แรงงานข้ามชาติ แถลงถูกนโยบายรัฐไทยเลือกปฏิบัติ แม้ถูกกฎหมาย

องค์กรแรงงานข้ามชาติ แถลง “นโยบายรัฐไทยกำลังสร้างความไม่มั่นคงทางสังคมของแรงงานข้ามชาติที่ถูกกฎหมาย” ผิดหวังที่แนวคิดทางนโยบายเสนอให้มีระบบประกันสังคมสองระดับต่างจากแรงงานไทย กำหนดให้เป็นผู้ประกันตน รับสิทธิไม่ครบ 7กรณี โดยตัดสิทธิกรณีว่างงาน คลอดบุตรและสงเคราะห์บุตร ถือเป็นนโยบายเลือกปฏิบัติ

ร้องผู้ตรวจการฯ ชงฟ้องศาลรธน.ตีความสภาฯคว่ำร่างกฎหมายประชาชน

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.)ขู่ชุมนุมหากนำร่างพ.ร.บ.อัปลักษณ์ 2 ฉบับเข้าสภาฯ รุดยื่นหนังสือผู้ตรวจการแผ่นดิน ชงฟ้องศาลรัฐธรรมนูญกรณีส.ส.คว่ำร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับประชาชน หลังจัดเสวนนาแถลงข่าว “กฎหมายประกันสังคมกับอนาคตผู้ประกันตน” เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2556 เตรียมยื่นกรรมการสิทธิมนุษยชนอีกช่องทาง พร้อมนัดยื่นร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับ นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย และประชาชนเข้าสภาอีกครั้ง

นโยบายรถคันแรก กระทบรายได้แรงงาน -เศรษฐกิจโลก

แรงงานแจงผลรอยต่อนโยบายรถคันแรกทำรายได้แรงงานลดลง หลังผ่านไตรมาสแรกปี 56 เหตุซ้ำเศรษฐกิจโลกถอยเป้าหมายผลิตจาก 2.8 ล้านคัน เหลือ 2.5 ล้านคัน นายจ้างสั่งงดทำงานล่วงเวลาระนาว นักวิชาการชี้ ประเทศไทยเป็นฐานผลิตที่ได้เปรียบประเทศในภูมิภาคอาเซียน เพราะมุ่งส่งเสริมการลงทุนโดยไม่เก็บภาษีนักลงทุน

แรงงานนอกระบบ พึ่งศาลฟ้อง ปู -กิตติรัตน์ เบี้ยวบังคับใช้กอช.

เครือข่ายบำนาญภาคประชาชน (คบช.) ยื่นฟ้องนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และนายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 กรณีไม่เปิดรับสมาชิกตามพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 (กอช.) เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2556 ที่ศาลปกครอง “แรงงานนอกระบบขอฝากสื่อมวลชน และประชาชนที่เจอนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรงการคลังให้ช่วยกันทวงถามว่า เมื่อไรจะมีการเปิดรับสมัครสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ”

สิทธิในสหภาพแรงงานที่ไม่เป็นจริง : ภาพสะท้อนสภาวะสูญญากาศของกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ในประเทศไทย

ด้วยความมุ่งหวังว่าการมีกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ฉบับใหม่ จะเป็นการเปิดประตูสิทธิการรวมตัวโดยสมัครใจอย่างกว้างขวางของแรงงานทุกกลุ่ม โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติเพราะเหตุความแตกต่าง เป็นปัจจัยพื้นฐานสู่การพัฒนาเสริมสร้างการทำงานที่มีคุณค่าอย่างยั่งยืน โดยแรงงานมีโอกาสได้รับการปกป้องคุ้มครองเสรีภาพในการสมาคมและการเจรจาต่อรองอย่างชัดเจน ทั้งเป็นปัจจัยเสริมหนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในกระแสที่ประชาคมโลกยอมรับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนและสิทธิด้านแรงงาน ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับการแข่งขันทางธุรกิจที่ต้องมีความรับผิดชอบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คุณภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

แรงงานหนุนชุมชนมักกะสันตั้งศูนย์เลี้ยงเด็ก หลังช่วยซ่อมแซมอาคาร

กลุ่มเพื่อนแรงงานร่วมกับสหภาพแรงงาน ชุมชนมักกะสันซ่อมอาคารตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กเพิ่มอีกแห่ง เนื่องจากที่มีไม่พอรองรับเด็ก ชุมชนปลื้มมีที่ฝากลูกไม่แพงใกล้บ้าน เน้นพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน หวังดูแลเด็กให้เป็นคนดีในอนาคต /วานนี้ (20 กรกฎาคม 2556) กลุ่มเพื่อนแรงงาน ได้มอบอาคารศูนย์เลี้ยงเด็ก ให้แก่ชุมชนวิศวะ ริมทางรถไฟมักกะสัน โดยโครงการซ่อมแซมอาคารศูนย์เลี้ยงเด็ก

การจัดตั้งกลุ่มเพศวิถี ความเป็นเพศที่ไม่ได้รับการยอมรับ

กลุ่มเพศวิถีในสังคมอินเดียยังไม่ยอมรับการมีของคนเพศที่ 3 กลุ่มนี้อยู่ การทำงานของกลุ่มบาร์วิสกัส เพื่อให้การศึกษารณรงค์เพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หยุดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ การใช้ถุงยางอนามัย ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน จัดตั้งชุมชนเพื่อการดูแล และทำงานด้วยง่ายมากขึ้น

นักกฎหมายอินเดีย ชี้คนพิการยังเข้าไม่ถึงสิทธิแม้มีกฎหมายรองรับ

เครือข่ายนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน นำเสนอกลุ่มคนพิการอินเดียยังเข้าไม่ถึงสิทธิแม้มีกฎหมายรองรับ และความพิการของเด็กที่เกิดขึ้นจากการดื่มน้ำที่มีสารเคมีน้ำไม่สะอาด แม้ว่าเป็นสวัสดิการพื้นฐาน ตัวเลขคนพิการขณะนี้มีราว 70 ล้านคน แต่มีคนพิการที่เข้าถึงการจ้างงานเพียงร้อยละ 2 เท่านั้น จากจำนวนคนพิการหูหนวก ร้อยละ 1.5 คนพิการทางกายจะไม่ได้รับการจ้างงาน

นายจ้างสมบูรณ์โซมิค รุกหนักยื่นข้อเรียกร้องขอคืนสวัสดิการลูกจ้าง

หลังสหภาพแรงงานฯล่ารายมือชื่อยื่นข้อเรียกร้องเพื่อเป็นเครื่องมือในการคุ้มครองสมาชิก ด้านนายจ้างยื่นข้อเรียกร้องสวนขอคืนสวัสดิการ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2556 ตัวแทนลูกจ้างบ.สมบูรณ์โซมิคได้นำรายมือชื่อลูกจ้างจำนวน 450 คนพร้อมข้อเรียกร้องจำนวน 7 ข้อยื่นให้นายจ้าง วันเดียวกันทางตัวแทนบริษัทได้ยื่นข้อเรียกร้องให้กับตัวแทนสหภาพแรงงานฯจำนวน 7 ข้อ เช่นกันซึ่งแต่ละข้อล้วนขอเปลี่ยนแปลงข้อตกลงสภาพการจ้าง

องค์กรผู้หญิงอินเดีย ย้ำการจัดตั้งต้องใช้งานวัฒนธรรมเพื่อสร้างพลัง

องค์กรผู้หญิง ชื่อ “สังกัด” เกิดขึ้นมาจากการเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิผู้หญิงทำงานมา 25 ปี กับผู้หญิง 8 ประเทศ แต่ละประเทศมีความหลากหลาย ด้านชนชั้น วัฒนธรรม การแต่งกาย และศาสนา แต่ความเหมือนกันของผู้หญิงแต่ละประเทศ คือ ความไม่เท่าเทียมเนื่องจากเพศ ถูกคุกคามทางเพศ การทำงานจึงเน้นการใช้งานวัฒนธรรม เช่นบทเพลง การเต้นรำ ละคร เข้ามาจัดตั้งรวมกลุ่ม ให้การศึกษา

ดูงานจัดตั้งภาคประชาชน-แนวคิดการต่อสู่แบบคานธี

เอ็กต้าปาริฉัตร เป็นองค์กรภาคประชาชนที่มีความหลากหลายทั้งอาชีพ ภาษา วัฒนธรรม วรรณะ มารวมกันเพื่อเคลื่อนไหวประเด็นเรื่องที่ดิน ที่อยู่อาศัย การประกาศอุทยานทับที่ ค้านการสร้างเขื่อน แนวการรวมกลุ่มเพื่อพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ เคารพกันไม่เลือกชั้นวรรณะ ภาษา ฯลฯ เน้นสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็ง โดยต่อสู้ในรูปแบบอหิงสา เดินธรรมยาตรา ใช้ระบบสัตยาเคราะห์ ได้ร่วมกันเคลื่อนไหวใหญ่เมื่อปี 2012

ผู้หญิง “สลัมพากัดซิงค์” ลุกรวมกลุ่มสร้างงาน ความรู้ เพื่อสิทธิและการยอมรับ

ผลสำรวจโครงการ Saathi คนงานผู้หญิงในสลัม ความต้องการของคนจนในชุมชน “สลัมพากัดซิงค์”มุมไบ ประเทศอินเดีย ซึ่งมีคนอาศัยอยู่กว่า 5 แสนคน สิ่งที่ต้องการส่วนใหญ่คือ น้ำที่สะอาด การศึกษา ศูนย์เลี้ยงเด็ก อาชีพ และความไม่ปลอดภัยในเนื้อตัวร่างกายของผู้หญิง อินเดียยังไม่ยอมรับบทบาทของผู้หญิง การลุกขึ้นมารวมตัวกันเป็นการสร้างโอกาสในการจัดสวัสดิการกันเอง การคุ้มครองสิทธิ และการศึกษาในวันที่ 24 มิถุนายน 2556ได้ลงพื้นที่เพื่อดูการทำงานของ กลุ่มเดส (Desh Seva Samiti)

1 110 111 112