หรือจังหวัดจึงไม่สอดคล้อง ไม่เพียงพอ

  1. กป.อพช. ในฐานะที่เป็นองค์กรปะสานงานขององค์กรพัฒนาเอกชน จำนวน 300 กว่าองค์กรในพื้นที่ทั่วประเทศ ที่มีการจัดโครงสร้างการประสานงานในรูปเครือข่ายเนื้องาน จำนวน 14 เครือข่าย คือ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เครือข่ายผู้หญิง เครือข่ายเด็กและเยาวชน เครือข่ายผู้สูงอายุ เครือข่ายคนพิการ เครือข่ายสิทธิมนุษยชน เครือข่ายแรงงาน เครือข่ายชาติพันธุ์ เครือข่ายสลัม เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายสุขภาพ และเครือข่ายรัฐสวัสดิการ มีสำนักงานเพื่อการประสานงาน 5 สำนักงาน คือ กรุงเทพฯและภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน ภาคเหนือ ภาคอีสาน และ ภาคใต้  และองค์กรของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการพัฒนา ประชาชนชายขอบ อันได้แก่ องค์กรของเกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน แรงงานนอกระบบ พนักงานบริการ ผู้หญิง คนพิการ ผู้สูงอายุ กลุ่มชาติพันธุ์ คนจนเมือง คนไร้บ้าน ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อHIV เชื่อมั่นว่า ด้วยประสบการณ์การทำงานร่วมกับ และความครอบคลุม กว้างขวางของเครือข่ายการทำงาน เรามีความพร้อมที่จะเป็นภาคีหุ้นส่วนของรัฐในการทำงานฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากผลกระทบการระบาดของโรคโควิด-19 ในครั้งนี้  ใน 3 ระดับของการทำงาน อย่างมีโครงสร้างและกลไกในการทำงานร่วมกัน คือ

3.1 การปรึกษาหารือและร่วมตัดสินใจทางนโยบาย เพราะกป.อพช.และองค์กรภาคเชื่อว่า การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่จะประสพความสำเร็จอย่างแท้จริงต้องรัฐและภาคประชาชนต้องร่วมกันการคิด วิเคราะห์ ทำความเข้าจาถานการณ์ แล้วออกแบบโครงการเพื่อแก้ปัญหา โดยคำนึงถึงความยั่งยืนในระยะยาวด้วย เช่น

– สำหรับการฟื้นฟูสภาพการจ้างงานก็ต้องเริ่มจากทความเข้าใจว่าอุตสาหกรรมหรือบริการประเภทใดบ้างที่อาจจะยุติกิจการ จะมีแรงงานจำนวนเท่าใดที่จะถูกเลิกจ้างอย่างถาวร เป็นแรงงานสูงอายุ หรือหนุ่มสาว ในขณะที่เทคโนโลยีพันาไปสู่ยุค 4.0และการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) คนงานดังกล่าวจะเข้าสู่การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานอย่างไรเพื่อการกลับเข้าสู่การจ้างงานอีกครั้งหรือไม่ อย่างไร

– วิกฤตครั้งนี้เป็นโอกาสในการตรวจสอบ ประเมินการคุ้มครองทางสังคมของไทยว่าแข็งแรง เพียงพอ หรือไม่ ทั้งระบบหลักประกันสุขภาพ และระบบประกันสังคม ว่าจะต้องพัฒนาต่อไปอย่างไร

3.2. การปฏิบัติการโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่กป.อพช.และองค์กรภาคีจะสามารถทำงานกับกลุ่มประชากรเป้าหมาย และสมาชิกของตนได้อย่างอิสระ สอดคล้องกับกรอบของสภาพัฒน์ แต่ไม่ติดขัดด้วยกรอบหรือชุดคิด หรือการตีความที่จำกัดของหน่วยงานรัฐ

โดยที่โครงการของ กป.อพช.และองค์กรภาคี ก็จะต้องเข้าสู่ระบบการตรวจสอบความโปร่งใสในการใช้งบประมาณ และการประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินโครงการเช่นเดียวกับโครงการของหน่วยราชการและองค์กรปกครองท้องถิ่น

3.3. การร่วมตรวจสอบประเมินผล  เพราะมีหลายองค์กรในเครือข่ายของ กป.อพช. ที่มีทักษะและประสบการณ์ในการทำงานประเมินผล ซึ่งสามารถจะทำงานร่วมกับกลไกของรัฐและสถาบันวิชาการ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าการใช้งบประมาณของประเทศ การก่อหนี้สาธารณะครั้งนี้จะเกิดประโยชน์อย่างแท้จริงกับประเทศและประชาชน

กป.อพช.และองค์กรภาคีเชื่อว่าจุดยืนและข้อเสนอชุดนี้จะเป็นที่เห็นด้วยร่วมกันกับสภาพัฒน์ฯ และนำไปสู่การปรึกษาหารือร่วมกันในรายละเอียดของความร่วมมือใน 3 ระดับดังกล่าวต่อไป บนหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคประชาสังคม

* ผนวกองค์กรเครือข่าย ดังนี้

คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)

องค์กรร่วมลงนาม

กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี

กลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง

คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ภาคอีสาน

คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)ภาคใต้

คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ภาคเหนือ

คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ภาคเหนือตอนล่าง

เครือข่ายผู้หญิงเพื่อสุขภาพประเทศไทย

เครือข่ายผู้บริโภค ภาคเหนือ

เครือข่ายศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนเขต1 เชียงใหม่

เครือข่ายผู้หญิงเพื่อสุขภาพประเทศไทย

เครือข่ายพลังผู้สูงวัย

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท)

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)

คณะทำงานเสียงผู้หญิง

เครือข่ายเสียงผู้หญิงเพื่อความก้าวหน้าและสันติภาพ

เครือข่ายองค์กรชุมชนเทือกเขาเพชรบูรณ์

เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน

เครือข่ายคนพิการรักสุขภาพ

เครือข่ายคนรักหลักประกันสุขภาพ เขต 10 อุบลราชธานี

เครือข่ายผู้หญิงอีสาน

เครือข่ายพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดมหาสารคาม

เครือข่ายช้างป่าต้น ฅนสุพรรณ

เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดจันทบุรี

ไคลเมทวอชท์ ไทยแลนด์

มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว (มคค.)

มูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน (มรพ.)

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ (HomeNet)

มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.)

มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก

มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

มูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ

มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม

มูลนิธิพิทักษ์สิทธิสตรีและเด็ก

มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

มูลนิธิข้าวขวัญ

มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

มูลนิธิอันดามัน

มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

มูลนิธิเพื่อนหญิง

มูลนิธิผู้หญิง

มูลนิธิศักยภาพชุมชน

มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์

มูลนิธิเพื่อพนักงานบริการ (SWING)

ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดปทุมธานี

ศูนย์เสริมสร้างองค์กรชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม จังหวัดพิษณุโลก

ศูนย์ประสานงานองค์กรชุมชนจังหวัดระยอง

ศูนย์เผยแพร่และส่งเสริมงานพัฒนา

ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดปทุมธานี

ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูนิเวศวัฒนธรรมชุมชนเทือกเขาเพชรบูรณ์

ศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนาจังหวัดหนองคาย

ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้าจ.สุพรรณบุรี

ศูนย์ต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนภาคประชาชนจังหวัดจันทบุรี

สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI)

สถาบันชุมชนอีสาน

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)

สมาคมเครือข่ายพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ (สพร.)

สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย)

สมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย

สถาบันส่งเสริมภาคประชาสังคม

สมาคมเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาเทือกเขาเพชรบูรณ์

สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและสาธารณะ

สมาคมรักทะเลไทย

สมาคมเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน

สมาคมพหุภาคีพัฒนาประชาสังคมจันทบุรี

สมาคมเกษตรกรรมทางเลือกฉะเชิงเทรา

สมาคมเครือข่ายแรงงานนอกระบบ (ประเทศไทย)

สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ (สรส)

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.)

สมาคมส่งเสริมศักยภาพสตรีพิการ

หน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียนตามมาตร 50 (5)  อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี