แรงงานนอกระบบ จำนวน 24.6 ล้านคน คือ กำลังแรงงานที่สำคัญในระดับฐานรากของสังคมไทยที่มีบทบาทในการสร้างเศรษฐกิจของประเทศ โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45.6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) แต่ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายที่คุ้มครอง ส่งเสริมและพัฒนาโดยเฉพาะที่ส่งผลต่อการมีหลักประกันทางสังคม สุขภาพดี มีงานที่มั่นคง และยังต้องเผชิญกับปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องหาทางรอดและทางเลือกด้วยตนเอง
แสดงถึง “ความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรม” ในสังคมไทยระหว่างกลุ่มคนที่มีโอกาสและอำนาจการต่อรอง กับกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง รวมถึงด้อยโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนในการหาวิธีแก้ไขปัญหา ที่จะนำไปสู่การลด “ความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรม” จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของทุกหน่วยงานและองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เนื่องจากเป็นปัญหาของคนทำงานที่อยู่ในระดับฐานราก ที่ต้องการสนับสนุนทั้งด้านความคิด ความรู้แนวใหม่ในการจัดการตนเองและครอบครัว ภายใต้การจัดการต้นทุนทางสังคมและเศรษฐกิจของตนเองที่มีอยู่ เพื่อสามารถอยู่รอดและมีทางเลือกหรือทางออกในการอยู่ร่วมกับสังคมอุตสาหกรรมใหม่ได้อย่างสมดุลและมี