องค์กรแรงงาน ภาคประชาสังคม จับมือนักวิชาการ แถลงข้อเสนอแก้วิกฤติแรงงาน ในสถานการณ์โควิค-19

ภาคีสังคมแรงงานสู้วิกฤตโควิด-19 แถลง ข้อเสนอต่อมาตรการการแก้ไขปัญหาแรงงานในสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19

เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2563 ภาคีสังคมแรงงานสู้วิกฤตโควิด-19  พร้อมรายชื่อองค์กรแรงงาน นักวิชาการ องค์กรภาคประชาสังคม สถาบันต่างๆ ได้ร่วมกัน ออกแถลงการณ์ ข้อเสนอต่อมาตรการการแก้ไขปัญหาแรงงานในสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเนื้อหามี ดังนี้ สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ดำเนินต่อเนื่องมาในปัจจุบันมีผลกระทบต่อแรงงานทุกประเภท  ในปัจจุบันรัฐบาลได้มีมาตรการเยียวยาเพื่อช่วยเหลือแรงงานในระยะเฉพาะหน้า แต่มาตรการต่างๆ ยังมีช่องโหว่ที่ทำให้การเยียวยาไม่บรรลุผล จึงเป็นหน้าที่ของภาคประชาสังคมกลุ่มต่างๆ ทีจะต้องระดมความคิดเห็นเพื่อให้เกิดทางออกที่ดีที่สุดในสถานการณ์ปัจจุบัน ภาคีสังคมแรงงานสู้วิกฤตโควิดซึ่งประกอบด้วยองค์กรแรงงาน องค์กรพัฒนาเอกชน และนักวิชาการ ได้มีการศึกษาข้อมูลปัญหาที่เกิดขึ้นและมีข้อเสนอต่อมาตรการการแก้ไขปัญหาแรงงานในสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 สำหรับแรงงานในระบบและนอกระบบดังต่อไปนี้

1.ข้อเสนอการบรรเทาผลกระทบต่อแรงงานที่เป็นลูกจ้างในระบบประกันสังคม

1.1 ในปัจจุบันมีการหยุดกิจการชั่วคราว ในธุรกิจต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ปัญหาที่เกิดขึ้นคือในบางกิจการนายจ้างมีการใช้สิทธิปิดกิจการชั่วคราวโดยอ้าง “เหตุสุดวิสัย” ตามมาตรา 75 ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ทั้งๆที่ยังมีความสามารถจ่ายค่าจ้างและสวัสดิการให้ลูกได้ตามปกติอยู่ โดยมีการปฏิบัติใน 4 ลักษณะคือ 1) จ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างในระหว่างปิดกิจการชั่วคราวร้อยละ 75  2) จ่ายเงินในอัตราต่ำกว่าร้อยละ 75 โดยทำข้อตกลงสภาพการจ้างเป็นรายบุคคล  3) จ่ายเงินให้เฉพาะในวันที่ลูกจ้างมาทำงานเท่านั้น ตามอัตราค่าจ้างที่ตกลงกัน  และ4) งดการจ่ายสวัสดิการที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงาน เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าอาหาร เป็นต้น และส่งผลการดำเนินชีวิตที่ยากลำบากของลูกจ้างมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ยังพบกรณีการเลิกจ้าง โดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานเหมาค่าแรง  สัญญาจ้างชั่วคราว  แรงงานรายวัน แต่นายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า และเงินอื่นๆ ตามที่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 กำหนดไว้ และให้ลูกจ้างไปร้องเรียนผ่านกระบวนการยุติธรรม ที่มีระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี กว่าจะได้รับเงินดังกล่าว

1.2 ในปัจจุบันได้มีการออกกฎกระทรวงเรื่องการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ทั้งนี้ภาคีฯ มีความห่วงใยว่าสถานประกอบการบางแห่งอาจมีการฉวยโอกาสผลักภาระให้กองทุนประกันสังคม โดยอ้างเหตุสุดวิสัยจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามประกาศฉบับนี้ เพื่อให้ลูกจ้างรับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในอัตราร้อยละ62 จากกองทุนประกันสังคม แทนที่นายจ้างจะปิดกิจการชั่วคราว ตามมาตรา 75 ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างในระหว่างปิดกิจการชั่วคราวร้อยละ 75

ข้อเสนอคือ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ต้องจัดตั้งกลไกที่เป็นความร่วมมือของภาครัฐ เอกชน สหภาพแรงงาน ลูกจ้าง ภาควิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรประชาสังคม เพื่อตรวจสอบสถานประกอบการที่ไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 อย่างเคร่งครัด

1.3 สำหรับกลุ่มแรงงานข้ามชาติ จะพบปัญหาที่มีความซับซ้อนกว่าแรงงานไทย ดังนี้

1.3.1  แรงงานข้ามชาติที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 และจ่ายสมทบประกันสังคมมาไม่ถึง 6 เดือนใน 15 เดือน จะไม่มีโอกาสได้รับประโยชน์ทดแทนการว่างงาน

1.3.2 แรงงานข้ามชาติและแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์ แรงงานไทยพลัดถิ่น ที่ไม่มีสัญชาติไทยกลุ่มต่างๆ ที่ทำงานในกิจการที่ยกเว้นประกันสังคมและได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 จะไม่สามารถเข้าถึงมาตรการเยียวยา 5,000 บาท ได้ เพราะกำหนดให้เฉพาะผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้น

1.3.3. พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ได้กำหนดระยะเวลาในการเปลี่ยน/หานายจ้างใหม่ภายหลังที่ลูกจ้างเลิกจ้าง/ไม่ต่อสัญญาจ้าง ภายใน 30 วัน จึงส่งผลต่อการเข้าถึงประโยชน์ทดแทนการว่างงานตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 , การไม่สามารถหางานใหม่-นายจ้างใหม่ได้ในช่วงเวลาวิกฤติ ตลอดจนไม่สามารถกลับประเทศต้นทาง ส่งผลต่อการผลักให้กลายเป็นแรงงานไม่ถูกกฎหมายและต้องหลบซ่อนในประเทศไทยต่อไป

ข้อเสนอคือ

ขอให้กระทรวงแรงงานพิจารณาดำเนินการจัดตั้งกลไกการทำงานร่วมกันของภาคส่วนต่าง ๆ ในรูปแบบของคณะทำงานความร่วมมือในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติในช่วงการระบาดของโรคโควิด และจัดทำแผนรองรับการฟื้นฟูการจ้างงานหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดต่อไป ทั้งนี้เพื่อให้เกิดแนวทางในการแก้ไขปัญหาผลกระทบอย่างรอบด้าน

1.4 ข้อเสนอเพื่อการแก้ปัญหาในระยะยาว

1.4.1 ควรมีการปฏิรูประบบประกันสังคมให้เป็นองค์กรอิสระ ในการทำหน้าที่ในการบริหาร จัดการจากภาครัฐ เพื่อประกันสังคมให้มีความโปร่งใส มีระบบธรรมาภิบาล มีประสิทธิภาพ มีประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประกันตน โดยให้ผู้ประกันตนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เพื่อให้สามารถเป็นหลักประกันด้านสวัสดิการให้แก่แรงงานในภาวะวิกฤติได้มากขึ้น เพื่อให้เกิดประสิทธภาพในการทำงานมากขึ้น

1.4.2 พิจารณาจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงทางรายได้ของผู้ประกันตน เพื่อให้สามารถจ่ายเงินชดเชยให้แก่ลูกจ้างให้ได้รับค่าจ้างครบตามจำนวนในภาวะวิกฤต

2.ข้อเสนอการบรรเทาผลกระทบต่อแรงงานนอกระบบ

2.1 มาตรการจ่ายเงินเยียวยาคนละ 5,000 บาทเป็นเวลา 3 เดือน พบว่า มีปัญหาเรื่องระบบการคัดกรองผู้ได้รับสิทธิ์ทำให้แรงงานนอกระบบที่ได้รับผลกระทบจำนวนมากยังคงไม่ได้รับการเยียวยา

ข้อเสนอคือ

2.1.1 กรณีผู้มีสิทธิ์แต่ไม่ได้รับเงิน ซึ่งมีการยื่นร้องเรียนเข้ามา ต้องมีการพิจารณาใหม่โดยรวดเร็วและยืดหยุ่น และควรมีการปรับปรุงระบบการคัดกรองที่เป็นปัญหาโดยเร็วเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อแรงงานนอกระบบซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนจนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดอยู่แล้ว

2.1.2 พิจารณาหลักเกณฑ์ผู้ได้รับสิทธิ์เงินเยียวยาใหม่สำหรับการจ่ายเงินในเดือนถัดไปโดยขยายให้ครอบคลุมประชากรวัยทำงานทั้งหมดรวมถึงเกษตรกรที่ไม่ใช่บุคลากรของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และผู้อยู่ในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33

2.2 แรงงานนอกระบบส่วนใหญ่ต้องสูญเสียอาชีพและรายได้จากมาตรการจำกัดการใช้พื้นที่สาธารณะ การห้ามรวมกลุ่มสังสรรค์ และการให้ทำงานที่บ้าน(Work from home) ซึ่งเป็นปัญหาหลักของการขาดรายได้ที่ไม่อาจทดแทนได้โดยการให้เงินเยียวยาเพียงเดือนละ 5,000 บาท

ข้อเสนอคือ

2.2.1    รัฐต้องพิจารณาเรื่องการผ่อนปรนพื้นที่การทำงานภาคบริการและการใช้พื้นที่สาธารณะโดยมีการจัดระเบียบอย่างเหมาะสมเพื่อให้แรงงานนอกระบบสามารถกลับมาทำงานมีรายได้โดยเร็ว

2.2.2 รัฐควรมีมาตรการสนับสนุนในการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในภาวะที่แรงงานอกระบบไม่สามารถหารายได้ตามปกติ เช่นการมีนโยบายบังคับหรือขอความร่วมมือให้มีการผ่อนปรนค่าเช่าร้านอาหารและสถานประกอบการายย่อย ลดค่าเช่ารถรับจ้างสาธารณะ พักชำระหนี้ทั้งในและนอกระบบ ฯลฯ

ทั้งนี้ทางภาคีกำหนดจัด เสวนาเชิงแถลงข่าวออนไลน์ เรื่อง ” ประกันว่างงาน 62% มาตรการล้มบนฟูก ซุกปัญหาแรงงานใต้พรม”วันศุกร์ที่ 24 เมษายน 2563 เวลา 10.30-11.30 น. จัดโดย ภาคีสังคมแรงงานสู้วิกฤตโควิด-19 ซึ่งจะถ่ายทอดออนไลน์ผ่านyoutube ช่อง voicelabour วิทยากรประกอบด้วย 1.นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ 2.นายมานิตย์ พรหมการีย์กุล ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย 3.นายวิจิตร ดาสันทัด ประธานสหพันธ์แรงงานธุรกิจโรงแรมและบริการ 4. รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ อาจารย์พิเศษคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.นภาพร อติวานิชยพงศ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และพร้อมทั้งเปิดรับเสียงสะท้อนปัญหา

องค์กรลงนามสนับสนุนข้อเสนอ

  1. สภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย
  2. สภาองค์การลูกจ้างสมาพันธ์แรงงานแห่งประเทศไทย
  3. สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
  4. สมาพันธ์แรงงานฮอนด้าแห่งประเทศไทย
  5. สมาพันธ์แรงงานเด็นโซประเทศไทย
  6. สมาพันธ์แรงงานอีซูซุประเทศไทย
  7. สมาพันธ์แรงงานชิ้นส่วนยานยนต์แห่งประเทศไทย
  8. สมาพันธ์แรงงานไทยซัมมิทแห่งประเทศไทย
  9. สหพันธ์แรงงานธุรกิจโรงแรมและบริการภูเก็ต
  10. สหพันธ์แรงงานโตโยต้าประเทศไทย
  11. เครือข่ายสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างเครื่องเรือนและคนทำไม้แห่งประเทศไทย
  12. สหภาพแรงงานยานยนต์และอะไหล่อีซูซุ
  13. สหภาพแรงงานคูคาติ มอเตอร์ประเทศไทย
  14. สหภาพแรงงานโตโยต้า โกเซประเทศไทย
  15. สหภาพแรงงานไอซินสัมพันธ์
  16. สหภาพแรงงานโตโยต้าประเทศไทย
  17. สหภาพแรงงานผู้บริหารโตโยต้าประเทศไทย
  18. สหภาพแรงงานซูมิโตโม รับเบอร์ประเทศไทย
  19. สหภาพแรงงานฮอนด้าแห่งประเทศไทย
  20. สหภาพแรงงานเอสซี
  21. สหภาพแรงงานฮีโน่ประเทศไทย
  22. สหภาพแรงงานสยามโตโยต้า
  23. สหภาพแรงงานไทยดีคัล
  24. สหภาพแรงงานโรเด้นสต๊อกประเทศไทย
  25. สหภาพแรงงานไทยออโต้คอนเวอร์ชั้น
  26. สหภาพแรงงานรถยนต์มิติซูบิชิแห่งประเทศไทย
  27. สหภาพแรงงานล็อกไทยโอโรเทกซ์
  28. สหภาพแรงงานไพโอเนียร์แห่งประเทศไทย
  29. สหภาพแรงงานทีทีเคโลจิสติกส์ ประเทศไทย
  30. สหภาพแรงงานโบการ์ทไทยแลนด์
  31. สหภาพแรงงานเอ็ฟซี
  32. สหภาพแรงงานผู้บริหารฟอร์ดและมาสด้าประเทศไทย
  33. สหภาพแรงงานฟอร์ดและมาสด้าประเทศไทย
  34. สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมกระจกแก้ว และเคมีภัณฑ์แห่งประเทศไทย
  35. สถาบันแรงงานเพื่อการค้นคว้าวิจัยและฝึกอบรม มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย
  36. สถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรม
  37. มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์
  38. มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน
  39. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ
  40. มูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน
  41. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก
  42. องค์กรคนงานหญิงเพื่อความยุติธรรม
  43. วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  44. ศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่ สำนักวิชานวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

บุคคลลงนามสนับสนุนข้อเสนอ

  1. ศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  2. รศ.ดร.กิริยา กุลกลการ คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
  3. รศ.แล ดิลกวิทยรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
  4. รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ อาจารย์พิเศษ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  5. ผศ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  6. ผศ.ดร.รณภูมิ สามัคคีคารมย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  7. ผศ.ดร.นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
  8. ผศ.ดร.เสาวลักษณ์ ชายทวีป คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  9. รศ.ดร.นฤมล นิราทร คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  10. ดร.โชคชัย สุทธาเวศ อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  11. อ.อานันท์ หาญพาณิชย์พันธ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
  12. อ.อนุสรณ์ ศรีแก้ว คณบดีวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  13. ดร.อาภา หวังเกียรติ ผู้ช่วยคณบดี วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  14. ผศ.พิมพ์ณัฐชยา สัจจาศิลป์ อาจารย์ประจำ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  15. อ.สุนี ไชยรส รองคณบดี วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
  16. อ.ภัทรมน สุวพันธุ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา สถาบันรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  17. ผศ.พิมพ์ณัฐชยา สัจจาศิลป์ อาจารย์ประจำ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  18. ดร.ศักดิ์ณรงค์ มงคล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  19. อ.ชิราภรณ์ วรรณโชติ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  20. ผศ.ตะวัน วรรณรัตน์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  21. นายกฤษฎา ธีระโกศลพงศ์นักวิชาการอิสระ
  22. นางสาวบุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ นักวิชาการสถาบันส่งเสริมภาคประชาสังคม
  23. นางสาวจุฑิมาศ สุกใส นักวิชาการอิสระ
  24. นายวิทยา ไชยดี นักวิจัยอิสระ
  25. นายอดิศร เกิดมงคล นักวิชาการเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ
  26. นายบัณฑิต แป้นวิเศษ มูลนิธิเพื่อนหญิง