แรงงานข้ามชาติร่วมเสนอรัฐรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ98 7 ตุลานี้

Untitled-7

แรงงานข้ามชาติสะท้อนแม้รัฐไทยให้การคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานแต่ยังเข้าไม่ถึงสิทธิและสวัสดิการ จึงมองว่าอนุสัญญาILOทั้ง 2 ฉบับคือคำตอบ หากแรงงานข้ามชาติรวมตัว เจรจาต่อรองได้ จะลดปัญหาความขัดแย้งของแรงงานกับนายจ้างลงได้ เชียงใหม่พร้อมจัด 29 ก.ย.56

เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2556 เครือข่ายปฏิบัติการแรงงานข้ามชาติ ร่วมกับคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO.) ได้ประชุมเชิงปฏิบัติการ “การขับเคลื่อน และรณรงค์ของแรงงานในระดับพื้นที่ ต่อการผลักดันให้รัฐบาลไทยรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98” ที่สำงานสนค. สะพานหัวช้าง กรุงเทพฯ

นายเมี่ยนเวย์  รองผู้อำนวยการมูลนิธิร่วมมิตรไทย-พม่า กล่าวว่า การได้เรียนรู้เรื่องอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) ฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98 แล้วนั้นคิดว่าหากรัฐบาลไทยมีการรับรองอนุสัญญาจะสามารถแก้ปัญหาเรื่องสิทธิการรวมตัวของแรงงานข้ามชาติได้ แม้ว่ากฎหมายแรงงานสัมพันธ์จะกำหนดให้แรงงานข้ามชาติสามารถเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานไทยได้แต่ก็มีน้อยคนที่เข้าใจ และเข้าเป็นสมาชิก เพราะข้อจำกัดเรื่องการคุ้มครอง และการมีส่วนร่วมได้จริง เพราะหากเข้าร่วมในการเป็นสมาชิก นายจ้างไม่พอใจอาจเลิกจ้างได้ อีกทั้งยังมีข้อกฎหมายอื่นๆเข้ามาจัดการแรงงานข้ามชาติ จึงคิดว่าการมีอนุสัญญาILO ทั้ง 2 ฉบับจะทำให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงสิทธิการคุ้มครอง การรวมตัวเจรจาต่อรองร่วม ส่วนการแก้ไขกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ให้ครอบคลุมสิทธินั้นส่วนของขบวนการแรงงานไทยได้มีการเขียนถึงสิทธิแรงงานทุกกลุ่มซึ่งรวมแรงงานข้ามชาติด้วย และรอการเข้าสภาให้รับรอง หากรัฐบาลรับรองแรงงานข้ามชาติก็จะมีสิทธิ แต่ทั้งนี้ต้องเป็นแรงงานที่เข้าเมืองถูกกฎหมายเท่านั้น ไม่ใช่แรงงานข้ามชาติคนไหนก็ได้ ส่วนแรงงานกลุ่มอื่นๆก็ได้รับสิทธิตามกฎหมายฉบับอื่น

Untitled-4Untitled-1

สภาพปัญหาที่แรงงานข้ามชาติไม่มีสิทธิในการรวมตัวนั้น การที่แรงงานออกมาชุมนุมประท้วงแล้วทำให้นายจ้างต้องปิดกิจการก็เกิดขึ้นมาแล้วการรวมตัวเจรจาต่อรองจะช่วยผ่อนคลาย เพื่อให้แรงงานข้ามชาติมีพื้นที่ในการที่จะพูดคุยเรื่องสิทธิแรงงาน สวัสดิการต่างๆได้ แม้ประเทศไทยจะกำหนดให้สิทธิแรงงานทุกคนได้รับการคุ้มครอง แต่นายจ้างบางที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย และรัฐก็ไม่ดูแลอีก ตรงนี้จะช่วยลดแรงต้านและนำไปสู่การเจรจาต่อรองเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ซึ่งในวันที่ 7 ตุลาคม 2556 ทางเครือข่ายแรงงานข้ามชาติจะเข้าร่วมรณรงค์กับขบวนการแรงงานเพื่อให้รัฐบาลไทยรับรองอนุสัญญาILO ฉบับที่ 87 และ98 เพื่อการคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติในการรวมตัว เจรจาต่อรองร่วมแบบแรงงานไทย

Untitled-6Untitled-2

นางสาวหญิงหอม มุงพะ กล่าวว่า ทางเครือข่ายแรงงานข้ามชาติในส่วนของภาคเหนือจะจัดการให้ความรู้เรื่องอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศด้วยเช่นกัน จริงแล้วพวกเราไม่รู้เรื่องสิทธิที่ระบุไว้ในอนุสัญญาILO ฉบับที่ 87 และ 87  ตอนนี้มีผู้ประสงค์จะเข้าร่วมในวันที่ 29 ก.ย. 56 กว่า 60 คนแล้ว ผู้เข้าร่วมอบรมครั้งนี้ประกอบด้วยแม่บ้าน คนงานก่อสร้าง แรงงานรายวัน ลูกจ้างร้านอาหาร อาสาสมัคร กลุ่มวัฒนธรรมฯลฯ ปัญหาของแรงงานข้ามชาติที่ภาคเหนือนั้นก็เป็นประเด็นที่ว่าไม่รู้เรื่องสิทธิและกฎหมายแรงงาน หรือรู้ก็ไม่กล้าบอกว่านายจ้างทำผิดกฎหมาย เพราะแรงงานข้ามชาติมาจากประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และเพิ่งรู้ว่าประชาธิปไตยในประเทศไทยเป็นอย่างนี้ จากการที่รัฐบาลประกาศให้ค่าจ้าง 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศกว่าร้อยละ 80 ของแรงงานข้ามชาติไม่ได้รับค่าจ้างตามนั้นจะมีแต่คนงานก่อสร้างที่ได้ค่าจ้างตามกฎหมาย แต่แรงงานข้ามชาติก็ไม่กล้าเรียกร้องเพราะกลัวนายจ้างไม่จ้าง และถูกส่งกลับประเทศ ซึ่งวันที่ 29 ก.ย.ที่จะถึงนี้แรงงานจะได้รู้เรื่องสิทธิที่ระบุในอนุสัญญาILO ทั้ง 2 ฉบับว่าเกี่ยวข้องกับเขาอย่างไร

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน