“สานเสวนาเพื่อพัฒนาความร่วมมือในการพัฒนานักสื่อสาร”

DSCN9019

สรุปรายงาน  “สานเสวนาเพื่อพัฒนาความร่วมมือในการพัฒนานักสื่อสาร” วันศุกร์ที่ 26 กันยายน 2557 เวลา 10.00-15.00 น. ณ ห้องประชุมศุภชัย ศรีสติ พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย โดยโครงการพัฒนาศักยภาพนักสื่อสารแรงงาน และประชากรกลุ่มเฉพาะเพื่อการขับเคลื่อนสังคม มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
—————————–
ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย
1. นายประกิต จริตรัมย์ สภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย
2. นายอนุชิต แก้วต้น สภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย
3. นางสาวชลนดา อนุกูล เครือข่ายวิชาการเพื่อความเป็นธรรม
4. นางสาวปรีดา ศิริสวัสด์ มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท
5. นางสาวดาวเรือง ชานก นักสื่อสารแรงงาน(กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่)
6. นายมงคล ยางงาม นักสื่อสารแรงงาน (นักจัดตั้งสหพันธ์แรงงานยานยนตืแห่งประเทศไทย)
7. นางสุจิน รุ่งสว่าง ศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบ กทม.
8. นางสาวลัดดาวัลย์ หลักแก้ว มูลนิธิเยาวชนชนบท (มยช.)
9. นางสาวนพพรรณ พรหมศรี มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย
10. นายมนัส โกศล สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย
11. นายชูวงค์ แสงดง มูลนิธิศุภนิมิตร
12. นายโกวิท โพธิสาร ไทยพีบีเอส (ที่ปรึกษา)
13. นายชาลี ลอยสูง คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)
14. นางสาวภัชรี ลายลวด พิพิธภัณพ์แรงงานไทย
15. นางสาวสุมาลี ลายลวด พิพิธภัณพ์แรงงานไทย
16. นางสาววาสนา ลำดี ผู้จัดการโครงการฯ
17. นายวิชัย นราไพบูลย์ พิพิธภัณพ์แรงงานไทย

1. นำเสนอความเป็นมาของโครงการพัฒนาศักยภาพนักสื่อสารแรงงาน และประชากรกลุ่มเฉพาะเพื่อการขับเคลื่อนสังคม โดย

คุณวาสนา ลำดี นำเสนอความเป็นมาของโครงการพัฒนาศักยภาพนักสื่อสารแรงงาน และประชากรกลุ่มเฉพาะเพื่อการขับเคลื่อนสังคมว่า โครงการได้กำหนดเรื่องของการพัฒนาศักยภาพของนักสื่อสาร ซึ่งผู้ที่จะต้องเข้าร่วมประกอบด้วยกลุ่มคนหลากหลาย ประกอบด้วยตัวแทนจากสภาองค์การลูกจ้างแรงงาน ซึ่งโครงการกำหนดไว้ 2 แห่ง คือสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย และประชากรกลุ่มเฉพาะ 5 กลุ่ม คือแรงงานข้ามชาติ แรงงานนอกระบบ คนจนเมือง คนพิการ ศุภนมิตร ในส่วนของการพัฒนาเป็นนักสื่อสารใหม่ และกลุ่มนักสื่อสารแรงงานเก่า จะพัฒนาเพิ่มศักยภาพให้มากขึ้นใน 8 พื้นที่กลุ่มสหภาพแรงงาน โดยวิทยากรหลักที่จะทำการพัฒนาเป็นสื่อมวลชน ที่เสียสละเวลามาช่วยในการเป็นที่ปรึกษา และร่วมสร้างนักสื่อสารแรงงานรุ่นเก่ามาแล้ว
DSCN8990DSCN8995

การเชิญมาร่วมกันสานเสวนาครั้งนี้ได้ขยายฐานของสภาองค์การลูกจ้าง และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยและประชากรกลุ่มเฉพาะเพิ่ม เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ และความร่วมมือกันในการส่งตัวแทนเข้าร่วมพัฒนา รวมถึงกำหนดคุณสมบัติผู้ที่จะเข้าอบรมร่วม เพราะการอบรมนั้นเพื่อให้ทำงานด้านการสื่อสาร ทั้งภายใน และภายนอกองค์กร โดยทางโครงการเดิมมีเว็บไวต์ voicelabour.org เป็นพื้นที่สื่อสาร และเป็นที่สนใจของคนจำนวนมากทั้งรัฐ นายจ้าง สื่อมวลชน ผู้คนในสังคมทั่วไป ซึ่งจะมีการนำเสนอถึงบทบาทหน้าที่การทำงานของนักสื่อสารแรงงานในอดีต ที่สร้างข่าวแรงงานในพื้นที่สื่อทั้งเว็บไซต์ และสื่อกระแสหลักจำนวนมาก จากคุณวิชัย นราไพบูลย์ ผู้จัดการโครงการเดิม แต่โครงการใหม่นี้ทางโครงการใหม่นี้ทางมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยได้มอบหมายให้ตนทำหน้าที่ผู้จัดการโครงการฯ ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจะมีระยะเวลาการดำเนินการ 1 ปี โดยครั้งนี้ต้องการสร้างนักสื่อสารเพื่อให้กลับไปทำหน้าที่งานสื่อสารให้กับองค์กร ส่วนvoicelabour เป็นพื้นที่กลางในการสื่อสารประเด็นต่างๆที่ต้องขับเคลื่อน

โครงการมีกรอบแนวคิดในการสื่อสารเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานและประชากรกลุ่มเฉพาะผ่านการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย โดยมีกรอบเนื้อหาการสื่อสาร

1. สิทธิประกันสังคมและขบวนการผลักดันแก้ไขร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม

2. ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

3. สิทธิในการรวมตัวและเจราจาต่อรองเพื่อการเข้าถึงความเป็นธรรมในการจ้างงาน

4. การทำงานขับเคลื่อนประเด็นของประชากรกลุ่มเฉพาะ

5. ประเด็นปัญหา และสถานการณ์เฉพาะของแต่ละกลุ่ม

ซึ่งเป็นกรอบที่ต้องร่วมกันทำงาน โครงการนี้เมื่ออบรมแล้วต้องทำงานสื่อร่วมกัน ทั้งนักสื่อสารแรงงานรุ่นเก่า และนักสื่อสารรุ่นใหม่ มีการตั้งเป็นกองบรรณาธิการร่วมโดยมีบทบาทการทำงานกำหนดเนื้อหาการสื่อสารร่วมจะประชุมร่วมกันทุกเดือนๆละ 1 ครั้ง
DSCN9029DSCN8988

2. นำเสนอเรื่องบทบาทหน้าที่นักสื่อสารแรงงาน

คุณวิชัย นราไพบูลย์ ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยกล่าวถึงบทบาทการสร้างนักสื่อสารแรงงานเดิมโครงการฯได้ทำกับหลายกลุ่มสหภาพในพื้นที่รวม 9 พื้นที่ กำหนดว่าต้องได้นักสื่อสารแรงงาน 50 คน แต่เมื่ออบรมจริงกว่า 200 คน โดยผ่านการอบรมการเขียนข่าวเบื้องต้นจากนักข่าวมืออาชีพ เพียงวันเดียวสามารถเขียนข่าวได้ วัดโดยเมื่อจบทุกคนจะได้ข่าว 1 ชิ้น และส่วนหนึ่งมาพัฒนาเป็นนักข่าวพลเมืองด้วยส่วนนี้ต้องมีเครื่องมือความพร้อมทั้งคอมพิวเตอร์ กล้องถ่ายรูป การอบรมนักข่าวพลเมืองใช้เวลา 3 วันซึ่งเป็นการสนับสนุนจากสำนักเครือข่ายสื่อพลเมือง ไทยพีบีเอส

จากบทบาทนักสื่อสารเมื่อผ่านการอบรมต้องทำหน้าที่สื่อสารโดยการเขียนข่าวรายงานสถานการแรงงานในพื้นที่นำมาสื่อสารผ่านเว็บไซต์voicelabour.org  ซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 6 แสนวิว เป็นการนับจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เข้าชม ช่วงนั้นข่าวของนักสื่อสารเป็นที่สนใจจากสื่อกระแสหลัก ไปติดตามทำข่าว สกู๊บต่างๆออกทางทีวี และถูกหยิบข่าวข้อมูลที่นักสื่อสารแรงงานรายงานไปต่อยอดทำให้ข่าวสารของแรงงานในช่วงปี 2553-2554 ข่าวแรงงานได้มีพื้นที่ในสื่อกระแสหลักกว่า 300 ข่าว และนักข่าวพลเมืองกว่า 40 เรื่อง ซึ่งถือว่าจำนวนถือเป็นประวัติศาสตร์ที่มีการสื่อสารเรื่องราวของแรงงาน โดยผ่านงานสื่อสารของนักสื่อสารแรงงาน
DSCN9066DSCN8998

นักสื่อสารแรงงานยังมีบทบาทในการเข้าไปร่วมมือกับสื่อกระแสหลักในการทำงาน เช่นการถ่ายทอดสดร่วมกันสำนักเครือข่ายสื่อพลเมืองไทยพีบีเอส ช่วงที่มีการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ได้รับมอบหมายรายงานข่าว เก็บภาพเป็นตากล้องและสับสวิตถ่ายทอดสด การร่วมงานรับฟังความคิดเห็น และสรุปงานสื่อสารของสมาชิกสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการไทยพีบีเอส เป็นการทำงานเชื่อมกับสื่อกระแสหลัก และในส่วนของนักสื่อสารบางส่วนมีสื่อมวลชนทำงานร่วมในฐานะแหล่งข่าว และเขียนข่าวส่งให้กับสื่อมวลชนเพื่อต่อยอดข่าวได้ ด้วยนักสื่อสารแรงงานอยู่ในโรงงานสามารถที่จะสัมภาษณ์แรงงานในพื้นที่รวมทั้งเข้าใจประเด็น

หลังการอบรมนักสื่อสารจะมีการแต่งตั้งนักสื่อสารจากพื้นที่เข้ามาเป็นกองบรรณาธิการร่วมกับส่วนกลางมีการประชุมเดือนละครั้งเพื่อกำหนดการสื่อสารข่าวสารประจำเดือน ซึ่งพื้นที่ข่าวของนักสื่อสารยังมีการจัดทำหนังสือพิมพ์วอยซ์เลเบอร์ออกเดือนละฉบับ และสนับสนุนพื้นที่ให้มีการจัดทำสื่อในพื้นที่เป็นจดหมายข่าวเพื่อสื่อสารในพื้นที่ด้วย

นักสื่อสารแรงงานจึงมีหน้าที่เป็นกระบอกเสียงบอกเล่าสภาพความเป็นอยู่ ประเด็นของผู้ใช้แรงงานในแต่ละพื้นที่ เพื่อสร้างพื้นที่ข่าวแรงงานให้มากขึ้นในสื่อกระแสหลัก เป็นการทำหน้าที่สื่อสารเรื่องราวทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้สังคมรับรู้คุณค่าของผู้ใช้แรงงาน
DSCN9011DSCN8996

3. “สานเสวนาแลกเปลี่ยนมุมมองการพัฒนาความร่วมมือเพื่อสร้างนักสื่อสาร” โดยสรุปได้ดังนี้

1. สนใจที่จะส่งตัวแทนเข้าร่วมอบรมพัฒนานักสื่อสาร และเสนอให้มีการทุกกลุ่มทั้งแรงงานในระบบ แรงงานข้ามชาติ แรงงานนอกระบบและประชากรกลุ่มเฉพาะอื่นๆ ทางดครงการต้องเปิดกว้างมากกว่านี้ เพราะเรื่องการสื่อสารถือว่าเป็นประโยชน์กับทุกกลุ่ม และเป็นส่วนที่ขาดในกลุ่มของคนทำงานพัฒนาสังคม และนักสหภาพแรงงาน

2. นักสื่อสารแรงงานต้องทำงานเสียสละ มีจิตอาสา ต้องทำข่าวให้กับคนทุกกลุ่ม ไม่เลือกว่าเป็นองค์กรแรงงานไหน เมื่อทราบว่ามีปัญหาแรงงานนักสื่อสารแรงงานในพื้นที่ต้องช่วยกันทำข่าวสื่อสารทั้งภายในภายนอก ต้องมีการแจ้งข่าวเพื่อให้นักสื่อสารลงทำข่าวหากมีประเด็น

3. อยากให้ทางโครงการมีการจัดทำบัตรประจำตัวนักสื่อสารเพื่อบ่งบอกสถานะตัวตนหน้าที่บทบาท รวมถึงสะดวกต่อการเข้าทำข่าวสารนอกสถานที่ เป็นการสร้างความมั่นใจในการทำงาน

4. นักสื่อสารต้องทำงานให้กับสื่อกลางไม่ใช่เพียงทำงานสื่อสารให้กับองค์กรของตนเอง ซึ่งปัจจุบันมี voicelabour.org ที่ขณะนี้ถือว่าเป็นพื้นที่กลางด้านการสื่อสารของแรงงาน และมีทีมงานของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยที่เป็นกลางดูแล ซึ่งในอนาคตสภาองค์การลูกจ้างต่างๆอาจต้องนำเงินมารวมกันเพื่อดูแลเรื่องการสื่อสารกลางด้วย การทำหน้าที่เชื่อมข้อมูลข่าวสารทุกพื้นที่

5. สภาองค์การลูกจ้างทุกแห่งมีสื่อเป็นของตนเอง มีการทำงานสื่อสาร ส่วนใหญ่มีเจ้าหน้าที่ทำงานเต็มเวลา มีการสื่อสารผ่านสื่อของตนเองบ้าง แต่ยังไม่กว้าง และไม่ได้สื่อสารเป็นระบบ ไม่มีคนทำงานสื่อสารโดยตรง
DSCN9016DSCN8997

6. ควรมีการสร้าง และพัฒนานักสื่อสารให้เป็นมืออาชีพ เป็นนักข่าวของแรงงาน

7. โครงการต้องประสานให้ 14 สภาองค์การลูกจ้างส่งคนเข้าร่วมอบรมนักสื่อสารแรงงาน หากเขาไม่ประสงค์จะส่งก็แล้วแต่เขา ด้วยคิดว่าการพัฒนานักสื่อสารแรงงานอาจเป็นโครงการเล็กๆที่สร้างพื้นที่ใหญ่ในความเป็นเอกภาพการร่วมมือขององค์กรลูกจ้างรวมทั้งคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เป็นเวทีพัฒนาคนรุ่นใหม่ เพื่อสร้างเอกภาพของขบวนการแรงงานก็ได้

8. ปัญหาแต่ละพื้นที่ไม่มีงบประมาณด้านงานสื่อสาร เสนอให้องค์กรมีการจัดสรรงบประมาณด้านการสื่อสาร เพื่อให้นักสื่อสารแรงงานสามารถทำงานได้ และสามารถพัมนาคนทำงานสื่อสารเพิ่มได้ในองค์กร ด้วยแต่ละองค์กรแรงงานมีการกำหนดฝ่ายประชาสัมพันธ์ แต่ไม่มีการทำงาน

9. การพัฒนานักสื่อสารแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก คือนักสื่อสารแรงงานรุ่นเก่า และนักสื่อสารใหม่ต้องมีพื้นที่ในการทำงานร่วมกันเพื่อการสร้างการเรียนรู้
DSCN9043DSCN9003

4. กำหนดความร่วมมือส่งผู้แทนเพื่อการพัฒนาเป็นนักสื่อสาร โดยที่ประชุมได้มีข้อเสนอดังนี้

1. คุณสมบัติผู้เข้าร่วมฝึกอบรมนักสื่อสารต้องเขียนหนังสือได้

2. ส่งหนังสือเชิญไปทุกองค์กรแรงงาน เพื่อหลอมขบวนการแรงงานด้วยงานสื่อสาร

3. นักสื่อสารต้องมองว่า การสื่อสารคือหัวใจของขบวนการแรงงาน

4. ให้อบรมนักสื่อสารเพิ่ม 50 คน

5. กองบรรณาธิการ(บก.)ร่วมประกอบด้วยนักสื่อสารแรงงานเก่า และนักสื่อสาร กลุ่มประชากรเฉพาะใหม่

6. หลังการพัฒนานักสื่อสารต้องมีการคัดเพื่อให้เป็นนักสื่อสารมืออาชีพ

DSCN9057DSCN9007

7. สภาองค์การลูกจ้างทุกองค์กรต้องเตรียมงบประมาณเพื่อจัดจ้างนักสื่อสารกลางเพื่อทำข่าว

8. ทุกองค์กรจะส่งผู้เข้าร่วมอบรมนักสื่อสารองค์กรละ 2 คน

9. การพัฒนานักสื่อสารแรงงานเพื่อสร้างคนอย่างต่อเนื่อง

10. ความครอบคลุมของข่าว ความเป็นสื่ออาชีพ

11. นักสื่อสารต้องทำงานให้กับสื่อกลาง voicelabour.org ทุกองค์กรแรงงานต้องรวมเงินมาเพื่อดูแลสื่อกลางในอนาคต

12. เสนอให้มีการจัดประชุมร่วมกัน เพื่อติดตามความคืบหน้า และเพื่อที่แลกเปลี่ยนในส่วนของผู้นำองค์กรต่อประเด็นสื่อสาร

สรุปรายงานโดย วิชัยนรา ไพบูลย์