ความหมายของคำว่าสหกรณ์ออมทรัพย์อยู่ตรงไหน

เมื่อวันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2554 สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานฝาจีบ ได้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2553 ซึ่งในปีนี้คณะกรรมการมีมติให้จ่ายเงินปันผลเท่ากับ 5.5 เปอร์เซ็นต์ และเงินเฉลี่ยคืนเท่ากับ 2.0 เปอร์เซ็นต์ สืบเนื่องมาจากในระหว่างปีการดำเนินการได้มีมติให้ จัดสวัสดิการเพิ่มให้กับ สมาชิก เจ้าหน้าที่ กรรมการ และจัดการอบรมให้กับสมาชิกให้รู้บทบาทหน้าที่อย่างต่อเนื่อง ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงกว่าการประมาณการไว้ จนเป็นผลให้เงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนน้อยกว่าในปีที่ผ่านมา ซึ่งในระหว่างการประชุมทำให้เกิดคำถามมากมาย คำถามส่วนใหญ่มาจากสมาชิกที่มีทุนเรือนหุ้นเยอะ และต้องการผลตอบแทนที่สูง ในส่วนสมาชิกที่มีจำนวนหนี้จากการกู้

แรงงานนอกระบบวิพากษ์ “ประชาวิวัฒน์”แค่เครื่องมือทางการเมือง

เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2554 เวทีแรงงานนอกระบบวิพากษ์ “ประชาวิวัฒน์” คนงานชี้ยังไม่ครอบคลุมทุกกลุ่ม เอ็นจีโอหวั่นไม่ยั่งยืนแค่เครื่องมือทางการเมือง นักวิชาการเตือนอย่าลืมแก้ปัญหาโครงสร้างจ้างงาน สังศิตย้ำ “ประชาวิวัฒน์” ต่างจาก “ประชานิยม” เพราะออกเป็น กม. ไม่หายไปตามนายกฯ ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะทำงานวาระทางสังคม เครือข่ายแรงงานนอกระบบและมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ ร่วมจัดเสวนาหัวข้อ “เสียงสะท้อนจากแรงงานนอกระบบ” โดยมีการแสดงความเห็นต่อนโยบายประชาวิวัฒน์ของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จากมุมมองของนักวิชาการและภาคประชาสังคม

นายจ้างลอยแพคนงานไม่จ่ายอ้างเหตุไฟไหม้

นับตั้งแต่ วันที่ 23 มิ.ย.2553 เวลา 21.30 น.จนถึงขณะนี้เป็นเวลา 7 เดือนกว่าที่เกิดเพลิงลุกไหม้อย่างแรงที่บริษัท พีซีบี เซ็นต์ จำกัด ตั้งอยู่นิคมฯอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ เลขที่ 684-685 ถ.สุขาภิบาล 8 หมู่ 11 ต.หนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี นายจ้างเป็นคนไทยโดยทำกิจการผลิตแผงวงจรอิเลคทรอนิกส์ ส่งขายให้ต่างประเทศ มีพนักงานทั้งหมด 500กว่าคน

สาเหตุที่เกิดเพลิงไหม้เกิดที่แผนกเพร์สเนื่องจากอุณหภูมิเครื่อง hot press มีความร้อนสูงถึง 400 องศา ปกติ 220 องศา ทำให้เกิดประกายไฟขึ้นแล้วเครื่องระเบิด มีผู้บาดเจ็บสาหัสทั้งหมด 7 คนต่อมาได้เสียชีวิต 3 คน ส่วนผู้บาดเจ็บที่เหลือขณะนี้อยู่ที่ศูนย์ฟื้นฟู จ.ระยอง หลังจากเกิดไฟไหม้บริษัทฯก็ได้ปิดโรงงานชั่วคราว โดยจ่ายค่าจ้างให้พนักงาน 75 % แต่การจ่ายค่าจ้างไม่ตรงตามกำหนดการจ่ายและบริษัทฯบอกว่าอาจจะปิดโรงงาน พนักงานจึงได้ไปร้องเรียนตามหน่วยงานภาครัฐต่างๆที่เกี่ยวข้อง

ปาฐกถาอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในงานสมัชชาแรงงาน 54 ข้อเสนอปฏิรูปประกันสังคม

ท่านกรรมาธิการแรงงานของสภาผู้แทนราษฎร
ท่านเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม
พี่น้องผู้ใช้แรงงาน และท่านผู้มีเกียรติที่เคารพทุกท่านครับ

ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธานในการเปิดงานสมัชชาแรงงาน ที่หลายฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการจัดขึ้นในวันนี้ และได้มีโอกาสมาแลกเปลี่ยนทัศนะ มุมมองที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการสร้างหลักประกันทางสังคมให้แก่พี่น้อง ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือพี่น้องผู้ใช้แรงงาน ซึ่งถือได้ว่าเป็นกำลังหลักในทางเศรษฐกิจของประเทศ และได้มีส่วนร่วมอย่างสำคัญในการช่วยให้สังคมและเศรษฐกิจไทยได้ก้าวพ้นจากวิกฤตการณ์สำคัญ ๆ ในอดีตมาหลายครั้งจนถึงทุกวันนี้ และจากการที่หลายภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดงานครั้งนี้ และโดยเฉพาะเมื่อผมมองไปรอบ ๆ เห็นผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมในวันนี้ ประกอบไปด้วยความหลากหลายอย่างแท้จริง ผมก็มีความมั่นใจว่าการจัดงานสมัชชาก็จะเป็นการรวมพลังครั้งสำคัญในการได้ ข้อยุติร่วมกัน ถึงการเดินหน้าในการปฏิรูประบบประกันสังคม ซึ่งเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล

ประกันสังคมเรื่องใกล้ -ไกลกับผู้ประกันตน

ประกันสังคม เป็นอีกความจำเป็นอันดับต้นๆของลูกจ้างที่มีรายได้น้อย เพราะยังเป็นหลักประกันในการรักษาพยาบาลยามเจ็บไข้ได้ป่วย และเป็นการออมเงินในอนาคตยามชรา เป็นความคาดหวังของลูกจ้างในระบบที่นายจ้างได้นำขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนต่อสำนักงานประกันสังคมที่มีอยู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ แต่ความคาดหวังเหล่านี้ยังมีปัญหาอยู่มาก และกองทุนต่างๆที่มีก็ยังเข้าไม่ถึง แถมบางนโยบายในการบริหารจัดการของประกันสังคมก็ไม่เอื้อต่อการปฏิบัติงานขององค์กรและบุคคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการนำนโยบายมาใช้ในระดับท้องถิ่นมีปัญหาเกิดขึ้นมากมาย

5 เหตุผลที่ประกันสังคมควรเป็นองค์กรอิสระ

หลักเกณฑ์ที่แข็งตัว ระบบราชการที่เทอะทะ ไร้ประสิทธิภาพ ส่งผลให้ตาข่ายความปลอดภัยนี้ไม่สามารถอุ้มคนงานได้พ้นจากภาวะความยากลำบากได้ตามเป้าหมายหรือภารกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกจ้างที่มีความมั่นคงในการทำงานน้อย อาจกล่าวได้ว่ามนุษย์เงินเดือนที่มีความมั่นคงในการทำงานนั้นได้รับประโยชน์จากประกันสังคมมากกว่าโดยไม่รู้ตัว และโดยไม่ได้ออกแรง

มาตรฐานที่ 3 ประกันสังคมไทย

มาตรฐานที่ 3 ของการรักษาพยาบาล เนื่องจากจังหวัดสมุทรปราการเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีโรงงานอุตสหกรรม และมีผู้ประกันตนที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก ทำหให้โรงพยาบาลเอกชนเข้าไปเปิดโรงพยาบาลเพื่อรองรับผู้ประกันตนยามเจ็บป่วยเข้าไปรักษา แต่ใช่ว่าการรักษาจะดีตามที่ผู้ประกันตนคิด หากไม่เกิดปัญหากับตัวเองที่เข้ารักษาที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งก้าวแรกที่เดินเข้าไปในโรงพยาบาลสิ่งที่พนักงานต้อนรับถามคือ ใช้สวัสดิการบริษัทคู่สัญญา หรือ รักษาเงินสด หรือ ประกันสังคม นี่คือคำถามแรกจากเจ้าหน้าที่ต้อนรับของโรงพยาบาล ต่อด้วย หากใช้สวัสดิการบริษัทคู่สัญญาหรือเงินสด เชิญทางนี้คะ มีเจ้าหน้าที่ก็จะบริการอย่างดี และให้ผู้ป่วยไปใช้บริการที่ทางโรงพยาบาลจัดไว้ การรักษาไม่ต้องรอนาน พยาบาลหน้าห้องพูดจาไพเราะหวานหู แพทย์ที่รักษาก็จะถามว่า เบิกค่ารักษาได้ 100% หรือไม่ ถ้าเราบอกเบิกได้ทางแพทย์ผู้รักษาพูดต่อไปทันทีเลยว่า จะจ่ายยาที่ดีให้ ไม่จ่ายยาแบบประกันสังคม

สวัสดีปีใหม่ “ยาม” อาชีพที่ถูกลืม

“สวัสดีปีใหม่พี่ยาม” ช่วงปีใหม่เป็นช่วงที่คนงานหลายคนได้มีโอกาสหยุดงานและกลับไปเยี่ยมเยียนครอบครัวที่ต่างจังหวัดแม้เป็นช่วงเวลาสั้นๆ แต่ก็ถือว่าเป็นช่วงที่คนงานหลายคนรอคอย แต่ก็มีคนงานอีกอาชีพหนึ่งที่ไม่สามารถกลับไปบ้านที่ต่างจังหวัดได้นั่นก็คืออาชีพงานในภาคบริการโดยเฉพาะ อาชีพรักษาความปลอดภัย (รปภ.) หรือที่เราเรียกกันจนชินปากว่า “ยาม”เนื่องเพราะภาระหน้าที่การงานที่จะต้องรักษาความปลอดภัยตามสถานที่ต่างๆ ตามที่ได้รับผิดชอบโดยมีอาวุธคู่กายเพียงกระบองไม้หนึ่งอัน หรือบางบริษัทอาจมีมีดพกให้หนึ่งเล่ม ในขณะที่พิทักษ์รักษาทรัพย์ให้กับผู้อื่นหารู้ไม่ว่าทรัพย์ของตนถูกขโมยไปโดยไม่รู้ตัว

นายทุนต้องมาก่อน แรงงานฝันค้าง

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน และ 9 ธันวาคมที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญได้ออกนั่งบัลลังก์ แถลงปิดคดีด้วยวาจาในการวินิจฉัยยุบพรรคประชาธิปัตย์ จากกรณีการใช้เงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองจำนวน 29 ล้านบาท และกรณีเงินบริจาค 258 ล้านบาท ผิดวัตถุประสงค์ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้ยกคำร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์ ทำให้รอดพ้นจากการยุบพรรค แต่ในมุมของแรงงานก็ยังรอลุ้น ความเป็นจริงใจจากรัฐฐาลระหว่างนายทุนกับแรงงานว่าพรรคการเมืองที่มีนาโยบายประชาชนต้องมาก่อน จะใจแข็งปรับค่าจ้างตามที่ประกาศวันละ 250 บาทถึงจะใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นธรรม เมื่อนายทุนออกมาโวยวายว่าอยู่ไม่ได้ นายกหันหลังกลับปรับ 10-11 บาทก็ได้ ความหมายคือทุนมาก่อนใช่หรือไม่ ปล่อยให้แรงงานต้องฝันค้างหวานอมขมกลืน

สรุปสาระสำคัญร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับบูรณาการแรงงาน)

สรุปสาระสำคัญร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับบูรณาการแรงงาน) เช่น 1. ขอบเขตการคุ้มครอง การขยายการคุ้มคครอง 2. ปรับปรุงคำนิยาม นายจ้าง ลูกจ้าง ค่าจ้าง และทุพพลภาพ 3. ปรับปรุงองค์ประกอบ คุณสมบัติ อำนาจหน้าที่ ที่มาและวาระของคณะกรรมการประกันสังคม ประกอบด้วยประธานและกรรมการอีก เช่นประธานกรรมการ มาจากการสรรหาบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับงานประกันสังคม โดยการสรรหาของกรรมการโดยตำแหน่ง,ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง,ฝ่ายผู้ประกันตนและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการโดยตำแหน่ง ประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงแรงงาน,สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้แทนสำนักนายกรัฐมนตรีและเลขาธิการสปส. 4. สำนักงานประกันสังคมและเลขาธิการ สปส. 5. โครงสร้างการบริหารกองทุนประกันสังคม 6. อัตราเงินสมทบ และประโยชน์ทดแทน การเพิ่มบทลงโทษ กรณีนายจ้างไม่นำส่งเงินสมทบหรือนำส่งเงินสมทบไม่ครบ เป็นเงินเพิ่มร้อยละ 4 (เดิมร้อยละ 2)หากนายจ้างเคยถูกลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ยังทำผิดซ้ำความผิดเดียวกันอีก ให้ศาลพิจารณาเพิ่มโทษแก่นายจ้างนั้นอีก 1 ใน 3 ของอัตราโทษจำคุก หรือเพิ่มอีกกึ่งหนึ่งของอัตราโทษปรับสำหรับความรับผิดนั้น

ห้ามเเท้ง ห้ามท้อง: สิทธิทางเพศกับนโยบายลักลั่นของไทย

ท่าทีต่อการท้องของผู้หญิงต่างสถานะและต่างชนชั้น อย่างหญิงไทยที่ท้องและไม่ต้องการเก็บเด็กไว้ ได้รับการตอบรับจากทัศนะสังคมกระแสหลัก ในการสร้างกลไกป้องกันมิให้ผู้หญิงท้องก่อนวัยอันควร แม้ว่าสถิติของหญิงที่ทำแท้งที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี กับกลุ่มที่เป็นวัยเกิน 20 ปีสูสีกัน และกลไกเพื่อสนับสนุนให้ผู้ที่ท้องไม่ทำแท้งในรูปแบบการแทรกเเซงทางกฎหมาย สังคมสงเคราะห์ ศีลธรรม หรือเเม้กระทั่งการกรรโชกด้วยความเชื่อเเละพิธีกรรมต่างๆ ทั้งเเบบศาสนาเเละศาสนาเจือพาณิชย์

แรงงานร่วมเปลี่ยนประเทศไทยด้วยพลังพลเมือง

นักสื่อสารแรงงานร่วมงาน “เปลี่ยนประเทศไทยด้วยพลังพลเมือง” กับทีวีไทย มีเครือข่ายที่มีบทบาทสนับสนุนการพัฒนาประชาธิปไตยและการสื่อสารภาคพลเมืองเข้าร่วมประมาณ 500 คน เพื่อรวมพลังทางสังคมทุกภาคส่วนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และระดมสมองแสวงหาแนวทางเปลี่ยนประเทศไทยด้วยพลังพลเมือง โดยใช้กลไกเชื่อมร้อยเครือข่ายสื่อภาคพลเมืองกับสื่อสารมวลชนอื่นๆ

ระหว่างวันที่ 18-19 ธันวาคม พ.ศ.2553 ที่ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ (ส.ส.ท.) โดยสำนักเครือข่ายสาธารณะ โครงการเปลี่ยนประเทศไทย สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วม และเครือข่ายภาคพลเมืองทั่วประเทศ ร่วมกันจัดงาน “เปลี่ยนประเทศไทยด้วยพลังพลเมือง” เพื่อเป็นพื้นที่สาธารณะในการแสวงหาการรวมพลังทางสังคมจากทุกภาคส่วนให้ร่วมกันนำเสนอข้อมูลและแนวคิดต่อการเปลี่ยนประเทศไทยด้วยพลังพลเมืองใน 4 ประเด็นหลักอย่างสร้างสรรค์ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจรัฐไทยกับพลเมือง แนวทางการจัดการที่ดินและฐานทรัพยากร การเตรียมรับมือภัยพิบัติ และ พื้นที่สาธารณะเพื่อเสริมสร้างพลังพลเมือง

1 24 25 26 27