วิดีโอ:เดินขบวนทวง 300 ทั่วประเทศ ชี้พ.ร.ก.กู้เงินช่วยแรงงานได้ถ้าจริงใจ

เครือข่ายแรงงานเพื่อการปฏิรูปค่าจ้างที่เป็นธรรมราว1 พันคนเดินรณรงค์ยื่นหนังสือถึงนายกฯให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ จัดเวทีเสวนาวิชาการถกค่าจ้างถูกเปลี่ยนจากหลักคุ้มครองแรงงานเป็นเครื่องมือกดค่าจ้­างเพื่อแข่งขันผลิตสินค้าส่งออก ชี้นโยบาย 300 บาททั่วประเทศเป็นนโยบายเด่นสุดเป็นประโยชน์ต่อประเทศต้องรีบทำ แนะ พ.ร.ก.เงินกู้ทำรัฐบาลอู้ฟู่แบ่งช่วยแรงงานได้ แรงงานนอกระบบบอกค่าจ้างต้องมาตรฐานเดียว ขณะประธาน คสรท.ย้ำนักการเมืองหาเสียงแล้วทำไม่ได้ต้องกล้าขอโทษแรงงาน ขณะ รมว.รับหนังสือแทนนายกฯยัน 1 ม.ค.56 ได้ 300 เท่ากันทั่วประเทศแน่ ฝ่ายแรงงานแถลงค้านมติ ครม.ไม่ปรับค่าจ้างอีก 3 ปี

รมว.ตำหนิแรงงานร้องเรียน-ขึงขังห้ามนายจ้างรวมสวัสดิการเป็นค่าจ้าง

เมื่อวันที่ 28 ก.พ.2555 สื่อมวลชนหลายสำนักได้รายงานกรณีนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ปะทะคารมกับแกนนำแรงงานที่พาคนงานมายื่นหนังสือร้องเรียน แต่กลับถูก รมว.แรงงานฯ ตำหนิว่าออกมาเคลื่อนไหวทำให้ภาพพจน์ของประเทศเสียหาย ซึ่งนักข่าวรายงานว่าสร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มแรงงานที่เดือดร้อนจนพากันโห่ไล่ และแกนนำสภาองค์การลูกจ้างจะร้องนายกฯให้เปลี่ยนตัว รมว.แรงงานฯเพราะมีท่าทีดูถูกคนงาน ขณะที่นายเผดิมชัยกล่าวห้ามนายจ้างนำสวัสดิการมาคำนวณรวมเป็นค่าจ้าง

วิดีโอ: นายจ้างดอดแจ้งคนงานลาออกทำสูญสิทธิว่างงาน คสรท.จี้รัฐแก้เชิงรุกปัญหาแรงงานจากเหตุน้ำท่วม

คนงานหลายบริษัท 300 กว่าคนบุกกระทรวงแรงงานเพื่อร้องทุกข์ หลังเจอปัญหามากมายจากเหตุน้ำท่วม อธิบดีกรมสวัสดิการฯ รับหน้าบอกจะเร่งรัดสวัสดิการฯจังหวัดให้แก้ปัญหา นายจ้างสวมรอยแจ้งประกันสังคมว่าคนงานลาออกจากงาน ทำให้คนงานต้องเสียสิทธิกรณีว่างงาน

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยแนะรัฐต้องทำงานเชิงรุกเพื่อสร้างความมั่นใจ ต้องลงพื้นที่พบนายจ้างที่ไม่ทำตามกฎหมาย และต้องกล้าที่จะจัดการ

รายงานโดย นักสื่อสารแรงงาน

วิดีโอ คนงานเจอพิษน้ำท่วมบุกร้องกระทรวงแรงงาน

คนงานเจอพิษน้ำท่วมบุกร้องระทรวงแรงงาน คนงานที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยจากนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดปทุมธานีหลายบริษัท เดินทางเข้ากระทรวงแรงงานเพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรม โดยคนงานบริษัทเซไดคาเซ ประเทศไทย นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ ไม่ได้รับค่าจ้างมากว่า 3 เดือน ตั้งแต่เกิดเหตุน้ำท่วม ขณะที่คนงานบริษัท เอ็นอีซี โทคิน อิเลกทรอนิกส์ นิคมอุตสาหกรรมนวนคร โรงงานได้ย้ายฐานการผลิตไปอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ ย้ายคนงานไปทำงานจำนวน 200 คน ส่วนที่เหลือจำนวน 2,900 คน นายจ้างได้ประกาศเลิกจ้าง ส่วนคนงานบริษัทอัลตัน ฟรีซิชั่น จำกัด โรงงานตั้งอยู่นิคมอุตสาหกรรมไฮเทคถูกเท็คโอเวอร์พร้อมกับมีการเลิกจ้างคนงาน จำนวน 355 คน เหลือคนงาน 271 คน รู้สึกไม่มั่นคงในการทำงาน รายงานโดย นักสื่อสารแรงงาน

วิดีโอ เวทีเสวนาเรื่อง”มหาอุทกภัยจากไป คำถามต่อชะตากรรมและอนาคตของแรงงานหญิง”

เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2555 กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี ร่วมกับ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้จัดเวทีเสวนาเรื่อง”มหาอุทกภัยจากไป คำถามต่อชะตากรรมและอนาคตของแรงงานหญิง”

ณ โรงแรมรัตนโกสินทร์

ในการเสวนาของกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรีได้มีการพูดถึงผลกระทบต่อแรงงานหญิงในช่วงน้ำท่วมและหลังจากน้ำลด ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของสมาชิกและครอบครัวของแรงงานหญิงจำนวนมาก ปัญหาส่วนใหญ่คือนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างและไม่มีความชัดเจนว่านายจ้างจะรับกลับเข้าทำงานหรือไม่ รวมถึงแรงงานหญิงที่ตั้งครรภ์ได้ส่งผลกระทบอย่างมาก รายได้ไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพที่สูงขึ้นเงินประกันว่างงานก็น้อยนิด บวกกับค่ารถที่ต้องเดินทางไปรายงานตัวแทบจะไม่พอใช้ รวมถึงแรงงานนอกระบบ ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงเนื่องจากอุปกรณ์สำหรับการประกอบอาชีพต้องสูญเสียไปกับวิกฤติครั้งนี้และไม่สามารถจัดหามาทดแทนใหม่ได้เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง การเข้าถึงโครงการช่วยเหลือจากภาครัฐก็ไม่ใช่เรื่องง่ายจึงต้องอาศัยเงินกู้นอกระบบมาทำทุนในการประกอบอาชีพ รวมถึงแรงงานข้ามชาติที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักเช่นกัน
นักสื่อสารแรงงานรายงาน

วิดีโอ ปัญหาของบริษัท อัลตัม ฟริซิชั่น

เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2555  เวลา 9:00 น.  พนักงานของบริษัท อัลตัม ฟรีซิชั่นประมาณ  200  คน รวมตัวกันที่หน้าบริษัท เพื่อประท้วงการเลิกจ้างพนักงานกว่า 200 คน ภายหลังเข้าเทคโอเวอร์บริษัทเดิม  โดยอ้างเหตุน้ำท่วมไม่จ่ายค่าชดเชย   ซึ่งก่อนหน้านี้นายจ้างได้มีการเลิกจ้างพนักงานรายวันประมาณ 370 คน ในช่วงเดือนธันวาคมปีที่แล้ว โดยให้เหตุผลว่า งบประมาณในการจ่ายค่าจ้างน้อยลง จึงจำเป็นต้องเลิกจ้างพนักงานรายวันออก ซึ่งมีทั้งพนักงานซับคอนแทร็คและพนักงานบริษัทที่อยู่ในช่วงทดลองงาน  โดยบริษัทจะจ่ายเป็นเงินช่วยเหลือเพิ่มขึ้นจากเงินเดือนงวดสุดท้ายที่จ่ายไปแล้วแทนการค่าชดเชยตามกฎหมาย

วิดีโอ ข่าวเที่ยง Thai PBS สภาเครื่อข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ ยื่นหนังสือคัดค้านร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ

เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 55 สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทยได้ยื่นหนังสือคัดค้านถึง รมว.กระทรวงแรงงานผ่านนายวินัย ลู่วิโรจน์ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเพื่อเรียกร้องให้ทบทวนร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่กระทรวงแรงงานจะทำประชาพิจารณ์เพียงครั้งเดียวในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เนื่องจากไม่เห็นด้วยใน 4 ประเด็น คือ ประชาพิจารณ์ควรมีองค์กรกลางเป็นผู้จัด การทำประชาพิจารณ์ในวันดังกล่าวไม่มีตัวแทนฝ่ายแรงงานเป็นผู้เกี่ยวและเป็นผู้เสนอการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยเข้าร่วม ขาดสัดส่วนขบวนการมีส่วนร่วมจากผู้ใช้แรงงานหลายภาคส่วน การจัดประชาพิจารณ์เพียงครั้งเดียวจึงไม่ถือเป็นเสียงประชามติได้และข้อเสนอของผู้ใช้แรงงานในคณะอนุกรรมการยกร่างสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยต้องการให้บรรจุการรับเรื่องราวร้องทุกข์ในอำนาจหน้าที่และที่มาของคณะกรรมการบริหารให้มาจากการสรรหา

วิดีโอ คสรท.ค้านประชาพิจารณ์สถาบันความปลอดภัย

เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และ สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย แถลงข่าวแสดงความห่วงใย การจัดประชาพิจารณ์สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ โดยกระทรวงแรงงาน ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555 เพราะการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการยกร่างกฎหมายจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯมีสัดส่วนไม่สะท้อนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเหมาะสมและเป็นธรรมโดยเฉพาะสัดส่วนตัวแทนเครือข่ายแรงงานและประชาชนที่ร่วมผลักดัน มีการเร่งรีบ เร่งรัดพิจารณายกร่างกฎหมายการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯโดยขาดการรับฟังความคิดเห็นและขาดการประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วยเสียอย่างแท้จริง มีมติยื่นหนังสือคัดค้านต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานฯในวันที่ 10 ก.พ.2555 และจะขอเข้าพบนายกรัฐมนตรีเพื่่อให้ฝ่ายการเมืองเข้ามาช่วยผลักดันสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานต่อไป

วีดีโอ ข่าวThai PBS จุดยืนเครือข่ายแรงงานจัดตั้งสถาบันความปลอดภัย

วีดีโอ ข่าวThai PBS จุดยืนเครือข่ายแรงงานตั้งสถาบันความปลอดภัย ออกอากาศวันที่ 24 มกราคม 2555 เวลาเที่ยงคืน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เตรียมจัดรับฟังความคิดเห็นจากเครือข่ายแรงงานและหน่วยงานราชการต่อการจัดตั้งส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์นี้ เพื่อแสดงท่าทีต่อเวทีรับฟังความคิดเห็นของไตรภาคีเกี่ยวกับร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งส่งเสริมสถาบันความปลอดภัย ก่อนให้ รมว.แรงงาน รับรองเพื่อเสนอต่อที่ประชุม ครม.ขณะที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจะประชุมรับฟังความคิดเห็นในวันที่ 14 กุมภาพันธ์นี้ เครือข่ายแรงงานเห็นว่ากระทรวงแรงงานเร่งนำมติของคณะอนุกรรมการยกร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยที่มีเสียงส่วนใหญ่เป็นฝ่ายข้าราชการและไตรภาคีในสมัยนายเฉลิมชัย ศรีอ่อนเป็น รมว.แรงงาน ซึ่งยังไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ทั้งวัตถุประสงค์การบริหารและการดำเนินการเร่งผ่านการรับรองจากคณะกรรมการความปลอดภัยในช่วงที่ รมว.แรงงานคนปัจจุบันยังไม่ได้เข้ามารับตำแหน่ง ทั้งที่นายเฉลิมชัยได้การให้ชะลอการจัดตั้งเอาไว้เพื่อรอรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาพิจารณาปรับโครงสร้างและจัดรับฟังความคิดเห็นอีกครั้ง

วีดีโอ คสรท.แถลงข่าว จุดยืนของผู้ใช้แรงงานต่อนโยบายการขึ้นค่าแรง 300 บาท

เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2555 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)  ร่วมกับภาคีเครือข่ายแรงงานแถลงข่าว “จุดยืนของผู้ใช้แรงงานต่อนโยบายการขึ้นค่าแรง 300 บาท” นายชาลี ลอยสูงประธานคณะกรรมการสมานฉันท์ แรงงานไทย ยืนยันให้รัฐบาลมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท เท่ากันทั่วประเทศ ในวันที่ 1 เมษายน 2555 หากรัฐบาลไม่ดำเนินการตามนโยบายที่เคยหาเสียงในช่วงเลือกตั้ง คสรท. ก็จะมีการเคลื่อนไหวใหญ่กันอีกครั้งทั่วประเทศ

วีดีโอ ข่าวเที่ยง ช่อง 9 อสมท.คสรท.แถลงข่าว จุดยืนของผู้ใช้แรงงานต่อนโยบายการขึ้นค่าแรง 300 บาท

ข่าวเที่ยง ช่อง 9 อสมท. คสรท.แถลงข่าว จุดยืนของผู้ใช้แรงงานต่อนโยบายการขึ้นค่าแรง 300 บาท ออกอากาศวันที่ 18 มกราคม 2555 นายชาลี ลอยสูงประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายผู้ใช้แรงงานร่วมกันแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน ให้เท่ากันทั่วประเทศโดยทันทีโดยระบุว่าการเลื่อนปรับขึ้นค่าจ้างขึ้นต่ำจากกำหนดเดิมวันที่ 1 มกราคม ที่ผ่านมาเป็นวันที่ 1 เมษายน และนำร่องแค่ 7 จังหวัดนั้นเป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชนในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง จึงได้เรียกร้องให้รัฐบาลขึ้นค่าจ้าง 300 บาท เท่ากันทั่วประเทศทันที และคัดค้านแผนการไม่ปรับขึ้นค่าจ้างใน 2-3 ปี รวมถึงต้องเร่งควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภคด้วย ทั้งนี้คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยยังระบุว่าจากการสำรวจพบว่าค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของแรงงานในปัจจุบันสูงถึงวันละ 561.79 บาท ทั้งนี้หากรัฐบาลไม่ปฏิบัติตามข้อเสนอก็จะรณรงค์เคลื่อนไหวกับผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศต่อไป

วีดีโอ ข่าวเที่ยง Thai PBS คสรท.แถลงข่าว จุดยืนของผู้ใช้แรงงานต่อนโยบายการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท

วีดีโอ ข่าวเที่ยง Thai PBS คสรท.แถลงข่าว จุดยืนของผู้ใช้แรงงานต่อนโยบายการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ออกอากาศวันที่ 18 มกราคม 2555 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย แถลงการณ์เพื่อย้ำจุดยืนเกี่ยวการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท หลัง ครม.มีมติให้เลื่อนการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เป็นวันที่ 1 เมษายน 2555 เพื่อช่วยบรรเทาทุกข์ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม โดยให้ปรับร้อยละ 39.5 นำร่องใน 7 จังหวัด และปรับให้ครบทุกจังหวัดในวันที่ 1 มกราคม 2556 และไม่มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเวลา 2-3 ปี ซึ่งคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ยื่นข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ  1.ให้รัฐบาลปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำให้เท่ากันทั่วประเทศทันทีโดยคำนึงถึงความเสมอภาคของแรงงานกับภาคราชการที่มีอัตราเงินเดือนเท่ากันทั่วประเทศ 2. คัดค้านมติของคณะกรรมการไตรภาคีในการไม่ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ใน 2-3 ปี หลังการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท และให้มีโครงสร้างค่าจ้างเพื่อความเป็นธรรมและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและมีการปรับขึ้นค่าจ้างทุกปีทุกสถานประกอบการณ์ 3. รัฐบาลต้องมีมาตรการควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภค […]

1 17 18 19 25