นายจ้างอ้างเหตุโควิด-19 กล่อมให้ลาออก ขู่ไม่ได้เป้าคัดออก

พรมรถยนต์ ย่านสระบุรีประกาศเปิด “โครงการร่วมใจจาก” หวังลูกจ้างร่วม 80 คน ขู่หากไม่ครบคัดออกเพิ่ม

บริษัทผลิตพรมรถยนต์ ย่านสระบุรีประกาศเปิด “โครงการร่วมใจจาก” โดยเปิดมา 2 ครั้ง ครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 6-12 พฤษภาคม 2563 โดยต้องการผู้ร่วมโครงการ 80 คน และครั้งที่สองเปิดวันที่ 13-15 พฤษภาคม 2563 โดยสองครั้งแต่ไม่ได้ตามเป้าที่กำหนด และตั้งแต่วันเสาร์ที่ 9 ,16,23และ30 พฤษภาคม 2563 ประกาศ “หยุดกิจการชั่วคราว”

แหล่งข่าว กล่าวว่า การเปิดสมัครใจฃลาออก โดยผู้ที่เข้าโครงการนายจ้างจะส่งเรื่องว่าเป็นการเลิกจ้างเพื่อให้ได้สิทธิประกันสังคมกรณีว่างงานร้อยละ 70 เป็นเวลา 200 วัน ซึ่งลูกจ้างที่สมัครใจเข้าโครงการนายจ้างจะค่าชดเชยบวกลาพักร้อน และหากอายุงาน 7 ปีขึ้นไปนายจ้างจะจ่ายให้ 700 วัน

“เท่าที่รู้มีคนงานที่เข้าโครงการน้อยมาก จนสิ้นสุดประกาศที่กำหนด ซึ่งนายจ้างได้ปรึกษาหารือกับทางสหภาพแรงงานตลอดเท่าที่ทราบ จะมีการคัดคนงานออกต่อไป โดยนายจ้างมีเกณฑ์การคัดเลือกจากจากคนงานที่ทำงานอยู่ในเกรด B และ C มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป มีปัญหาสุขภาพ และอายุใกล่เกษียณ เป็นต้น โดยค่าชดเชยจะได้รับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนด ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า เงินช่วยเหลือ เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามเงื่อนไขกำหนด ค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่าจ้าง หรือค่าจ้างทำงานตกค้าง หรือค่าล่วงเวลา ซึ่งการเปิดโครงการของนายจ้างนั้นอ้างว่าออร์เดอร์น้อยลง และบางยี่ห้อมีการยกเลิกออร์เดอร์ไป แต่การที่มีคนเข้าโครงการน้อยนั้นมาจากตอนนี้ ” แหล่งข่าวกล่าว

ทั้งนี้ ล่าสุดแหล่งแจ้งว่า นายจ้างได้ประกาศว่า จะคัดออกเมื่อไม่มีคนเข้าโครงการตามที่ประกาศไว้ โดยมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาคัดเลือก โดยพิจารณาจากสถิติการป่วยบ่อย หรือมีปัญหาด้วยสุขภาพ การขาด ลา มาทำงานสาย และการไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของบริษัท (ใบเตือน) เป็นพนักงานใกล้เกษียณ ทักษะ และการพัฒนาในการทำงาน หรือจากการประเมินผลงานไม่อยู่ในมาตรฐาน โดยบริษัทจะจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย

โดย สหภาพแรงงานของบริษัทดังกล่าวได้ทำหนังสือถึงบริษัท เพื่อขอคัดค้านการเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่เข้าโครงการร่วมใจจากแล้วตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2563 โดยผลกระทบจากโรคระบาดของโควิด-19  สหภาพทราบที่ทำให้สถานประกอบการประสบปัญหาเกี่ยวกับยอดการสั่งซื้อสินค้า ภาระค่าใช้จ่ายหลายบริษัทได้รับผลกระทบ ซึ่งหลายสถานประกอบการก็มีวิธีรับมือกับสภาพปัญหาของการแพร่ระบาดของโควิด-19 รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือสถานประกอบกิจการหลายอย่าง ดังนั้นสหภาพแรงงาน จึงทำหนังสือขอคัดค้าน และให้ชะลอการเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่เข้าร่วมโครงการ และเสนอให้บริษัทฯบรรเทาปัญหาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของบริษัท ดังนี้

  1. เสนอให้บริษัท ลดจำนวนวันทำงานของผู้บริหารญี่ปุ่น และลูกจ้างทุกตำแหน่งลงจากเดิม โดยจ่ายค่าจ้าง 75% ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2563
  2. เสนอให้บริษัท งดการทำงานล่วงเวลาและการซ่อมสร้างภายในบริษัททุกแผนก โดยเด็ดขาดจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
  3. ขอให้บริษัท งดการจ่ายเงินค่าตำแหน่งหัวหน้าแผนก ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่าย หัวหน้าฝ่าย ผู้จัดการ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2563 หรือจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ปกติ

ล่าสุด วันที่ 19 พฤษภาคม 2563 แหล่งข่าวแจ้งว่า ทางบริษัทได้ประกาศรายชื่อพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง พนักงานที่เข้าโครงการ และมีการคัดออกอีกจำนวนหนึ่งเกือบ 60 คนแล้ว

นักสื่อสารแรงงานสระบุรี รายงาน