วีดีโอ ข่าวช่อง 9 อสมท. คสรท.กดดันขึ้นค่าจ้าง 300 บาท

  ข่าวช่อง 9 อสมท. ออกอากาศวันที่ 8 มกราคม 2555 นายชาลีลอยสูงประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ได้มีการหารือถึงนโยบายของรัฐบาลเรื่องการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท ที่จะมีผลบังคับใช้ใน 7 จังหวัด ในวันที่ 1 เมษายน นี้ ส่วนจังหวัดอื่นจะได้ขึ้นประมาณร้อยละ 40 โดยผู้ใช้แรงงานมีข้อสรุปร่วมกันว่าไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท นำร่องเพียงแค่ 7 จังหวัด ขณะที่จังหวัดอื่นต้องรอถึงปีหน้าซึ่งไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน ทั้งนี้ผู้ใช้แรงงานเตรียมเคลื่อนไหวใหญ่เพื่อกดดันรัฐบาลทั้งฟ้องศาลปกครองเนื่องจากนโยบายของพรรคเพื่อไทยที่ใช้หาเสียงระบุไว้ชัดเจนว่าจะขึ้นค่าแรง 300 บาท เท่ากันทุกจังหวัดทันทีรวมทั้งจะมีการเดินขบวนประท้วงโดยกลุ่มผู้ใช้แรงงานจะเปิดการแถลงข่าวอีกครั้งในวันที่ 18 มกราคมนี้ สำหรับ 7 จังหวัดที่ได้รับอนุมัติปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท/วัน นำร่องได้แก่ กรุงเทพมหานคร , สมุทรปราการ , สมุทรสาคร , ปทุมธานี , นครปฐม , นนทบุรี และภูเก็ต

วีดีโอ ศูนย์เลี้ยงเด็กในโรงงาน

การได้เลี้ยงดูลูกด้วยตนเองเป็นความต้องการของพ่อ แม่ ทุกคน แต่สำหรับพ่อ แม่ ที่เดินทางมาสู่เมืองใหญ่เพื่อทำงานหาเลี้ยงครอบครัว คงเป็นเรื่องยากลำบากที่จะเลี้ยงดูลูกด้วยตนเองเพราะต่างต้องทำงานหนักค่าใช้จ่ายก็สูงเกินกว่าที่จะแบกรับไหว จึงจำเป็นต้องส่งลูกไปให้พ่อแม่ที่ต่างจังหวัดเลี้ยงดูแทน เมื่อปี 2552 สหภาพแรงงานคาวาซากิได้ร่วมมือกับบริษัทคาวาซากิมอร์เตอร์ จัดตั้งสถานเลี้ยงเด็กขึ้นในโรงงาน เพื่อหวังจะเสริมสร้างสถาบันครอบครัวในโรงงาน และจะได้แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของพนักงานได้บ้าง โดยสถานเลี้ยงเด็กไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆกับพนักงานและมีครูที่เลี้ยงดูพัฒนาการของลูกคนงานอย่างใกล้ชิด สถานเลี้ยงเด็กแห่งนี้ได้เติมเต็มหลายสิ่งหลายอย่างให้กับชีวิตคนงาน เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของแรงงานและครอบครัวให้ดีขึ้น ซึ่งหากรัฐบาลจะเข้ามาช่วยสนับสนุนให้มีสถานเลี้ยงเด็กในเขตอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างทั่วถึงก็จะเกิดประโยชน์ทั้งต่อตัวแรงงานและสถานประกอบการด้วย รายงานโดย สราวุธ ขันอาสา นักสื่อสารแรงงานศูนย์สื่อสารแรงงาน จ.ระยอง – ชลบุรี

วีดีโอ รายการเปิดปมThai PBS ตอน แรงงานกว่าหนึ่งแสนคนถูกเลิกจ้าง

ความเป็นอยู่ของแรงงานทั้งไทยและต่างชาติที่นิคมฯหลักๆทั้ง 5 แห่งถูกน้ำท่วม ยังไม่นับรวมโรงงานที่อยู่นอกนิคมฯด้วย วันนี้นิคมต่างๆนั้นเริ่มเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูแล้วโรงงานบางแห่งก็กลับมาทำกิจการแล้วแต่ว่าแรงงานจำนวนมากนั้นต้องหยุดงานไปตั้งแต่เดือนตุลาคม เนื่องจากโรงงานประสบกับปัญหาน้ำท่วม หลายคนบอกว่ายังไม่รู้อนาคตของตัวเองว่าจะยังได้ทำงานในที่เดิมต่อไปหรือไม่ ติดตามจากเปิดปม

วีดีโอ รายการข่าวค่ำThai PBS งานหลังภัยพิบัติ

ในการเสวนา เรื่องแรงงานในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในภัยพิบัติน้ำท่วม นักวิชาการก็ได้เสนอมาตรการทั้งงระยะสั้นและระยะยาวให้รัฐบาลนำไปเป็นมาตรการในการส่งเสริมการจ้างงานหลังภัยพิบัติ รศ.ณรงค์ เพชรประเสริฐ คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอให้มีมาตรการการส่งเสริมการจ้างงานหลังภัยพิบัติน้ำท่วมโดยแบ่งเป็นมาตรการระยะสั้น คือการจัดมหกรรมการจ้างงานเพื่อให้แรงงานที่ว่างงานมาทำการฟื้นฟูสถานที่ราชการ ที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม

วีดีโอ รายการข่าวค่ำThai PBS แรงงานนอกระบบที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

แม้ว่าหลายมาตรการที่รัฐบาลใช้เพื่อเยียวยาภาคอุตสาหกรรมและแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ไม่ว่าจะเป็นเงินทดแทนการประกันการว่างงงานรวมไปถึงสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยฟื้นฟูสถานประกอบการ แต่ว่านักวิชาการด้านแรงงานกับมองว่ายังไม่ครอบคลุมไปถึงกลุ่มแรงงานนอกระบบที่เดือดร้อนจากน้ำท่วมกว่า 40,000 คน

วีดีโอ รายการข่าวเที่ยงThai PBS นักวิชาการเสนอรัฐเร่งสร้างความมั่นใจนักลงทุน ป้องกันการย้ายฐานการผลิต

รายการข่าว Thai PBS ข่าวเที่ยง  นักวิชาการเสนอรัฐเร่งสร้างความมั่นใจนักลงทุน ป้องกันการย้ายฐานการผลิต ออกอากาศวันที่ 16 ธันวาคม 2554 มีตัวเลขจากกระทรวงแรงงานที่ทำให้ทราบได้ว่ามีแรงงานกว่าหนึ่งล้านคนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัย และรัฐบาลพยายามที่จะดำเนินมาตรการอย่างเช่น การจ่ายเงินอุดหนุนรายละ 2,000 บาท เพื่อป้องกันการเลิกจ้าง แต่ก็มีความเห็นออกมาจากนักวิชาการด้านแรงงานที่เสนอรัฐบาลให้เร่งสร้างความมั่นใจในระบบบริหารจัดการน้ำให้กับนักลงทุนและแรงงานเพื่อป้องกันการย้ายฐานการผลิตพร้อมกับเร่งสร้างระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเองในการป้องกันปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ และภัยพิบัติระยะยาว ขณะที่มูลนิธิด้านแรงงานจากต่างประเทศได้เสนอลดชั่วโมงการทำงานเพื่อลดต้นทุนของนายจ้างและลดปัญหาการเลิกจ้างงาน  

วีดีโอ รายการข่าวค่ำThai PBS แรงงานถูกลดเงินเดือน

รายการข่าวค่ำ Thai PBS แรงงานถูกลดเงินเดือน ออกอากาศวันที่ 15 ธันวาคม 2554 สถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วมส่วนใหญ่ก็จะใช้มาตรการการเลิกจ้างหรือว่าการตัดลดสวัสดิการบางส่วนลง เพื่อลดต้นทุนการผลิตที่ยังไม่สามารถที่จะเปิดทำการหรือว่าเดินสายพานการผลิตได้ แต่ก็มีสถานประกอบการบางรายเลือกใช้วิธีการลดเงินเดือนพนักงาน

วีดีโอ รายการข่าว Thai PBS นักวิชาการเสนอตั้งธนาคารลูกจ้างช่วยแรงงานหลังน้ำลด

รายการข่าว Thai PBS นักวิชาการเสนอตั้งธนาคารลูกจ้างช่วยแรงงานหลังน้ำลด ออกอากาศวันที่ 16 ธันวาคม 2554 เวลา 17.30 น. ปัญหาน้ำท่วมที่ทำให้นิคมอุตสาหกรรมถึง 5 แห่ง รวมทั้งโรงงานในพื้นที่ต่างๆ ได้รับผลกระทบก็ทำให้แรงงานนับล้านคนยังต้องว่างานอยูในระยะนี้ ทำให้มีข้อเสนอจากนักวิชาการด้านแรงงานที่เสนอให้รัฐบาลเร่งออกมาตรการระยะสั้นและระยะยาวเพื่อให้แรงงานที่ยังคงว่างงานเข้ามาช่วยในการฟื้นฟูสถานที่ราชการ ซึ่งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมหรือว่าให้จัดตั้งธนาคารลูกจ้างหรือธนาคารคนงานเพื่อส่งเสริมการจ้างงานหลังภัยพิบัติ การเสวนาประเด็น แรงงานการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมหลังภัยพิบัติน้ำท่วมที่คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย องค์การแรงงานระหว่างประเทศหรือว่า ILO และมูลนิธิ FES รศ.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เสนอการส่งเสริมการจ้างงานหลังภัยพิบัติโดยเห็นว่าควรมีมาตรการระยะสั้นให้รัฐบาลนำแรงงานที่ยังว่างงานมาช่วยฟื้นฟูสถานที่ราชการของหน่วยงานต่างๆที่ถูกน้ำท่วม เช่น การทำความสะอาดหรือการซ่อมแซมตัวอาคาร ส่วนมาตรการระยะยยาวนั้นควรมีการจัดตั้งธนาคารคนงานเพื่อส่งเสริมให้แรงงานได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในการนำไปประกอบอาชีพเสริม  

วีดีโอ รายการข่าวค่ำThai PBS ตอน มาตรการช่วยเหลือแรงงาน

รายการข่าว ค่ำ Thai PBS ตอน มาตรการช่วยเหลือแรงงาน ออกอากาศวันที่ 14 ธันวาคม 2554 วิกฤติครั้งสำคัญๆ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติต้มยำกุ้งหรือว่าแฮมเบเกอร์ได้ส่งผลกระทบต่อแรงงานจำนวนมากที่ถูกเลิกจ้างและไม่สามารถที่จะกลับเข้าไปเป็นแรงงานในระบบได้ โดยเฉพาะแรงงานหญิงที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปเนื่องจากว่ารัฐบาลใช้วิธีการมุ่งเน้นและกำหนดมาตรการช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก ทำให้นักวิชาการด้านแรงงานมีข้อเสนอให้ทบทวนแนวทางของเครือข่ายแรงงานที่ต้องการให้มีคณะกรรมการไตรภาคีขึ้นมาเพื่อแกปัญหาผู้ใช้แรงงานถูกเลิกจ้างจากสถานการน้ำท่วมในครั้งนี้

วีดีโอ ข่าวค่ำThai PBS แรงงานรับเหมาช่วง

วีดีโอ ข่าว Thai PBS แรงงานรับเหมาช่วง ออกอากาศวันที่ 12 ธันวาคม 2554 ปัญหาที่กระทบกับแรงงานส่วนหนึ่งจากน้ำท่วมก็คือเรื่องของการถูกเลิกจ้าง ซึ่งน้ำที่ท่วมที่นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทำให้กลุ่มคนงานรับเหมาช่วงหรือว่าซับคอนแทรคส่วนใหญ่นั้นถูกเลิกจ้างไปบ้างแล้ว และมีการประเมินจากผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงานจากสถาบัน TDRI ว่าคนงานกลุ่มนี้นั้นอาจจะต้องเสี่ยงกับการตกงาน แม้ว่าโรงงานอุตสาหกรรมจะกลับมาเดินสายพานการผลิตได้เต็มที่เพราะว่าผู้ประกอบการบางรายนั้นอาจใช้วิธีการนำเครื่องจักรที่มีกำลังการผลิตมากกว่าเข้ามาใช้ทดแทนเครื่องที่เสียเพื่อเป็นการลดต้นทุน และรองรับการประกาศขึ้นค่าจ้าง 300 บาท ก็ทำให้คนกลุ่มนี้ได้รับผลกระทบ

วีดีโอ ข่าวค่ำThai PBS ผลกระทบแรงงาน

วีดีโอ ข่าวค่ำThai PBS ผลกระทบแรงงาน ออกอากาศวันที่ 13 ธันวาคม 2554 น้ำที่ท่วมในนิคมอุตสาหกรรมหลายจังหวัดจนไม่สามารถเดินสายพานการผลิตได้ โรงงานส่วนใหญ่จึงตัดสินนยกเลิกการจ้างงานโดยเฉพาะในกลุ่มรับเหมาช่วงหรือที่เรียกว่าซับคอนแทรค แต่ก็มีนายจ้างบางคนฉวยโอกาสเลิกจ้างโดยที่ไม่แจ้งให้พนักงานทราบโดยตรง เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายเงินชดเชย ทำให้แรงงานหลายคนที่ไม่รู้กฎหมายคุ้มครองแรงงานถูกเอาเปรียบ ทางเครือข่ายแรงงานจึงเรียกร้องไปยังรัฐบาลให้เข้ามาตรวจสอบข้อมูลของการถูกเลิกจ้างที่แท้จริงเพื่อให้แรงงานได้รับเงินชดเชยตามกฎหมาย

วีดีโอ เสียงแรงงานไทยหลังวิกฤติอุทกภัย

เสวนาวิชาการ”สถานการณ์แรงงานไทยหลังวิกฤติอุทกภัย สภาพปัญหาและผลกระทบผู้ใช้แรงงานในระบบ : แนวทางแก้ไขและข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล”
วันที่ 10 ธันวาคม 2554 ห้องทับทิม โรงแรมรัตนโกสินทร์
จัดโดย เครือข่ายความช่วยเหลือและฟื้นฟูแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วม
“วิกฤตการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ของประเทศไทยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 เป็นต้นมา ส่งผลกระทบกับทุกภาคส่วน ภาคแรงงานซึ่งเป็นกำลังหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นอีกภาคส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างกว้างขวาง การหยุดงานเป็นเวลานาน ความไม่ชัดเจนของการจ่ายค่าจ้าง หรือกระทั่งการเลิกจ้าง เหล่านี้เป็นปัญหาที่รุมเร้าแรงงานตลอดช่วงเวลาที่เกิดอุทกภัย
นโยบายของรัฐทั้งมติคณะรัฐมนตรีหรือนโยบายการช่วยเหลือของกระทรวงแรงงานโดยตรง ก็มิอาจจะเข้าถึงปัญหาที่แรงงานประสบอย่างแท้จริง แรงงานในภาคอุตสาหกรรมที่รวมทั้ง “แรงงานเหมาช่วง แรงงานเหมาช่วงค่าแรง” ที่อยู่ในฐานะที่เป็น “ประชากรแฝง” ก็ยิ่งไม่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ เมื่อแรงงานเหล่านี้ไม่มีทะเบียนบ้านในการแสดงหลักฐานยืนยันความมีตัวตน

1 18 19 20 25