มาตรฐานที่ 3 ประกันสังคมไทย

การรักษาพยาบาลของผู้ป่วยนอกผู้ป่วยใน ในเมืองที่มีอุตสาหกรรมนานาชนิดอย่างจังหวัดสมุทรปราการ ที่มีผู้ประกันตนทั้งในระบบและนอกระบบ  ใช่ว่าการรักษาจะดีตามที่ผู้ประกันตนคิด  หากไม่เกิดปัญหากับตัวเองที่เข้ารักษา  แต่ก่อนหน้านี้เคยได้ยินแต่เพื่อนร่วมงานพูดกันว่าไปโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งก้าวแรกที่เดินเข้าไปในโรงพยาบาลสิ่งที่พนักงานต้อนรับถามคือ ใช้สวัสดิการบริษัทคู่สัญญา หรือ รักษาเงินสด หรือประกันสังคม  นี่คือคำถามแรกจากเจ้าหน้าที่ต้อนรับของโรงพยาบาล  หากใช้สวัสดิการบริษัทคู่สัญญาหรือเงินสด  ทางเจ้าหน้าที่ก็จะบริการอย่างดี และให้ผู้ป่วยไปใช้บริการที่ทางโรงพยาบาลจัดไว้ การรักษาไม่ต้องรอนาน พยาบาลหน้าห้องพูดจาไพเราะหวานหู แพทย์ที่รักษาก็จะถามว่า เบิกค่ารักษาได้ 100% หรือไม่ ถ้าเราบอกเบิกได้ทางแพทย์ผู้รักษาพูดต่อไปทันทีเลยว่า จะจ่ายยาที่ดีให้ ไม่จ่ายยาแบบประกันสังคม นี่เพื่อนร่วมงานพูดให้ฟังและได้พบเห็นด้วยตัวเอง หากผู้ป่วยยินดีจ่ายเงินสด และรักษาแบบสวัสดิการของบริษัทคู่สัญญากับโรงพยาบาล
 
มาตรฐานที่ 3 ที่ว่า คือหากคุณคือคนไข้ที่รักษาด้วยประกันสังคม เจ้าหน้าที่ก็จะทำบัตรคิวให้และให้เดินไปชั้นที่ 2 ของโรงพยาบาล ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดัน วัดไข้  อีกช่องหนึ่งแยกกับการรักษาแบบกรณีที่กล่าวมา  ส่วนห้องตรวจคนไข้มีอยู่ 10 ห้อง มีผู้ใช้บริการ (คนไข้เยอะมาก) แต่ละคนมีบัตรคิว ต้องนั่งรอนาน  พอเข้ารับการตรวจ แพทย์ถามว่าเป็นอะไรมา แล้วใช้ไฟฉายดูนัยน์ตา  ให้อ้าปาก ดูลิ้นนิดหน่อย แล้วก็สรุปว่า เป็นไข้หวัดนิดหน่อย เอายาไปทานที่บ้านรอดูอาการ เดี๋ยวก็หาย ไม่เป็นอะไรมาก นี่คือคำที่แพทย์ที่รักษากล่าวบอกคนไข้ และยาที่จ่ายเหมือนกันทุกที่คือ ยาพาราเซตามอล ยาแก้อักเสบ รักษาแบบประกันสังคมสิ่งหนึ่งที่จะกล่าว ถ้าคุณเป็นคนไข้นอกไม่มีสิทธิได้ฉีดยา  แค่โรงพยาบาลจ่ายไห้เท่านั้น จริงหรือเท็จท่านที่เป็นผู้ประกันตนลองไปรักษาด้วยตัวเองดูแล้วจะรู้ ลองดูการรักษาแบบที่กล่าวมา  สิ่งที่กล่าวมาใช่แน่นอน
 
ธีระวุฒิ เบญมาตย์  นักสื่อสารแรงงานศูนย์สมุทรปราการ รายงาน