ผู้หญิง กับ”ความท้าทายในตลาดแรงงาน”

วันที่ 29 มีนาคม 2567 ได้มีเวทีความเท่าเทียม ในการจ้างงานผู้หญิง บนตลาดแรงงาน ณ ตึกประชาธิปกฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโดย มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES ) ร่วมกับสถาบันเอเชียศึกษา Gender – Centru ฯลฯ

บัณฑิต แป้นวิเศษ ฝ่ายแรงงาน มูลนิธิเพื่อนหญิง กล่าวว่า สถานการณ์แรงงานหญิง ความเท่าเทียม การจ้างงาน ความสำเร็จ ความท้าทาย และบทเรียนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในตลาดแรงงานความท้าทายและข้อเสนอ กล่าวคือ

1.ผู้หญิงกับงานที่ไม่มั่นคง เป็นแรงงานนอกระบบ เช่น การจ้างงานระยะสั้น อาชีพอิสระ ชั่วคราว เหมารายชิ้น งานกึ่งภาคบริการ การจ้างงานลูกจ้างภาครัฐ

2. ผู้หญิงกับโอกาสทางการศึกษาต่อ และความก้าวหน้าในอาชีพ ยังเป็นลักษณะเดิมๆ และเผชิญกับข้ออ้างด้านสรีระร่างกาย ความไม่ปลอดภัยในเนื้อตัวร่างกาย

3.ผู้หญิงกับรัฐต้องมีนโยบาย การลาคลอด การเลี้ยงดูลูก ที่ตอนนี้ต้องเพิ่มเป็น 180 วัน ต้องมีศูนย์เลี้ยงเด็กที่สอดคล้องในการทำงาน และจัดมุมนมแม่

4.ผู้หญิงกับการรับภาระ 3 ชั้น คือ 1. ทำงาน 2. ดูแลครอบครัว และ 3.สุขภาพ ความไม่ปลอดภัย เช่น ความรุนแรงในครอบครัว ยาเสพติด และผู้ป่วยจิตเวช

5.ผู้หญิงกับการเข้าถึงการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานขั้นสูง เช่นการเข้าถึงและใช้เทคโนโลยี

6.ผู้หญิงกับการเข้าถึงและได้รับการคุ้มครองใน กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายประกันสังคม กฎหมายสุขภาพและความปลอดภัย ทั้งในโรงงาน บ้าน และนอกโรงงานหรือชุมชน

7.ผู้หญิงกับพื้นที่การมีบทบาทผู้นำการบริหารจัดการองค์กร แบบมีส่วนร่วมในทุกมิติ ทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น โดยเฉพาะการดำเนินการด้านอาชีพ รายได้ และงบประมาณ

ซึ่งในเวที อาจารย์ ดร.ชเนตตี ทินนาม คณะนิเทศน์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอว่า ผู้หญิงในอุตสาหกรรมสื่อว่า คือ ความน่าเป็นห่วงในเชิงทัศนคติคนทำงานสื่อมวลชน ที่ผู้หญิงมีจำนวนมากกว่าชาย แต่ความก้าวหน้าบนยอดปิรามิด เป็นผู้ชาย มากกว่าหญิง และมีการกล่าวถึงความกลัวของนิสิต ที่จะจบออกไปทำงานในสาขานี้ คือกลัวถูกล่วงละเมิดทางพศ ท้องไม่พร้อม ท้องในระหว่างการทำงาน การลาป่วย ซึ่งยังมีการลาที่ไม่เท่าเทียมหรือเทียบกับผู้ชายที่มีโอกาสมากและหลากหลายกว่า เป็นต้น

ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมได้เสนอให้ผู้จัดฯได้นำข้อเสนอและข้อคิดเห็นของวิทยากรทุกท่าน นำเสนอต่อรัฐบาลใน วันกรรมกรสากล 1 พฤษภาคม 2567นี้ด้วย