ดูงานจัดตั้งภาคประชาชน-แนวคิดการต่อสู่แบบคานธี

20130625_110122

เอ็กต้าปาริฉัตร เป็นองค์กรภาคประชาชนที่มีความหลากหลายทั้งอาชีพ ภาษา วัฒนธรรม วรรณะ มารวมกันเพื่อเคลื่อนไหวประเด็นเรื่องที่ดิน ที่อยู่อาศัย การประกาศอุทยานทับที่ ค้านการสร้างเขื่อน  แนวการรวมกลุ่มเพื่อพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ  เคารพกันไม่เลือกชั้นวรรณะ ภาษา ฯลฯ เน้นสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็ง โดยต่อสู้ในรูปแบบอหิงสา เดินธรรมยาตรา ใช้ระบบสัตยาเคราะห์ ได้ร่วมกันเคลื่อนไหวใหญ่เมื่อปี 2012

วันที่ 25-27 มิถุนายน 2556 ที่โบพาล ผู้เข้าอบรมโครงการเสริมสร้างภาวะการนำเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพ (นธส.)ได้เข้าดูงานองค์กรภาคประชาชน ชื่อว่า เอ็กต้าปาริฉัตร ซึ่งเป็นองค์กรที่ต่อสู้เรื่องที่ดินทำกิน ซึ่งใช้แนวคิดการรวมตัวและต่อสู้แบบมหาตมะ คานธี ได้มีการเคลื่อนไหวใช้การเดินธรรมยาตราใหญ่เมื่อปีที่ผ่านมา และคณะกรรมการรณรงค์สาธารณะ ที่ทำงานเน้นสร้างอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาชุมชน วัฒนธรรม ให้ความรู้เรื่องยาเสพติด เพื่อรักษา  เรื่องสิ่งแวดล้อม ความสะอาด

20130626_13250720130626_152314

Aneesh Thilenkery Ekta Parishab กล่าวว่า ปัญหาของคนอินเดียส่วนใหญ่คือไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง เพราะที่ดินเป็นของนายทุน และราชา ทำให้เกษตรกรต้องอพยพไปหางานทำในเมือง หรือเป็นแรงงานรับจ้างในที่ดินของตนเอง หากประชาชนมีที่ดินทำกินก็จะมีเงินส่งลูกเรียนหนังสือมีการศึกษา มีความรู้จะมีระบบสุขภาพที่ดี กลุ่มเอ็กต้าปาริฉัตร โดยการรวมตัวของภาคประชาชน จึงได้ทำงานขับเคลื่อน และจัดตั้งมากว่า 30 ปี เพื่อให้เกิดการปฏิรูปที่ดิน ให้คนทุกกลุ่มได้มีที่ทำกิน เดิมการขับเคลื่อนเรื่องที่ดินเกิดจากปัญหาที่รัฐประกาศพื้นที่อุทยานทำที่ทำกินของกลุ่มชนเผ่า จึงได้มีการทำงานรวมกลุ่มจัดตั้ง ขับเคลื่อนเรียกร้องต่อรัฐ จากนั้นก็ได้มีการขยับมาทำกลับกลุ่มแนวร่วมอื่นๆ ที่ไม่มีที่ดินทำกิน และไม่มีที่อยู่อาศัย เป็นการรวมคนทั้งหมดเข้ามาทั้งกลุ่มดาลิด ชนเผ่า รวมถึงนายทุนที่เป็นเจ้าของที่ดินก็มีมาร่วมด้วย ซึ่งมีการรณรงค์ใหญ่ด้วยการเดินธรรมยาตรา จากโบพาลไปเมืองหลวงนิวเดลี โดยการจะเดินขบวนใหญ่ต้องมีการซ้อมเดินในพื้นที่ก่อนเพื่อการพัฒนาจิตใจ ลดความกลัว ความไม่กล้า เดินในหมู่บ้าน ในชุมชน  ฝึกการเจรจาต่อรองกับรัฐท้องถิ่น ยื่นข้อเสนอ ซึ่งการเดินต้องทำกันเป็นประจำ บ่อยๆ ซึ่งถือว่าเป็นการจัดตั้งคน และสะสมชัยชนะเล็กๆให้รู้สึกถึงความสำเร็จในการรวมกลุ่มกัน เพราะหากไม่ใช้การรวมกลุ่มก็จะไม่ประสบผลสำเร็จคือทำให้ชาวบ้านรู้ว่าการรวมกลุ่มต่อสู้จึงจะได้สิทธิ และสวัสดิการที่ต้องการ

P6270093P6270112

กลุ่มเอ็กต้าปาริฉัตรเป็นภาษาฮินดี ไม่ใช่สถาบัน หรือองค์กรNGO เป็นการรวมตัวของประชาชนราว 1,200 ล้านคน มีเกษตรกรร้อยละ 70 ร้อยละ 93ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ราว 2.6 แสนคนที่เป็นเกษตรกรฆ่าตัวตาย และอีก 8 ล้านคนเลิกอาชีพเกษตรกร ใน 21 ล้านคนที่เป็นเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน เอ็กต้าปาริฉัตรยึดแนวคิดของท่านมหาตมะ คานธีในการเคลื่อนไหว ต่อสู้แบบอหิงสา เมื่อค.ศ. 1980 การทำงานกับแรงงานที่เป็นทาสเพื่อปลดปล่อย มีการทำงานกับเยาวชน มีการทำงานแบ่งสายกันทำ มีทั้งทำกับผู้หญิง ทำเรื่องเศรษฐกิจ สังคม

การทำงานกับสังคม มีการสร้างแนวการรวมกลุ่มเพื่อการพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจ  เคารพซึ่งกันและกันไม่เลือกชั้นวรรณะ ภาษา ฯลฯ เน้นสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็ง โดยการจัดตั้งชุมชน มีการสร้างเสริมเศรษฐกิจในหมู่บ้าน พึ่งพาตนเองเพื่อลดความยากจน ตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ มีการสร้างศูนย์เรียนรู้สอนเรื่องการเพาะปลูกพืชออแกนิค  มีการต่อสู้เพื่อให้หยุดสร้างเขื่อน ส่งเสริมอาชีพ การผลิตสินค้าในชุมชน สร้างยี่ห้อ และขาย

P6260015P6260489

การทำงานของเอ็กต้าปาริฉัตร เน้นสร้างจิตรสำนึกคน สร้างแกนนำ การเคลื่อนไหว และการเจรจาต่อรองกับรัฐ มีระบบจัดเก็บค่าบำรุงสมาชิก(สัตยาเคราะห์)คนละ 1 รูปี จำนวน 170,000 คน และเก็บเป็นข้าว 5 กิโลกรัม โดยจะมีการจัดประชุมร่วมกับสมาชิกแบบสม่ำเสมอ สร้างองค์กรระดับหมู่บ้าน มีกองทุนในชุมชน จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม ร้องเพลงที่แสดงถึงความทุกข์ยากของแต่ละชนเผ่า หรือท้องถิ่นเพราะประเทศอินเดียนั้นมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมซึ่งการเดินรณรงค์ก็จะมีการใช้วัฒนธรรมในการเดินรณรงค์ และเป็นศูนย์รวมจิตใจ เมื่อครั้งที่เดินรณรงค์เมื่อปีค.ศ.2007 ได้มีการเดินขบวนครั้งใหญ่ ชาวบ้านเข้าร่วม 25,000 คน เดินเท้าจากเมือง Gwalior ไป Delhi รยะทาง 340 กม. เริ่มเดิน 2 ต.ค. 2007 ถึง 27 ต.ค.2007 และปี 2012 “Jan Satyagraha 2012 “ชาวบ้านไร้ที่ดิน 100,000 คน (หนึ่งแสนคน) เดินเท้าจากเมือง Gwalior ไป Delhi รยะทาง 340 กม. เริ่มเดิน 2 ต.ค. 2012 การที่จะมีการเดินนั้นต้องมีการเตรียมตัวอย่างเรื่องการจัดตั้งคน การซ้อมเดิน การให้ความรู้ งานวัฒนธรรม และการเก็บสัตเคราะห์  ซึ่งการซ้อมเดินนั้นทำกันล่วงหน้า 1 ปี  จาก 350 เขต การทำงานทั้งหมดในการจัดตั้งใช้เวลา 15 ปี  จัดทำคู่มือการเดินขบวน ต้องมีการนำเสนอข่าวสิ่งพิมพ์ 100,000 ชิ้นทำสื่อทีวีรณรงค์ 10 ชิ้น มีการรณรงค์เพื่อให้ชาวต่างชาติที่พันธมิตรได้รู้ซึ่งก็มีมาร่วมเดินธรรมยาตากันด้วย และระดมทุนโดยขายโปสการ์ดมาสนับสนุน ส่งเงินมาช่วยเหลือ ส่งหนังสือถึงรัฐบาลอินเดีย สิ่งที่สำคัญในการเคลื่อนไหวต้องทำงานกับสื่อมวลชนตลอดเวลา ต้องมองสื่อเป็นเพื่อนร่วมทาง ในการสื่อสารให้สังคมได้รับรู้ว่าเอ็กต้าปาริฉัตรกำลังมีการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการปฏิรูปที่ดิน

P6260018P6260073

เรื่องการทำงานร่วมกับชุมชน มีการจัดตั้งกลุ่มเยาวชน โดยการดูจากความสนใจในประเด็นปัญหาต้องการพัฒนาเพื่อเป็นแกนนำ ให้คนในชุมชนคัดส่งมาอบรม ในการอบรมพัฒนาแกนนำเยาวชนนั้น ต้องใช้เวลา ไม่ใช่อบรม 2-3 วันก็เป็นแกนนำได้ มีการจัดตั้งผู้หญิงด้วย การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้นำ เริ่มจากการพัฒนาจิตสำนึก ความเท่าเทียม ไม่แบ่งชนชั้นวรรณะ เพศ ศาสนา ภาษา และเชื้อชาติ เนื่องประเทศอินเดียมีความหลากหลายอย่างมาก เมื่อผ่านเรื่องจิตสำนึกแล้วก็ต้องลุกขึ้นมาสู้ แล้วส่งแกนนำเยาวชนกลุ่มนี้ไปยังพื้นที่ ตามชนเผ่านั้นๆตามท้องถิ่นเพื่อรวบรวมข้อมูลสภาพปัญหา และจัดตั้งชาวบ้าน มีการประท้วงทุกวันที่หน้าอำเภอ เนื่องจากปัญหาที่ดิน การสร้างเขื่อน

การรณรงค์ กับงานจัดตั้งคนต้องมีการพัฒนาไปด้วยกันเพื่อทำความเข้าใจเรื่องการต่อสู้ หากไม่มีความรู้การต่อสู้ก็ไม่ชนะ สื่อสารกับชุมชนไม่ได้ การสื่อสารมีความสำคัญมาก การที่เน้นการทำงานกับสื่อมวลชน เพื่อการสื่อสารทำความเข้าใจกับสังคม การเคลื่อนไหวไม่ควรปกปิดเป็นความลับ จะประกาศให้รัฐบาลรับรู้ตลอดทาง การประสานสื่อ การทำงานกับสื่อเหมือนเพื่อนให้ความสำคัญกับเขา ต้องมีเทคนิคทำประเด็นให้น่าสนใจ เช่นวันนี้มีคนไทยราว 40 คน มาที่เอ็กต้าปาริฉัตร คนไทยสนใจแนวการต่อสู้แบบสันติวิธี ต้องการศึกษาแนวคิดมหาตมะ คานธี ซึ่งทำให้สื่อมวลชนสนใจมาทำข่าวการมาที่นี่ของกลุ่มคนไทย ฉะนั้นความสัมพันธ์กับสื่อมวลชนจึงมีความสำคัญ และไม่ควรมองว่าใครเป็นศัตรู ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล นักการเมือง นักธุรกิจ  หรือสื่อมวลชน คำสอนของมหาตมะ คานธี คือ “อย่างมองคนอื่นเป็นศัตรู” เพราะพรรคการเมืองก็มีคนดีอยู่เช่นกัน จะต้องทำให้นักการเมือง สื่อมวลชนดีๆมาพูดและสื่อสารเรื่องของเรา การที่เดินเท้าหลายร้อยกิโลเมตรก็เพื่อการสื่อสารให้คนรับรู้ ซึ่งไม่ใช่เพียงคนในประเทศเท่านั้นคนต่างประเทศก็ให้ความสนใจเรื่องการเดินธรรมยาตรา การทำงานรวมกลุ่มก็ทำงานจัดตั้งมา 10-20 ปี ไม่ใช่ว่านึกจะเดินก็เดิน ต้องมีการเตรียมความพร้อม

P627012020130626_133159

ส่วนความสำเร็จนั้น ต้องสะสมไว้ตั้งแต่เริ่มเคลื่อนไหวเล็กๆในเขตพื้นที่ ในมุมความสำเร็จนั้น เห็นว่า 1. ชาวบ้านออกมาร่วมเดินจำนวนมาก การที่ได้ต่อสู้แล้วถือว่าเป็นการเสริมพลังความเข้มแข็งมากขึ้น ให้ชาวบ้านรู้สึกถึงพลังอำนาจเมื่อมีการต่อสู้ร่วมกัน ในทุกเวลาที่ทำกิจกรรมร่วมกัน การที่กล้าลุกขึ้นมาพูดถึงปัญหาตัวเอง ซึ่งเดิมไม่กล้าพูด เมื่อกลับไปสู่ชุมชนกลุ่มคนเหล่านนี้ก็จะเปลี่ยน และกลับไปจัดตั้งคนในชุมชนให้เข้าใจปัญหาที่ถูกกดขี่  2. สื่อมวลชนร่วมทำข่าว 3. รัฐบาลรับปัญหาไปแก้ไข 4. การมีส่วนร่วมของผู้หญิงในการออกมาแสดงพลังต่อสู้ ซึ่งในระดับแกนนำในชุมชนต้องมีผู้หญิงร้อยละ 30 หลักการบริหารเอ็กต้าปาริฉัตร คือ “โปร่งใส กระจายอำนาจ มีส่วนร่วม

Nirdhay Singh Seoretary กล่าวว่า “เอ็กต้าปาริฉัตร ถือว่าการทำงานต้องสร้างชาวบ้านให้ลุกขึ้นมาเป็นเจ้าของปัญหา และปัญหาไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่งแต่สู้มาเดินและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันถือว่าเป็นการให้การศึกษาด้วยเช่นกัน

เอ็กต้าปาริฉัตรจะเน้นการทำงานด้านวัฒนธรรมงานศิลปะ มีบทเพลงที่บอกถึงอุดมการณ์ ความทุกข์ยาก อันนี้จะมีแต่ละพื้นที่ ภาษาด้วย  สร้างสโลแกนที่ใช้ในการร้องพูดร่วมกัน เพื่อปลุกเร้าจิตสำนึกให้ลุกขึ้นสู้ร่วมกัน ยึดโยงให้เป็นหนึ่งเดียวกัน การที่มีการร้องรำทำเพลงไม่ใช่แค่การสร้างความสนุกสนาน ไม่ให้เบื่อหน่ายช่วงที่การต่อสู้ แต่การร้องเพลง เต้นรำเป็นการสร้างความเข้าใจในการต่อสู้ การรวมคนมาร่วมกันต่อสู้ ถือว่าเป็นการจัดตั้ง การให้การศึกษา และการสื่อสาร รวมถึงการตอกย้ำสำนึกอุดมการณ์ด้วยเช่นกัน

20130625_140148

เยี่ยมองค์กรอิสระ ทำงานเน้นงาน สร้างอาสาสมัคร ทำข้อมูล หรืองานพัฒนาชุมชน

โครงการฯยังได้เข้าเยี่ยมดูการทำงานของคณะกรรมการรณรงค์สาธารณะ ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานเคลื่อนไหว สร้างอาสาสมัครแบบมืออาชีพ โดยทำงานเชื่อระหว่างรัฐบาลกรมต่างๆ 8 กระทรวง เป้าหมายการทำงาน เป้าหมายการทำงาน สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างอาสาสมัครใหม่ องค์กรชุมชน และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในรัฐ โดยอาศัยพัฒนาจากองค์กรเดิมที่มี หากไม่มีก็สร้างขึ้นใหม่ เพื่อการทำงานเชื่อมต่อด้านนโยบายกับรัฐบาล มีการพัฒนาภาวะผู้นำตามพื้นที่ ชุมชน ด้วยกลุ่มอาสาสมัคร ช่วยดูในชุมชน โดยดูจากศักยภาพคน ใครที่จะเป็นผู้นำ ดูพรสวรรค์ ทั้งศิลปะ การกีฬา เพื่อการส่งเสริมตามความถนัด

การสร้างการรวมกลุ่ม ตามพื้นที่ร่วมกันแต่ละกลุ่มจัดเสวนาอาสาสมัคร งานเผยแพร่ข้อมูล การสร้างผู้นำ พัฒนาชุมชน หมู่บ้านจะเกิดไม่ได้หากไม่ใช่คนในชุมชนเอง

คณะกรรมการรณรงค์ฯเป็นองค์กรอิสระ โดยได้รับทุนจากรัฐบาล ผ่านกฎหมายพิเศษ ชื่อพระราชบัญญัติก่อตั้งทางสังคมในการจัดสรรงบประมาณมาให้จากกระทรวงสถิติแห่งชาติ เพื่อทำงานส่งเสริมให้ความรู้ พัฒนาคน และชุมชน มีการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งให้กับรัฐบาลเพื่อให้ทำงาน ซึ่งมีเพียงรัฐนี้เท่านั้นที่มีกฎหมายและองค์กรแบบนี้ รัฐอื่นๆในอินเดียยังไม่มี ซึ่งทำงานร่วม 15,000 องค์กร ทำงานพัฒนาแล้ว 1,500 องค์กร มีศูนย์วัฒนธรรม 66,060 แห่ง  เป็นการเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชน และบังคับให้มีการส่งลูกเรียนเพราะมีเด็กออกจากโรงเรียนสูง

P6250467

การสาธารณะสุข มีการอบรมอาสาสมัคร และการให้บริการ ให้ความรู้เรื่องยาเสพติด เพื่อรักษา  เรื่องสิ่งแวดล้อม ความสะอาด รวมถึงการปลูกพืช การใช้เครื่องมือที่อนุลักษณ์พลังงาน การระบายน้ำ สร้างห้องน้ำ ส่งเสริมให้มีห้องน้ำร้อยเปอร์เซ็นต์  ขึ้นทะเบียนเมล็ดพันธุ์ ส่งเสริมการทำเกษตรกรรม ให้การรักษาปตุสัตว์ที่เจ็บป่วย การจัดงานค่ายให้การศึกษา

ส่วนการทำงานนั้นแตกต่างกับเอ็กต้าปาริฉัตรที่ทำงานด้านความเป็นธรรม คณะกรรมการรณรงค์ฯ จะทำงานประเด็นเย็นคือส่งเสริมและให้การศึกษาทำงานหนุนช่วยองค์กรที่ทำงานกับชุมชนอยู่ก่อนแล้ว

วาสนา ลำดี รายงาน

P625046420130626_14310520130626_14280820130627_125259