แรงงานเตรียมจัดงานรำลึกวันความปลอดภัย 10 พค.นี้

สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯร่วมกับแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ได้มีการจัดประชุมเตรียมงานวันความปลอดภัยแรงงานแห่งชาติ ที่มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2554  

สืบเนื่องจากวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 นี้ จะครบรอบ 18 ปี ของโศกนาฏกรรม  ครั้งยิ่งใหญ่ที่สะเทือนขวัญของผู้คนทั้งในและต่างประเทศ นั่นคือ โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ ไฟไหม้ ตึกถล่มที่มีคนงานเสียชีวิตถึง 188 ศพบาทเจ็บ 649 ราย ที่พื้นที่อ้อมน้อยอ้อมใหญ่ จ.นครปฐม จนทำให้สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯสมัชชาคนจน ขบวนการแรงงาน นักวิชาการ NGOได้ร่วมกันเคลื่อนไหวรณรงค์ประเด็นสุขภาพความปลอดภัยมาตลอดในระยะเวลา 18 ปี ที่ผ่านมา จนมีการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบายหลายเรื่องที่สำคัญได้แก่ เพราะ”พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554”  จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16กรกฎาคม 2554  ถือเป็นพระราชบัญญัติ  ด้านแรงงานภายใต้รัฐบาล  นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และใน พ.ร.บ.ฉบับนี้ได้บรรจุให้มีการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ภายใน หนึ่งปีหลังกฎหมายบังคับใช้ และกำลังอยู่ในชั้นอนุกรรมการยกร่างกฎหมาย ดังกล่าว   ที่มีฝ่ายผู้ใช้แรงงานร่วมร่างอยู่ในขณะนี้ ไป 2 ครั้งและครั้งที่ 3 นี้ คือ วันที่ 4 พฤษภาคม 2554

การวางแผนจัดงาน”วันความปลอดภัยแห่งชาติ 10 พฤษภาคม 2554 ต้องถือว่าเป็นครั้งสำคัญอย่างยิ่ง ที่มีคณะทำงานและที่ปรึกษา เข้าร่วมอย่าง เช่น รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คุณบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ ผู้อำนวยการมูลนิธิอารมณ์พงศ์พงัน  คุณจะเด็จ เชาน์วิไล    ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อนหญิง  อาจารย์พรชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน คุณสุนี ไชยรส  ที่กรุณามาเป็นผู้ดำเนินการประชุม มีคุณชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย คุณสุธาสินี แก้วเหล็กไหล คณะกรรมการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย ผู้นำในพื้นที่ คุณอุดม ไกรยราชประธานกลุ่มผู้ใช้แรงงานอยุธยาและใกล้เคียง คุณเสน่ห์ ชุ่มหฤทัย ประธานกลุ่มผู้ใช้แรงงานรังสิตและใกล้เคียง กลุ่มแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก คุณวาสนา ดำดี มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย คุณสุจินต์ รุ่งสว่าง คุณเมี่ยนเวย์  คุณบัณฑิต แป้นวิเศษ แรงงานข้ามชาติ และ คุณสมบุญ สีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย การประชุมครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจาก แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน (สสส.)

 วัตถุประสงค์ของการจัดงาน 18 ปี โศกนาฏกรรมคนงานเคเดอร์

1. เพื่อเผยแพร่ความรู้สถานการณ์ปัญหาเรื่องสุขภาพความปลอดภัยของผู้ใช้แรงงาน ทุกภาคส่วน ว่า 18 ปีของโศกนาฏกรรมเคเดอร์ ผู้ใช้แรงงานมีความเสี่ยง และมีการสูญเสียอย่างไร ยังต้องประสบเคราะห์กรรมผลกระทบจากการทำงานที่ไม่แตกต่างกันเลย

2.  ก็เพื่อที่จะกระตุ้นเตือนให้สังคมตระหนักถึงการทำงานด้านส่งเสริมป้องกันสุขภาพความปลอดภัยในการทำงานให้มากที่สุด เพราะปัญหาการเกิดประสบอันตรายและเจ็บป่วยจากการทำงาน และการเสียชีวิต ยังเป็นตัวเลขที่สูง และยังไม่ได้รวมจำนวนตัวเลขที่หายไปของคนงานที่เจ็บป่วยประสบอันตรายเสียชีวิตจากการทำงานแล้วเข้าไม่ถึงสิทธิตามกฎหมายกองทุนเงินทดแทน ด้วยหลายสาเหตุหลายปัจจัย ไม่ว่าเป็นเรื่องถูกผลักไปใช้สิทธิประกันสังคม ใช้สิทธิประกันสุขภาพหมู่ โครงการลดอุบัติเหตุเป็นศูนย์ (Zero-Accident) ฯลฯ

3.  เพื่อที่่จะให้เห็นความสังคมเห็นความสำคัญของวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 ที่มติ ครม.วันที่ 26สิงหาคม 2540 ยกให้วันที่ 10 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติที่รัฐควรจะหยิบยกเอามาปฏิบัติ เพื่อจัดงานวันความปลอดภัยแรงงานแห่งชาติ

4.  วัตถุประสงค์เพื่อที่จะผลักดันให้กระทรวงแรงงาน จัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่ผู้ใช้แรงงานเรียกร้องมายาวนานถึง 16 ปีแล้ว และกำลังอยู่ในระหว่าง การยกร่างกฎหมายจัดตั้งสถาบัน ฯในชุดอนุกรรมการยกร่าง ในแบบที่ผู้ใช้แรงงานฝันอยากจะให้เป็น อยากจะให้เกิดเพื่อคุ้มครองแรงงาน ทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นแรงงานในระบบ นอกระบบ แรงงานก่อสร้าง แรงงานข้ามชาติและแรงงานเกษตรพันธสัญญา แรงงานที่เป็นลูกจ้างของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ

5.  เพื่อนำข้อสรุปจากเวทีนี้  ร่วมกันนำไปขับเคลื่อนต่อไป

 ซึ่งกิจกรรมและรายละเอียดจะได้มีต่อไปใน วันที่  28 เมษายน 2554 แล้วจะแจ้งให้ทราบต่อไป

 

                                                                                                                         สมบุญ สีคำดอกแค รายงาน

ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่เบอร์โทร 081-813-28-98