โดย รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ
24 กรกฏาคม 2563
ผมมอยากจะแชร์ความคิดการขับเคลื่อนเรื่องรัฐสวัสดิการ (1) รัฐสวัสดิการ ซึ่งเป็นมิติทางสังคมต้องมองเชื่อมโยงกับมิติทางเศรษฐกิจ ไทยเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยมานับตั้งแต่การรัฐประหาร เมื่อต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของเชื้อ corona ไวรัส ซึ่งเป็นปัญหาของโลกที่ทุกประเทศถูกกระทบ (pandamic) ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกถดถอย อัตราการเติบโตตํ่า การเติบโตของเศรษฐกิจไทยเชื่อมโยงกับเศรษกิจโลก ผ่านการลงทุนต่างชาติ การส่งออกและการท่องเที่ยว ในยุควิกฤติที่การลงทุนต่างชาติชะลอตัว มีการย้ายฐานการผลิตไปเวียตนาม เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ รวมทั้งทุนไทยด้วยที่นิยมไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน การส่งออกของเราติดลบ การท่องเที่ยวถูกกระทบจากการระบาดช่วงโควิด ไทยกำลังเผชิญกับ “มหาวิกฤติเศรษฐกิจ”
(1) การเติบโตเศรษกิจไทย ประเมินอย่างดีที่สุดคือ ติดลบ 8 -10%
(2) การว่างงานขนานใหญ่ที่คนไทยไม่เคยเผชิญมาก่อน ประเมินว่า จะมีคนตกงานมากกว่า 8 ล้านคนเพราะการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ (โรงแรม) ถ้ารวมแรงงานนอกระบบ ที่รับงานมาทำที่บ้านผ่านระบบรับช่วงการผลิต (subcontracting) จะถูกกระทบไปด้วยเพราะไม่มีการจ่ายงานลงมา
(3) เรากำลังจะเจอกับปัญหาคนส่วนใหญ่ ตกงาน ขาดรายได้ในประเทศขาดกำลังซื้อ แต่เรามีภาวะเงินเฟ้อเงินฝืดเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน รัฐสวัสดิการจะเกิดขึ้นได้อย่างไรในยุค “มหาวิกฤติเศรษฐกิจ?”
รัฐบาลมักจะมองว่า รัฐสวัสดิการ เป็นภาระทางการเงินให้กับรัฐบาลพราะทำให้เกิดสิทธิที่ผูดมัด ยกเลิกไม่ได้ ทำให้เกิดการใช้จ่ายของรัฐโดยเฉพาะการจัดสวัสดิการ การเก็บภาษีก้าวหน้าเพื่อใช้ในการจัดสวัสดิการ หรือ รัฐบาลมักจะบอกปัดว่า ไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนา ไม่มีเงินเพราะเรายากจน แต่เรากลับมีมหาเศรษฐีติดอันดับโลกของผู้ที่รํ่ารวยที่สุด รัฐจึงมองแบบแยกส่วนคือ มิติทางเศรษฐกิจแยกออกจากมิติทางสังคม เราจะต้องสร้างความเข้าใจว่า มิติทางสังคมเชื่อมโยงกับมิติทางเศรษฐกิจ การมีรัฐสวัสดิการซึ่งเป็นมิติทางสังคม สามารถทำให้ระบบเศรษฐกิจเติบโตและฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เช่น การเติบโตของยุโรปภายใต้นโยบายรัฐสวัสดิการ นำยุโรปเข้าสู่ “ยุคทองของทุนนิยม‘ ด้วยอัตราการเติบโต 2 หลัก และการจ้างงานเต็มที่ (full employment) องค์ประกอบของรัฐสวัสดิการ คือ การอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
(2) เมื่อการลงทุนของภาคเอกชนชะลอตัว รัฐก็ต้องเข้ามาแทนที่ ทำการลงทุนขนานใหญ่เพื่อก่อให้เกิดการจ้างงานขนาดใหญ่ เงินลงทุนจะมาจากเงินกู้ของรัฐผ่านการออกพันธบัตร และการใช้งบประมาณขาดดุล
(3) ทุกคนต้องมีงานทำ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ รัฐต้องให้ความสำคัญเรื่องการสร้างงาน ( employment) แม้ว่า งานจะเปลี่ยนไปในยุคโลกาภิวัตน์ “งาน” ในมิติใหม่ควรเป็นอย่างไร อาจไม่ใช่การเข้าไปทํางานในโรงงาน การสร้างงานในรูปแบบใหม่คือ งานแบบไหน การสร้างงานจะก่อให้เกิดรายได้ การใช้จ่าย (spending) สร้างงานและรายได้ในกิจกรรมอื่นๆ
(4) นโยบายค่าจ้างสูงจึงเป็นเรื่องสำคัญเพื่อสร้างกำลังซื้อแต่จะต้องคู่กับการพัฒนาทักษะ (upgrade skill) ของคนทำงานให้สอดคล้องกับการพัฒนาเทคโนโลยี การพัฒนาทักษะวิเคราะห์สังเคราะห์ และ ทักษะความสามารถทำงานหลากหลาย ( multi skill) และการมีส่วนร่วมของคนทำงาน
(5) การจัดสวัสดิการแบบเบ็ดเสร็จ ตั้งแต่ (ก) การสงเคาะห์คนจน (ข) บริการสาธารณะ เช่น การศึกษาแบบให้เปล่า หรือ การอุดหนุนจากรัฐ เพื่อให้ทุกคนได้รับโอกาสในการศึกษา การสร้างที่พักอาศัยสำหรับคนที่มีรายได้น้อย (ค) การจัดสวัสดิการโดยรัฐ ไทยมีการพัฒนาไปมากเรื่องบัตรทอง หรือ 30 บาทที่ครอบคลุมทุกคนที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม
กล่าวได้ว่า คนไทยทุกคนเข้าถึงการบริการรักษาพยาบาล แต่จะทำอย่างไรที่จะยกระดับการจัดสวัสดิการโดยอาจมีการจัดสวัสดิการของข้าราชการเป็นต้นแบบ เพราะ การจัดสวัสดิการทำให้เกิดการใช้จ่าย หรือ เรียกว่า การพัฒนา “ค่าจ้างทางออม” จึงเป็นตัวที่ข่วยกระตุ้นการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจ โดยสรุป รัฐจะต้องให้ความสำคัญกับมิติทางสังคม หรือ การสร้างรัฐสวัสดิการ เพราะมันเชื่อมโยงกับมิติทางเศรษฐกิจ การเติบโตและการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย
(6) รัฐสวัสดิการ เป็นโมเดลของยุโรปในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ในปัจจุบัน ภายใต้กระแสโลกกาภิวัตน์ และการแข่งขันที่ไร้พรมแดน รัฐสวัสดิการควรเป็นแบบใด? เป็นเรื่องที่จะต้องมีการแลกเปลี่ยนความคิดกันระหว่างผู้ที่ขับเคลื่อนประเด็นรัฐสวัสดิการในสังคมไทย
(7) รัฐสวัสดิการเกิดขึ้นในประเทศตะวันตกที่ 90% ของกำลังแรงงานทำงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการ แต่ในบริบทของไทย ที่เป็น “สังคมอุตสาหกรรมกึ่งเกษตรกรรม” ประชากรที่อยู่ในภาคเกษตรกรรมยังมีจำนวนที่สำคัญแม้ว่าจะมีแนวโน้มลดลง คนทำงานในภาคการเกษตร จึงต้องมีการคุ้มครองด้วยนโยบายประกันรายได้ขั้นตํ่าสำหรับเกษตรกรทุกคน
(8) รัฐสวัสดิการจะเกิดขึ้นได้ เราจำเป็นต้องมีประชาธิปไตย การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
…ทั้งนี้รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ อาจารย์พิเศษ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้โพสต์บทความนี้ไว้ในhttps://www.facebook.com/voravidh.chareonloet เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2563 Voicelabour ได้รับอนุญาตในการนำมาเผยแพร์เพื่อเป็นข้อมูลความรู้ให้กับสังคม