37 องค์กรคึกคักแถลงเชิญชวนร่วมงาน 100 ปีสตรีสากล

กลุ่มผู้หญิงคึกคัก ร่วมแถลงข่าวการจัดงาน 100 ปีสตรีสากล เมื่อวันที่ 25 ก.พ.ที่ผ่านมา นำโดยนางสาวธนพร วิจันทร์ ประธานกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี คณะกรรมการจัดงาน 100 ปีสตรีสากลรวม 37 องค์กร ประกอบด้วยองค์กรแรงงาน องค์กรผูหญิง องค์กรพัฒนาเอกชน เครือข่ายต่างได้มีการจัดงานแถลงข่าว เชิญเข้าร่วมกิจกรรมครั้งประวัติศาสตร์ “การเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีวันสตรีสากล” 100th year of International Women’s Day โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2554 วันที่ วันที่ 1, 5-8, 12, 13, 19  มีนาคม 2554 ที่ ชั้น 2 ตึกโดม ท่าพระจันทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ “ห้องประชุมสัญญา ธรรมศักดิ์"  

นางสาว ธนพร วิจันทร์ ประธานกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี ได้กล่าวถึง ความเป็นมาว่า หลังจากการต่อสู้ของขบวนแรงงานหญิงเพื่อค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เป็นธรรมต่อเนื่องในหลายประเทศ    โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต่อสู้ระบบสามแปด  จนทำให้วันที่ 8 มีนาคม แต่ละปีได้รับการยอมรับให้เป็นวันสตรีสากล   ทั้งจากสหประชาชาติ รัฐบาลทั่วโลก   โดยเฉพาะอย่างยิ่งขบวนผู้หญิงทั่วโลกต่างถือโอกาสเฉลิมฉลองและสรุปบทเรียน เพื่อก้าวต่อไปในการขับเคลื่อนสิทธิผู้หญิงในแต่ละสภาพการณ์ของแต่ละสังคม “สตรี เสมอภาค สร้างสรรค์ “     

ปี พ.ศ. 2554   เป็นปีที่เวียนมาครบรอบหนึ่งร้อยปีแห่งการต่อสู้ฝ่าฟันของผู้หญิงทั่วโลกเพื่อได้รับสิทธิความเท่าเทียมในโอกาส    ค่าตอบแทนในการทำงานที่เป็นธรรม
ใน 100 ปีที่ผ่านมา ขบวนผู้หญิงไม่เคยท้อถอยหรือหยุดนิ่งในการต่อสู้ ขบวนการต่อสู้เพื่อสิทธิของผู้หญิงทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย   ก็มีความเปลี่ยนแปลงก้าวหน้ามาเป็นลำดับ ทั้งสิทธิประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทุกระดับ   สิทธิในการทำงานที่มีค่าตอบแทนที่เป็นธรรม และได้รับสวัสดิการสังคม   สิทธิเสมอภาค ที่ไม่ถูกเลือกปฏิบัติ   และไม่ถูกคุกคามทางเพศ รวมถึงสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ ฯลฯ

แต่หนึ่งร้อยปีผ่านไป    ผู้หญิงที่เป็นคนทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่ร่วมกับผู้ชาย สร้างสรรค์สังคมให้พัฒนาไปในทุกประเทศ  ทั้งเอเชียและทั่วโลก  โดยเฉพาะในสังคมไทย    แต่ผู้หญิงยังไม่ได้รับความเสมอภาคในโอกาส และค่าตอบแทนการทำงานที่เป็นธรรม  รวมทั้งสวัสดิการสังคมขั้นพื้นฐาน   และยังตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัวและการคุกคามทางเพศ   การไม่ยอมรับบทบาทร่วมในการตัดสินใจโดยเฉพาะในทางการเมืองทุกระดับ    รวมทั้งอคติทางประวัติศาสตร์ที่มีต่อผู้หญิง   ยังคงบีบคั้นให้ผู้หญิงแรงงานจำนวนมากต้องทำงานที่ไม่ได้ใช้ทักษะมากและได้รับค่าแรงต่ำมาก   

พวกเธอทุกข์ทนจากค่าจ้างที่ไม่เท่าเทียมและต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำ   ตลอดจนงานที่ไม่มั่นคงและไม่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย   ในยุคโลกาภิวัตน์ที่กัดเซาะสิทธิแรงงานนั้น   งานของผู้หญิงจึงมีความเสี่ยงที่สุดที่จะถูกเบียดขับให้เป็นแรงงานนอกระบบที่ไม่มีตัวตน  ถูกละเมิดมาตรฐานแรงงาน   ถูกเลิกจ้าง  ถูกเลือกปฏิบัติในการทำงาน    และผู้นำหญิงในสหภาพแรงงานและการต่อสู้องค์กรต่างๆก็ถูกคุกคามและทำลายพลังการรวมกลุ่มเช่นเดียวกับชาย

กว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา   ผู้หญิงส่วนใหญ่ถูกผลักให้ต้องทำงานหารายได้เลี้ยงตัวเองและครอบครัวมากขึ้น    ทั้งแรงงานนอกระบบ   แรงงานรับงานมาทำที่บ้าน แรงงานภาคเกษตร   แม่ค้าตามท้องถนน   คนทำงานบ้าน คนเก็บขยะ แรงงานอพยพและขายบริการทางเพศ   รวมทั้งแรงงานหญิงในภาคอุตสาหกรรมจำนวนมาก     และผู้หญิงคนทำงานระดับล่างในหน่วยงานภาครัฐต่างๆ   ภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยในปัจจุบันและโครงสร้างสังคมที่เปิดโอกาสให้มีการกดขี่เอาเปรียบ   ส่งผลให้เกิดวิกฤติต่อการยังชีพและความเป็นอยู่ของผู้หญิง       

ในโอกาส 100 ปีวันสตรีสากล จึงควรเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างพลังการขับเคลื่อนร่วมกันขององค์กรที่ทำงานพิทักษ์และส่งเสริมผู้หญิงในมิติต่างๆ   ซึ่งมีคุณูปการมายาวนานในสังคมไทย   ดอกผลที่ได้จากการต่อสู้เหล่านี้จะต้องได้รับการผลักดันในศตวรรษหน้าเพื่อส่งเสริม คุ้มครองและเรียกร้องสิทธิสตรีในบริบทการทำงาน การมีบทบาทร่วมตัดสินใจ และในครอบครัวต่อไป

เป้าหมายการจัดงาน คือ ต้องการให้ผู้หญิงจากทุกภาคส่วนได้มาพบปะ แลกเปลี่ยนประเด็นการต่อสู้ หรือสรุปบทเรียนร่วมกัน  เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองร้อยปีวันสตรีสากล

วัตถุประสงค์ในการจัดงาน “ฉลองร้อยปีวันสตรีสากล” 8 มีนาคม 2554

1.  เพื่อนำเสนอประวัติศาสตร์การต่อสู้ของหญิงไทยในรอบหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมา สรุปบทเรียน ความสำเร็จ
2.  เพื่อรวมพลังผู้หญิงจากทุกภาคส่วน ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และกำหนดการขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขปัญหาและสร้างความเปลี่ยนแปลงร่วมกัน
3.  ประกาศเจตนารมณ์ของผู้หญิงในการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย

กำหนดการเฉลิมฉลอง 100 ปี วันสตรีสากล “ผู้หญิงทำงานกับคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน” วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2554 วันที่ 1, 5-8,12,13,19 มีนาคม 2554

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2554 ห้องประชุม กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิต เริ่ม 9.00-9.30 น.  ลงทะเบียน  เปิดงานและกล่าววัตถุประสงค์ของการจัดงาน โดย  ฝ่ายสตรีกลุ่มย่านรังสิตฯกล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์ เสวนา “การต่อสู้ของแรงงานหญิงจากทศวรรษ 2530 สู่ยุคปัจจุบัน” คุณกาญจนา นงเยาว์      อดีตคนงานฟิลิปส์ ย่านรังสิต  อดีตผู้นำหญิงสหภาพแรงงานไทยเอโร่การ์เม้นท์และ คุณสุเพ็ญศรี  พึ่งโคกสูง มูลนิธิเพื่อนหญิง นำเสนอ “ภาพรวมของขบวนการแรงงานไทยในยุคของการเรียกร้องกฎหมายประกันสังคม”
แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ดำเนินรายการ    สุธาสินี แก้วเหล็กไหล  โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย

วันที่ 1 มีนาคม 2554 การประชุมสัปดาห์สตรีสากล 2554 โดย เครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมประเทศไทย ณ อาคารหอประชุมสุขุมนัยประดิษฐ์ สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน (ก.พ.นนทบุรี) 09.00 – 17.00 น. กล่าวรายงานโดย ดร.สุธีรา วิจิตรานนท์ ประธานกรรมการที่ปรึกษาสถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา
ปาฐกถาพิเศษ และกล่าวเปิดงาน โดย ฯพณฯ อิสสระ  สมชัย  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วิดิทัศน์ “ผู้หญิงเก่ง 2554” “องค์กรท้องถิ่น ดีเด่น 2554” “ผู้หญิงแห่งปี 2554” และ “ผู้ชายแห่งปี 2554”  มอบโล่ประกาศเกียรติคุณโดย ฯพณฯ อิสสระ สมชัย (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) เสียงจากผู้รับรางวัล “ผู้หญิงเก่ง 2554” และ “องค์กรท้องถิ่น ดีเด่น 2554”  ดำเนินรายการ อาจารย์สุรวัฒน์  ชมภูพงษ์  มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

เสวนา  “ผู้หญิงแห่งปี 2554”   และ  “ผู้ชายแห่งปี 2554  ดำเนินรายการ พงษ์ทิพย์  เทศะภู  สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ  เสวนา “พลังผู้หญิงพลิกโฉมการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่น: วาระสำคัญสำหรับสัปดาห์สตรีสากล ปี 2554” โดย ผศ.ดร. จันทรานุช  มหากาญจนะ  รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และอำนวยการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต และหลักสูตรการจัดการภาครัฐและเอกชน นิด้า) ดร. กรวิภา  วิลลาศ  นักวิชาการประจำกรรมาธิการกิจการเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ดร. ผุสดี  ตามไท  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คุณรัตนา  จงสุทธนามณี  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย  คุณศิริพร  ปัญญาเสน      นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง ดำเนินรายการ ดร. สุธาดา  เมฆรุ่งเรืองกุล ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา

วันที่ 5 มีนาคม 2554 ห้องประชุมมูลนิธิ 14 ตุลา 12.30 – 20.00 น. ลงทะเบียน วงดนตรีภราดร  เวทีเสวนาประวัติศาสตร์วันสตรีสากล “สตรีกับฐานะทางประวัติศาสตร์”  ป้าเลื่อน แถวเที่ยง  อดีตกรรมกรโรงงานทอผ้ากรุงเทพ ป้าแตงอ่อน เกาตีระ อดีตกรรมกรโรงงานทอผ้าเพชรเกษม คุณสุธาสินี แก้วเหล็กไหล    อดีตกรรมกรโรงงานพาการ์เม้นท์ รังสิต  คุณสุนี ไชยรส  ที่ปรึกษากลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี คุณสุญญาตา เมี้ยนละม้าย    สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย  อ.นภาพร อติวานิชยพงศ์    สำนักบัณฑิตอาสา ม.ธรรมศาสตร์  อ.ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา  มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย
ดำเนินรายการ    วิไลพร จิตรประสาร    กลุ่มเพื่อนประชาชน  รวมถึงการแสดงละคร โดย ประกายไฟการละคร  ชมภาพยนตร์ “Offside: ผู้หญิงก็มีหัวใจ” ภาพยนตร์ว่าด้วยสิทธิสตรี สะท้อนชีวิตของผู้หญิงอิหร่าน    ผ่านกลุ่มเด็กหญิงที่ต้องการเข้าไปดูการแข่งขันฟุตบอลนัดสำคัญของอิหร่าน ซึ่งเป็นเรื่องต้องห้ามของประเทศนี้ และชมภาพยนตร์ “North Country” ภาพยนตร์เรื่องราวการต่อสู้ของคนงานหญิงในเหมือง ที่นำไปสู่การฟ้องร้องการละเมิดทางเพศ

วันที่ 6 มีนาคม 2554  ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์, ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร นิทรรศการและร้านขายของที่ระลึก ที่บริเวณลานปรีดี พนมยงค์  เริ่มตั้งแต่เวลา 08.00 เป็นต้นไปมีการ อ่านบทกวีโดย กวีหญิง ชมวีดีทัศน์ “100 ปี วันสตรีสากล” จากนั้น กล่าวถึงความเป็นมาของวันสตรีสากล และการฉลอง 100 ปีวันสตรีสากล  09.25 – 11.30 น.    เสวนา “ผู้หญิงทำงานกับคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน” * คุณสุจิน รุ่งสว่าง    เครือข่ายแรงงานนอกระบบ คุณสมุบุญ ศรีคำดอกแค    สภาเครือข่ายผู้ป่วยจากการทำงานฯ คุณจิตรา คชเดช     ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทร์อัมพ์  คุณสุพิศ พืชผล     เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก คุณอารายา แก้วประดับ สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ คุณนุชนาท แท่นทอง เครือข่ายสลัม 4 ภาค คุณซาซูมิ มาเยอะ มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ เครือข่ายพนักงานบริการ คุณสวาท ประมูลศิลป์  สมาคมเพื่อความก้าวหน้าอาชีพคนตาบอดแห่งประเทศไทย คุณสุภาพร พรรณนารายณ์  เครือข่ายประมงสตรีภาคใต้ ดำเนินรายการ อารีวรรณ จตุทอง    เครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมประเทศไทย จากนั้นร่วมกันร้องเพลง “หญิงกล้า” บรรเลงโดย วงภราดร

ต่อมาชี้แจงความเป็นมาการจัดงาน / แนะนำองค์กร นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รับฟัง “เจตนารมณ์ 100 ปีวันสตรีสากล   และข้อเสนอของคณะจัดงาน” โดย ธนพร วิจันทร์ ผู้ประสานงานคณะจัดงานฯ และผู้แทนองค์กรร่วมจัด จากนั้นนายกรัฐมนตรีบรรยายพิเศษ :  นโยบายรัฐบาล เรื่อง “ผู้หญิงทำงานกับคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน”   

ช่วงบ่ายหลังระบประทานอาหาร ชมวงดนตรีวงคีตาญชลี ที่ลานปรีดี พนมยงค์ เวลา14.00 น.ห้องประชุมที่ 1 มีการจัดเสวนา "100 ปีแห่งการต่อสู้ของขบวนการสตรี" "What We Have Achieved and Changed: Tracing the Development of Women Workers Movements in the Past 100 Years" Maria Rhie  จากประเทศเกาหลี Jurgette Honculada จากประเทศฟิลิปปินส์  Vipar Daomanee จากประเทศไทย Binda Pandey จากประเทศเนปาล  Pheareak Ly  จากกัมพูชา Sriprapha Petcharamesree     จากประเทศไทย และดำเนินรายการโดย  สุภาวดี  เพชรรัตน์   กรรมการมูลนิธิเพื่อแรงงานหญิง

ส่วนห้องประชุมที่ 2 เวลาเดียวกัน (14.00 น.) จัดเสวนา “ภาพสะท้อนของผู้หญิงที่ปรากฏในวรรณกรรมไทย” โดย คุณชมัยภร แสงกระจ่าง นักเขียนและนักวิจารณ์วรรณกรรม ดร. ผาสุก พงษ์ไพจิตร นักวิชาการและผู้แปลวรรณคดี “ขุนช้าง-ขุนแผน”  อ. คริส เบเกอร์  นักเขียนและผู้แปลวรรณคดี “ขุนช้าง-ขุนแผน คุณศรีดาวเรือง นักเขียน คุณสุชาติ สวัสดิศรี  บรรณาธิการใหญ่ (โลกหนังสือและช่อการะเกด) คุณสุฑาทิพย์ โมราลาย  นักเขียนอิสระ ดร. นพมาตร พวงสุวรรณ นักวิชาการวรรณกรรมศึกษา
ดำเนินรายการ รศ. ดร. ภาวดี ทองอุไทย  คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ /อุปนายกและประธานฝ่ายกิจการต่างประเทศ
ดร.สุธาดา เมฆรุ่งเรืองกุล    เครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมประเทศไทยและผู้อำนวยการสถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา (GDRI) ช่วงเวลาต่อมาชมดนตรีวงโฮป ที่ปรีดี พนมยงค์

ทั้งนี้ยังมีกิจกรรมนิทรรศการศิลปะ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์เจ้าฟ้า ตั้งแต่เวลา 17.00-18.00 น. ประกอบด้วยการแสดงดนตรีโดย วงครอบครัวฟุตปาธ     การอ่านบทกวีโดย ที่จันทร์ ทอฉาย  โดยมี คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ประธานพิธีเปิดงาน                                                       
                                    
วันที่ 7 มีนาคม 2554 ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์, ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร นิทรรศการและร้านขายของที่ระลึก ที่บริเวณลานปรีดี พนมยงค์  เริ่มแต่เช้า 08.30 น.ลงทะเบียนผู้เข้าร่วม จากนั้น 09.00 ห้องประชุมที่ 1 เสวนา “ศูนย์เลี้ยงเด็กคนทำงาน สู่อนุสัญญา ILO 183” คุณฮูวัยดิย๊ะ พิศสุวรรณ  เลขานุการ รมต.กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  คุณPong Sul Ahn  ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านกิจกรรมแรงงาน ILO คุณธนพร วิจันทร์  กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี คุณมงคล ยางงาม  กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ คุณวัลลภา สลิลอำไพ  สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ดำเนินรายการ อำนาจ พละมี  สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

ห้องประชุมที่ 2 ในเวลาเดียวกันมีการ เวิร์คช็อบ "ชีวิตที่ยั่งยืนตามวิถีนักกิจกรรมเพื่อสังคม" "Engendering Sustaining Life and Activisms" (English/ภาษาไทย) โดย Anjana Suvarnanada, Lin Chew (Institute for Women’s Empowerment (IWE)) and Phoebe So (CAW)
ระหว่างรับประทานอาหาร ที่บริเวณลานปรีดี พนมยงค์ เชิยชมวงดนตรีภราดร

ช่วงบ่ายห้องประชุม 1 เสวนา “ก้าวต่อไป: ยุทธศาสตร์ขบวนการผู้หญิงร่วมสมัย” * คุณกรณ์อุมา พงษ์น้อย     กลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก คุณกิมอัง พงษ์นารายณ์  สภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย คุณวิไลวรรณ แซ่เตีย     คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย     คุณปาตีเมาะ เปาะอีแตดาโอะ  กลุ่มผู้หญิงกับสันติภาพ คุณอรุณี ศรีโต  สมาคมส่งเสริมสิทธิชุมชนเพื่อการพัฒนา  คุณสุนี ไชยรส นักวิชาการอิสระ  คุณสุนทรี เซ่งกิ่ง  คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน คุณสุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง  มูลนิธิเพื่อนหญิง  ดร.กรวิภา วิลลาส  กรรมาธิการสตรีเยาวชนผู้สูงอายุและคนพิการฯ คุณลาเคละ จะทอ เครือข่ายสตรีชนเผ่า  ดำเนินรายการ เรวดี ประเสริฐเจริญสุข กรรมการสมัชชาปฏิรูป

ห้องประชุม 2 เวลาเดียวดัน (13.00 น.) เสวนา “(ร่าง) กฎหมายความเสมอภาคทางเพศ” คุณศิริพร สะโคนาเนค  มูลนิธิผู้หญิง คุณอุษา เลิศศรีสันทัด  มูลนิธิผู้หญิง คุณนัยนา สุพาพึ่ง  มูลนิธิธีรนาถ กาญจนอักษร นพ.ภูษิต ประคองสาย สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ คุณอัญชนา สุวรรณนานนท์ มูลนิธิผู้หญิง พระภิกษุณีธัมมนันทา (รศ.ดร. ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์) เจ้าอาวาสวัตรทรงธรรมกัลยาณี ต.พระประโทน อ.เมือง จ.นครปฐม ดำเนินรายการ ปวีณามัย บ่ายคล้อย  ผู้สื่อข่าว Thai PBS

ช่วงเวลา 15.30 – 16.00 น.  สรุปการจัดเวที 100 ปี วันสตรีสากล และการประสานงานเตรียมเคลื่อนขบวนรณรงค์ในวันที่ 8 มีนาคม 2545    

ต่อมา วันที่ 8 มีนาคม 2554  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ถึง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยเริ่มตั้งวแต่เวลา 08.00 น. ตั้งขบวนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ร่วมกันเดินรณรงค์วันสตรีสากล สู่ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และประกาศเจตนารมณ์ 100 ปี วันสตรีสากล

ทั้งนี้ยังมีกิจกรรมนิทรรศการศิลปะศิลปินหญิง ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ในช่วงเวลา 14.00 – 16.00 น. เสวนา มายาคติหญิงชายในมุมมองศิลปินหญิง มีวิทยากร: ดร.เตยงาม คุปตะบุตร และ อ.อรอนงค์ กลิ่นศิริ ผู้ดำเนินรายการ: ดร.สุธาดา เมฆรุ่งเรืองกุล

วันที่ 9 มีนาคม 2554 ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป 14.00 – 16.00 น.    เสวนา ศิลปินหญิงกับการขับเคลื่อนทางสังคมในมุมมองผู้ชาย วิทยากร: รศ.ธเนศ วงศ์ยานนาวาและศิลปินไพศาล เปลี่ยนบางช้าง ผู้ดำเนินรายการ: รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร

วันที่ 12 มีนาคม 2554 ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป 14.00 – 16.00 น.    เสวนา ศิลปินหญิงรุ่นใหม่กับการสร้างสรรค์งานศิลปะ วิทยากร: ศิลปินยุรวรรณ ชมพล อ.ทัดทรวง ทรัพย์ประเสริฐ และ อ.วัชราพร อยู่ดี  ผู้ดำเนินรายการ: คุณอลงกรณ์ จันทร์สุข

วันที่ 13 มีนาคม 2554 ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป 14.00 – 16.00 น.    เสวนา ความเป็นผู้หญิงกับการทำงานศิลปะ วิทยากร: รศ.กัญญา เจริญศุภกุล รศ.ศรีวรรณ เจนหัตถการกิจ อ.สุโรจนา เศรษฐบุตร และ รศ.อารยา ราษฏร์จำเริญสุข ผู้ดำเนินรายการ: คุณสุนี ไชยรส และวันที่ 19 มีนาคม 2554 ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป 16.00-19.00 น. ศิลปะแสดงสด:  จิตติมา ผลเสวก นพวรรณ สิริเวชกุล  อัญุดา อิศรางกูร ณ อยุธยา วรรณธวัช  พูนพาณิชย์

 


รายชื่อองค์กรร่วมจัด

กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี ,กลุ่มเพื่อนประชาชน ,กลุ่มศึกษาพรรคการเมืองทางเลือก ,คณะกรรมการเครือข่ายพลังสตรีเพื่อการปฏิรูป ,คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ,คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ,คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ,เครือข่ายความหลากหลายทางเพศ ,เครือข่ายถมช่องว่างทางสังคม (SIRNET) ,เครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมประเทศไทย ,เครือข่ายสหภาพแรงงานสากล (UNI-TLC),โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย (TLC) ,โครงการสตรีและเยาวชนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,มูลนิธิ 14 ตุลา ,มูลนิธิธีรนาถ กาญจนอักษร ,มูลนิธิผู้หญิง ,มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ,มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ,มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ ,มูลนิธิเพื่อนหญิง ,มูลนิธิเพื่อแรงงานหญิง (CAW) ,มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES) ,มูลนิธิเอเชีย ,มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ เครือข่ายพนักงานบริการ (EMPOWER) ,มูลนิธิแอ็คชั่นเอด อินเตอร์เนชั่นเนล (ประเทศไทย) (ACTIONAID) ,โรงงานสมานฉันท์ (DR) ,ศูนย์รณรงค์เพื่อสิทธิแรงงาน ,สถานทูตอังกฤษ ประจำประเทศไทย (British Embassy Bangkok) ,สภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย (สค.ปท.) ,สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย ,สมาคมส่งเสริมสิทธิชุมชนเพื่อการพัฒนา ,สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ,สหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ (ITF) ,สหพันธ์แรงงานนานาชาติ กิจการเคมีภัณฑ์พลังงานเหมืองแร่และแรงงานทั่วไป (ICEM)  ,สหพันธ์แรงงานเพื่อกิจการบริการสาธารณูปโภคระหว่างประเทศ (PSI) ,สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอการตัดเย็บเสื้อผ้าและเครื่องหนังแห่งประเทศไทย ,สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ  มนุษย์