25 ปี ประกันสังคมต้องเป็นอิสระ

การปฏิรูปประกันสังคมสู่ความเป็นอิสระ อิสระทำไม? อิสระเพื่ออะไร? อิสระอย่างไร?

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 กองทุนประกันสังคมมีเงินรวม1,251,859 ล้านบาท สมาชิกผู้ประกันตน 13.8 ล้านคน จึงต้องการความเป็นมืออาชีพและความโปร่งใสในการบริหารจัดการเพื่อให้กองทุนมีความยั่งยืนและเกิดประโยชน์กับผู้ประกันตนอย่างแท้จริง

เครือข่ายประกันสังคมเพื่อคนทำงาน หรือ คปค.  มีเป้าหมายการขับเคลื่อนการปฏิรูปประกันสังคมภายใต้แนวคิด “เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข” โดยกำหนดก้าวย่างเริ่มต้นการปฏิรูปให้ประกันสังคมสู่ความเป็นอิสระ

อิสระทำไม?

uvs150902-003

ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผอ.วิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน ทีดีอาร์ไอ “ปัจจุบันนี้ประกันสังคมเหมือนจะเลี้ยง…ผมดีความเองนะ ปลาบึกเลี้ยงไว้ในกาละมังเงินกองทุนมันเป็นเงินมโหฬารแต่มีน้ำในกาละมังอยู่นิดเดียว งั้นจะมาบริหารปลาบึกตัวยักษ์ๆปลาบึกมันจะโตได้ยังไง”

ประกันสังคมภายใต้ระบบราชการเช่นที่ผ่านมา ขาดการมีส่วนร่วมจากผู้ประกันตนและนายจ้าง ขาดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ขาดตัวแทนของผู้ประกันตนที่แท้จริง ขาดการบริหารแบบมืออาชีพ ด้านสิทธิประโยชน์ก็ยังไม่ครอบคลุมและเหมาะสมต่อบริบทสังคมที่เปลี่ยนไป

อิสระเพื่ออะไร?

uvs150902-004

ชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานฯ “เพราะเราเป็นองค์กรที่อยู่ภายใต้รัฐ 100% แบบนี้ไงหละเราถึงกระดิกอะไรก็ไม่ได้ จะเพิ่มอะไรแต่ละบาทถ้าตามโปรเซสไม่มีทางเลยยากเย็นแสนเข็ญ”

การขับเคลื่อนปฏิรูปประกันสังคมสู่ความเป็นอิสระเป็นกุญแจสำคัญ ของการปฏิรูปสู่ระบบการประกันสังคมถ้วนหน้าของประเทศไทย ซึ่งคุ้มครองคนทำงานที่มีรายได้ทุกคน ป้องกันหรือลดการทุจริตคอรัปชั่น ลดความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงสิทธิในระบบสวัสดิการต่าง ๆ

อิสระอย่างไร?

uvs150902-005

ไพสิฐ พาณิชยกุล ผู้ช่วยอธิบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “เรื่องของการทำอย่างไรให้เป็นความอิสระเกิดเป็นความอิสระของระบบสวัสดิการของประเทศเลยก็คือว่าแทนที่จะให้รัฐเป็นตัวหลัก แทนที่จะให้กลุ่มไปเป็นตัวหลักในการจัดการเรื่องสวัสดิการในอนาคตต่อไป ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่จะต้องให้ทุกภาคส่วนในสังคมมาดูแลเรื่องนี้กันเพราะนี่เป็นเรื่องที่จะนำไปสู่การสร้างคนในเรื่องขององค์กรอิสระได้”

uvs150902-006

หลักของความเป็นอิสระมีอยู่ 2 ส่วน ได้แก่

1. ความเป็นอิสระในมิติการบริหารจัดการ แบ่งเป็น                                                                                                                   – การบริหารงานต้องมีระบบการตัดสินใจร่วมกัน และไม่อยู่ภายใต้อำนาจของรัฐมนตรี                                                     – การบริหารคน ต้องไม่มีฐานะเป็นราชการ บุคลากรมีฐานะเป็นพนักงานของรัฐ                                                                   – การบริหารเงินรายได้ไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง และรับเงินงบประมาณจากรัฐในรูปของเงินอุดหนุน

ทั้งนี้โดยใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการคน เงิน และงาน อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นจริง

2. ความเป็นอิสระในมิติการจัดการโครงสร้าง  โดยให้สำนักงานประกันสังคม มีฐานะเป็นนิติบุคคลสังกัดกระทรวงแรงงาน เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจอยู่ในกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรีเลขาธิการสำนักงานมีความรู้ความสามารถเป็นมืออาชีพ มาจากกระบวนการสรรหากรรมการฝ่ายผู้ประกันตนและฝ่ายนายจ้าง มาจากการเลือกตั้งโดยตรงผู้ประกันตนและนายจ้างมีสิทธิเสนอชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการได้ให้มีคณะกรรมการการลงทุนโดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง ให้ผู้ประกันตน นายจ้าง หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการบริหารกองทุนประกันสังคม และให้มีองค์กรกำกับตรวจสอบที่เป็นอิสระจากสำนักงานประกันสังคม

ครบรอบ 25 ปี ประกันสังคมต้องปฏิรูปสู่ความเป็นอิสระด้วยการขับเคลื่อนพลังทางสังคมการขับเคลื่อนทางการเมืองและนโยบาย เพื่อคืนความเป็นเจ้าของร่วมสู่ผู้ประกันตน

uvs150902-007

นพ.วิชัย โชควิวัฒน รองประธานกรรมการกองทุน สสส. “ก็ศึกษาจากกรณีที่มันเกิดขึ้นแล้วของที่เห็นๆกันอยู่องค์การอิสระองค์การเช่นนี้มันจะเป็ฯอิสระและเป็นประโยชน์ได้จริงๆทำกันยังไง ทำยังไง ต้องมีเครือข่ายในด้านนี้อีกเยอะเพื่อที่จะขับเคลื่อนผลักดันและสุดท้ายก็คือผู้ใช้แรงงานต้องสามัคคีกัน”

“ความเป็นอิสระ มีส่วนร่วม ครอบคลุม โปร่งใส่ ตรวจสอบได้ คือความมั่นคงและยั่งยืนของระบบประกันสังคมของไทย”